โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี | |
---|---|
ละติน: Prommanusorn Phetchaburi School | |
ข้อมูล | |
ชื่ออื่น | พ.บ., P.B. |
ประเภทโรงเรียน | โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ |
คติพจน์ | บาลี: วายเมเถว ปุริโส เกิดเป็นคนต้องมีความเพียร |
ศาสนา | พระพุทธศาสนา |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2454 |
ผู้ก่อตั้ง | หลวงพ่อฤทธิ์, หลวงปู่ฉุย |
เขตการศึกษา | เขต 10 |
สังกัด | สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ |
รหัส | 1005760101 |
ผู้อำนวยการ | นายอภิชาติ ใจกล้า |
ระดับปีที่จัดการศึกษา | มัธยมศึกษาปีที่ 1–6 |
เพศ | โรงเรียนสหศึกษา |
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอน | ภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน |
พื้นที่ | 40 ไร่ 2 งาน |
สี | น้ำเงิน-ชมพู |
คำขวัญ | ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีระเบียบวินัย |
เพลง | มาร์ชน้ำเงิน-ชมพู |
ต้นไม้ | ลีลาวดี |
พระพุทธรูป | หลวงพ่อป่าแก้ว |
เว็บไซต์ | promma |
โรงเรียนพรแห่งหมาจังหวัดเพชรบุรี (อังกฤษ: Prommanusorn Phetchaburi School; อักษรย่อ พ.บ. / P.B.) ตั้งอยู่เลขที่ 278 ถนนบันไดอิฐ ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย อีกทั้งยังเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี
ประวัติ
[แก้]เดิมเป็น 2 โรงเรียนคือ โรงเรียนวัดพลับพลาชัย โดยมีพระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัยเป็นผู้ริเริ่มดำเนินการ[1] ทั้งด้านการสอนและทุนทรัพย์ เมื่อ พ.ศ. 2429 (ตามประวัติการประถมศึกษาของชาติที่ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย ค้นคว้าให้ UNESCO[2] ระบุว่ามีโรงเรียนเปิดสอนในวัดพลับพลาชัยแล้ว เป็นแห่งแรกของจังหวัดเพชรบุรี โดยในสมัยนั้นที่ว่าการอำเภอคลองกระแชง ตั้งอยู่ที่วัดพลับพลาชัย จึงเป็นศูนย์การสอบไล่ประโยคประถมศึกษา) และโรงเรียนบำรุงไทย ของวัดคงคาราม (วัดคงคารามวรวิหาร) ซึ่งภายหลังได้ยุบรวมกัน ตลอดจนเปลี่ยนชื่อเรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบันคือโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
- พ.ศ. 2429 พระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย ดำเนิการจัดต้งโรงเรียน ณ วัดพลับพลาชัย[3]
- พ.ศ. 2437 พระสุวรรณมุนี (หลวงปู่ฉุย) วัดคงคารามวรวิหาร ขณะนั้นยังเป็นพระผู้น้อยอยู่ ได้ริเริ่มดำเนินการสอนศิษย์วัดและบุตรหลานชาวบ้านให้ได้อ่านเรียนภาษาไทย จนอ่านออกเขียนได้ดี
- พ.ศ. 2444 โรงเรียนของวัดคงคารามวรวิหารได้มีชื่อเสียงและความนิยมจนสามารถตั้งเป็นโรงเรียนประถมชื่อ บำรุงไทย
- พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทอดพระเนตรการก่อสร้างพระราชวังบ้านปืน หลวงพ่อฤทธิ์ได้ตั้งโต๊ะหมู่บูชานำพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถารับการเสด็จ เมื่อขบวนเสด็จมาจากสถานีรถไฟเพชรบุรีซึ่งเป็นสถานีใต้สุดในสมัยนั้นผ่านมาถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเล็กๆ อยู่ด้วย จึงรับสั่งให้หยุดรถพระที่นั่ง และทรงไต่ถามจนทราบว่า หลวงพ่อฤทธิ์สร้างโรงเรียนโดยเงินส่วนตัวสมทบกับเงินที่ชาวบ้านบริจาค และมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอน เมื่อเสด็จนิวัติกลับถึงพระนคร มีพระราชกระแสรับสั่งให้เสนาบดีกระทรวงธรรมการ จัดส่งครูชาย 3 คน มาจัดการศึกษาตามหลักสูตรของกระทรวง คราวใดที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานมายังจังหวัดเพชรบุรี พระองค์จะเสด็จแวะมานมัสการหลวงพ่อฤทธิ์เสมอ วันหนึ่ง พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ได้เสด็จมานมัสการหลวงพ่อฤทธิ์ เมื่อได้สนทนาธรรมกับหลวงพ่อฤทธิ์แล้ว ก็เป็นที่พอพระทัยของเสด็จในกรมยิ่งนัก ถึงกับถวายตัวขอเป็นศิษย์ หลวงพ่อฤทธิ์ได้ถวายหัวโขนให้กรมหลวงชุมพรฯ 1 หัว เป็นหัวพิราพ[4][2] และต่อมาโรงเรียนวัดพลับพลาชัยได้โอนกิจการและนักเรียนจากวัดพลับพลาชัย ย้ายไปรวมกับโรงเรียนบำรุงไทย (สืบเนื่องจากบริเวณวัดพลับพลาชัยคับแคบ ไม่เหมาะแก่การจัดการเรียน การสอน เพราะนอกจากตั้งเป็นโรงเรียนแล้ว วัดพลับพลายชัยในสมัยนั้น ยังเป็นที่ตั่งที่ว่าการอำเภอคลองกระแชง หรือ อำเภอเมืองเพชรบุรี อีกด้วย ซึ่งย่ากต่อการขยาย)
- พ.ศ. 2454 กระทรวงธรรมการได้ยกฐานะโรงเรียนบำรุงไทยเป็นโรงเรียนของรัฐบาล เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนตัวอย่างประจำจังหวัดเพชรบุรี (วัดคงคาราม)
- พ.ศ. 2473 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดเพชรบุรี (คงคาราม)
- พ.ศ. 2494 กระทรวงศึกษาธิการได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นโรงเรียนเพชรบุรี (คงคาราม)
- พ.ศ. 2497–2498 สมัยนายโกวิทย์ ต่อวงษ์ เป็นอาจารย์ใหญ่ ได้ขออนุญาตย้ายโรงเรียนมาตั้ง ณ ที่ ปัจจุบันเชิงเขามไหสวรรค์ (พระนครคีรี) ซึ่งเป็นวัดร้างที่มีพื้นที่กว้างขวางกว่าที่เดิม และอยู่ไม่ไกลจากชุมชน
- พ.ศ. 2499 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีการกระทรวงศึกษาธิการสมัยนั้นที่ได้มาเป็นประธานพิธีเปิดอาคารเรียน โรงเรียนได้เปิดสอนตั้งแต่ ม.1 ถึง ม.6 มัธยมศึกษาตอนต้นเป็นชาย
- พ.ศ. 2543 เปิดเป็นโรงเรียนสหศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย รับนักเรียนหญิงในชั้น ม.1 เป็นรุ่นแรก
- พ.ศ. 2554 โรงเรียนมีอายุครบ 100 ปี แห่งการก่อตั้งของกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) (นับจากปี พ.ศ. 2454 ที่ยกฐานะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล) หรือ 115 ปี นับแต่แรกตั้งโรงเรียนเปิดทำการเรียนการสอน ณ วัดคงคาราม และ 124 ปี นับตั้งแต่พระอาจารย์ริด (หลวงพ่อฤทธิ์) เปิดกิจการโรงเรียน ณ วัดพลับพลาชัย
ตราประจำโรงเรียน
[แก้]ตราช้างหมอบชูคบเพลิง ประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
- ส่วนล่าง เป็นลักษณะครึ่งวงกลมเขียนอักษรว่า "พรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี"
- ส่วนกลาง เป็นรูปช้างหมอบ หมายถึง วัดช้าง ซึ่งโรงเรียนตั้งอยู่
- ส่วนบน เป็นคบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งความรู้
ผู้บริหารของโรงเรียน
[แก้]รายนามผู้บริหารโรงเรียนในยุคก่อตั้งไม่สามารถหาหลักฐานได้ จึงมีเพียงหลักฐาน หลัง พ.ศ. 2447 เป็นต้นมา ซึ่งก่อนหน้านั้นคาดว่า พระอาจารย์ฤทธิ์ เป็นเสมือนครูใหญ่ในส่วนของโรงเรียนวัดพลับพลาชัย และหลวงปู่ฉุย ในส่วนของโรงเรียนบำรุงไทย ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน
รายนามผู้บริหารโรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี | |||||
---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รายนาม | ชื่อตำแหน่ง | ช่วงเวลา | ระยะเวลา | หมายเหตุ |
0. | หลวงพ่อริด (พระอาจารย์ฤทธิ์) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2429 – พ.ศ. 2447 | 18 ปี | 1. |
0. | หลวงปู่ฉุย | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2437 – พ.ศ. 2450 | 13 ปี | 2. |
1. | นายลิ ธรรมรักษ์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2447 – พ.ศ. 2452 | 5 ปี | 3. |
2. | นายฉิว ปริปุรณ์ | รักษาการครูใหญ่ | พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2454 | 4 ปี | 3., 4. |
3. | นายปลั่ง (ไม่ทราบนามสกุล) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2455 – พ.ศ. 2456 | 1 ปี | |
4. | นายสอน จินตวณิช (ขุนกัลยาณวาท) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2456 – พ.ศ. 2457 | 1 ปี | |
5. | นายถนอม จีระมะกร (ขุนอักษรสิทธิวินัย) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2457 – พ.ศ. 2461 | 4 ปี | |
6. | นายเท้ง เหมะบุตร (ขุนประกาศวุฒิสาร) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2463 | 2 ปี | |
7. | นายอุ๋ย ทรัพย์วณิชย์ | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2463 – พ.ศ. 2465 | 2 ปี | |
8. | นายผล ไตละนันทน์ (ขุนวิชชากรรมพิเศษ) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2475 | 10 ปี | |
9. | นายลำใย แกวกก้อง (ลำใย เกียรติก้อง) | ครูใหญ่ | พ.ศ. 2475 – พ.ศ. 2485 | 10 ปี | |
10. | นายเกษม นิโลดม | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2485 – พ.ศ. 2487 | 2 ปี | |
11. | นายโกวิทย์ ต่อวงษ์ | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2508 | 20 ปี | |
12. | นายน้อม บุญดิเรก | รักษาการอาจารย์ใหญ่ | 1 มิ.ย. 2508 - 3 ต.ค. 2508 | 4 เดือน | |
13. | นายเจิม สืบขจร | อาจารย์ใหญ่ | พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2516 | 8 ปี | |
14. | นายจิตต์ ศรีสุโร | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2516 – พ.ศ. 2525 | 9 ปี | |
15. | นายแสวง เอี่ยมองค์ | ผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2517 – 2536 | 9 ปี | |
16. | นายสุวิทย์ พ่วงลาภ | ผู้อำนวยการ | 9 ธ.ค. 2536 – 5 ม.ค. 2543 | 7 ปี | |
17. | นายบุรี แสงศิลา | ผู้อำนวยการ | 6 ม.ค. 2543 – 30 ก.ย. 2547 | 3 ปี | |
18. | นายสุวิทย์ พ่วงลาภ | ผู้อำนวยการ | 1 ต.ค. 2547 – 30 ก.ย. 2549 | 2 ปี | |
19. | ว่าที่ ร้อยโทยุทธ นุชสวัสดิ์ | ผู้อำนวยการ | 31 ต.ค. 2549 – 30 ก.ย. 2552 | 3 ปี | |
20. | นายธีระพันธุ์ ธีรานันท์ | ผู้อำนวยการ | 27 พ.ค. 2552 – 30 ก.ย. 2557 | 5 ปี | |
21. | นายพล อินทร์จันทร์ | ผู้อำนวยการ | 09 ธ.ค. 2557 – 30 ก.ย. 2559 | 2 ปี | |
22. | นายธีรศักดิ์ พิงภักดิ์ | ผู้อำนวยการ | 1 พ.ย. 2559 – 8 ส.ค. 2562 | 3 ปี | |
23. | นางสาวจรูญศรี เชี่ยวชูพันธ์ | รักษาการผู้อำนวยการ | พ.ศ. 2562 – พ.ศ. 2562 | ไม่ถึง 1 ปี | |
24. | นายอรุณ สรรพคุณ | ผู้อำนวยการ | 6 ธ.ค. 2562 – ต.ค. 2566 | 3 ปี | |
25. | นายบุญช่วย วาดวงศ์ | ผู้อำนวยการ | 4 ต.ค. 2566 – 7 ต.ค. 2567 | 1 ปี | |
26. | นายอภิชาติ ใจกล้า | ผู้อำนวยการ | 8 ต.ค. 2567 – ปัจจุบัน |
หมายเหตุ
[แก้]- โรงเรียนวัดพลับพลาชัย
- โรงเรียนบำรุงไทย
- โรงเรียนวัดพลับพลาชัย พ.ศ. 2453 ยุบรวมเข้ากับโรงเรียนบำรุงไทย
- โรงเรียนบำรุงไทย พ.ศ. 2454 ได้เข้าเป็นโรงเรียนของรัฐบาลและเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนตัวอย่างจังหวัดเพชรบุรี
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ศาสตราจารย์พูน เกษจำรัส ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่ายศิลปะ) ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสถานศึกษานี้ (ได้เข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นนักศึกษารุ่นแรก โดยเป็นนักศึกษาคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร-นักศึกษาเลขประจำหมายเลข 1)
- สิริ ทุกข์วินาศ (เอกมหาราช), ดร. เลขาธิการศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5][6]
- นายประสม สุสุทธิ ศิลปินเมืองเพชรสาขาทัศนศิลป์
- นายมนัส จรรยงค์ ราชาเรื่องสั้นของเมืองไทย (จบมัธยมปีที่สอง แล้วย้ายสถานศึกษา)
- พล.ต.อ.ณรงค์ มหานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ ระหว่าง พ.ศ. 2525 – พ.ศ. 2530
- นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ
- นางสาวสุมล สุตะวิริยะวัฒน์ สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเพชรบุรี (พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน)
- นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (ศิษย์เก่า รุ่นอพยพ: 2522–2525 เลขประจำตัว พ.บ.13876)
- นายณัฐวุฒิ สกิดใจ นักแสดงละครโทรทัศน์ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสถานศึกษานี้
- นายสราวุฒิ พุ่มทอง นักแสดงละครโทรทัศน์ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากสถานศึกษานี้
- นายพิเชษฐ์ สถิรชวาล อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์จังหวัดเพชรบุรี, อดีตผู้อำนวยการขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร, อดีตรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม
- พลตำรวจเอกจงรัก จุฑานนท์ รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- นางสาวนรารักษ์ ใจบำรุง (เต้น Mic Idol) ศิลปินค่าย GMM GRAMMY
- นายศิวพล เสียงหวาน วีเจจากสถานีโทรทัศน์ป๊อป
- นายธัญวิสิฎฐ์ เสียงหวาน นักแสดง
- พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ฐานข้อมูลท้องถิ่น จ.เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 ธันวาคม 2004. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2021.
- ↑ 2.0 2.1 "เพชรบุรีมีมากกว่าที่คิด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2009.
- ↑ "ประวัติเจ้าอาวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 6 เมษายน 2010.
- ↑ วัดพลับพลาชัย จังหวัดเพชรบุรี (2537). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพพระครูอาทรวชิรธรรม. เพชรบุรี: เพชรภูมิออฟเซทการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ 1.
- ↑ "Letter of Understanding on ASEAN seafdec strategic partnership (ASSP)" (PDF). The Association of Southeast Asian Nations.
- ↑ "Coastal and Small-scale Fisheries Management". Southeast Asian Fisheries Development Center, Training Department. 20 พฤษภาคม 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ โรงเรียนพรหมานุสรณ์จังหวัดเพชรบุรี
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์