เมืองอุบลราชธานี
อุบลราชธานีศรีวะนาไลประเทษราช | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
พ.ศ. 2335 – พ.ศ. 2442 | |||||||||
เมืองหลวง |
| ||||||||
การปกครอง | |||||||||
• ประเภท | อาญาสี่ | ||||||||
เจ้าเมือง | |||||||||
• พ.ศ. 2335–2338 | พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ | ||||||||
• พ.ศ. 2338–2383 | พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ | ||||||||
• พ.ศ. 2388–2406 | พระพรหมราชวงศา | ||||||||
• พ.ศ. 2409–2429 | เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• การอพยพของกลุ่มเจ้าพระวอ | พ.ศ. 2314 | ||||||||
• ยกฐานะเป็นเมือง | พ.ศ. 2335 | ||||||||
• ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่ | พ.ศ. 2442 | ||||||||
|
เมืองอุบลราชธานี เป็นหัวเมืองฝั่งขวาแม่น้ำโขงภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจของอาณาจักรรัตนโกสินทร์ และได้รับการยกฐานะเป็นประเทศราชในบางช่วงเวลา[1][2] เมืองอุบลราชธานีได้รับการสันนิษฐานว่าถูกยกฐานะเป็นเมืองเพื่อแบ่งแยกเขตอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์[3] ภายหลังถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลลาวกาวของสยาม
ประวัติศาสตร์
[แก้]การอพยพของกลุ่มเจ้าพระวอ
[แก้]
พ.ศ. 2310 เกิดสงครามระหว่างอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน จากการที่พระเจ้าสิริบุญสารทรงเกิดความขัดแย้งกับเจ้าพระตาและเจ้าพระวอ สงครามกินเวลายาวนาน 3 ปี ไม่มีผลแพ้ชนะกัน ในการสู้รบในครั้งสุดท้าย เจ้าพระตาถึงแก่ความตายในสนามรบ เจ้าพระวอพร้อมด้วยเครือญาติคือ นางอุสา นางแพงแสน ท้าวคำผง ท้าวทิตพรหม และนางเหมือนตา ได้หลบหนีออกจากเมืองมารับเสบียงอาหารจากบ้านสิงห์โคก สิงห์ท่า แล้วผ่านลงไปตั้งเมืองที่ดอนมดแดง พร้อมขอพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร แห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์
การเข้าสู่ปริมณฑลแห่งอำนาจของสยาม
[แก้]เมื่อพระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบข่าวการตั้งเมืองใหม่ขึ้นกับอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ของกลุ่มเจ้าพระวอ จึงให้อัคร์ฮาด (หำทอง) ยกกองทัพมาตีกลุ่มเจ้าพระวอ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารทรงส่งศุภอักษรถึงพระเจ้าสิริบุญสารขอโทษเจ้าพระวอกับพวกไว้ กองทัพเวียงจันทน์จึงถอยกลับไป[4]
ต่อมาเจ้าพระวอเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร จึงแต่งท้าวเพี้ยถือศุภอักษรและเครื่องบรรณาการไปยังเมืองนครราชสีมาเพื่อสวามิภักดิ์ต่ออาณาจักรธนบุรี ในปี พ.ศ. 2320 พระเจ้าสิริบุญสารทรงทราบข่าวความขัดแย้งระหว่างเจ้าพระวอและอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ จึงทรงให้พญาสุโพยกกองทัพมาตีกลุ่มเจ้าพระวอ เจ้าพระวอสู้ไม่ได้จึงล่าถอยไปที่บ้านดู่บ้านแก ต่อมาถูกกองทัพเวียงจันทน์ล้อมจับได้และถูกประหารชีวิต ท้าวคำผงจึงขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่ม พร้อมมีใบบอกลงไปที่เมืองนครราชสีมาและกรุงธนบุรี[5][6]
สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกกองทัพมาช่วยท้าวคำผงในปี พ.ศ. 2321 ด้านพญาสุโพรู้ข่าวศึกของกรุงธนบุรี จึงสั่งถอยทัพกลับเวียงจันทน์ แต่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ ได้เดินทัพติดตามทัพเวียงจันทน์ จนสามารถเข้ายึดเมืองได้สำเร็จ[7] ส่วนบุตรของเจ้าพระตาได้แก่ท้าวคำผงและท้าวฝ่ายหน้าได้เข้าร่วมรบกับฝ่ายสยาม ต่อมาพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารทรงเเต่งตั้งให้ท้าวคำผงเป็นพระปทุมสุรราช นายกองคุมไพร่พลอยู่ที่บ้านดู่บ้านแก ขึ้นตรงต่อนครจำปาศักดิ์ ต่อมาพระปทุมสุรราชอพยพไพร่พลไปอยู่ที่บ้านห้วยเเจะระเเม และทำราชการกับเมืองเวียงจันทน์[8]
การตั้งเมืองอุบลราชธานี
[แก้]ในปี พ.ศ. 2334 เกิดกบฏอ้ายเชียงแก้วยกกำลังมาตีเมืองนครจำปาศักดิ์ พระปทุมสุรราชและท้าวฝ่ายหน้าได้ยกกำลังไปรบ สามารถจับอ้ายเชียงแก้วได้ และทำการประหารชีวิตที่บริเวณแก่งตะนะ และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2335 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านห้วยเเจะระเเมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แต่งตั้งให้พระประทุมสุรราชเป็นพระประทุมวรราชสุริยวงศ์[1] ซึ่งนับเป็นเจ้าเมืองคนแรก
ภายใต้การปกครองของสยาม
[แก้]ต่อมาในปี พ.ศ. 2338 พระปทุมวรราชสุริยวงศ์ ถึงเเก่พิราลัย รัชกาลที่ 1 ทรงโปรดเกล้าพระราชทานสัญญาบัตร[ต้องการอ้างอิง] เเต่งตั้งให้ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ทิดพรหม) น้องชายพระประทุม เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนต่อมา[9] รวมมีเจ้าเมืองอุบลราชธานี ที่พระมหากษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งทั้งสิ้น 4 ท่าน โดยเป็นเชื้อสายของพระวอพระตา 3 ท่านเเรก เเละเชื้อสายของเจ้าอนุวงศ์เเห่งนครเวียงจันทน์ 1 ท่าน
สาเหตุที่ส่วนกลางส่งลูกหลานพระเจ้าสิริบุญสารให้มาปกครองเมืองอุบลราชธานีเเทนกลุ่มพระวอพระตาซึ่งเป็นสายกรมการเมืองเดิม เพราะว่า ทางเมืองอุบลราชธานีในช่วงสงครามกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้มีการให้ความร่วมมือเเละเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎเจ้าอนุวงศ์ ต่อมาจึงส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ไว้วางพระทัยในกรมการเมืองเก่าของเมืองอุบลที่เคยเข้าร่วมกับฝ่ายกบฎมาก่อน เพื่อเป็นการลดทอนอำนาจกลุ่มเจ้านายสายเดิมหรือสายพระวอพระตา[10] จึงได้ส่งเจ้าหน่อคำ พระโอรสในเจ้าเสือกับเจ้านางท่อนแก้ว เจ้าเสือผู้เป็นพระบิดานั้นเป็นพระราชโอรสในเจ้าอนุวงศ์ ทั้งนี้สาเหตุที่ส่งเจ้าหน่อคำมาปกครองเเละให้อำนาจเเก่เจ้าหน่อคำก็เนื่องจากเจ้าหน่อคำได้รับความดีความชอบจากการที่เป็นฝ่ายที่เห็นต่างเเละไม่เข้าร่วมกับกลุ่มกบฎเจ้าอนุวงศ์ เเม้ท่านจะเป็นหลานของเจ้าอนุวงศ์ก็ตาม จึงเป็นที่ไว้วางใจ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหิรัญญบัฎ (เเผ่นเงิน)[ต้องการอ้างอิง] ให้พระนามว่า เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ ดำรงรัฐสีมา อุบลราชธานีบาล เป็นเจ้าเมืองอุบลราชธานี เพื่อให้คล้องกันกับพระนามของ เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ ดำรงรัฐสีมา มุกดาหาราธิบดี เจ้าเมืองมุกดาหาร ผู้เป็นพระญาติใกล้ชิด เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์จึงปกครองเมืองอุบลราชธานี ในฐานะเจ้าประเทศราชเช่นเดียวกับเจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์[2] เเทนกลุ่มเจ้านายสายสายพระวอพระตา ที่มีพระยศนิยมออกคำนำนามพระยศในจารึกว่า พระ เช่น พระประทุมฯ พระพรหมฯ เป็นต้น
ต่อมาเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์มีปัญหาวิวาทกับกรมการเมืองอุบล จนถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาลกลายเป็นคดีความกันอยู่หลายครา จนสูญเสียทรัพย์สินเเทบจะหมดสิ้นเพื่อใช้ในการต่อสู้คดีกันทั้ง 2 ฝ่าย จนเมื่อเจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงษ์ถึงเเก่พิราลัย ในปี พ.ศ. 2429 เป็นต้นมา จึงไม่มีการเเต่งตั้งเจ้าเมืองอุบลราชธานีอีกเลย มีเเต่เพียงผู้รักษาราชการเมืองเเทนเท่านั้น จนกระทั่งปี พ.ศ. 2442 พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่ต่างพระองค์สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวทรงให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองในระบบอาญาสี่ และแทนที่ด้วยตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง[11]
รายพระนามและรายนามเจ้าเมืองและผู้รักษาราชการเมือง
[แก้]ลำดับ | รายพระนาม/รายนาม | ตำแหน่ง | เริ่มต้น (พ.ศ.) | สิ้นสุด (พ.ศ.) | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
1 | พระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง ณ อุบล) | เจ้าเมืองอุบลราชธานี | 2335 | 2338 | |
2 | พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม พรหมวงศานนท์) | เจ้าเมืองอุบลราชธานี | 2338 | 2383 | |
ว่างตำแหน่ง 2383–2388 | |||||
- | ราชบุตร (สุ่ย) | ราชบุตรเมืองอุบลราชธานี | 2388 | 2388 | ถึงแก่อนิจกรรมที่กรุงเทพฯ ก่อนมาดำรงตำแหน่ง |
3 | พระพรหมราชวงศา (กุทอง สุวรรณกูฏ) | เจ้าเมืองอุบลราชธานี | 2388 | 2406 | |
ว่างตำแหน่ง 2406–2409 | |||||
4 | เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์ (เจ้าหน่อคำ) | เจ้าเมืองอุบลราชธานี | 2409 | 2429 | |
ว่างตำแหน่ง 2429–2434 | |||||
- | เจ้าราชบุตร (คำ) | เจ้าราชบุตรเมืองอุบลราชธานี | 2434 | 2434 | ถึงแก่อนิจกรรมก่อนลงไปรับสุพรรณบัฏที่กรุงเทพฯ[4] |
- | ท้าวสุคำทัด | ผู้รักษาราชการเมืองอุบลราชธานี[4] | 2434 | ไม่ปรากฏ | |
ยกเลิกตำแหน่งอาญาสี่ (2442)[11] |
การปกครอง
[แก้]ภายหลังการก่อตั้งเมืองอุบลราชธานีแล้ว ก็ได้มีการตั้งเมืองสำคัญในเขตปกครองของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นอีกหลายเมือง ดังนี้
- พ.ศ. 2357 โปรดเกล้าฯ ตั้งบ้านโคกพเนียง เป็นเมืองเขมราษฎร์ธานี ตั้ง อุปฮาดก่ำ (เมืองอุบล) เป็น พระเทพวงศา เจ้าเมือง และ ตั้ง บ้านสิงห์ท่า เป็นเมืองยโสธร ตั้ง ราชวงศ์สิงห์ (เมืองโขง) เป็น พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมือง
- พ.ศ. 2364 ยกบ้านนาคอขึ้นเป็นเมืองโขงเจียง (โขงเจียม) โดยขึ้นกับนครจำปาศักดิ์
- พ.ศ. 2388 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านช่องนางให้เป็นเมืองเสนางคนิคม และต่อมา หลวงธิเบศร์ หลวงมหาดไทย และหลวงอภัย กรมการ เมืองศีร์ษะเกษ เกิดความขัดแย้งกับเจ้าเมืองศีร์ษะเกษ[12] ภายหลังได้ขอแยกตัวออกมาจากเมืองศีร์ษะเกษ และอพยพนำไพร่พลออกมาตั้งเป็นเมืองใหม่ ขอพระราชทานยกบ้านน้ำโดมใหญ่ขึ้นเป็นเมืองเดชอุดม ให้หลวงวิเศษ (สาร) เป็นราชบุตร หลวงอภัยเป็นราชวงศ์ หลวงมหาดไทยเป็นอุปฮาด ตั้งหลวงธิเบศร์เป็นพระศรีสุระ เป็นเจ้าเมือง รักษาราชการแขวงเมืองเดชอุดม แรกเริ่มอำเภอเดชอุดมขึ้นตรงต่อ จังหวัดขุขันธ์ ต่อมาภายหลังจึงได้ถูกโอนมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานี และ ตั้ง บ้านคำแก้ว เป็น เมืองคำเขื่อนแก้ว (ปัจจุบัน ตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ) ขึ้นสังกัด เมืองเขมราษฎร์ธานี
- พ.ศ. 2390 ตั้งบ้านดงกระชุหรือบ้านไร่ ขึ้นเป็นเมืองบัวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นเมืองบัวบุณฑริก หรืออำเภอบุณฑริกในปัจจุบัน แรกเริ่มเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอเดชอุดม จังหวัดขุขันธ์ ต่อมาถูกโอนย้ายมาขึ้นกับจังหวัดอุบลราชธานีพร้อมกับอำเภอเดชอุดม ภายหลังถูกยกฐานะจากกิ่งอำเภอเป็นอำเภอบุณฑริก
- พ.ศ. 2401 ตั้งบ้านค้อใหญ่ให้เป็นเมือง ขอแต่งตั้งท้าวจันทบรมเป็นพระอมรอำนาจและเป็นเจ้าเมือง ตั้งท้าวบุตตะเป็นอุปฮาด และให้ท้าวสิงหราชเป็นราชวงศ์ นอกจากนี้ยังให้ท้าวสุริโยซึ่งเป็นราชบุตรรักษาราชการเมืองอำนาจเจริญขึ้นกับเมืองเขมราฐ
- พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านกว้างลำชะโด เป็นเมืองพิบูลมังสาหาร โดยตั้งท้าวธรรมกิติกา (จูมมณี) เป็นพระบำรุงราษฎร์และเป็นเจ้าเมือง และให้ตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผล โดยตั้งท้าวสุริยวงษ์ เป็นพระอมรดลใจและเป็นเจ้าเมือง
- พ.ศ. 2422 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านท่ายักขุเป็นเมืองชานุมานมณฑล และให้ตั้งบ้านเผลา (บ้านพระเหลา) เป็นเมืองพนานิคม
- พ.ศ. 2423 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนากอนจอ เป็นเมืองวารินชำราบ
- พ.ศ. 2424 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านจันลานาโดม เป็นเมืองโดมประดิษฐ์ (ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านที่อำเภอน้ำยืน)
- พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านทีเป็นเมืองเกษมสีมา ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นอำเภอม่วงสามสิบ
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สำนักนายกรัฐมนตรี (1971), เรื่องทรงตั้งเจ้าประเทศราชกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ [Regarding the Royal Investiture of Vassal Lords in the Kingdom of Rattanakosin During the Reign of Rama I] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี, p. 6, สืบค้นเมื่อ 2024-08-27
- ↑ 2.0 2.1 จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระฯ (1934), "เดือน ๗ จุลศักราช ๑๒๔๐", จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภาค ๗, พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-08-27
- ↑ สายสงวนวงศ์, ประวิทย์ (2020). "การขยายอิทธิพลและการสนับสนุนตั้งเมืองของสยามใน "พื้นที่อีสาน" ต้นพุทธศตวรรษที่ 24" [Siam’s expansion of influence and policy on city establishment in “Isanarea” at the beginning of the 24th Buddhist century]. วารสารประวัติศาสตร์. 45 (1): 8–10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2024-09-10. สืบค้นเมื่อ 2024-11-08 – โดยทาง SWU e-Journals System.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 วิภาคย์พจนกิจ, เติม (2003), ประวัติศาสตร์อีสาน (PDF) (4th ed.), กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, pp. 91–128, ISBN 974-571-854-8, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-06-09, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ กรมศิลปากร (ผู้รวบรวม) (1941), "ตำนานเมืองนครจำปาศักดิ์" [Tamnan Mueang Nakhon Champasak], ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๗๐ [Collection of Historical Archives] (PDF), พระนคร: โรงพิมพ์พระจันทร์, pp. 23–36, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ โบราณคดีสโมสร (ผู้รวบรวม) (1916), "พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน" [Phongsawadan Hua-mueang Monthon Isan], ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๔ [A Collection of Chronicles] (PDF), กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ "๓๓", พระราชพงษาวดารกรุงเก่า (ฉบับหมอบรัดเล), กรุงเทพฯ: แดน บีช แบรดลีย์, 1864, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ สำนักหอสมุดแห่งชาติ, สำเนาศุภอักษรเมืองเวียงจันมีมาว่าด้วยการเมืองเวียงจัน จ.ศ. 1144, ห.จ.ช.1/12 เลขที่ 7/ก อ้างใน เว้าพื้นประวัติศาสตร์ (19 April 2024). "รัฐประหารพระเจ้าตากสิน : กับปฏิกิริยาหัวเมืองลาวฝ่ายเวียงจันทน์". Facebook. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ สุนทรราชเดช (แข้ ประทุมชาติ), พระ (2021), พงศาวดารเมืองยโสธร ฉบับ พระสุนทรราชเดช (แข้ ประทุมชาติ) (PDF), สกลนคร: หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดยโสธร โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร, p. 13, สืบค้นเมื่อ 2024-11-10
- ↑ ตันเลิศ, สุธิดา (2015). "บทวิจารณ์หนังสือ "เล่าเรื่องเมืองอุบลราชธานี"" (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 6 (1): 36–37. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2024-07-20. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
- ↑ 11.0 11.1 สิถิรบุตร, อุราลักษณ์ (1983). "บทที่ ๓" (PDF). มณฑลอีสานและความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ [Monthon Isan and its historical significance] (วิทยานิพนธ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. pp. 129–131. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
- ↑ คำงาม, ชัชวาลย์. "สายเลือด สายสกุลเจ้าเมืองศรีสะเกษเท่าที่สืบได้ (1)". ลูกหลานเจ้าเมืองศรีสะเกษ. สืบค้นเมื่อ 2024-11-10.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)