มณฑลอุบล
มณฑลอุบล | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มณฑลเทศาภิบาล | |||||||||
พ.ศ. 2455 – 2469 | |||||||||
เมืองหลวง | อุบลราชธานี | ||||||||
การปกครอง | |||||||||
• ประเภท | สมุหเทศาภิบาลต่างพระเนตรพระกรรณ | ||||||||
สมุหเทศาภิบาล | |||||||||
• พ.ศ. 2455–2456 | พระยาศรีธรรมศุภราช (เจริญ จารุจินดา) | ||||||||
• พ.ศ. 2456–2469 | พระยาวิเศษสิงหนาท (ปิ๋ว บุนนาค) | ||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | รัตนโกสินทร์ | ||||||||
• แยกออกมาจากมณฑลอีสาน | พ.ศ. 2455 | ||||||||
• เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลภาคอีสาน | พ.ศ. 2459 | ||||||||
• ยุบรวมกับมณฑลนครราชสีมา | 31 มีนาคม พ.ศ. 2469 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ไทย |
มณฑลอุบล เป็นมณฑลที่ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2455 โดยแยกออกจากมณฑลอีสาน (มณฑลลาวกาว หรือ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ) จน พ.ศ. 2469 ยุบมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา
ประวัติ
[แก้]เมืองอุบลราชธานีเริ่มตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2321 โดยมีพระปทุมวรราชสุริยวงศ์เป็นผู้ปกครอง ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมืองในอีสานขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์ในฐานะหัวเมืองประเทศราชและหัวเมืองอีสาน โดยยังคงปกครองในระบบอาญาสี่
จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการปฏิรูปหัวเมืองอีสาน โดยเมื่อ พ.ศ. 2434 มีการรวมหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกและหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก มณฑลลาวกาว หรือ มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเปลี่ยนชื่อมาเป็น มณฑลอีสาน ได้รวมหัวเมือง 5 บริเวณ คือ อุบลราชธานี จำปาศักดิ์ ขุขันธ์ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด ตั้งที่บัญชาการมณฑลที่เมืองอุบลราชธานี บริเวณอุบล มี 3 เมือง บริเวณจำปาศักดิ์มีเมืองเดียว บริเวณขุขันธ์มี 3 เมือง บริเวณสุรินทร์มี 4 เมือง และบริเวณร้อยเอ็ดมี 5 เมือง[1] ต่อมา พ.ศ. 2455 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้แยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล โดยมณฑลอุบลประกอบด้วย 3 เมือง คือ เมืองอุบลราชธานี ขุขันธ์ซึ่งต่อมาเปลี่ยนมาเป็นศรีสะเกษ ตามชื่อที่ตั้งเมืองเดิม และสุรินทร์ มีที่ทำการมณฑลคงอยู่ที่ศาลารัฐบาลอุบล และข้าราชการมณฑลยังคงเป็นคณะเดิม[2] โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายพระยาศรีธรรมาศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นพระยาวิเศษสิงหนาท ปลัดมณฑลประจำจังหวัดขุขันธ์ มาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุบล
พ.ศ. 2456 มีพระราชโองการให้รวมมณฑลอุดร มณฑลอุบล และมณฑลร้อยเอ็ดเป็นภาค เรียกว่า "ภาคอีสาน" ตั้งที่บัญชาการมณฑลภาคที่เมืองอุดรธานี ให้พระยาราชนุกิจวิบูลย์ภักดี (อวบ เปาวโลหิต) ดำรงตำแหน่งอุปราชภาคอีสาน และสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรอีกตำแหน่งหนึ่ง[3] จนกระทั่ง พ.ศ. 2469 ยุบมณฑลอุบล ร้อยเอ็ด ขึ้นกับมณฑลนครราชสีมา[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 16.
- ↑ มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ, 18.
- ↑ "การเมืองการปกครองเมืองอุบลราชธานี". งานข้อมูลท้องถิ่น สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
- ↑ "การปฏิรูปการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.
บรรณานุกรม
[แก้]- วุฒิชัย มูลศิลป์. "มณฑลเทศาภิบาล : วิเคราะห์เปรียบเทียบ" (PDF). สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-08-31.