วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มีนาคม
1 มีนาคม: วันเอกราชในบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา (พ.ศ. 2535)
- พ.ศ. 2108 (ค.ศ. 1565) – ชาวโปรตุเกสก่อตั้งรีโอเดจาเนโร
- พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) – มีการตั้งอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน อุทยานแห่งชาติแห่งแรกในโลก ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐไวโอมิง สหรัฐ
- พ.ศ. 2439 (ค.ศ. 1896) – อ็องรี เบ็กแรล (ในภาพ) นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบหลักการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – กองทุนการเงินระหว่างประเทศเริ่มการดำเนินการทางการเงิน
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ยานอวกาศเวเนรา 3 ของสหภาพโซเวียต พุ่งชนดาวศุกร์ นับเป็นยานลำแรกในประวัติศาสตร์ที่สัมผัสพื้นผิวของดาวเคราะห์ดวงอื่น
ดูเพิ่ม: 29 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม – 2 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
2 มีนาคม: วันเอกราชในโมร็อกโก (พ.ศ. 2499)
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1935) – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ หลังรัฐบาลพยายามกราบบังคมทูลให้เสด็จกลับประเทศ แต่ไม่เป็นผล
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – เนวี่นนำรัฐประหารรัฐบาลอู้นุในประเทศพม่า และปกครองประเทศต่อมาเป็นเวลา 26 ปี
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – เครื่องบินโดยสารความเร็วเหนือเสียง คองคอร์ด ขึ้นบินทดสอบครั้งแรกในตูลูซ ประเทศฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – โรดีเชียตัดความเชื่อมโยงกับสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการและประกาศตนเป็นสาธารณรัฐ
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) - ตอลิบานเริ่มต้นการทำลายพระพุทธรูปแห่งบามียาน (ในภาพ) แหล่งมรดกโลกในอัฟกานิสถาน ซึ่งกินเวลานาสองสัปดาห์
ดูเพิ่ม: 1 มีนาคม – 2 มีนาคม – 3 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
3 มีนาคม: วันปลดปล่อยในบัลแกเรีย (พ.ศ. 2421); ฮินะมะสึริในญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2418 (ค.ศ. 1875) – การ์เมน อุปรากรของคีตกวีชาวฝรั่งเศส ฌอร์ฌ บีแซ จากนวนิยายชื่อเดียวกันของพรอสแพร์ เมอริมี แสดงรอบปฐมทัศน์ ณ โรงอุปรากรออเปรากอมิก กรุงปารีส
- พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) – บอลเชวิครัสเซียลงนามสนธิสัญญาเบรสท์-ลีตอฟสก์ (ในภาพ) กับฝ่ายมหาอำนาจกลางและออกจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1923) – ไทม์ นิตยสารข่าวรายสัปดาห์ที่แพร่หลายที่สุดในโลก ตีพิมพ์พิมพ์ฉบับฉบับแรก
- พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) – "เดอะสตาร์สแปงเกิลด์แบนเนอร์" เดิมเป็นบทกวีที่ฟรานซิส สก็อตต์ คีย์ ผู้ประพันธ์ชาวอเมริกัน เขียนหลังชมยุทธการที่บัลติมอร์ระหว่างสงคราม ค.ศ. 1812 กลายเป็นเพลงชาติของสหรัฐ
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 เกิดระเบิดบนลานจอด ไม่นานก่อนหน้าที่ทักษิณ ชินวัตรจะขึ้นเครื่อง
ดูเพิ่ม: 2 มีนาคม – 3 มีนาคม – 4 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2004 (ค.ศ. 1461) – สงครามดอกกุหลาบ: พระเจ้าเฮนรีที่ 6 แห่งราชวงศ์แลงคาสเตอร์ถูกพระภารดรขับออกจากราชสมบัติ ผู้ซึ่งต่อมาเป็นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งราชวงศ์ยอร์ก
- พ.ศ. 2312 (ค.ศ. 1769) – ชาร์ล เมซีเย นักดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ค้นพบเนบิวลานายพราน (ในภาพ) เนบิวลาสว่างซึ่งมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าในกลุ่มดาวนายพราน
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – นักการเมืองสายปรีดี พนมยงค์สี่คน ได้แก่ ทองอินทร์ ภูริพัฒน์, ถวิล อุดล, จำลอง ดาวเรือง และทองเปลว ชลภูมิ ถูกตำรวจสังหารบนถนนพหลโยธิน เขตบางเขน
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – การบินไทย เที่ยวบินที่ 114 ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร จะโดยสารไปด้วย ได้ระเบิดก่อนขึ้นบินราวครึ่งชั่วโมง มีผู้เสียชีวิตหนึ่งคน
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับอุมัร ฮะซัน อะห์มัด อัลบะชีร ประธานาธิบดีซูดาน ฐานอาชญากรรมต่อมนุษยชาติและอาชญากรรมสงคราม จากพฤติการณ์ในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่ดาร์ฟูร์
ดูเพิ่ม: 3 มีนาคม – 4 มีนาคม – 5 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) – ทหารบริติชยิงปืนใส่ฝูงชนในบอสตัน ทำให้มีพลเรือนเสียชีวิต 5 คน
- พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) – สงครามอังกฤษ-พม่าครั้งที่หนึ่ง สงครามครั้งยาวนานและราคาแพงที่สุดในประวัติศาสตร์บริติชราช เริ่มต้นขึ้น
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – วินสตัน เชอร์ชิลล์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ใช้คำว่า "ม่านเหล็ก" ครั้งแรกในสุนทรพจน์ที่วิทยาลัยเวสต์มินสเตอร์ นครฟุลตัน รัฐมิสซูรี สหรัฐ อันหมายถึงการแบ่งแยกทวีปยุโรปทางกายภาพ สัญลักษณ์ และอุดมการณ์ออกเป็นสองระหว่างสงครามเย็น
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – อัลเบร์โต กอร์ดา ช่างภาพชาวคิวบา ถ่ายภาพบุคคลของนักปฏิวัติลัทธิมาร์กซ เช เกบารา ที่รู้จักในชื่อภาพ "เกร์รีเยโร เอโรยโก" (ในภาพ)
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – สนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ระหว่างประเทศเพื่อจำกัดการกระจายอาวุธนิวเคลียร์มีผลใช้บังคับ
ดูเพิ่ม: 4 มีนาคม – 5 มีนาคม – 6 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
6 มีนาคม: วันเอกราชในกานา (พ.ศ. 2500)
- พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) – อุปรากร ลา ทราวิอาทา ของจูเซปเป แวร์ดี เปิดแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ลาเฟนิซที่เวนิส แต่การแสดงนั้นเลวมากจนผู้ประพันธ์ต้องปรับบางส่วน
- พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1869) – ดมีตรี เมนเดเลเยฟเสนอตารางธาตุชุดแรก (ในภาพ) ต่อสมาคมเคมีรัสเซีย
- พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1899) – บริษัทเคมีและเภสัชภัณฑ์สัญชาติเยอรมัน ไบเออร์ จดทะเบียนแอสไพรินเป็นเครื่องหมายการค้า
- พ.ศ. 2445 (ค.ศ. 1902) – ตั้งเรอัลมาดริด สโมสรฟุตบอลที่รวยที่สุดในโลก ในชื่อ สโมสรฟุตบอลมาดริด
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – ในการแพร่สัญญาณวิทยุ ผู้นำชาติอิสลาม อีไลจาห์ มูฮัมหมัด ประกาศว่า เคสเซียส เคลย์ นักมวยชาวอเมริกัน จะเปลี่ยนชื่อเป็นมูฮัมหมัด อาลี
ดูเพิ่ม: 5 มีนาคม – 6 มีนาคม – 7 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 704 (ค.ศ. 161) – หลังจักรพรรดิโรมัน อันโตนีนุส ปิอุส เสด็จสวรรคต มาร์กุส เอาเรลิอุสและลูกิอุส เวรุสตกลงปกครองจักรวรรดิโรมันร่วมกันอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1912) – นักสำรวจชาวนอร์เวย์ โรอัลด์ อะมุนด์เซน ประกาศว่าตนไปถึงขั้วโลกใต้สำเร็จเป็นคนแรก (ในภาพ) ระหว่างการสำรวจเมื่อ ค.ศ. 1910–1911
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ในปฏิบัติการช่างตัดไม้ กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรยึดสะพานลูเดนดอฟฟ์ข้ามแม่น้ำไรน์ ทำให้สถาปนาและขยายพื้นที่ยึดอาศัยบนแผ่นดินเยอรมันซึ่งเปลี่ยนสภาพความขัดแย้งในแนวรบด้านตะวันตก
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – มีการปล่อยกล้องโทรทรรศน์อวกาศเคปเลอร์ซึ่งออกแบบมาเพื่อค้นหาดาวเคราะห์คล้ายโลกที่โคจรรอบดาวฤกษ์อื่น
- พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) - ผู้พิพากษาชาวไทย คณากร เพียรชนะ ยิงตัวเองเสียชีวิตเพื่อประท้วงการแทรกแซงคำพิพากษา
ดูเพิ่ม: 6 มีนาคม – 7 มีนาคม – 8 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
8 มีนาคม: วันสตรีสากล; วันแม่ในหลายประเทศ
- พ.ศ. 1553 (ค.ศ. 1010) – กวีชาวเปอร์เซีย เฟร์โดว์ซี ประพันธ์ผลงานชิ้นเอก ชอฮ์นอเม มหากาพย์แห่งชาติของอิหร่านและสังคมที่เกี่ยวเนื่อง เสร็จสิ้น
- พ.ศ. 2161 (ค.ศ. 1618) – นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมัน โยฮันเนส เคปเลอร์ ค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ข้อที่สาม
- พ.ศ. 2245 (ค.ศ. 1702) – เจ้าหญิงแอนน์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ถัดจากพระเจ้าวิลเลียมที่ 3
- พ.ศ. 2279 (ค.ศ. 1736) – ชาห์นาเดอร์ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ ราชาภิเษกเป็นชาห์แห่งอิหร่าน
- พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) – มาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 370 (อากาศยานในภาพ) สาบสูญระหว่างทางจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปกรุงปักกิ่ง
ดูเพิ่ม: 7 มีนาคม – 8 มีนาคม – 9 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) – อดัม สมิธ นักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวสกอต ตีพิมพ์ ความมั่งคั่งของประชาชาติ เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2433 (ค.ศ. 1890) – เริ่มต้นการขุดคลองรังสิตอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – เอมัน เดฟเลอราขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาบริหารของเสรีรัฐไอร์แลนด์
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – สงครามโลกครั้งที่สอง: เครื่องบินทิ้งระเบิดหนักบี-29 ของกองทัพอากาศสหรัฐทิ้งระเบิดโฉบฉวยถล่มกรุงโตเกียว ทำให้เกิดพายุเพลิงซึ่งคร่าชีวิตชาวญี่ปุ่นกว่า 100,000 คน
- พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) – ฟอร์ด มัสแตงคันแรก (รุ่นในภาพ) ออกจากสายการผลิตในเดียร์บอร์น รัฐมิชิแกน
ดูเพิ่ม: 8 มีนาคม – 9 มีนาคม – 10 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2373 (ค.ศ. 1831) – พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศสทรงตั้งกองทหารต่างด้าวฝรั่งเศส เป็นหน่วยอาสาสมัครต่างด้าว เพราะคนต่างชาติถูกห้ามรับราชการในกองทัพฝรั่งเศสหลังการปฏิวัติกรกฎาคม ค.ศ. 1830
- พ.ศ. 2495 (ค.ศ. 1952) – ฟุลเคนเซียว บาติสตา อดีตประธานาธิบดีคิวบา รัฐประหารในคิวบา เพื่อรักษาอำนาจของตน หลังน่าจะแพ้การเลือกตั้ง
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – นักดาราศาสตร์ใช้หอดูดาวบนเครื่องบินเจ็ตดัดแปลงค้นพบระบบวงแหวนดาวเคราะห์จาง (ในภาพ) รอบดาวยูเรนัส
- พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) – ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก แตะจุดสูงสุดที่ 5,048.62 จุด ณ ช่วงเฟื่องฟูของภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ด็อตคอม
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – มาร์สรีคอนเนสเซนซ์ออร์บิเตอร์ของนาซาเข้าสู่วงโคจรรอบดาวอังคาร
ดูเพิ่ม: 9 มีนาคม – 10 มีนาคม – 11 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
11 มีนาคม: วันเอกราชในลิทัวเนีย (พ.ศ. 2533)
- พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) – รัฐบาลญี่ปุ่นยุคเมจิผนวกอาณาจักรรีวกีวเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดโอะกินะวะ
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: รัฐบัญญัติให้ยืม-เช่ามีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ซึ่งอนุญาตให้สหรัฐอเมริกาจัดหายุทธปัจจัยปริมาณมากให้แก่สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต จีน ฝรั่งเศส และประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรอื่น
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – ซูการ์โน ประธานาธิบดีอินโดนีเซียผู้อยู่ในอำนาจตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ถูกซูฮาร์โตและกองทัพบังคับให้ลงจากตำแหน่ง
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – จอห์น โฮเวิร์ด เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียคนที่ 25
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ทางชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น (ในภาพ) ทำให้เกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิตามมา
ดูเพิ่ม: 10 มีนาคม – 11 มีนาคม – 12 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
12 มีนาคม: วันต่อต้านการตรวจพิจารณาไซเบอร์โลก; วันเอกราชในมอริเชียส (พ.ศ. 2511)
- พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) – สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 15 ทรงประกาศให้อิกเนเชียสแห่งโลโยลาและฟรันซิสโก คาเบียร์ ผู้ก่อตั้งคณะเยซูอิต เป็นนักบุญ
- พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1930) – มหาตมะ คานธีเริ่มสัตยาเคราะห์เกลือ (ในภาพ) การเดินทางไกล 320 กิโลเมตร ในเวลา 24 วัน เพื่อประท้วงภาษีเกลือที่รัฐบาลอังกฤษตั้งไว้ในอาณานิคมอินเดีย
- พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) – สงครามเย็น: ประธานาธิบดีสหรัฐ แฮร์รี เอส. ทรูแมน ประกาศลัทธิทรูแมน เพื่อช่วยสกัดกั้นการขยายตัวของคอมมิวนิสต์
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) - นักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน สมชาย นีละไพจิตร ถูกลักพาตัวและหายสาบสูญ
ดูเพิ่ม: 11 มีนาคม – 12 มีนาคม – 13 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1781) – วิลเลียม เฮอร์เชล นักดาราศาสตร์และคีตกวีชาวเยอรมันโดยกำเนิด ค้นพบดาวยูเรนัส ขณะพักอยู่ในบ้านของเขาใน บาธ มณฑลซอมเมอร์เซ็ท ประเทศอังกฤษ ซึ่งเขาคิดว่าเป็นดาวหาง
- พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) – ไวโอลินคอนแซร์โตของเฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น คีตกวีชาวเยอรมัน ไวโอลินคอนแซร์โตที่ได้รับความนิยมที่สุดและมีการแสดงบ่อยครั้งที่สุดอันหนึ่งตลอดกาล เล่นครั้งแรกในไลพ์ซิจ
- พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1881) – จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียถูกลอบปลงพระชนม์ใกล้พระราชวังของพระองค์ในแผนระเบิดของนักปฏิวัติสี่คน
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – กองกำลังเวียดมินห์ภายใต้หวอ เงวียน ซ้าป (ในภาพ) เริ่มยิงปืนใหญ่ใส่ที่ตั้งของทหารฝรั่งเศส อันเป็นจุดเริ่มต้นของยุทธการที่เดียนเบียนฟู ยุทธการสำคัญสุดยอดในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) – ฟรานซิสได้รับเลือกตั้งเป็นพระสันตะปาปา ทำให้พระองค์เป็นพระสันตะปาปาเยซูอิตคนแรก คนแรกจากทวีปอเมริกา คนแรกจากซีกโลกใต้ และที่มิใช่ยุโรปคนแรกในรอบกว่า 1,000 ปี
ดูเพิ่ม: 12 มีนาคม – 13 มีนาคม – 14 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
14 มีนาคม: วันขึ้นปีใหม่ (ศาสนาซิกข์); ไวต์เดย์ในญี่ปุ่น; วันพาย
- พ.ศ. 2189 (ค.ศ. 1647) – สงครามสามสิบปี: สวีเดนและฝรั่งเศสบังคับให้แม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งบาวาเรียลงนามในข้อตกลงพักรบอูล์ม
- พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1794) – เอลี วิทนีย์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน จดสิทธิบัตรคอตตอนจิน เครื่องจักรเครื่องแรกซึ่งสามารถแยกใยฝ้ายออกจากฝักได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย
- พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) – ผู้สำรวจน้ำมันในเทศมณฑลเคิร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ขุดเข้าแหล่งสะสมน้ำมันความดันสูง ทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลโดยอุบัติเหตุครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – ระบบปฏิบัติการเคอร์เนล ลินุกซ์ เคอร์เนล เวอร์ชัน 1.0.0 ออกวางจำหน่าย กลายเป็นตัวอย่างซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่โดดเด่นที่สุดตัวอย่างหนึ่ง
- พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) – เกิดชุดการจลาจล การประท้วงและการเดินขบวนในลาซาและที่อื่นในทิเบต (ในภาพ)
ดูเพิ่ม: 13 มีนาคม – 14 มีนาคม – 15 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 500 (44 ปีก่อน ค.ศ.) – ผู้เผด็จการจูเลียส ซีซาร์แห่งสาธารณรัฐโรมัน ถูกมาร์คัส จูนิอัส บรูตัสและสมาชิกวุฒิสภาโรมันอีกหลายคนใช้มีดแทงเสียชีวิต
- พ.ศ. 2435 (ค.ศ. 1892) – ก่อตั้งสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล (ตราในภาพ)
- พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) – ซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย ทรงถูกบังคับให้สละราชสมบัติระหว่างการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ สิ้นสุดการปกครองกว่า 3 ศตวรรษของราชวงศ์โรมานอฟ
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – เดอะก็อดฟาเธอร์ ภาพยนตร์อาชญากรรมซึ่งสร้างจากนวนิยายชื่อเดียวกัน ผลงานกำกับโดยฟรานซิส ฟอร์ด คอปโปลา เข้าฉายรอบปฐมทัศน์
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – อาหรับสปริง: เริ่มต้นการประท้วงทั่วประเทศซีเรียต่อรัฐบาลเผด็จการ
ดูเพิ่ม: 14 มีนาคม – 15 มีนาคม – 16 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2203 (ค.ศ. 1660) – รัฐสภายาว ซึ่งเดิมพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ทรงเรียกหลังสงครามบาทหลวงเมื่อ ค.ศ. 1640 ยุบตัวลง
- พ.ศ. 2442 (ค.ศ. 1900) – อาร์เธอร์ อีแวนส์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ซื้อซากเมืองคนอสซอส (ในภาพ) ศูนย์กลางสำคัญของอารยธรรมไมนวนและแหล่งโบราณคดียุคสำริดแหล่งใหญ่ที่สุดบนเกาะครีต เพื่อการขุดค้น
- พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) – โรเบิร์ต ก็อดเดิร์ด นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ปล่อยจรวดเชื้อเพลิงเหลวลำแรกของโลก ซึ่งลอยอยู่นาน 2.5 วินาทีก่อนตกลงสู่พื้นดิน
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – สงครามเวียดนาม: ทหารอเมริกันสังหารพลเรือนไม่มีอาวุธหลายร้อยคน ณ หมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองหมีลาย ประเทศเวียดนามใต้
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติออกเสียงท่วมท้นให้จัดตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
ดูเพิ่ม: 15 มีนาคม – 16 มีนาคม – 17 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2348 (ค.ศ. 1805) – นโปเลียนเปลี่ยนอิตาลีสู่ราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – มีการประกาศการสังเคราะห์ธาตุแคลิฟอร์เนียม ธาตุหลังยูเรเนียมกัมมันตรังสี เลขอะตอม 92
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – แวนการ์ด 1 (ในภาพ) ดาวเทียมพลังงานแสงอาทิตย์ดวงแรกของโลก ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – โกลดา เมอีร์ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอิสราเอลคนแรกที่เป็นสตรี
- พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) – สงครามกลางเมืองลิเบีย: คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ ที่ 1973 อนุมัติให้มีการแทรกแซงทางทหารเพื่อคุ้มครองพลเรือนในประเทศลิเบีย
ดูเพิ่ม: 16 มีนาคม – 17 มีนาคม – 18 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
18 มีนาคม: วันธงในอารูบา (พ.ศ. 2519)
- พ.ศ. 778 (ค.ศ. 235) – แซเวรุส อาแล็กซันแดร์ จักรพรรดิโรมันถูกลีเจียนารีของพระองค์เองลอบปลงพระชนม์ เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤติการณ์คริสต์ศตวรรษที่ 3
- พ.ศ. 1772 (ค.ศ. 1229) – สงครามครูเสดครั้งที่หก: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 2 (ในภาพ) จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ปราบดาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์เยรูซาเลม
- พ.ศ. 1857 (ค.ศ. 1314) – พระเจ้าฟีลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศสทรงให้เผาฌักแห่งมอแล ผู้นำของอัศวินเทมพลาร์คนสุดท้าย ทั้งเป็น
- พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) – สงครามโปแลนด์-โซเวียต ซึ่งเป็นตัวกำหนดพรมแดนระหว่างโปแลนด์และโซเวียตรัสเซีย ยุติลงอย่างเป็นทางการด้วยสนธิสัญญาสันติภาพริกา
- พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) – รัฐสภากัมพูชาขับเจ้านโรดม สีหนุออกจากประมุขแห่งรัฐ และนายกรัฐมนตรีลอน นอลใช้อำนาจฉุกเฉินเพื่อยึดอำนาจ
ดูเพิ่ม: 17 มีนาคม – 18 มีนาคม – 19 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1821 (ค.ศ. 1279) – สิ้นสุดราชวงศ์ซ่งหลังการรุกรานของมองโกล ที่ซึ่งต่อมาเป็นราชวงศ์หยวน
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – คลารา เซทคินนักการเมืองสังคมนิยมชาวเยอรมันเริ่มต้นวันสตรีสากลครั้งแรก
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – สะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ (ในภาพ) สิ่งก่อสร้างสำคัญแห่งหนึ่งของซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เปิดใช้อย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – บ็อบ ดิลลัน นักดนตรีชาวอเมริกันทรงอิทธิพลอย่างสูง ออกอัลบั้มแรกของเขาชื่อเดียวกัน
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) – กองกำลังของอาร์เจนตินาเข้ายึดครองเซาท์จอร์เจีย ตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก จุดชนวนสงครามหมู่เกาะฟอล์กแลนด์กับสหราชอาณาจักร
ดูเพิ่ม: 18 มีนาคม – 19 มีนาคม – 20 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
20 มีนาคม: วันเอกราชในตูนิเซีย (พ.ศ. 2499)
- พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) – ราชอาณาจักรสยามลงนามสนธิสัญญาโรเบิร์ต เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่ทำกับสหรัฐ
- พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1852) – กระท่อมน้อยของลุงทอม โดย แฮเรียต บีเชอร์ สโตว์ (ในภาพ) นักประพันธ์ชาวอเมริกัน วางจำหน่ายเป็นวันแรก วรรณกรรมดังกล่าวมีอิทธิพลกับทัศนคติที่มีต่อชาวแอฟริกัน-อเมริกันและความเป็นทาสในสหรัฐอเมริกาอย่างลึกซึ้ง
- พ.ศ. 2425 (ค.ศ. 1883) – 11 ประเทศร่วมลงนามอนุสัญญาปารีสว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินอุตสาหกรรม สนธิสัญญาด้านทรัพย์สินทางปัญญาฉบับแรก ๆ
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – ยาต้านรีโทรไวรัส ไซโดวูดีน (เอแซดที) กลายเป็นยาต้านไวรัสชนิดแรก ที่ได้รับการรับรองให้ใช้กับเอชไอวีและโรคเอดส์
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – กำลังผสมที่มีสหรัฐเป็นผู้นำบุกครองอิรัก เริ่มสงครามอิรัก
ดูเพิ่ม: 19 มีนาคม – 20 มีนาคม – 21 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
21 มีนาคม: วันดาวน์ซินโดรมโลก; วันกวีนิพนธ์สากล; วันแม่ในโลกอาหรับ; วันเอกราชในนามิเบีย (พ.ศ. 2533)
- พ.ศ. 2346 (ค.ศ. 1804) – ประมวลกฎหมายนโปเลียน กฎหมายแพ่งฉบับแรกของฝรั่งเศสซึ่งสถาปนาในรัชกาลนโปเลียน มีผลใช้บังคับ โดยมีอิทธิพลต่อกฎหมายแพ่งในหลายประเทศในเวลาต่อมา
- พ.ศ. 2414 (ค.ศ. 1871) – อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค (ในภาพ) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมัน ได้รับประกาศเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรก
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – ทัณฑสถานของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาบนเกาะอัลคาทราซ ในอ่าวซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ปิดตัวลง
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – ประธานาธิบดีสหรัฐ จิมมี่ คาร์เตอร์ ประกาศคว่ำบาตรการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 ในกรุงมอสโก เพื่อประท้วงการรุกรานอัฟกานิสถานของสหภาพโซเวียต
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – มีชายใช้ค้อนพังศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร และถูกผู้พบเห็นเหตุการณ์ทุบตีจนเสียชีวิต
ดูเพิ่ม: 20 มีนาคม – 21 มีนาคม – 22 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2051 (ค.ศ. 1508) – พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนทรงตั้งอเมริโก เวสปุชชี ให้รั้งตำแหน่งหัวหน้านักเดินเรือสเปน
- พ.ศ. 2327 (ค.ศ. 1785) – ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (ในภาพ) กรุงเทพมหานคร ที่ซึ่งประดิษฐานมาจนถึงปัจจุบัน
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – ฮอโลคอสต์: ค่ายกักกันนาซีแห่งแรกที่ดาเชาก่อสร้างแล้วเสร็จ
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ก่อตั้งสันนิบาตอาหรับขึ้นที่ไคโร ประเทศอียิปต์
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – พลีสพลีสมี อัลบั้มแรกของวงร็อกอังกฤษ เดอะบีตเทิลส์ ออกวางจำหน่าย
ดูเพิ่ม: 21 มีนาคม – 22 มีนาคม – 23 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
23 มีนาคม: วันชาติในปากีสถาน (พ.ศ. 2499)
- พ.ศ. 2344 (ค.ศ. 1801) – ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 1 สืบราชบัลลังก์รัสเซียหลังพอลที่ 1 พระบรมราชชนก ถูกปลงพระชนม์ในห้องบรรทมที่ปราสาทเซนต์ไมเคิล
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – ไรชส์ทาคเยอรมันผ่านรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ซึ่งมอบอำนาจเผด็จการแก่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ทำให้เขาและคณะรัฐมนตรีตรากฎหมายได้โดยรัฐสภาไม่ต้องมีส่วนร่วม
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – มีการส่งกำลังชั่วคราวสหประชาชาติในเลบานอนเพื่อยืนยันการถอนกำลังของอิสราเอลหลังการบุกครองเมื่อเก้าวันก่อน
- พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) – หลี่ เติงฮุยได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐจีนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประเทศไต้หวัน
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซียทำให้สถานีอวกาศมีร์ (ในภาพ) อายุ 15 ปีหลุดจากวงโคจร ทำให้กลับเข้าบรรยากาศของโลกและสลายเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก
ดูเพิ่ม: 22 มีนาคม – 23 มีนาคม – 24 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2145 (ค.ศ. 1603) – พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์เสด็จขึ้นครองราชบัลลังก์แห่งอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสี่ดินแดนพระองค์แรก
- พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1882) – แพทย์ชาวเยอรมัน โรแบร์ท ค็อค (ในภาพ) ประกาศการค้นพบ Mycobacterium tuberculosis แบคทีเรียสาเหตุของวัณโรค
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – รัฐบัญญัติไทดิงส์–แม็กดัฟฟีมีผลใช้บังคับ ซึ่งกำหนดการปกครองตนเองของฟิลิปปินส์และเอกราชจากสหรัฐของฟิลิปปินส์เป็นระยะเวลาสิบปปี
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – เกิดแผ่นดินไหวในจังหวัดฮิโรชิมะในทะเลในเซโตะ มีความรุนแรงระดับ 6- ตามมาตราชินโด
- พ.ศ. 2562 (ค.ศ. 2019) – มีการเลือกตั้งทั่วไปในประเทศไทยครั้งแรกหลังรัฐประหารปี 2557 แต่ผลการเลือกตั้งสมบูรณ์ใช้เวลาประกาศสองเดือน
ดูเพิ่ม: 23 มีนาคม – 24 มีนาคม – 25 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
25 มีนาคม: วันประกาศเอกราชในกรีซ (พ.ศ. 2363)
- พ.ศ. 2197 (ค.ศ. 1655) – นักดาราศาสตร์ชาวดัตช์ คริสตียาน เฮยเคินส์ (ในภาพ) ค้นพบดาวไททัน ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์
- พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) – ก่อตั้งกระทรวงยุติธรรมของไทย
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – เหตุเพลิงไหม้โรงงานไทรแองเกิลเชิร์ตเวสต์ในนครนิวยอร์กคร่าชีวิตคนงานทอผ้าไปกว่า 140 คน ซึ่งคนงานจำนวนมากไม่สามารถหนีออกมาได้เพราะผู้จัดการล็อกประตูไปยังปล่องบันไดและทางออก
- พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) – ประเทศสมาชิกลงนามในสนธิสัญญาโรม เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – สมเด็จพระราชาธิบดีฟัยศ็อลแห่งซาอุดีอาระเบียถูกยิงด้วยปืนเสียชีวิต
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – ปราโมทย์ นาครทรรพ ถูกศาลตัดสินจำคุกและปรับจากการเผยแพร่ทฤษฎีสมคบคิด แผนฟินแลนด์
ดูเพิ่ม: 24 มีนาคม – 25 มีนาคม – 26 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
26 มีนาคม: วันประกาศเอกราชในบังกลาเทศ (พ.ศ. 2514)
- พ.ศ. 1569 (ค.ศ. 1026) – สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 19 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกให้พระเจ้าคอนราดที่ 2 แห่งเยอรมนี เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
- พ.ศ. 2249 (ค.ศ. 1707) – ราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์รวมกันเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707
- พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) – พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการสถาปนา "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – โจนัส ซอล์ก (ในภาพ) ประกาศการทดสอบวัคซีนโรคโปลิโอของเขาที่สำเร็จต่อผู้ใหญ่และเด็กกลุ่มเล็ก
- พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) – อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ สนธิสัญญาจำกัดอาวุธหลายฝ่ายฉบับแรกซึ่งห้ามการผลิตอาวุธชีวภาพทุกประเภท มีผลใช้บังคับ
ดูเพิ่ม: 25 มีนาคม – 26 มีนาคม – 27 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) – นีกีตา ครุชชอฟ (ในภาพ) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) – เครื่องบินโดยสารโบอิง 747 สองลำชนกันบนทางวิ่งภายในท่าอากาศยานโลสโรเดโอส เกาะเตเนรีเฟ หมู่เกาะคานารี ประเทศสเปน เป็นเหตุมีผู้เสียชีวิต 583 คน นับเป็นอุบัติเหตุอากาศยานเลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การบิน
- พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) – เจียง เจ๋อหมินดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สืบจากหยาง ซั่งคุน
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – องค์การอาหารและยาสหรัฐรับรองยาซิลเดนาฟิล หรือชื่อการค้า ไวอะกร้า ให้ใช้รักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ นับเป็นยาตัวแรกที่ได้รับการรับรองให้รักษาอาการนี้ในสหรัฐ
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – เขื่อนกั้นซิตู จินตุง ทะเลสาบประดิษฐ์ในเขตตังเกอรัง ประเทศอินโดนีเซีย แตก ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 100 คน
ดูเพิ่ม: 26 มีนาคม – 27 มีนาคม – 28 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
28 มีนาคม: วันครูในสาธารณรัฐเช็ก
- พ.ศ. 736 (ค.ศ. 193) – องค์รักษ์ไปรโตริอานีลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิโรมัน แปร์ตินักส์ และประมูลขายราชบัลลังก์ให้ดีดิอุส ยูลิอานุส
- พ.ศ. 2345 (ค.ศ. 1802) – นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ไฮนริค วิลเฮล์ม มัททีอัส โอลเบอส์ ค้นพบ 2 พัลลัส ดาวเคราะห์น้อยอันดับที่ 2 ซึ่งมนุษย์รู้จัก
- พ.ศ. 2502 (ค.ศ. 1959) – ประเทศจีนตั้งแป็นเช็นลามะเป็นหัวหน้ารัฐบาล หลังทะไลลามะที่ 14 หลบหนีจากทิเบต
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – การหลอมละลายของแกนบางส่วนของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เกาะทรีไมล์ (ในภาพ) ใกล้กับเมืองแฮริสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐ ส่งผลให้เกิดการรั่วไหลของธาตุคริปทอนกัมมันตรังสีที่ประเมินไว้ 43,000 คิวรี (1.59 เพตาเบ็กแรล) สู่สิ่งแวดล้อม
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – แผ่นดินไหวนีอัสถล่มเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย คร่าชีวิตประชาชนไปประมาณ 1,300 ศพ
ดูเพิ่ม: 27 มีนาคม – 28 มีนาคม – 29 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2004 (ค.ศ. 1461) – กองทัพราชวงศ์ยอร์กชนะกองทัพราชวงศ์แลงแคสเตอร์ในยุทธการที่ทาวตัน ยอร์กเชอร์ ประเทศอังกฤษ นับเป็นยุทธการใหญ่ที่สุดในสงครามดอกกุหลาบจนถึงเวลานั้น มีทหารเสียชีวิตประมาณ 20,000 นาย
- พ.ศ. 2180 (ค.ศ. 1638) – ชาวสวีเดนก่อตั้งนิวสวีเดน ใกล้อ่าวเดลาแวร์ เป็นอาณานิคมสวีเดนแห่งแรกในทวีปอเมริกา
- พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) – ไฮน์ริช วิลเฮล์ม มัททีอัส โอลเบิร์ส นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน ค้นพบ 4 เวสตา ดาวเคราะห์น้อยซึ่งสว่างที่สุดและเป็นวัตถุซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองในแถบดาวเคราะห์น้อย
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – มาริเนอร์ 10 ของนาซา ที่ปล่อยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2516 เป็นยานอวกาศลำแรกที่บินผ่านดาวพุธ
- พ.ศ. 2517 (ค.ศ. 1974) – ชาวนากลุ่มหนึ่งในมณฑลฉ่านซี ประเทศจีน ค้นพบหมู่รูปปั้นเครื่องดินเผาสีหม้อใหม่ที่แสดงกองทัพของจักรพรรดิฉินฉื่อหฺวังตี้ ปฐมจักรพรรดิจีน ซึ่งปัจจุบันเรียก กองทัพเครื่องดินเผา (ในภาพ)
ดูเพิ่ม: 28 มีนาคม – 29 มีนาคม – 30 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1845) – ครอว์ฟอร์ด ลอง แพทย์ชาวอเมริกัน เป็นบุคคลแรกที่ใช้ไดเอทิลอีเทอร์เป็นยาระงับความรู้สึกในการผ่าตัด
- พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1867) – รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ วิลเลียม เอช. ซูเวิร์ด เจรจาซื้ออะแลสกาจากจักรวรรดิรัสเซียเป็นเงิน 7.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- พ.ศ. 2482 (ค.ศ. 1940) – สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง: จักรวรรดิญี่ปุ่นแต่งตั้งวาง จิงเว่ย (ในภาพ) เป็นหัวหน้ารัฐบาลหุ่นเชิดในประเทศจีน
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – มีการลงนามอนุสัญญาเดี่ยวว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ สนธิสัญญาระหว่างประเทศซึ่งมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านการผลิตและการค้าสารเสพติดอย่างผิดกฎหมาย
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – ประธานาธิบดีสหรัฐ โรนัลด์ เรแกน กับผู้อื่นอีก 3 คน ถูกยิงได้รับบาดเจ็บในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ดูเพิ่ม: 29 มีนาคม – 30 มีนาคม – 31 มีนาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
31 มีนาคม: วันมหาเจษฎาบดินทร์ในไทย
- พ.ศ. 2397 (ค.ศ. 1854) – พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐและรัฐบาลโชกุนโทกูงาวะลงนามสนธิสัญญาคานางาวะ บีบให้เปิดท่าญี่ปุ่นค้าขายกับสหรัฐ
- พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1889) – หอไอเฟล (ในภาพ) เปิดอย่างเป็นทางการในกรุงปารีส กลายเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประเทศฝรั่งเศส และสิ่งก่อสร้างที่มีผู้รู้จักมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
- พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1917) – หมู่เกาะอินเดียตะวันตกของเดนมาร์กกลายเป็นหมู่เกาะเวอร์จินของสหรัฐ หลังสหรัฐจ่ายเงิน 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐซื้อหมู่เกาะแคริบเบียนจากประเทศเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1934) – ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยราชบัณฑิตยสถาน" ให้ประกาศใช้เป็นกฎหมาย นับเป็นการสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน องค์การบัญญัติหลักเกณฑ์การใช้ภาษาไทย
- พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) – ยูเอสเอส มิสซูรี เรือประจัญบานประจำการลำสุดท้ายของกองทัพเรือสหรัฐ ปลดประจำการในลองบีช รัฐแคลิฟอร์เนีย
ดูเพิ่ม: 30 มีนาคม – 31 มีนาคม – 1 เมษายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ