วิกิพีเดีย:วันนี้ในอดีต/มิถุนายน
- พ.ศ. 2422 (ค.ศ. 1879) – เจ้าชายหลุยส์ นโปเลียน (ในภาพ) สิ้นพระชนม์ขณะทรงรับราชการทหารในสงครามอังกฤษ–ซูลู สร้างความตระหนกไปทั่วทวีปยุโรป เพราะพระองค์เป็นพระรัชทายาทพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์โบนาปาร์ตที่มีความเป็นไปได้ว่าจะนำไปสู่การฟื้นฟูระบอบจักรพรรดิ
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) – เที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวแรกออกจากท่าอากาศยานนานาชาติฮาร์ตสฟีลด์–แจ็กสัน แอตแลนตา ซึ่งปัจจุบันเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) – ซีเอ็นเอ็น ช่องโทรทัศน์แรกที่รายงานข่าวตลอด 24 ชั่วโมง เริ่มออกอากาศ
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1988) – สนธิสัญญากำลังนิวเคลียร์พิสัยกลางมีผลใช้บังคับ มีใจความห้ามขีปนาวุธภาคพื้นดินของสหรัฐและโซเวียตที่มีพิสัย 500 ถึง 5,500 กิโลเมตร
- พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) – มกุฎราชกุมารดีทิเปนทระแห่งเนปาลสังหารหมู่สมาชิกราชวงศ์ศาหะเจ็ดพระองค์ รวมถึงสมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทระ พระราชบิดา
ดูเพิ่ม: 31 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน – 2 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2408 (ค.ศ. 1865) – กองกำลังฝ่ายสมาพันธรัฐชุดสุดท้าย นำโดยพลเอก เอ็ดมันด์ เคอร์บี สมิท ยอมจำนน ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกายุติลงไปแล้วเมื่อเกือบสองเดือนก่อน
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – ราชอาณาจักรอิตาลีเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ เมื่อประชาชนร้อยละ 54.3 ลงประชามติให้ยกเลิกระบอบราชาธิปไตย
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร (ในภาพ) เป็นพระราชพิธีครั้งแรกที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – เซอร์เวเยอร์ 1 ลงจอดบนดวงจันทร์ นับเป็นยานอวกาศลำแรกของสหรัฐที่ลงจอดอย่างนุ่มนวลบนดาวดวงอื่น
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – ยานสำรวจดาวอังคาร มาร์สเอกซ์เพรส ภารกิจสำรวจดาวเคราะห์ครั้งแรกขององค์การอวกาศยุโรป ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ
ดูเพิ่ม: 1 มิถุนายน – 2 มิถุนายน – 3 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
3 มิถุนายน: วันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดาๆ พระบรมราชินี
- พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) – หลิน เจ๋อสฺวี ข้าราชการจีนราชวงศ์ชิง สั่งทำลายฝิ่นเกือบ 1.2 ล้านกิโลกรัมในหู่เหมิน เป็นชนวนสงครามฝิ่นครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2480 (ค.ศ. 1937) – เกือบหกเดือนหลังเอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งวินด์เซอร์สละราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร พระองค์อภิเษกสมรสกับหญิงชาวอเมริกัน วอลลิส ซิมป์สัน (ในภาพ)
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กำลังฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งคุ้มกันการอพยพทหารสัมพันธมิตรยอมจำนน ทำให้ยุทธการที่เดิงแกร์กสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะทางยุทธวิธีของเยอรมนี
- พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968) – แอนดี วอร์ฮอล ศิลปินชาวอเมริกัน และผู้อื่นอีกสองคนถูก วาเลอรี โซลานาส นักนิยมสิทธิสตรีหัวรุนแรงยิงได้รับบาดเจ็บ ที่สตูดิโอในนครนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – ดานาแอร์ เที่ยวบินที่ 992 เที่ยวบินโดยสารจากอาบูจาไปเลกอส ประเทศไนจีเรีย เกิดเครื่องยนต์ล้มเหลวคู่และชนอาคาร ทำให้มีทั้ง 153 คนบนเครื่องเสียชีวิต และมีผู้เสียชีวิตบนพื้นดินอีกสิบคน
ดูเพิ่ม: 2 มิถุนายน – 3 มิถุนายน – 4 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
4 มิถุนายน: วันเอกราชในตองงา (พ.ศ. 2513)
- พ.ศ. 1636 (ค.ศ. 1093) – จักรพรรดิไฮน์ริชที่ 3 ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สืบจากจักรพรรดิค็อนราทที่ 2 พระราชชนก
- พ.ศ. 2158 (ค.ศ. 1615) – กองทัพของโชกุนโทกูงาวะ อิเอยาซุ (ในภาพ) บุกเข้ายึดครองปราสาทโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2463 (ค.ศ. 1920) – ราชอาณาจักรฮังการีแตกเป็น 5 ประเทศ หลังการลงนามสนธิสัญญาทรียานง ณ กรุงปารีส
- พ.ศ. 2485 (ค.ศ. 1942) – ยุทธนาวีที่มิดเวย์ ยุทธนาการครั้งสำคัญในเขตสงครามแปซิฟิกของสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นขึ้น เมื่อกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นโจมตีมิดเวย์อะทอลล์
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – กองทัพจีนเข้าสลายการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างรุนแรง ในกรุงปักกิ่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก นำไปสู่การประณามของนานาประเทศต่อรัฐบาลจีน
ดูเพิ่ม: 3 มิถุนายน – 4 มิถุนายน – 5 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
5 มิถุนายน: วันสิ่งแวดล้อมโลก; วันพ่อและวันรัฐธรรมนูญในเดนมาร์ก
- พ.ศ. 1206 (ค.ศ. 663) – พระราชวังต้าหมิงกลายเป็นที่ว่าราชการและที่ประทับของราชวงศ์ถังในรัชกาลจักรพรรดิถังเกาจง
- พ.ศ. 1800 (ค.ศ. 1257) – กรากุฟในโปแลนด์ได้รับสิทธินครตามกฎหมายมัคเดอบวร์ค
- พ.ศ. 2392 (ค.ศ. 1849) – พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 7 แห่งเดนมาร์ก ทรงลงพระปรมาภิไธยในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ในภาพ) เป็นจุดเริ่มต้นของระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และจัดตั้งริกส์ด้าก รัฐสภาระบบสองสภา ซึ่งประกอบด้วยแลนด์สติง และฟอลเกตติง
- พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) – ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐจัดพิมพ์รายงานคลินิกผู้ป่วยเอดส์รายแรก
- พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) – ผู้เดินขบวนนิรนามผู้หนึ่ง ซึ่งต่อมาได้รับขนานนามว่า แทงค์แมน มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติว่าเป็นวีรบุรุษระหว่างเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อช่างภาพบันทึกภาพและวิดีโอขณะที่เขายืนอยู่หน้าแถวรถถังจีน
ดูเพิ่ม: 4 มิถุนายน – 5 มิถุนายน – 6 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
6 มิถุนายน: วันชาติสวีเดน; วันควีนส์แลนด์ในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) – ทหารแมนจู ซึ่งมีตัวเอ๋อร์กุ่น ผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิชุ่นจื้อ เป็นผู้นำ บุกเข้าปักกิ่ง เป็นการสิ้นสุดราชวงศ์หมิง
- พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) – วายเอ็มซีเอ ขบวนการระดับโลกซึ่งมีสมาชิกกว่า 45 ล้านคน จากสมาพันธ์แห่งชาติ 124 แห่ง ก่อตั้งขึ้นในกรุงลอนดอน
- พ.ศ. 2402 (ค.ศ. 1859) – สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงลงพระปรมาภิไธยพระราชเอกสารสิทธิแยกอาณานิคมควีนส์แลนด์จากนิวเซาท์เวลส์
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: การบุกครองนอร์ม็องดี ปฏิบัติการทางทหารสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เริ่มต้นด้วยการยกพลขึ้นบกของทหารสัมพันธมิตร ณ ชายหาดนอร์ม็องดี ประเทศฝรั่งเศส (ในภาพ)
- พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984) – เตตริส ออกวางขาย และกลายเป็นวิดีโอเกมที่ขายดีที่สุดเกมหนึ่งตลอดกาล
ดูเพิ่ม: 5 มิถุนายน – 6 มิถุนายน – 7 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1642 (ค.ศ. 1099) – นักรบครูเสดเดินทางถึงนครเยรูซาเลม ซึ่งถูกราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ยึดครอง และเริ่มการปิดล้อมนานห้าสัปดาห์ (ในภาพ)
- พ.ศ. 2037 (ค.ศ. 1494) – สเปนและโปรตุเกสลงนามสนธิสัญญาตอร์เดซิยัส มีใจความแบ่งทวีปอเมริกาและทวีปแอฟริการะหว่างสองประเทศ
- พ.ศ. 2171 (ค.ศ. 1628) – คำร้องขอสิทธิฟ้องร้องรัฐ เอกสารรัฐธรรมนูญที่สำคัญของอังกฤษ ซึ่งกำหนดเสรีภาพอย่างเจาะจงของบุคคล ได้รับพระบรมราชานุญาตจากพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – ศพของโยเซ็ฟ เม็งเงอเลอ แพทย์นาซีซึ่งขึ้นชื่อว่าทดลองในมนุษย์ต่อผู้ต้องขังค่ายกักกันเอาช์วิทซ์ ถูกขุดในประเทศบราซิล
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – ภูเขาไฟปีนาตูโบบนเกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ ปะทุอย่างรุนแรง พ่นขี้เถ้าขึ้นสู่อากาศสูง 7 กิโลเมตร
ดูเพิ่ม: 6 มิถุนายน – 7 มิถุนายน – 8 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2326 (ค.ศ. 1783) – ภูเขาไฟลาไคในประเทศไอซ์แลนด์ปะทุนานกว่า 8 เดือน ส่งผลให้เกิดภาวะทุพภิกขภัยและภาวะถูกพิษฟลูออรีนขนานใหญ่
- พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) – คาร์ล เลียมเมิล ผู้ผลิตภาพยนตร์ รวมสตูดิโอภาพยนตร์ของเขากับอีกแปดบริษัทเป็นสิ่งที่ในปัจจุบันชื่อ ยูนิเวอร์แซลสตูดิโอส์
- พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) – หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ นวนิยายการเมืองดิสโทเปีย เนื้อหาว่าด้วยชีวิตภายใต้รัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จโอเชียเนีย โดย จอร์จ ออร์เวลล์ นักประพันธ์ชาวอังกฤษ (ในภาพ) ตีพิมพ์เป็นครั้งแรก
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – สงครามเวียดนาม: นิก อู๊ต ช่างภาพแอสโซซิเอเต็ดเพรส ถ่ายภาพเด็กหญิงฟาน ถิ กีม ฟุกวัยเก้าขวบขณะกำลังวิ่งเปลือยตามถนนหลังถูกเนปาล์มเผา ซึ่งภาพดังกล่าวได้รับรางวัลพูลิตเซอร์
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – รัสมุส เลียร์ตอร์ฟ โปรแกรมเมอร์ชาวเดนมาร์ก-กรีนแลนด์ เปิดตัวภาษาพีเอชพีรุ่นแรก
ดูเพิ่ม: 7 มิถุนายน – 8 มิถุนายน – 9 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 549 (ค.ศ. 68) – แนโร จักรพรรดิโรมัน ทรงปลงพระชนม์พระองค์เอง หลังจากทรงถูกวุฒิสภาขับออกจากราชสมบัติ
- พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) – การประชุมใหญ่แห่งเวียนนายุติลง ได้ข้อสรุปในการวาดแผนที่รัฐกิจของทวีปยุโรปขึ้นใหม่ หลังนโปเลียนปราชัย
- พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) – มีการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซึ่งยุติสงครามจีน-ฝรั่งเศส โดยจีนถอนกำลังออกจากตังเกี๋ย ให้ฝรั่งเศสยึดครองตังเกี๋ยและอันนัม (ปัจจุบันส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเวียดนาม)
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – โดนัลด์ ดั๊ก ตัวละครการ์ตูนของเดอะวอลต์ดิสนีย์ ปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์ เดอะไวส์ลิตเทิลเฮน
- พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) – สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดชเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ หลังพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (ในภาพ) ทรงต้องพระแสงปืนเสด็จสวรรคต
ดูเพิ่ม: 8 มิถุนายน – 9 มิถุนายน – 10 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1733 (ค.ศ. 1190) – สงครามครูเสดครั้งที่ 3: จักรพรรดิฟรีดริชที่ 1 บาร์บารอสซาจมน้ำสวรรคตในแม่น้ำซาเลพฮ์ อานาโตเลีย
- พ.ศ. 2372 (ค.ศ. 1829) – มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดชนะมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในการแข่งเรือประเพณีออกซฟอร์ด-เคมบริดจ์ (ในภาพ) ครั้งแรก
- พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1865) – มีการแสดงอุปรากร ทริสทันอุนท์อีซ็อลเดอ ของริชชาร์ท วากเนอร์รอบปฐมทัศน์ในมิวนิก
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) – ภูเขาไฟทาราเวราในเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์ ปะทุ มีผู้เสียชีวิตกว่า 120 คน และทำลายขั้นบันไดชมพูและขาว
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – ทหารวัฟเฟิน-เอ็สเอ็สลงมือสังหารหมู่ชาวบ้านที่หมู่บ้านออราดูร์-ซูร์-กลานในจังหวัดโอต-เวียน ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การยึดครองของเยอรมนี มีผู้เสียชีวิตกว่า 600 ราย
ดูเพิ่ม: 9 มิถุนายน – 10 มิถุนายน – 11 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2052 (ค.ศ. 1509) – พระเจ้าเฮนรีที่ 8 แห่งอังกฤษ อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงกาตาลินาแห่งอารากอน พระมเหสีพระองค์แรก
- พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) – เรือหลวง เอ็นเดเวอร์ ซึ่งบรรทุกเจมส์ คุก นักสำรวจชาวอังกฤษ เกยบนเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทำให้เรือได้รับความเสียหายพอสมควร
- พ.ศ. 2481 (ค.ศ. 1938) – เปิดฉากยุทธการที่อู่ฮั่นซึ่งกินเวลานานกว่า 4 เดือนครึ่ง และนับเป็นยุทธการที่ยาวนานและใหญ่ที่สุดในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – ภิกษุชาวเวียดนาม ทิก กว๋าง ดึ๊ก เผาตัวตาย (ในภาพ) ในกรุงไซ่ง่อน เพื่อประท้วงการบีฑาพุทธศาสนิกชนจากรัฐบาลประธานาธิบดีโง ดิ่ญ เสี่ยมแห่งเวียดนามใต้
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – ระหว่างการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 องค์การอนามัยโลกและศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐประกาศว่าระดับการระบาดของโรคอยู่ในระดับ "โรคระบาดทั่ว"
ดูเพิ่ม: 10 มิถุนายน – 11 มิถุนายน – 12 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
12 มิถุนายน: วันประกาศเอกราชในฟิลิปปินส์ (พ.ศ. 2441); วันรัสเซียในประเทศรัสเซีย (พ.ศ. 2533); วันวาเลนไทน์ในบราซิล
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1942) – ในวันเกิดปีที่สิบสาม อันเนอ ฟรังค์เริ่มเขียนบันทึกระหว่างสงครามของตนในช่วงที่เนเธอร์แลนด์อยู่ในการยึดครองของนาซีเยอรมนี
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 ทรงประกาศให้โดเมนีโก ซาวีโอ ซึ่งเสียชีวิตในวัย 14 ปี เป็นนักบุญ นับเป็นนักบุญที่อายุน้อยที่สุดที่ไม่ใช่มรณสักขีในคริสตจักรโรมันคาทอลิก
- พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) – สงครามเย็น: ระหว่างสุนทรพจน์ที่ประตูบรันเดินบวร์ค ใกล้กับกำแพงเบอร์ลิน (ในภาพ) โรนัลด์ เรแกน ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวท้าทายมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำโซเวียต ต่อหน้าสาธารณชนให้ "ทำลายกำแพงนี้"
- พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) – โบอิง 777 อากาศยานสองเครื่องยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ออกบินเที่ยวแรก
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) – มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 49 คนถูกฆ่าในเหตุยิงปืนในไนต์คลับเกย์ในออร์แลนโด รัฐฟลอริดา
ดูเพิ่ม: 11 มิถุนายน – 12 มิถุนายน – 13 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 856 (ค.ศ. 313) – มีการปิดพระราชกฤษฎีกามิลาน ความตกลงระหว่างจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชและจักรพรรดิลิกินิอุสให้ปฏิบัติต่อคริสต์ศาสนิกชนอย่างดีในจักรวรดิโรมัน ในนิคะมีเดีย
- พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) – พระเจ้าลูทวิชที่ 2 แห่งบาวาเรียทรงถูกพบว่าสวรรคตในทะเลสาบสตาร์นเบิร์ก ใกล้กับมิวนิก ในพฤติการณ์น่าสงสัย
- พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) – แคนาดาตั้งดินแดนยูคอน แยกจากนอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีส์ หลังประชากรในพื้นที่เพิ่มขึ้นมากจากการตื่นทองที่คลอนไดค์
- พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) – เดอะนิวยอร์กไทมส์ เริ่มตีพิมพ์เอกสารเพนตากอน เอกสารลับสุดยอดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐว่าด้วยประวัติการเข้าไปมีส่วนทั้งทางการเมืองและการทหารในสงครามเวียดนามของสหรัฐ ความยาว 7,000 หน้า
- พ.ศ. 2526 (ค.ศ. 1983) – ไพโอเนียร์ 10 (แผ่นจารึกที่ติดไปกับยานในภาพ) ผ่านวงโคจรของดาวเนปจูน กลายเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่เดินทางออกนอกวงโคจรของดาวเคราะห์หลักในระบบสุริยะ
ดูเพิ่ม: 12 มิถุนายน – 13 มิถุนายน – 14 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
14 มิถุนายน: วันปลดปล่อยในหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ (พ.ศ. 2525); วันธงในสหรัฐ
- พ.ศ. 2320 (ค.ศ. 1777) – สภาภาคพื้นทวีปครั้งที่สองเริ่มใช้แถบสีและดวงดาวซึ่งออกแบบเพื่อใช้สำหรับธงชาติสหรัฐ
- พ.ศ. 2483 (ค.ศ. 1940) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพนาซีเยอรมนียึดกรุงปารีสได้ โดยใช้เวลาเพียง 9 วันหลังเริ่มบุกประเทศฝรั่งเศส
- พ.ศ. 2509 (ค.ศ. 1966) – สันตะสำนักยกเลิกรายชื่อหนังสือต้องห้าม (ปกในภาพ) อายุ 427 ปีอย่างเป็นทางการ
- พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) – กองกำลังอาร์เจนตินายอมจำนนต่อสหราชอาณาจักร เป็นการยุติสงครามฟอล์กแลนด์
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – มีการลงนามความตกลงเชงเกน สนธิสัญญาเลิกการควบคุมชายแดนอย่างเป็นระบบระหว่างประเทศยุโรปที่เข้าร่วม ระหว่างห้าจากสิบรัฐสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจยุโรป
ดูเพิ่ม: 13 มิถุนายน – 14 มิถุนายน – 15 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1758 (ค.ศ. 1215) – พระเจ้าจอห์นแห่งอังกฤษทรงประทับตรามหากฎบัตร
- พ.ศ. 2387 (ค.ศ. 1844) – ชาลส์ กู๊ดเยียร์ นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้รับสิทธิบัตรสำหรับวัลคาไนเซชัน กระบวนการทำให้ยางแข็งแรงขึ้น
- พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954) – สหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป หน่วยงานบริหารและควบคุมกีฬาฟุตบอลในทวีปยุโรป ก่อตั้งขึ้นในบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์
- พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) – ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยในคดีปราสาทพระวิหารให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา
- พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) – เขาปีนาตูโบในประเทศฟิลิปปินส์ปะทุ (ในภาพ) ทำให้มีฝุ่นละอองสะสมสู่ชั้นบรรยากาศปริมาณมาก เพียงพอให้อุณหภูมิโลกเย็นลงประมาณ 0.5 °C
ดูเพิ่ม: 14 มิถุนายน – 15 มิถุนายน – 16 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
16 มิถุนายน: วันเยาวชนในแอฟริกาใต้
- พ.ศ. 2030 (ค.ศ. 1487) – กำลังราชวงศ์แลงแคสเตอร์รบชนะผู้สนับสนุนราชวงศ์ยอร์กได้ในยุทธการที่สโตกฟิลด์ ในอีสต์สโตก นอตทิงแฮมเชอร์ ประเทศอังกฤษ นับเป็นยุทธการครั้งสุดท้ายในสงครามดอกกุหลาบ
- พ.ศ. 2503 (ค.ศ. 1960) – ภาพยนตร์ระทึกขวัญ ไซโค กำกับและอำนวยการสร้างโดยอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก (ในภาพ) ซึ่งดัดแปลงจากนวนิยายชื่อเรื่องเดียวกัน เปิดฉายรอบปฐมทัศน์
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – รูดอล์ฟ นูเรเยฟ นักเต้นบัลเลต์ชาวรัสเซีย แปรพักตร์จากสหภาพโซเวียตที่ท่าอากาศยานปารีส–เลอบูร์เกด้วยความช่วยเหลือของตำรวจฝรั่งเศสและเพื่อนชาวกรุงปารีส
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – วาเลนตีนา เตเรชโควา นักบินอวกาศชาวโซเวียต เดินทางขึ้นไปโคจรรอบโลกกับยานวอสตอค 6 ถือเป็นสตรีคนแรกในอวกาศ
- พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) – หม่อมศรีรัศมิ์ มหิดล ณ อยุธยาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร
ดูเพิ่ม: 15 มิถุนายน – 16 มิถุนายน – 17 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
17 มิถุนายน: วันชาติไอซ์แลนด์ (พ.ศ. 2487)
- พ.ศ. 2005 (ค.ศ. 1462) – กำลังซึ่งมีวลาดที่ 3 แดรกคิวลาแห่งวอลเลเกียเป็นผู้นำเข้าตีค่ายทหารออตโตมันแห่งหนึ่งกลางดึกเพื่อพยายามลอบปลงพระชนม์สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2
- พ.ศ. 2174 (ค.ศ. 1631) – มุมตาซ มหัล พระมเหสีในจักรพรรดิชาห์ชะฮัน สิ้นพระชนม์ระหว่างมีพระประสูติการ ที่ซึ่งชาห์ชะฮันทรงใช้เวลา 17 ปีสร้างทัชมาฮาล (ในภาพ) ฝังพระศพของพระนาง
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – การปฏิวัติฝรั่งเศส: ฐานันดรที่สามในราชอาณาจักรฝรั่งเศสประกาศตั้งสมัชชาแห่งชาติ
- พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953) – กลุ่มกำลังโซเวียตในเยอรมนีและโฟล์คสโพลีไซปราบปรามการก่อการกำเริบต่อต้านรัฐบาลเยอรมนีตะวันออกในกรุงเบอร์ลินอย่างรุนแรง
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – ชายห้าคนถูกจับฐานพยายามลักทรัพย์สำนักงานคณะกรรมการชาติเดโมแครตในวอเตอร์เกตคอมเพล็กซ์ในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นจุดเริ่มต้นของคดีวอเตอร์เกตซึ่งนำให้สุดท้ายประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน ลาออกในอีกกว่าสองปีถัดมา
ดูเพิ่ม: 16 มิถุนายน – 17 มิถุนายน – 18 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1161 (ค.ศ. 618) – หลี่ยวน ขุนนางผู้ดูแลเขต สถาปนาตนเป็นจักรพรรดิถังเกาจู่ เริ่มต้นการปกครองจีนนานสามศตวรรษของราชวงศ์ถัง
- พ.ศ. 2355 (ค.ศ. 1812) – สหรัฐประกาศสงครามต่อสหราชอาณาจักร เป็นจุดเริ่มต้นของสงคราม ค.ศ. 1812
- พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) – สมัยร้อยวัน: นโปเลียน โบนาปาร์ตปราชัยในยุทธการที่วอเตอร์ลู (ในภาพ) การบครั้งสุดท้ายของพระองค์ ในประเทศเบลเยียมปัจจุบัน
- พ.ศ. 2401 (ค.ศ. 1858) – ชาลส์ ดาร์วิน ได้รับเอกสารต้นฉบับเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ซึ่งเขียนโดยนักธรรมชาติวิทยา อัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ ทำให้ดาร์วินตัดสินใจตีพิมพ์ทฤษฎีของตน
- พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) – สหรัฐและสหภาพโซเวียตลงนามสนธิสัญญาการเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ 2 โดยมีเนื้อหาเจาะจงจำกัดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ในคลังอาวุธของทั้งสองประเทศ
ดูเพิ่ม: 17 มิถุนายน – 18 มิถุนายน – 19 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) – มีการแข่งขันกีฬาเบสบอล โดยใช้กฎสมัยใหม่ซึ่งวางโดยอเล็กซานเดอร์ คาร์ตไรต์ ครั้งแรกที่มีบันทึกเป็นทางการ ณ โฮโบเคน รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐ
- พ.ศ. 2410 (ค.ศ. 1867) – จักรพรรดิมัคซีมีลีอานที่ 1 แห่งเม็กซิโกทรงถูกสำเร็จโทษด้วยการยิงเป้าในนครเกเรตาโร ประเทศเม็กซิโก
- พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) – สงครามโลกครั้งที่สอง: กองทัพเรือสหรัฐและจักรวรรดิญี่ปุ่นปะทะกันในยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน นับเป็นยุทธนาวีซึ่งมีเรือบรรทุกอากาศยานร่วมรบด้วยมากที่สุดในประวัติศาสตร์
- พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) – ตัวการ์ตูน การ์ฟีลด์ สร้างโดยนักเขียนการ์ตูนชาวอเมริกัน จิม เดวิส ปรากฏตัวครั้งแรก โดยในปัจจุบันเป็นการ์ตูนช่องที่ได้รับการตีพิมพ์มากที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – จูเลียน อาสซานจ์ (ในภาพ) ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ ขอลี้ภัยในสถานเอกอัครราชทูตเอกวาดอร์ ณ กรุงลอนดอน หลังเผชิญข้อกล่าวหาล่วงละเมิดทางเพศ
ดูเพิ่ม: 18 มิถุนายน – 19 มิถุนายน – 20 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
20 มิถุนายน: วันผู้ลี้ภัยโลก; วันธงในอาร์เจนตินา
- พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) – รัฐสภาสหรัฐมีมติเห็นชอบมหาลัญจกร ซึ่งใช้รับรองเอกสารบางฉบับที่รัฐบาลกลางสหรัฐออกว่าเป็นของแท้
- พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) – การปฏิวัติฝรั่งเศส: ผู้แทนฐานันดรที่สามในฝรั่งเศสประชุมที่สนามเทนนิสข้างพระราชวังแวร์ซาย กล่าวคำปฏิญาณสนามเทนนิส โดยปฏิญาณว่าจะไม่แยกย้ายจนกว่ารัฐธรรมนูญจะถูกตราขึ้น
- พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) – สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (ในภาพ) ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ เริ่มต้นรัชกาลของพระองค์ซึ่งนานกว่า 63 ปี
- พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) – ก่อตั้งมูลนิธิวิกิมีเดียในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐฟลอริดา สหรัฐ
ดูเพิ่ม: 19 มิถุนายน – 20 มิถุนายน – 21 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) – ระหว่างสงครามสเปน–อเมริกา สหรัฐยึดเกาะกวมของสเปนโดยไม่เสียเลือดเนื้อ
- พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) – หลังรัฐประหารซึ่งโค่นรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา; พระยาพหลพลพยุหเสนา (ในภาพ) สืบตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 2
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – อันโตนีโอ มาเรีย มอนตีนี พระคาร์ดินัลชาวอิตาลี ได้รับเลือกตั้งเป็นสมเด็จพระสันตะปาปาปอลที่ 6
- พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985) – กรีนแลนด์ประกาศใช้ธงของตนเองอย่างเป็นทางการ นับเป็นสัญลักษณ์สื่อถึงบทบาทของกรีนแลนด์ในเครือรัฐราชอาณาจักรเดนมาร์ก
- พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) – มีการค้นพบดาวนิกซ์และไฮดรา (ดาวบริวาร) ดาวบริวารของดาวเคราะห์แคระพลูโต
ดูเพิ่ม: 20 มิถุนายน – 21 มิถุนายน – 22 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
22 มิถุนายน: วันครูในเอลซัลวาดอร์
- พ.ศ. 2176 (ค.ศ. 1633) – กาลิเลโอ กาลิเลอีถูกศาลศาสนากรุงโรมบังคับให้ถอนทัศนะดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะ ตำนานว่า เขาพึมพำประโยค "แต่มันก็ยังเคลื่อนอยู่ดี" ขณะเดินออกจากศาล
- พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) – พิธีราชาภิเษกของ พระเจ้าจอร์จที่ 5 (ในภาพ) ที่เวสต์มินสเตอร์แอบบีย์ในกรุงลอนดอน
- พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) – สงครามโลกครั้งที่สอง: ทหารฝ่ายอักษะและฟินแลนด์กว่า 4.5 ล้านนาย บุกครองสหภาพโซเวียตในปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา ปฏิบัติการทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดในโลก
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – ดิเอโก มาราโดนา นักฟุตบอลชาวอาร์เจนตินา ทำ "ประตูหัตถ์พระเจ้า" ในฟุตบอลโลก 1986 รอบก่อนรองชนะเลิศที่พบกับทีมชาติอังกฤษ
ดูเพิ่ม: 21 มิถุนายน – 22 มิถุนายน – 23 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) – การประชุมระหว่างประเทศซึ่งจัด ณ มหาวิทยาลัยปารีส ที่มีปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง (ในภาพ) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้นำ ก่อตั้งคณะกรรมการโอลิมปิกสากล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูกีฬาโอลิมปีกในสมัยกรีซโบราณ
- พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) – คณะกรรมการวิทยาลัยจัดการสอบเอสเอทีครั้งแรก ซึ่งเป็นการทดสอบมาตรฐานสำคัญสำหรับการรับบุคคลเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในสหรัฐ
- พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) – ญะมาล อับดุนนาศิรเป็นประธานาธิบดีอียิปต์จนถึงแก่อสัญกรมในปี 2513
- พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) – สนธิสัญญาแอนตาร์กติก ซึ่งสงวนทวีปแอนตาร์กติกาไว้เพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์และห้ามกิจกรรมทางทหารบนทวีปดังกล่าว มีผลใช้บังคับ
- พ.ศ. 2559 (ค.ศ. 2016) – สหราชอาณาจักรลงคะแนนออกจากสหภาพยุโรปในการลงประชามติ
ดูเพิ่ม: 22 มิถุนายน – 23 มิถุนายน – 24 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) – มีการแสดง "โอแคนาดา" ครั้งแรกในนครเกแบ็ก รัฐเกแบ็ก ระหว่างการเฉลิมฉลองวันแซงต์ชอง-แบบตีสต์ ปัจจุบันเป็นเพลงชาติแคนาดา
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – กลุ่มทหารและพลเรือนที่เรียกตนเองว่า คณะราษฎร ก่อการปฏิวัติที่ไม่เสียเลือดเนื้อ (ในภาพ) ในประเทศสยาม ซึ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบประเทศจากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – สงครามเย็น: สหภาพโซเวียตปิดกั้นเส้นทางทางบกผ่านเยอรมนีส่วนที่โซเวียตยึดครองเข้าสู่เบอร์ลินส่วนที่สหรัฐ ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรปกครอง
- พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) – จูเลีย กิลลาร์ดสาบานตนเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศออสเตรเลีย
- พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012) – จอร์จผู้เดียวดาย เต่ายักษ์กาลาปาโกสตัวสุดท้ายบนโลก ตายจากสาเหตุธรรมชาติ
ดูเพิ่ม: 23 มิถุนายน – 24 มิถุนายน – 25 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) – สงครามแบล็กฮิลส์: พันโทกองทัพบกสหรัฐ จอร์จ อาร์มสตรอง คัสเตอร์ (ในภาพ) ถูกสังหารในยุทธการที่ลิตเติลแบล็กฮอร์น บริเวณเทศมณฑลแบล็กฮอร์น รัฐมอนแทนาปัจจุบัน
- พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950) – ทหารเกาหลีเหนือโจมตีเกาหลีใต้ข้ามเส้นขนานที่ 38 องศาเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเกาหลี
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – บริษัทไมโครซอฟท์เริ่มค้าปลีกระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 98
- พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) – นักร้อง ไมเคิล แจ็กสัน เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลว ณ บ้านพักในนครลอสแอนเจลิส ต่อมา มีการรายงานว่าเขาเสียชีวิตจากการถูกฆาตกรรมด้วยผลของยาหลายชนิดในร่างกายของเขา
- พ.ศ. 2556 (ค.ศ. 2013) – สำนักข่าวกรองกลางยอมรับการมีอยู่ของแอเรีย 51 สถานที่ลับของกองทัพอากาศสหรัฐในรัฐเนวาดา ซึ่งเป็นที่มาของทฤษฎีสมคบคิดเกี่ยวกับยูเอฟโอและอื่น ๆ
ดูเพิ่ม: 24 มิถุนายน – 25 มิถุนายน – 26 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
26 มิถุนายน: วันต่อต้านยาเสพติดโลก; วันธงในโรมาเนีย; วันสุนทรภู่ในไทย
- พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) – นักปฏิวัติบอลเชวิคในติฟลิส ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศจอร์เจีย ปล้นรถม้าขนเงินของธนาคาร ก่อนหลบหนีไปพร้อมเงิน 341,000 รูเบิล
- พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) – ผู้แทน 50 ประเทศลงนามกฎบัตรซึ่งก่อตั้งสหประชาชาติ ระหว่างการประชุมในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
- พ.ศ. 2506 (ค.ศ. 1963) – จอห์น เอฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีสหรัฐ กล่าวสุนทรพจน์ "ผมเป็นชาวเบอร์ลิน" (ในภาพ) เป็นการย้ำว่าสหรัฐสนับสนุนเยอรมนีตะวันตกหลังการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลิน
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วรรณกรรมเยาวชนเล่มแรกในชุดนวนิยาย แฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ. เค. โรว์ลิง ออกวางจำหน่ายเป็นวันแรก
- พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) – ศาลสูงสุดสหรัฐวินิจฉัยในคดีระหว่างโอเบอร์กะเฟลกับฮ็อดจิสว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐครั้งที่ 14 รับรองสิทธิสมรสของคนเพศเดียวกัน
ดูเพิ่ม: 25 มิถุนายน – 26 มิถุนายน – 27 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
27 มิถุนายน: วันทหารผ่านศึกในสหราชอาณาจักร
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวของสยาม
- พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) – พบผู้ป่วยโรคไวรัสอีโบลาที่ยืนยันได้คนแรกในประเทศซูดาน
- พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986) – ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยในคดีระหว่างนิการากัวกับสหรัฐว่าสหรัฐละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศโดยสนับสนุนกลุ่มคอนทราสระหว่างการกบฏต่อรัฐบาลนิการากัว
- พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) – ยานอวกาศ เนียร์ชูเมกเกอร์ ของนาซา เฉียดดาวเคราะห์น้อย 253 มาทิลเด ในระยะ 1,212 กิโลเมตร และได้ถ่ายภาพกลับมายังโลกกว่า 500 ภาพ
- พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) – ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (หอควบคุมในภาพ) ท่าอากาศยานซึ่งมีความหนาแน่นสูงแห่งหนึ่งของทวีปเอเชีย เปิดให้บริการ
ดูเพิ่ม: 26 มิถุนายน – 27 มิถุนายน – 28 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 2389 (ค.ศ. 1846) – อาดอลฟ์ ซักซ์ (ในภาพ) นักแคลริเน็ตชาวเยลเยียม ได้รับสิทธิบัตรแซกโซโฟน
- พ.ศ. 2457 (ค.ศ. 1914) – กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมยูโกสลาฟ ลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ แห่งออสเตรียและพระชายา ระหว่างเสด็จฯ เยือนซาราเยโว เป็นชนวนเหตุสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
- พ.ศ. 2475 (ค.ศ. 1932) – สภาผู้แทนราษฎรประชุมครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม มีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา เป็นประธานกรรมการราษฎร ถือเป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนแรก
- พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) – ประเทศอิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออก หลังสงครามหกวัน
- พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) – เกิดเหตุจลาจลที่สโตนวอลล์อินน์ จุดเริ่มต้นสำคัญของการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
ดูเพิ่ม: 27 มิถุนายน – 28 มิถุนายน – 29 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
- พ.ศ. 1649 (ค.ศ. 1149) – สงครามครูเสดครั้งที่สอง: กองทัพมุสลิมซึ่งมีนูร์ อัดดิน เซนกีเป็นผู้นำชนะกองทัพแอนติออกซึ่งมีเจ้าชายแรมงเป็นผู้นำ
- พ.ศ. 2156 (ค.ศ. 1613) – โรงละครโกลบหลังเก่าในกรุงลอนดอนถูกเพลิงไหม้ หลังเกิดความผิดพลาดโดยปืนใหญ่ซึ่งตั้งไว้สำหรับเทคนิคพิเศษยิงพลาดไปถูกหลังคาหญ้า ระหว่างการแสดงบทละครพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ของวิลเลียม เชกสเปียร์
- พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) – ทหารเรือจำนวนหนึ่งก่อกบฏจี้ตัวจอมพล ป. พิบูลสงคราม ระหว่างเป็นประธานในพิธีรับมอบเรือขุดสันดอนสัญชาติอเมริกัน แมนฮัตตัน ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ
- พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) – โครงการกระสวยอวกาศ–มีร์เริ่มต้นขึ้นเมื่อกระสวยอวกาศแอตแลนติสเป็นกระสวยอวกาศลำแรกที่เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศมีร์ (ในภาพ) ของรัสเซีย
- พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) – บริษัทแอปเปิลวางจำหน่ายไอโฟนรุ่นแรก ปฏิวัติอุตสาหกรรมสมาร์ทโฟนและทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทมหาชนมูลค่าสูงสุดบริษัทหนึ่งของโลก
ดูเพิ่ม: 28 มิถุนายน – 29 มิถุนายน – 30 มิถุนายน
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ
30 มิถุนายน: วันเอกราชในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (พ.ศ. 2503)
- พ.ศ. 2403 (ค.ศ. 1860) – หลังการจัดพิมพ์ กำเนิดสปีชีส์ ของชาลส์ ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวบริติชที่มีชื่อเสียงหลายคนเข้าร่วมการโต้วาทีเรื่องวิวัฒนาการ ณ พิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด
- พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) – ทาวเวอร์บริดจ์ (ในภาพ) สะพานข้ามแม่น้ำเทมส์ ที่เป็นลูกผสมระหว่างสะพานแขวนและสะพานบาสคูล เปิดให้บริการ
- พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) – วารสารวิทยาศาสตร์ อันนาเลนแดร์ฟิสิก พิมพ์เผยแพร่บทความ "ว่าด้วยพลศาสตร์ไฟฟ้าของวัตถุเคลื่อนที่" ผลงานเอกสารอันนุสมิราบิลิสลำดับที่สามของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ซึ่งเสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
- พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) – อดอล์ฟ ฮิตเลอร์กวาดล้างสมาชิกชตวร์มอัพไทลุง กับแอ็นสท์ เริห์ม หัวหน้า และคู่แข่งการเมืองอื่นในคืนมีดยาว โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตอย่างน้อย 85 คน
- พ.ศ. 2515 (ค.ศ. 1972) – สำนักเวลาระหว่างประเทศเพิ่มอธิกวินาทีแรกเข้ามาตราเวลาเวลาสากลเชิงพิกัด
ดูเพิ่ม: 29 มิถุนายน – 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม
ดู -
อภิปราย -
แก้ไข - ประวัติ