อาณาจักรพริบพรี
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
ประวัติศาสตร์ไทย |
---|
ตัวเลขในวงเล็บ หมายถึง ปีพุทธศักราช |
อาณาจักรพริบพรี (เพชรบุรี) อาณาจักรแคว้นหนึ่งของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์อยุธยาโดยตรง ทั้งนี้มีกษัตริย์ปกครองราชอาณาจักร ภายหลังเกิดโรคระบาดจึงได้มีการย้ายการตั้งถิ่น ความสำคัญของทฤษฎีหนึ่งของนักประวัติศาสตร์ให้ความสำคัญถึงที่มาของกษัตริย์ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยา ก็คือ พระเจ้าอู่ทอง ซึ่งมีที่มาจากการกล่าวอ้างในหนังสือลาร์ลูแบร์ และคำให้การของคนกรุงเก่า มีหลักฐานการตั้งถิ่นฐานอยู่ในสองฝั่งของแม่น้ำเพชรบุรี
ประวัติ
[แก้]“เสียน” ในความรับรู้ของราชสำนักจีน หมายถึงชาวสยามแห่งลุ่มน้ำยม (สุโขทัย) ลุ่มน้ำสุพรรณบุรี (วงศ์สุพรรณบุรี) ลุ่มน้ำเพชรบุรี (นครรัฐเพชรบุรี) และชาวสยามแห่งนครศรีธรรมราช
ปี้ ฉา ปู้ หลี่ พ.ศ. 1837
[แก้]พริบพรี (เป็นภาษามอญ ยังไม่ทราบความหมาย ปัจจุบันคือ เพชรบุรี) เป็นเมืองหรือนครรัฐขนาดย่อม ที่รุ่งเรืองขึ้นมาภายใต้อาณาจักรทวารวดี เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 – 16 จนเมื่ออิทธิพลทางการเมืองของขอมแผ่เข้ามาครอบงำหลังพุทธศตวรรษที่ 16 จึงปรากฏนาม พัชรปุระ หรือ วัชรปุระ ตามจารึกของขอมหลายแห่ง และยังปรากฏอีกนามหนึ่ง “ชัยวัชรปุระ” เมื่อชัยวรรมันเทพที่ 7 ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรขอมเมื่อ พ.ศ. 1724–1763
ตามบันทึกของราชวงศ์หยวนระบุว่า พ.ศ. 1837 “ก่าน มู่ ติง” จากเมือง “ปี้ ฉา ปู้ หลี่” ส่งทูตไปเยือนราชสำนักจีนพร้อมกับบรรณาการ ศ.ยอร์จ เซเดซ์ ถ่ายทอดความหมายของ “ก่าน มู่ ติง” ว่าหมายถึง กัมรเดง อันเป็นตำแหน่งขุนนางในภาษาขอม เทียบเท่ายศเจ้าเมือง ขณะที่ “ปี้ ฉา ปู้ หลี่” หมายถึง เพชรบุรี นั่นแสดงว่า สถานะของ “เพชรบุรี” ในห้วงปี พ.ศ. 1837 เป็นเพียงนครรัฐของชาวสยาม (เสียน) ที่ทำมาค้าขายกับชาวจีน มิใช่สถานะ “รัฐ” ดั่งเช่น หลอหู หรือ เสียน (สุโขทัย)
จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราช
[แก้]กล่าวไว้ว่าขุนล่ามจีนเข้าเฝ้า ขุนล่ามได้ถวายเครื่องราชบรรณาการแก่กษัตริย์เมืองเพชรบุรี ขุนล่ามจีนได้ขอฝาง ทางเมืองเพชรบุรีได้มอบฝางให้จนเต็มเรือ เมื่อเรือกลับถึงเมืองจีน พระเจ้ากรุงจีนทรงทราบจึงโปรดพระราชทานบุตรีชื่อ พระนางจันทรเทวีศรีบาทราชบุตรีทองสมุทร ซึ่งประสูติแต่นางจันทรเมาลีศรีบาทนาถสุรวงศ์พระธิดาเจ้าเมืองจำปาได้ถวายแก่พระเจ้ากรุงจีน พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชทรงมี พระราชบุตรหลายพระองค์ องค์หนึ่งพระนามว่าพระพนมวังมีมเหสีทรงพระนามว่าพระนาง สะเดียงทอง พระพนมทะเลโปรดให้ไปสร้างเมืองนครดอนพระ พร้อมด้วยพระเจ้าศรีราชา พระราชทานคนเจ็ดร้อยคน แขกห้าร้อยคน ช้างสามร้อยเชือก ม้าสองร้อยตัว เมื่อไปถึงเมืองและสร้างพระธาตุ จากตำนานเรื่องนี้แสดงว่า เมืองเพชรบุรีได้เจริญรุ่งเรืองและเป็นเมืองหลวง เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง พระโอรสของกษัตริย์เมืองนี้ได้ไปสร้างเมืองศิริธรรมนครหรือนครศรีธรรมราชและสร้างพระบรมธาตุเมืองนครด้วยา พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชพระบวรเชษฐพระราชกุมาร อันเป็นพระราชนัดดา ได้ลาพระเจ้าปู่พระเจ้าย่ามาตั้งบ้านเมืองอยู่ ณ เพชรบุรี โดยได้นำคนมาสามหมื่นสามพันคน ช้างพังทลายห้าร้อยเชือก ม้าเจ็ดร้อยตัว สร้างพระราชวังและบ้านเรือนอยู่หน้าพระลาน ให้คนเหล่านั้นทำนาเกลือ ครองราชย์อยู่กรุงเพชรบุรีไม่นานนัก มีสำเภาจีนลำหนึ่งถูกพายุมาเกยฝั่ง ชาวเพชรบุรีได้นำ
จากคำให้การของชาวกรุงเก่า
[แก้]ได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทองสร้างเมืองเพชรบุรีไว้ว่า พระอินทราชาซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าชาติราชาได้ครองเมืองสิงห์บุรี พระอินทราชาไม่มีโอรส จึงทรงมอบราชสมบัติให้พระราชอนุชาครองราชสมบัติแทน พระนามว่าพระเจ้าอู่ทอง ส่วน พระองค์ได้เสด็จไปซ่อมแปลงเมืองเพชรบุรีเป็นเมืองหลวง บ้างก็กล่าวว่าพระองค์ถูกพระอนุชาและพระมเหสีคบคิดกันจะลอบปลงพระชนม์ พระองค์จึงหนีไปสร้างเมืองเพชรบุรี ต่อมาทรงได้พระราชโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระอู่ทอง ตามชื่อพระเจ้าอา พระโอรสองค์นี้ประสูติแต่พระมเหสีชื่อ มณีมาลา เมื่อพระอู่ทองมีพระชนม์ได้ 16 พรรษา พระอินทราชาสวรรคต พระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าอู่ทอง มเหสีทรงพระนามว่า พระนางภูมมาวดีเทวี
แบ่งแยกอาณาเขต
[แก้]ในศักราช 1196 พระเจ้าอู่ทองได้ทรงแบ่งเขตแดนกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช เจ้าเมืองศิริธรรมนคร โดยใช้แท่นหินเป็นเครื่องหมาย ทางเหนือเป็นของพระเจ้าอู่ทอง ทางใต้เป็นของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และทั้งสองประเทศจะเป็นไมตรีเสมอญาติกัน หากพระเจ้าศรีธรรมโศกราชสิ้นพระชนม์เมื่อใด ก็ขอฝากนางพญาศรีธรรมโศกราช พญาจันทรภานุและพญาพงศ์สุราหะพระอนุชาด้วยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสินค้ากัน โดยทางฝ่ายเพชรบุรีส่งเกลือไปให้ ทางเมืองนครศรีธรรมราชส่งหวาย แซ่ม้าเชือก เป็นต้น มาให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชฯ ให้ซ่อมแปลงพระธาตุและส่งเครื่องราชบรรณาการและพระราชสาส์นมายังพระเจ้าอู่ทอง พระองค์โปรดฯ ให้นำเครื่องไทยทานไปยังเมืองนครศรีธรรมราช ต่อมาเมืองเพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงทรงหาที่ตั้งเมืองใหม่ โดยทรงตกลงสร้างเมืองขึ้น ณ ตำบลหนองโสน ซึ่งตรงกับสมัยพระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ทรงสร้างนครอินทปัตย์ เมื่อ พ.ศ. 1111 เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้วทรง ตั้งชื่อว่ากรุงเทพมหานครบวรทวารวดีศรีอยุธยา มหาดิลกบวรรัตนราชธานีบุรีรมย์ และทรงสถาปนาพระองค์ใหม่ว่าพระเจ้ารามาธิบดีสุริยประทุมสุริยวงศ์
ตำนานเพชรบุรี
[แก้]ตำนานเพ็ชรบุรี ฉบับราชบุรี พ.ศ. 2368 กล่าวว่าแต่ในกาลปางก่อนดึกดำบรรพ์โพ้น พระนครเพชรบุรี เป็นเมืองมีกษัตริย์สมมุติราช ครอบครองมาเป็นลำดับ ๆ เป็นเมืองเกษมสารพร้อมสรรพด้วยความสนุกสำราญรื่นรมย์ ทุกประการ มั่งคั่งด้วยคุณสมบัติและทรัพย์ศฤงคาร ทั้งมีปาโมชอาจารย์เป็นประทานทิศ สั่งสอนสานุศิษย์บรรลุศิลปวิทยาคาถา อาคม เวททางค์ศาสตร์สำเร็จ อิทธิฤทธิ์เป็นเมืองมีเกียรติยศไพศาลแผ่เผยเดชานุภาพความมั่งคั่งสมบูรณ์ไปในนา ๆ ชาติทั้งหลายปราศจากภัยอันตรายศัตรู หมู่ปรปักษ์เสี้ยนหนามชาวเมืองเกษมสำราญบานใจไพร่ฟ้าหน้าใสทั่วหน้ามีฝูงชนกล่นเกลือนล้นหลามไปทั่วทุกภูมิลำเนามากมาย ด้วยชาวเจ้าและพวกพ่อค้านานาชนิดแขกเมืองมาพึ่งพาค้าขายสินค้าใหญ่ที่เป็นประธานทรัพย์นับว่าขึ้นชื่อ ฤๅชา คือ ป่าตาล ดงตาล มีอยู่ทั่วอาณาเขตต์ มีโคตรเพ็ชร์อันเตร็ด ตรัด จำรัสศรี เพลากลางราตรี ส่องแสงสว่างพราวราวกับดาวประดับเขา บังเกิดมีปรากฏขึ้นเป็นเดิม ณ ยอดเขาใหญ่ด้านดินแดน ได้อาศัย แสงเพ็ชร์ พลอยแห่งภูเขานั้นเป็นเหตุภูเขานั้น จึงได้สมญาพิเศษเรียกว่า เขาแด่น คือแลดูด่างพร้อย เพราะเหตุเพ็ชร์พลอย ปรากฏแล้ว ณ ยอดภูเขา นั้นท่านโบราณกษัตริย์ ทั้งหลาย ผู้เป็นต้น ก่น สร้างพระนคร จึงขนานนามกรเมืองนั้นว่า เมืองเพ็ชรบุรี กระนี้แล
จากบันทึกของลาลูแบร์
[แก้]ได้กล่าวถึงกษัตริย์เมืองเพชรบุรีไว้ว่า ปฐมกษัตริย์สยามทรงพระนามว่าพระปฐมสุริยเทพนรไทยสุวรรณบพิตร ครองนครไชยาบุรี พ.ศ. 1300 สืบราชสันติวงศ์มาสิบชั่วกษัตริย์ องค์สุดท้ายทรงพระนามว่าพญาสุนทรเทพมหาเทพราช โปรดฯ ให้ย้ายเมืองหลวงตั้งชื่อใหม่ว่าธาตุนครหลวง (Tasoo Nocorn Louang) ในปี พ.ศ. 1731 กษัตริย์องค์ที่ 12 สืบต่อมาจากพญาสุนทรฯ ทรงพระนามว่าพระพนมไชยศิริ พระองค์โปรดฯ ให้ราษฎรไปอยู่ ณ เมืองนครไทยทางตอนเหนือของเมืองพิษณุโลก ส่วนพระองค์เองไปสร้างเมืองใหม่ชื่อพิบพลี (Pipeli) ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพระมหากษัตริย์สืบต่อมา 4 ชั่วกษัตริย์จนถึงองค์สุดท้ายทรงพระนามว่า รามาธิบดี ได้สร้างเมืองสยามขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1894 จากบันทึกนี้กับตำนานเมืองนครศรีธรรมราชมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่เพี้ยนนามเท่านั้น คือ พระพนมทะเลศรีมเหสวัสดิทราธิราชกับพระพนมไชยศิริ ส่วนองค์ที่สร้างกรุงศรีอยุธยานั้นพระนามตรงกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องพระพนมไชยศิรินี้ บางตำนานได้กล่าวไว้ว่า เป็นเจ้าเมืองเวียงไชยปราการได้หนีข้าศึกมาจากเมืองสุธรรมวดี (สะเทิม) เมื่อ พ.ศ. 1547 ในตอนแรกจะอพยพครอบครัวไปทางทิศตะวันตกของแม่น้ำกก แต่ในขณะนั้นในแม่น้ำมีมาก จึงล่องใต้มายังตำบลหนึ่งแล้ว จึงสร้างเมืองขึ้นให้ชื่อว่า กำแพงเพชร และที่เมืองสุโขทัยยังมีเมือง ๆ หนึ่งชื่อ เมืองเพชรบุรี อยู่ที่อำเภอคีรีมาศริมฝั่งคลองสาระบบ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาอย่างยิ่ง
พระนามกษัตริย์
[แก้]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้ข้อคิดเห็นว่า "เดิมเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้ว เมืองเพชรบุรีมีกษัตริย์ปกครองเช่นเดียวกับเมืองนครศรีธรรมราช มาจนถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ อำนาจของเมืองทั้งสองจึงอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา" อย่างไรก็ตาม ถ้าหากจะรวบรวมพระนามกษัตริย์อาณาจักรเพชรบุรีที่ปรากฏมีดังนี้
ลำดับ | พระนาม/นาม | ตำแหน่ง | ราชวงศ์ | ช่วงเวลา |
---|---|---|---|---|
1 | พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช | กษัตริย์เพชรบุรี | - | ไม่ทราบปี |
{{{6}}} | ||||
2 | พระพนมไชยศิริ | กษัตริย์เพชรบุรี | - | ไม่ทราบปี |
{{{6}}} | ||||
3 | พระกฤติสาร | กษัตริย์เพชรบุรี | - | ไม่ทราบปี |
{{{6}}} | ||||
4 | พระอินทราชา | กษัตริย์เพชรบุรี | - | ไม่ทราบปี |
{{{6}}} | ||||
5 | พระเจ้าอู่ทอง | กษัตริย์เพชรบุรี | - | ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748 |
เพชรบุรี: ไม่ทราบปี - พ.ศ. 1748; อโยธยา:พ.ศ. 1748 - 1796[1] | ||||
6 | เจ้าสาม | กษัตริย์เพชรบุรี | - | พ.ศ. 1748 - ไม่ทราบปี |
{{{6}}} | ||||
- | - | - | - | - |
{{{6}}} | ||||
- | เจ้าวรเชษฐ์ | กษัตริย์เพชรบุรี | สายน้ำผึ้ง | หลัง พ.ศ. 1868 - 1887 |
เพชรบุรี: หลัง พ.ศ. 1868 - 1887; อโยธยา: พ.ศ. 1887 - 1893; อยุธยา: พ.ศ. 1893 - 1912 |
ต้นวงศ์ของกษัตริย์เพชรบุรีคือ พระพนมทะเลศรีมเหนทราชาธิราช ผู้เป็นเชื้อสายของพระเจ้าพรหมแห่งเวียงไชยปราการ ราชวงศ์นี้ได้ครองเมืองเพชรบุรีมาจนถึงสมัยพระเจ้าอู่ทอง เพชรบุรีเกิดข้าวยากหมากแพง ราษฎรอดอยาก เกิดโรคภัยไข้เจ็บ พระเจ้าอู่ทองจึงได้เสด็จไปสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี [2] [3] อาณาจักรเพชรบุรีจึงขึ้นตรงกับกรุงศรีอยุธยา ความสำคัญของอาณาจักรจึงเป็นเพียงเมืองหนึ่งของอยุธยา
นอกจากนี้ยังสามารถศึกษา ศิลปกรรมเมืองเพชร ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นอย่างลงตัวแสดงความรุ่งเรืองมาก่อนในอดีตกาล
อ้างอิง
[แก้]- จดหมายเหตุลาลูแบร์ พงศาวดารสยามครั้งกรุงศรีอยุธยา แผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช[ลิงก์เสีย] กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์, ผู้แปล
- ความรู้เรื่องเมืองสยาม เก็บถาวร 2007-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์
- ภาพสแกนจากฉบับแปลภาษาอังกฤษของจดหมายเหตุลาลูแบร์ จากเว๊บไซต์ห้องสมุดของมหาวิทยาลัยคอร์เนล
- คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ.วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดเพชรบุรี. 2544. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2542)
- บัวไทย แจ่มจันทร์.ศิลปกรรมเมืองเพชร.วิทยาลัยครูเพชรบุรี,2532.
- บัวไทย แจ่มจันทร์. ช่างเมืองเพชร.เพชรบุรี:โรงพิมพ์เพชรภูมิการพิมพ์,2535. (อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัวไทย แจ่มจันทร์)
- เพชรบุรี, จังหวัด.สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพ:โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.2525. (จังหวัด เพชรบุรีจัดพิมพ์เผยแพร่ในโอกาสงานฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี พ.ศ. 2525)
- วิชาการ, กรม.เพชรในเมือง.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว,2536.
- สนอง ประกอบชาติ. ท้องถิ่นของเรา. เพชรภูมิการพิมพ์. เพชรบุรี.
- สนอง ประกอบชาติ. เอกสารประกอบทางวิชาการ "ท้องถิ่นของเรา เพชรบุรี" . เพชรภูมิการพิมพ์.เพชรบุรี.พิมพ์ครั้งที่ 3 . พ.ศ. 2534
- สนอง ประกอบชาติ. เอกสารประกอบการเรียนรู้ รายวิชา ส 313020 เพชรบุรีของเรา.เพชรบุรี : โรงพิมพ์ธรรมรักษ์,2546.
- สุภาพร จันทร์กลัด. " หน่วยการเรียนรู้ที่ 10 ท่องไปในแดนเพชร " เอกสารประกอบการเรียน ท้องถิ่นศึกษา.อัดสำเนา.
- ประวัติศาสตร์จังหวัดเพชรบุรี[ลิงก์เสีย]
- ประวัติเมืองเพชรบุรี
- ความเป็นมาของเพชรบุรี เก็บถาวร 2007-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ พระราชพงศาวดารเหนือ ระบุว่า เมื่อทรงไปครองอโยธยาแล้ว ทรงให้เจ้าอ้ายไปครองเมืองนคร เจ้ายี่ไปครองเมืองตะนาว และเจ้าสามครองเมืองเพชรบุรี
- ↑ ความเป็นมาประจำจังหวัดเพชรบุรี.เครือข่ายกาญจนาภิเษกฯ ลิงค์[ลิงก์เสีย]
- ↑ ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์.สารคดีเชิงประวัติศาสตร์เพชรบุรี, …โจรกระจอกปิดเมืองปล้น…เพชรบุรี …ถกโสร่งพม่าที่วัดท่าไชยฯ, พิมพ์ครั้งที่ 2 (หน้าที่ 21 – 26) ลิงค์ เก็บถาวร 2014-09-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน