ข้ามไปเนื้อหา

นครรัฐลี้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นครรัฐลี้

พุทธศตวรรษที่ 19–พุทธศตวรรษที่ 20
สถานะนครรัฐ
เมืองหลวงเวียงกุมตระ
การปกครองราชาธิปไตย
ประวัติศาสตร์ 
• ก่อตั้ง
พุทธศตวรรษที่ 19
• ถูกผนวกเข้ากับสุโขทัย
พุทธศตวรรษที่ 20
ก่อนหน้า
ถัดไป
อาณาจักรหริภุญชัย
อาณาจักรสุโขทัย
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

นครรัฐลี้ หรือ ลับลี้[1] เป็นนครรัฐของชาวไทยวน[2][3] มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน[4] ก่อตั้งขึ้นโดยนางจามรี (คนละคนกับจามเทวี)[2] ตามมุขปาฐะอธิบายว่านางเป็นพระราชธิดาเจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบาง พากลุ่มชนและบริวารมาแต่เมืองหลวงพระบาง อพยพเข้าไปตั้งนครรัฐแห่งนี้ราวพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ซึ่งตรงกับยุคปลายของอาณาจักรหริภุญชัย กับยุคต้นของอาณาจักรล้านนา อันเป็นช่วงเวลาที่หริภุญชัยเสื่อมอำนาจและล้านนาย้ายราชธานีขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ทำให้นครรัฐลี้เป็นเขตปลอดอำนาจจากทุกฝ่าย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นครรัฐขนาดน้อยแห่งนี้ไม่มีผู้ใดมารุกรานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[2]

นครรัฐลี้มีเจ้าผู้ครองสืบต่อจากนางจามรีอีกหกพระองค์ โดยในรัชกาลสุดท้ายคือเจ้านิ้วมืองาม ก็ถูกกองทัพจากอาณาจักรสุโขทัยบุกเข้าโจมตี เผาเวียงกุมตระจนเสียหาย ผู้คนแตกฉานซ่านเซ็น และถูกสุโขทัยกวาดต้อนไปจนสิ้น[1][5] ทำให้เมืองแห่งนี้ร้างผู้คนยาวนานนับศตวรรษ[2]

มีหลักฐานเพียงน้อยชิ้นที่ยืนยันถึงการมีตัวตนของนครรัฐลี้ หนึ่งในนั้นคือเอกสารพับสาอักษรธรรมล้านนา รจนาขึ้นโดยภิกษุล้านนา ช่วง พ.ศ. 1980–2050 ซึ่งหลงเหลืออยู่ไม่กี่ฉบับ[2] นอกนั้นก็เหลือหลักฐานโบราณคดีที่ทำให้อนุมานได้ว่าอำเภอลี้เคยเป็นที่ตั้งของนครรัฐลี้ คือ ร่องรอยคูเวียง[6] กำแพงเมืองศิลาแลง เศษภาชนะดินเผา และเศษปูนปั้นประดับเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่ร่วมสมัยอาณาจักรหริภุญชัยและล้านนา[2] ส่วนเจดีย์วัดพระธาตุดวงเดียว ซึ่งสร้างร่วมสมัยนางจามรี ก็ถูกบูรณะขึ้นใหม่จนไม่เหลือเค้าโครงเดิม[6]

ประวัติ[แก้]

ก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา บริเวณทางตอนเหนือของประเทศไทยมีการก่อตั้งรัฐแบบแว่นแคว้นหรือนครรัฐขนาดน้อยกระจัดกระจายอยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญต่าง ๆ แต่ละรัฐมีกษัตริย์ปกครองตนเอง รวมทั้งมีวัฒนธรรมเป็นอัตลักษณ์ท้องถิ่นในรูปแบบของตนเอง ตามแต่ศักยภาพท้องถิ่น[7] โดยอำเภอลี้ในอดีต เคยมีร่องรอยการอยู่อาศัยของชาวลัวะ ชนพื้นเมืองดั้งเดิมอาศัยอยู่ในเวียงลี้เก่า เรียกว่า เวียงกุมตระ[2]

จากเอกสารพับสาอักษรธรรมล้านนา รจนาขึ้นโดยภิกษุล้านนา ช่วง พ.ศ. 1980–2050 ได้กล่าวถึงเบื้องกำเนิดของนครรัฐลี้เอาไว้[2] เบื้องต้นได้อธิบายว่าเดิมชาวไทยเดิมอาศัยอยู่แคว้นวิเทหะแต่ถูกชาวฮ่อ (คือราชวงศ์หยวน) รุกราน ชาวไทยต้องอพยพไปตั้งถิ่นฐานที่สิบสองพันนาและสิบสองจุไทย ขณะที่ชาวโยนกแตกออกมาหลายกลุ่ม กลุ่มหนึ่งรวมตัวกันก่อตั้งเมืองหลวงพระบาง และปกครองเมืองแห่งนี้เรื่อยมาหลายชั่วอายุคนจนถึงเจ้าคัมภีระ[3] จากนั้นเนื้อหาได้กล่าวถึงนางจามรี พระราชธิดาเจ้าคัมภีระ เจ้าผู้ครองเมืองหลวงพระบาง ที่มีเชื้อสายโยนก นางเป็นผู้มีความงามเป็นเลิศ เป็นที่หมายปองของชาวฮ่อ ชาวฮ่อจึงเข้ามารุกรานเมืองหลวงพระบาง เจ้าคัมภีระเห็นว่าคงรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้นางจามรี พระราชธิดา พร้อมด้วยข้าราชบริพารจำนวนหนึ่ง ประกอบด้วย เจ้าพัน มหาดเล็กคนสนิท นำของมีค่า ไพร่พล ข้าทาสบริวาร ออกเดินทางออกไปตั้งเมืองใหม่[3] เพ็ญสุภา สุขคตะ สันนิษฐานว่า การเดินทางของนางจามรีคงเริ่มขึ้นเมื่อราว พ.ศ. 1800[2] ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหริภุญชัย ที่กล่าวถึงชุมชนคนไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นแถบลุ่มน้ำปิงในช่วงเวลาเดียวกัน คือช่วงพุทธศตวรรษที่ 18 ถึงพุทธศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา[8] และยังสอดคล้องกับพงศาวดารลาว ที่ระบุว่ามีการอพยพครั้งใหญ่จากหลวงพระบางไปยังภาคเหนือของไทยเพื่อหนีโรคระบาดเมื่อพุทธศตวรรษที่ 19 เช่นกัน[2]

เนื้อหาในพับสาระบุว่านางจามรีเดินทางโดยให้ช้างนามว่าพลายมงคล (บางแห่งออกนามว่า พญาช้างพวงคำ) นำทางไป[1][2] ผ่านเมืองสำคัญต่าง ๆ ได้แก่ เชียงรุ่ง เชียงตุง เชียงแสน ฝาง และเชียงดาว[3] จากนั้นเดินทางมาตามแม่น้ำปิงข้ามมาทางอำเภอเวียงหนองล่อง ซึ่งขณะนั้นเป็นเขตอิทธิพลของอาณาจักรหริภุญชัย จากนั้นเดินทางไปยังแม่ทา ทุ่งหัวช้าง และลี้ ตามลำดับ[2] โดยพญาช้างของนางจามรีเดินไปยังจอมปลวกใหญ่ บนยอดจอมปลวกนั้นมีหินสีขาวคล้ายกับไข่นกยูง พญาช้างส่งเสียงร้อง จากนั้นก็เดินวนรอบจอมปลวกนั้น แล้วทรุดตัวลงแล้วชูงวงแสดงความเคารพจอมปลวกดังกล่าว จากนั้นพญาช้างก็ล้มหลังเสร็จสิ้นภารกิจ นางจามรีเห็นเป็นอัศจรรย์ว่าพื้นที่แห่งนี้คงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จึงคิดสร้างบ้านแปงเมือง ให้จอมปลวกใหญ่นั้นเป็นสะดือเมือง ให้ยึดทางเดินของพญาช้างเป็นแนวกำแพงเมือง แล้วขุดคูเมืองสองชั้น แต่ทรงให้รักษาแนวป่าไผ่ไว้เป็นแนวกำแพงธรรมชาติ ให้ยากแก่การสังเกตของฝ่ายปัจจามิตร แล้วตั้งตามเมืองนี้ว่า ลี้ หรือ ลับลี้[1]

นางจามรีครองเมืองได้ 50 ปี ก็สวรรคตลง จากนั้นก็มีเจ้าผู้ครองสืบต่อมาอีกห้ารัชกาล ได้แก่ เจ้าอุ่นเมือง เจ้าจองสูง เจ้าข้อมือเหล็ก เจ้าปู่เหลือง และเจ้านิ้วมืองาม[2] ในรัชกาลเจ้าข้อมือเหล็ก ได้ปกครองนครรัฐอีกแห่งหนึ่ง คือนครรัฐแก่งสร้อย (ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตอำเภอสามเงา จังหวัดตาก)[9] เข้าใจว่าอาจมาจากการสมรสข้ามราชวงศ์เพื่อเสถียรภาพทางการเมือง[10] และในรัชกาลเจ้านิ้วมืองาม นครรัฐลี้มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด เจ้าเมืองศรีสัชนาลัย (เอกสารเรียก พญาเมืองใต้) จึงนำกองทหารไปประชิดเมืองลี้ แต่ด้วยเมืองลี้มีป่าไผ่ล้อมรอบ มีกำแพงเมืองสองชั้น และมีประตูเมืองเพียงสองประตู ทำให้โจมตีได้ยากลำบาก พญาเมืองใต้มีรับสั่งให้พลธนูยิงที่มีถุงเงินมัดติดอยู่เข้าไปยังป่าไผ่ จากนั้นก็ถอยทัพกลับไป โดยส่งสายลับไว้ที่เมืองลี้คอยส่งข่าวไปยังศรีสัชนาลัย ฝ่ายชาวเมืองลี้ตัดต้นไผ่รอบเมืองเพื่อหาเหรียญเงินจนต้นไผ่ถูกทำลายจนหมดสิ้น ฝ่ายพญาเมืองใต้ทราบข่าวเช่นนั้น ก็ส่งกองทัพเข้าโจมตีเมืองลี้ เมืองลี้ถูกเผาทำลาย ทรัพย์สินและชาวเมืองลี้ถูกกวาดไปเมืองศรีสัชนาลัย[1][5] ทำให้เมืองลี้ร้างผู้คนยาวนานนับศตวรรษ[1][2] ปัจจุบันยังพอหลงเหลือซากเมืองเก่าลี้ให้เห็นอยู่บ้าง[4]

การปกครอง[แก้]

นครรัฐลี้มีการปกครองแบบราชาธิปไตย โดยสืบเชื้อสายจากนางจามรี หรือเรียกขานอีกพระนามว่า เจ้าเจนเมือง ปฐมกษัตริย์ลี้ ซึ่งไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัย ทั้งยังมียุคสมัยที่ห่างกันถึง 600 ปี[2] มีกษัตริย์สืบราชสมบัติต่อกันหกรัชกาล การดำรงอยู่ของนครรัฐลี้ตรงกับยุคปลายของอาณาจักรหริภุญชัย กับยุคต้นของอาณาจักรล้านนา อันเป็นช่วงเวลาที่หริภุญชัยเสื่อมอำนาจและล้านนาย้ายราชธานีขึ้นไปเมืองเชียงใหม่ ทำให้นครรัฐลี้เป็นเขตปลอดอำนาจจากทุกฝ่าย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้นครรัฐขนาดน้อยแห่งนี้ไม่มีผู้ใดมารุกรานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง[2] จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าเมืองลี้มีการติดต่อสัมพันธ์กับดินแดนอื่นทั้งใกล้และไกล[1] อย่างในรัชกาลเจ้าข้อมือเหล็กได้เถลิงราชสมบัติครองดินแดนสองแห่ง คือนครรัฐลี้ และนครรัฐแก่งสร้อย ซึ่งคาดว่าน่าจะเกิดจากการสมรสข้ามราชวงศ์เพื่อความมั่นคงของประเทศ[10]

โดยนครรัฐลี้มีเจ้าผู้ครอง 6 พระองค์ ดังนี้[2]

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าจามรี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าอุ่นเมือง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าจองสูง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าข้อมือเหล็ก
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้าปู่เหลือง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
เจ้านิ้วมืองาม
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ภูมิศาสตร์[แก้]

นครรัฐลี้เป็นพื้นที่สูง ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีลำธารหลายสายไหลรวมกับเป็นแม่น้ำลี้ ก่อนไหลรวมเข้ากับแม่น้ำปิง ถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงผู้คนมาชั่วนาตาปี มีสภาพอากาศเย็นสบาย มีหมอกปกคลุมบริเวณยอดเขาโดยทั่วไป มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ[11] ตัวเมืองตั้งอยู่บริเวณที่ราบหุบเขาขนาดเล็ก คือบริเวณวัดพระธาตุดวงเดียว มีพื้นที่ทางการเกษตรน้อยมาก และส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองพอสมควร[10]

เศรษฐกิจ[แก้]

แม้นครรัฐลี้เป็นมีลักษณะเป็นรัฐที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล แต่พบว่าลี้มีการติดต่อค้าขายกับดินแดนทั้งใกล้และไกล ดังจะพบหลักฐานทางโบราณคดี จำพวกหม้อหรือเครื่องกระเบื้องเคลือบ แสดงให้เห็นว่าลี้มิใช่เมืองโดดเดี่ยว เข้าใจว่ามีการติดต่อกับรัฐที่มีอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบอย่างประเทศจีน[1] และมีการแลกเปลี่ยนสินค้าผ่านรัฐอื่น ๆ ในแถบมหาสมุทรอินเดีย อันเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหม[12]

ประชากร[แก้]

นครรัฐลี้มีประชากรพื้นเมืองดั้งเดิมคือชาวลัวะ[2] หลังการอพยพเข้ามาของนางจามรี พร้อมกับข้าราชบริพารชาวไทยวน ทำให้นครรัฐลี้มีภาษาและวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกับอาณาจักรล้านนา[12] พวกเขาใช้อักษรธรรมล้านนาในการจดบันทึก และมีการรับศาสนาพุทธเข้าไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งรับพุทธศิลป์เชียงแสน ซึ่งเป็นพุทธศิลป์ยุคต้นของล้านนา[12] นอกจากนี้นครรัฐลี้ยังมีความสัมพันธ์เครือญาติกับนครรัฐแก่งสร้อย ซึ่งดินแดนดังกล่าวมีประชากรหลักเป็นชาวลัวะ[9] ทว่าหลังนครรัฐลี้ถูกสุโขทัยตีเมืองจนแตกพ่าย ประชากรชาวลี้โดนกวาดไปที่ศรีสัชนาลัยจนสิ้น[1][5] ทำให้เมืองลี้ร้างผู้คนยาวนานนับศตวรรษ[1][2]

ปัจจุบันประชากรของอำเภอลี้ส่วนใหญ่เป็นชาวลำพูนและเชียงใหม่ที่อพยพเข้ามาใหม่[10] แต่พวกเขาพอใจที่จะเรียกตนเองว่า ชาวลิ ไม่มีความผูกพันหรือคิดว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดลำพูน หากแต่มีความภูมิใจที่เป็นชาวลิ และประวัติศาสตร์ของนางจามรี เพราะมีหลักเมืองและมีกษัตริย์เป็นเอกเทศ แม้นครรัฐแห่งนี้จะล่มสลายไปนานแล้วก็ตาม[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 สมเจตน์ อนุสาร (9–10 กรกฎาคม 2563). ลี้ เมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนา (PDF). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. p. 2210.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  2. 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 2.14 2.15 2.16 2.17 2.18 2.19 เพ็ญสุภา สุขคตะ (11 พฤศจิกายน 2559). "ปริศนาโบราณคดี : 'เจ้าแม่จามรี' แห่งเวียงลี้ กษัตรีย์ที่ไม่มีใครรู้จัก". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 สมเจตน์ อนุสาร (9–10 กรกฎาคม 2563). ลี้ เมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนา (PDF). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. p. 2209.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  4. 4.0 4.1 กรมวิชาการ (2544). แอ่วเมืองลี้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 2.
  5. 5.0 5.1 5.2 กรมวิชาการ (2544). แอ่วเมืองลี้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 3.
  6. 6.0 6.1 "วัดพระธาตุดวงเดียว". Museum Thailand. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2567. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 113
  8. สรัสวดี อ๋องสกุล. ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : อมรินทร์, 2552, หน้า 114
  9. 9.0 9.1 ทิพาพร พิมพิสุทธิ์, ดร., บวร ประพฤติดี, ดร. (2546). ตามรอยวัฒนธรรมบ้านนา : บันทึกประวัติศาสตร์จากนโยบายสู่วิถีชีวิตชุมชน (PDF). p. 1.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 สมเจตน์ อนุสาร (9–10 กรกฎาคม 2563). ลี้ เมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนา (PDF). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. p. 2213.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  11. กรมวิชาการ (2544). แอ่วเมืองลี้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. p. 4-5.
  12. 12.0 12.1 12.2 สมเจตน์ อนุสาร (9–10 กรกฎาคม 2563). ลี้ เมืองสำคัญในประวัติศาสตร์ล้านนา (PDF). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. p. 2211.{{cite book}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)