รัฐสุลต่านซิงกอรา
รัฐสุลต่านซิงกอรา | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1605–ค.ศ. 1680 | |||||||||
สถานะ | ประเทศราชของอยุธยา (ค.ศ. 1605–1631) | ||||||||
เมืองหลวง | ซิงกอรา | ||||||||
ภาษาทั่วไป | |||||||||
การปกครอง | รัฐสุลต่าน | ||||||||
สุลต่าน/เจ้าผู้ครอง | |||||||||
• 1605–1620 | ดาโต๊ะโมกอล (คนแรก) | ||||||||
• 1620–1668 | สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ | ||||||||
• 1668–1680 | สุลต่านมุสตาฟา (สุดท้าย) | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• ประกาศอิสรภาพ | ค.ศ. 1605 | ||||||||
• รวมเข้ากับอยุธยา | ค.ศ. 1680 | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | ประเทศไทย |
รัฐสุลต่านซิงกอรา (มลายู: Kesultanan Singora) ท้องถิ่นออกเสียงว่า เสงคะละ[1] ในเอกสารไทยเรียก เมืองวิไชยคีรี หรือ วิไชยาคิริราช[2] เป็นรัฐเมืองท่าบริเวณปากทะเลสาบสงขลาต่ออ่าวไทย ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณเขตจังหวัดสงขลาของประเทศไทย มีชื่อเสียงจากการเป็นเมืองท่าปลอดภาษี เป็นแหล่งรวมสินค้าจากตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งควบคุมเส้นทางเดินเรือภายในทะเลสาบสงขลาและบริเวณอ่าวไทยบางส่วน[3] ทุกวันนี้ยังเหลือร่องรอยของรัฐสุลต่านแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ เช่น ป้อมปราการ, สุสานวิลันดา ซึ่งเป็นที่ฝังศพของชาวดัตช์[4] และสุสานมรหุ่ม ซึ่งเป็นที่ฝังพระศพสุลต่านสุลัยมานชาห์ บริเวณหัวเขาแดง อำเภอสิงหนคร[5]
รัฐสุลต่านซิงกอรา หรือเมืองวิไชยคีรี ก่อตั้งโดยดาโต๊ะโมกอล ไม่ทราบชาติพันธุ์มาแต่เดิม แต่คาดว่าน่าจะเป็นโจรสลัดก่อนขึ้นเป็นเจ้าเมือง[6] บางแห่งว่า เป็นชาวมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียหรืออาหรับจากชวา บ้างว่าเป็นแขกมักกะสัน[7] ขณะที่บันทึกของคณะพ่อค้าชาวฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช กล่าวไว้ว่า "...เมื่อปี ค.ศ. 1642 (พ.ศ. 2158) มีแขกมลายูคนหนึ่งได้ตั้งตนเป็นใหญ่และได้กบฏต่อพระเจ้ากรุงสยาม แขกมลายูผู้นี้ได้ทำป้อมคูประตูหอรบอย่างแข็งแรงแน่นหนา...พอสักหน่อย แขกมลายูอยู่ก็ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ เรียกว่า พระเจ้าเมืองสงขลา" สอดคล้องข้อความเหนือหลุมฝังพระศพระบุว่า สุลต่านสุลัยมานเป็น "...มลายูที่นับถือศาสนาอิสลาม"[8] เดิมรัฐสุลต่านซิงกอราเป็นประเทศราชขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา[9] ที่มีไว้เพื่อควบคุมและแก้ปัญหาโจรสลัดมุสลิมหรือที่เรียกว่าสลัดแขกในบริเวณนั้น[10] ซิงกอรามีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นในช่วงเวลาที่อาณาจักรนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นอีกหนึ่งประเทศราชและตัวแทนของอยุธยาในภาคใต้สิ้นความแข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากการโจมตีของเหล่าสลัดแขก[11] หลังการสถาปนาราชวงศ์ปราสาททอง ซิงกอราประกาศไม่ขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยาหรือใคร ๆ พร้อมกับพัฒนาจนกลายเป็นเมืองท่าสำคัญแห่งหนึ่ง ครั้นในรัชสมัยสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ รัฐสุลต่านซิงกอราขยายอำนาจทางการทหาร เข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราช ปัตตานี และพัทลุงไว้ในอำนาจ[12] พวกเขาวางอำนาจลงในท้องถิ่นพัทลุง[13] ทว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงมองว่าซิงกอราหรือวิไชยคีรีเป็นเพียงประเทศราชของอยุธยา การกระทำเช่นนี้ทรงถือว่าเป็นกบฏ จึงมีพระราชโองการให้ทหารไปรบและยึดซิงกอราไว้ได้ ก่อนทำการกวาดต้อนผู้คนไปถวาย[2] อย่างไรก็ตามเจ้านายซิงกอราที่ถูกกวาดต้อน บางคนยังรับราชการต่อเนื่องจนถึงยุครัตนโกสินทร์ มีลูกหลานสืบทอดลงมา หนึ่งในนั้นคือสมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว[14] และวงศ์มาหุมแขกบางส่วนได้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงสืบทอดมา[15][16] ส่วนราษฎรบางส่วนถูกกวาดต้อนไว้ที่บ้านสงขลาและบ้านพุมเรียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี[17]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ตราประจำพระองค์สุลต่านสุลัยมานบนกระบอกปืนใหญ่
-
สุสานมรหุ่ม
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (12 มิถุนายน พ.ศ. 2478 น)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 Apr 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 มรดกความทรงจำแห่งนพบุรีศรีลโวทัยปุระ : ว่าด้วยโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้, หน้า 76-77
- ↑ "สงขลาหัวเขาแดง เมืองสุลต่านสุไลมาน". วารสารเมืองโบราณ. 1 Dec 2018. สืบค้นเมื่อ 24 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ พิทยะ ศรีวัฒนสาร (13 Dec 2010). "หลักฐานการฝังศพชาวดัทช์ในสมัยอยุธยาที่เมืองสงขลาเก่า". สยาม-โปรตุเกสศึกษา. สืบค้นเมื่อ 17 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สุสานมรหุ่ม (สุสานสุลต่าน สุไลมาน)". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสงขลา. 14 Jul 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-22. สืบค้นเมื่อ 24 Apr 2020.
- ↑ สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา, หน้า 65
- ↑ อาลี เสือสมิง (24 Mar 2012). "ขุนนางสายตระกูลสุลต่านสุลัยมาน". อาลี เสือสมิง. สืบค้นเมื่อ 25 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย] - ↑ พรชัย นาคสีทอง (เมษายน–กันยายน 2552). "ร่องรอยและเรื่องราวเกี่ยวกับ (ชนเชื้อสาย) อิหร่านในคาบสมุทรไทย : การศึกษาผ่านแหล่งเรียนรู้และหลักฐานทางประวัติศาสตร์". วารสารปาริชาต (22:1). หน้า 211
- ↑ สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา, หน้า 75
- ↑ สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา, หน้า 80
- ↑ กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย, หน้า 243
- ↑ สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา, หน้า 93
- ↑ กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย, หน้า 247
- ↑ "สกุลมุสลิม "สุนนี" กับสายสัมพันธ์ราชินิกุลของรัชกาลที่ 3". ศิลปวัฒนธรรม. 17 Jan 2020. สืบค้นเมื่อ 24 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี, หน้า 112, 166, 323
- ↑ กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย, หน้า 250-251
- ↑ เกสรบัว อุบลสวรรค์ (16 Jul 2019). "มุสลิมบ้านสงขลาเมืองไชยา". วารสารเมืองโบราณ. สืบค้นเมื่อ 24 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ กรกิจ ดิษฐาน (5 May 2017). "ปืนใหญ่ 4 แผ่นดิน". Gypzy World. สืบค้นเมื่อ 24 Apr 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
- บรรณานุกรม
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี. กรุงเทพฯ : มติชน, 2559. 632 หน้า. ISBN 978-974-323-056-1
- นิธิ เอียวศรีวงศ์. กรุงแตก, พระเจ้าตากฯ และประวัติศาสตร์ไทย. กรุงเทพฯ : มติชน, 2553. 288 หน้า. ISBN 978-974-02-0664-4
- ดร. วินัย ศรีพงศ์เพียร และ ดร. ตรงใจ หุตางกูร (บรรณาธิการ). มรดกความทรงจำแห่งนพบุรีศรีลโวทัยปุระ : ว่าด้วยโคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์ฯ และจารึกโบราณแห่งเมืองละโว้. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), 2558. 330 หน้า. ISBN 978-616-7154-31-2
- อาณัติ อนันตภาค. สุลต่านลุ่มทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : ยิปซี, 2557. 208 หน้า. ISBN 978-616-301-243-2
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ รัฐสุลต่านซิงกอรา