ข้ามไปเนื้อหา

อำเภอท่ายาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำเภอท่ายาง
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Tha Yang
คำขวัญ: 
เกษตรคู่บ้าน ขนมหวานคู่เมือง
เขาลูกช้างลือเลื่อง ฟูเฟื่องหาดปึกเตียน
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอท่ายาง
แผนที่จังหวัดเพชรบุรี เน้นอำเภอท่ายาง
พิกัด: 12°58′24″N 99°53′16″E / 12.97333°N 99.88778°E / 12.97333; 99.88778
ประเทศ ไทย
จังหวัดเพชรบุรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด736.7 ตร.กม. (284.4 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด85,859 คน
 • ความหนาแน่น116.55 คน/ตร.กม. (301.9 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 76130
รหัสภูมิศาสตร์7605
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอท่ายาง เลขที่ 19
ถนนราษฎรบำรุง ตำบลท่ายาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี 76130
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ท่ายาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี ประชากรประมาณร้อยละ 80 เป็นเกษตรกร มีอาชีพปลูกพืช ผลผลิตหลักได้แก่ ข้าว กล้วยหอมทอง กล้วยไข่ กล้วยน้ำว้า มะนาว ชมพู่ อ้อย มะม่วง ถั่ว และมะพร้าว

ที่ตั้งและอาณาเขต

[แก้]

อำเภอท่ายางตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัด ระยะทางห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 17 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร เป็นระยะทาง 134 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

ประวัติ

[แก้]

เมื่อปี พ.ศ. 2435 ภูมิประเทศด้านตะวันตกของอำเภอโดยทั่วไปเป็นป่าดงดิบและภูเขาสูง มีไม้ใหญ่ ๆ มากมาย เช่น ไม้ยาง ไม้มะค่า ไม้ตะเคียน ฯลฯ จนได้รับการเรียกขานว่า "ท่ายาง" สภาพท้องที่เป็นป่าใหญ่ มีไข้มาลาเรียชุกชุม ราษฎรที่อาศัยอยู่เป็นชาวกะเหรี่ยงและกะหร่าง ส่วนภูมิประเทศด้านตะวันออกจรดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย เป็นที่ราบลุ่มและดินปนทราย เหมาะแก่การเกษตรกรรม

ต่อมามีราษฎรจากจังหวัดอื่นเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินเป็นจำนวนมาก และมีผู้อพยพมาอยู่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ใน พ.ศ. 2436 ทางราชการได้ตั้งอำเภอขึ้นที่หมู่บ้านวังไคร้ ริมแม่น้ำแม่ประจันต์ ตำบลวังไคร้ เรียกว่า อำเภอแม่ประจันต์ ในพ.ศ. 2453 ได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี[1]

อำเภอแม่ประจันต์ตั้งอยู่ได้ประมาณ 20 ปี ทางการเห็นว่าอยู่ไกลจากย่านชุมชนจึงได้ย้ายมาตั้งที่ว่าการอำเภอแห่งใหม่ที่หมู่ที่ 2 ตำบลยางหย่อง (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่ 2 ตำบลท่าแลง) และเรียกชื่อว่า อำเภอยางหย่อง ตั้งอยู่ได้นานประมาณ 2 ปี จึงได้ย้ายมาตั้งที่หมู่ที่ 1 บ้านท่ายาง ริมฝั่งแม่น้ำเพชรบุรีเมื่อราวปี พ.ศ. 2460 แต่ยังเรียกอำเภอยางหย่องตามเดิม จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2482 จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า อำเภอท่ายาง[2] เพื่อให้ตรงกับหมู่บ้านอันเป็นที่ตั้งจนกระทั่งทุกวันนี้

ภูมิศาสตร์

[แก้]

มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านเขตอำเภอท่ายางประมาณ 10 กิโลเมตร ยังมีสถานีรถไฟตั้งอยู่ที่ตำบลหนองจอก แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านอำเภอ คือ แม่น้ำเพชรบุรี อำเภอท่ายางมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 793.522 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 495,591.25 ไร่

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

การปกครองส่วนภูมิภาค

[แก้]

อำเภอท่ายางมีพื้นที่การปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองพื้นที่ พ.ศ. 2457 ทั้งหมด 12 ตำบล 118 หมู่บ้าน ดังนี้

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[3]
1. ท่ายาง Tha Yang
10
17,549
2. ท่าคอย Tha Khoi
11
12,712
3. ยางหย่อง Yang Yong
5
3,323
4. หนองจอก Nong Chok
14
7,318
5. มาบปลาเค้า Map Pla Khao
11
4,048
6. ท่าไม้รวก Tha Mai Ruak
13
9,141
7. วังไคร้ Wang Khrai
10
5,390
8. กลัดหลวง Klat Luang
11
7,164
9. ปึกเตียน Puek Tian
4
2,029
10. เขากระปุก Khao Krapuk
14
7,889
11. ท่าแลง Tha Laeng
9
6,289
12. บ้านในดง Ban Nai Dong
6
2,846

การปกครองส่วนท้องถิ่น

[แก้]

ท้องที่อำเภอท่ายางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 13 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลท่ายาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่ายางทั้งตำบลและตำบลท่าคอย (เฉพาะหมู่ที่ 1–4, 6, 8–9)
  • เทศบาลตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอก (เฉพาะหมู่ที่ 5–7, 9)
  • เทศบาลตำบลท่าแลง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าแลงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลท่าไม้รวก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าไม้รวกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลท่าคอย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่าคอย (เฉพาะหมู่ที่ 5, 7, 10–11)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลยางหย่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางหย่องทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองจอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองจอก (เฉพาะหมู่ที่ 1–6, 8–9, 12–14)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลมาบปลาเค้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลมาบปลาเค้าทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลวังไคร้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวังไคร้ทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกลัดหลวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกลัดหลวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลปึกเตียน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปึกเตียนทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเขากระปุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเขากระปุกทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านในดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านในดงทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

[แก้]
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดป้ายโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ ณ บริเวณอ่างเก็บน้ำหนองเสือ บ้านหนองคอไก่ หมู่ที่ 5 ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อ้างอิง

[แก้]
  1. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นใหม่ ณ ที่ว่าการอำเภอแม่ประจัน เมืองเพชรบุรี ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๒๗ ตอนที่ ๐ ง ประกาศ ณ วันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๕๓ หน้าที่ ๔๙๐
  2. "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอ กิ่งอำเภอ และตำบลบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๒" (PDF). Royal Gazette. 56 (0 ก): 354–364. April 17 1939. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-02-19. สืบค้นเมื่อ 2010-08-14. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  3. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]