ชินจริต
ชินจริต เป็นวรรณกรรมร้อยกรองภาษาบาลีบรรยายพุทธประวัติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยความหมายของชินจริต คือ พระจริยาวัตรแห่งพระผู้พิชิต
วรรณกรรมเรื่องนี้ประกอบด้วยพระคาถา 472 คาถา (บ้างก็ 473 คาถา) มีการใช้ฉันทลักษณ์แบบต่าง ๆ ในการรจนา เช่น วสันตดิลกฉันท์ อินทรวิเชียรฉันท์ และอุเปนทรวิเชียรฉันท์[1]
ผู้รจนาผลงานชิ้นนี้ คือ พระวันรัตนะ เมธังกร ผู้รจนาคัมภีร์ปโยคะสิทธิ และมีชื่อเสียงอยู่ในสมัยรัชกาลพระเจ้าภูวเนกะ พาหุ ที่ 1 (ค.ศ. 1277-1288) นอกจากนี้ชื่อของท่านผู้รจนายังปรากฏอยู่ในคัมภีร์สัทธัมสังคหะ และในคัมภีร์คันธวงสะ[2] พระวันรัตนะ เมธังกร ยังเป็นเจ้าคณะพระอารามวิชัยพาหุ ปริเวณ ซึ่งสถาปนาขึ้นในสมัยพระเจ้าวิชัยพาหุที่ 2[3]
ทั้งนี้ ชินจริตมีรูปแบบการประพันธ์และชื่อเรื่องที่คล้ายคลึงกับงานร้อยกรองพุทธประวัติในภาษาสันสกฤต คือเรื่องพุทธจริตของพระอัศวโฆษ ซึ่งรจนาขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 2 นักวิชาการแสดงความเห็นว่า คัมภีร์พุทธประวัติของฝ่ายนิกายเถรวาทในยุคหลังอาจได้รับอิทธิพลจากมหากาพย์พุทธจริต เช่น คัมภีร์ชินจริตซึ่งมีลีลาการประพันธ์คล้ายคลึงกัน[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Anandajoti Bhikkhu. (2006).
- ↑ W. H. D. Rouse. (1905). หน้า iv
- ↑ http://www.vipassana.info/me_mu/medhankara.htm
- ↑ พิชญา สุ่มจินดา. (2556). หน้า 27
บรรณานุกรม
[แก้]- พิชญา สุ่มจินดา. (2556). มหาโพธิบัลลังก์กับคติจักรวาลที่เปลี่ยนไปในอุโบสถวัดเกาะแก้วสุทธาราม จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.
- Anandajoti Bhikkhu. (2006). http://www.buddhanet-de.net/ancient-buddhist-texts/Buddhist-Texts/X3-Jinacaritam/JC-Metre.htm เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- W. H. D. Rouse. (1905). Jinacarita. London. Henry Frowde.
- http://www.vipassana.info/me_mu/medhankara.htm