ข้ามไปเนื้อหา

จักกวาฬทีปนี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จักกวาฬทีปนี
กวีพระสิริมังคลาจารย์
ประเภทศาสนา ปรัชญา
คำประพันธ์ร้อยแก้วภาษาบาลี มีคาถาบาลีแทรก
ยุคอาณาจักรล้านนา
ปีที่แต่งพ.ศ. 2063
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

จักกวาฬทีปนี เป็นปกรณ์วิเสสที่รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์ รจนาสำเร็จเมื่อ พ.ศ. 2063[1]

ต้นฉบับเอกสารใบลานคัมภีร์จักกวาฬทีปนีพบ 19 ฉบับ จารด้วยอักษรธรรมล้านนา ภาษาบาลี 4 ฉบับ ได้แก่ ฉบับวัดบุพพาราม จ.ศ. 900 ฉบับวัดพระสิงห์ จ.ศ. 1170 ฉบับวัดสูงเม่น จ.ศ. 1195 และฉบับวัดช้างค้ำ จ.ศ. 1231 ส่วนฉบับที่จารด้วยอักษรขอมไทย ภาษาบาลี 15 ฉบับ ได้แก่ ฉบับวัดบวรนิเวศวิหาร 2 ฉบับ และฉบับหอสมุดวชิรญาณ 13 ฉบับ[2]

มูลเหตุการแต่งจักกวาฬทีปนีเพื่ออธิบายเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวกับจักรวาลตามที่ปรากฏในคัมภีร์ต่าง ๆ อย่างเช่นพระไตรปิฎก โดยแต่งเป็นร้อยแก้วภาษาบาลี มีคาถาบาลีแทรก พร้อมทั้งรวบรวมคำอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจักรวาลในคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น พระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และปกรณ์ต่าง ๆ มารวบรวมไว้ด้วยกันตลอดจนแสดงข้อความนั้น ๆ และคำวิจารณ์ โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 6 กัณฑ์[3]

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จักกวาฬทีปนีเป็นคัมภีร์หนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศโปรดเกล้าฯ พระราชทานไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาในปี พ.ศ. 2299 ด้วย ต่อมากรมศิลปากรได้ชำระและแปลคัมภีร์จักกวาฬทีปนีเป็นภาษาไทย เมื่อ พ.ศ. 2523[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "จัดพิมพ์ "จักกวาฬทีปนี" เฉลิมพระเกียรติ วรรณกรรมพระพุทธศาสนาชั้นเลิศ". ไทยรัฐ.
  2. สดุภณ จังกาจิตต์. (2520). จักรวาลทีปนี กัณฑ์ที่ 1 2 3. ใน วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ แผนกวิชาภาษาตะวันออก. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  3. พระองอาจ อาสโภ (ปริวัติ), บัวลี มณีแสน, ทองคำ ดวงขันเพ็ชร. "จักกวาฬทีปนี: พุทธธรรมเพื่อการจัดระเบียบสังคม".{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล. "แนะนำหนังสือ "จักรวาฬทีปนี : ลักษณะเด่น ภูมิปัญญา และคุณค่า"". ไทยศึกษา.