ข้ามไปเนื้อหา

มอสโก

พิกัด: 55°45′21″N 37°37′2″E / 55.75583°N 37.61722°E / 55.75583; 37.61722
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มอสโก
เมืองหลวง
นครสหพันธ์
Москва
จัตุรัสแดง
มหาวิหารแห่งการไถ่บาป
โรงละครบอลชอย
มหาวิทยาลัยมอสโก
ศูนย์ธุรกิจนานาชาติมอสโก
แม่น้ำมอสควาในยามค่ำคืน
บนลงล่าง, ซ้ายไปขวา: หอคอยสปัสกายาในเครมลินแห่งมอสโก จัตุรัสแดง มหาวิหารนักบุญเบซิล; มหาวิหารแห่งการไถ่บาป; โรงละครบอลชอย; อาคารหลักของมหาวิทยาลัยมอสโก; ศูนย์ธุรกิจนานาชาติมอสโก และแม่น้ำมอสควาในยามค่ำคืน
ธงของมอสโก
ธง
ตราราชการของมอสโก
ตราอาร์ม
เพลง: "มอสโกของข้าพเจ้า"
แผนที่เน้นมอสโกในรัสเซีย
พิกัด: 55°45′21″N 37°37′2″E / 55.75583°N 37.61722°E / 55.75583; 37.61722
ประเทศรัสเซีย
เขตสหพันธ์กลาง[1]
เขตเศรษฐกิจกลาง[2]
สถาปนา1147[3]
การปกครอง
 • องค์กรซิตีดูมา[4]
 • นายกเทศมนตรี[5]Sergey Sobyanin[5]
พื้นที่[6]
 • ทั้งหมด2,511 ตร.กม. (970 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 83
ประชากร
 • ประมาณ 
(2018)[7]
12,506,468 คน
 • อันดับอันดับที่ 1
เขตเวลาUTC+3 (เวลามอสโก แก้ไขบนวิกิสนเทศ[8])
รหัส ISO 3166RU-MOW
ทะเบียนรถ77, 177, 777; 97, 197, 797; 99, 199, 799
รหัส OKTMO45000000
ภาษาราชการรัสเซีย[9]
เว็บไซต์www.mos.ru/en

มอสโก (อังกฤษ: Moscow; /ˈmɒsk/, /ˈmɒsk/;[10][11] รัสเซีย: Москва, อักษรโรมัน: Moskva, สัทอักษรสากล: [mɐˈskva] ) เป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศรัสเซีย นครแห่งนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำมอสควาในพื้นที่ทางตอนกลางของรัสเซียตะวันตก มีประชากรประมาณ 12.6 ล้านคนในเขตนครจำกัด[12] แต่ถ้านับรวมพื้นที่เขตเมืองเข้าไปด้วยแล้ว จะมีประชากรถึง 17 ล้านคน[13] และถ้านับรวมพื้นที่ปริมณฑลด้วยแล้ว จะมีประชากรทั้งสิ้น 20 ล้านคน[14] ตัวนครมีพื้นที่ 2,511 ตารางกิโลเมตร หากนับรวมเขตเมืองจะมีพื้นที่ 5,891 ตารางกิโลเมตร[13] และเมื่อรวมปริมณฑล จะมีพื้นที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร[14] มอสโกเป็นหนึ่งในนครที่ใหญ่ที่สุดในโลก นครที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป เขตเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป[13] และเขตปริมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดในทวีปยุโรป[14] นอกจากนี้ ยังเป็นนครที่มีพื้นที่มากที่สุดในทวีปยุโรป[15][16]

มอสโกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1147 ในฐานะเมืองเล็ก ก่อนที่จะเติบโตขึ้นเป็นเมืองที่เจริญและมีอำนาจจนกลายเป็นเมืองหลวงของแกรนด์ดัชชีมอสโก เมื่อแกรนด์ดัชชีมอสโกกลายเป็นอาณาจักรซาร์รัสเซียแล้ว มอสโกก็ยังคงเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจของอาณาจักรมาโดยตลอด เมื่ออาณาจักรซาร์กลายเป็นจักรวรรดิรัสเซีย เมืองหลวงถูกย้ายจากมอสโกไปยังเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก และย้ายกลับสู่มอสโกอีกครั้งหลังจากที่มีการปฏิวัติรัสเซีย ตัวนครกลับไปเป็นศูนย์กลางทางการเมืองของสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียและสหภาพโซเวียต และเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย มอสโกก็ได้ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐรัสเซียมาจนถึงปัจจุบัน

ในฐานะที่เป็นนครใหญ่ที่อยู่ทางเหนือสุดและมีอากาศหนาวเย็นที่สุดในโลก ประกอบกับประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าแปดศตวรรษ มอสโกมีฐานะเป็นนครสหพันธ์ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ของรัสเซียและยุโรปตะวันออก นอกจากนี้ ในฐานะที่เป็นนครโลกอัลฟา[17] มอสโกเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก หนึ่งในเมืองที่มีค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก และเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[18] มอสโกเป็นเมืองที่มีเศรษฐีพันล้านมากเป็นอันดับที่สามของโลก[19] และมากที่สุดในทวีปยุโรป ศูนย์ธุรกิจนานาชาติมอสโกเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรปและโลก และมีตึกระฟ้าหลายตึกที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของทวีปยุโรป[20] มอสโกเป็นที่ตั้งของหอคอยออสตันกีนอซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1980 และฟุตบอลโลก 2018

ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของประเทศ มอสโกเป็นบ้านเกิดของศิลปิน นักวิทยาศาสตร์ และนักกีฬาชาวรัสเซียหลายท่าน สังเกตได้จากการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์ สถาบันการศึกษาและการเมือง และโรงละคร นครเป็นที่ตั้งของแหล่งมรดกโลกหลายแห่งของยูเนสโก และมีชื่อเสียงในด้านสถาปัตยกรรมรัสเซีย ซึ่งปรากฏให้เห็นในมหาวิหารนักบุญเบซิล จัตุรัสแดง และเครมลินแห่งมอสโก[21][22] ซึ่งเครมลินนี้เองเป็นที่ตั้งที่ทำการของรัฐบาลรัสเซีย[23][22] มอสโกเป็นที่ตั้งของบริษัทการเงินและเทคโนโลยีหลายแห่ง และครอบคลุมด้วยระบบขนส่งต่าง ๆ อาทิ ท่าอากาศยานนานาชาติสี่แห่ง[24][25] สถานีรถไฟเก้าแห่ง ระบบรถราง รถไฟฟ้ารางเดี่ยว และรถไฟใต้ดินมอสโก ซึ่งเป็นระบบรถไฟใต้ดินที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในระบบขนส่งมวลชนเร็วที่ใหญ่ที่สุดในโลก[26][27][28] พื้นที่กว่าร้อยละ 40 ของนคร ปกคลุมด้วยต้นไม้ มอสโกจึงเป็นหนึ่งในนครที่มีพื้นที่สีเขียวมากที่สุดในทวีปยุโรปและโลก[29][30][31]

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ใน ค.ศ. 1237 เมืองมอสโกก็ถูกสร้างขึ้นมาใหม่โดยเป็นเมืองของรัฐอิสระโดยเจ้าชาย ยูรี ดาลการุสกี การอยู่ริมฝั่งแม่น้ำวอลกาช่วยให้มอสโกขยายตัวอย่างรวดเร็ว ต่อมาใน ค.ศ. 1380 ชาวมอสโกได้เป็นแกนนำในการปลดปล่อยรัสเซียจากมองโกล ต่อมาใน ค.ศ. 1480 พระเจ้าซาร์อีวานที่ 3 ได้ปลดปล่อยรัสเซียจากการปกครองของเผ่า ตาตาร์ และย้ายเมืองหลวงของประเทศมายังมอสโก

ใน ค.ศ. 1712 พระเจ้าซาร์ปีเตอร์มหาราชได้ย้ายเมืองหลวงไปยังเซนต์ปีเตอส์เบิร์ก มอสโกได้เผชิญกับการปิดล้อมโดยกองทัพของนโปเลียน โบนาปาร์ต ใน ค.ศ. 1812 แต่นโปเลียนต้องถอยทัพกลับไปเนื่องจากทนความหนาวเย็นไม่ได้

หลังจากการปฏิวัติรัสเซีย ใน ค.ศ. 1917 เลนินได้ย้ายเมืองหลวงกลับมายังมอสโกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1918 ซึ่งยังคงเป็นเมืองหลวงมาจนถึงปัจจุบัน

มอสโกเผชิญการปิดล้อมอีกครั้งจากนาซีเยอรมันระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองใน ค.ศ. 1941 และยังเป็นสถานที่จัดกีฬาโอลิมปิก ใน ค.ศ. 1980

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

[แก้]

เมืองพี่น้องและเมืองแฝด

[แก้]

มอสโกกับเมืองแฝดกับ:

ข้อตกลงด้านความร่วมมือ

[แก้]

มอสโกทำข้อตกลงด้านความร่วมมือกับ:

เมืองพี่น้องและเมืองแฝดในอดีต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Президент Российской Федерации. Указ №849 от 13 мая 2000 г. «О полномочном представителе Президента Российской Федерации в федеральном округе». Вступил в силу 13 мая 2000 г. Опубликован: "Собрание законодательства РФ", No. 20, ст. 2112, 15 мая 2000 г. (President of the Russian Federation. Decree #849 of May 13, 2000 On the Plenipotentiary Representative of the President of the Russian Federation in a Federal District. Effective as of May 13, 2000.).
  2. Госстандарт Российской Федерации. №ОК 024-95 27 декабря 1995 г. «Общероссийский классификатор экономических регионов. 2. Экономические районы», в ред. Изменения №5/2001 ОКЭР. (Gosstandart of the Russian Federation. #OK 024-95 December 27, 1995 Russian Classification of Economic Regions. 2. Economic Regions, as amended by the Amendment #5/2001 OKER. ).
  3. Comins-Richmond, Walter. "The History of Moscow". Occidental College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2006.
  4. "The Moscow Statute". Moscow City Duma. Moscow City Government. 28 มิถุนายน 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2010. The supreme and exclusive legislative (representative) body of the state power in Moscow is the Moscow City Duma.
  5. 5.0 5.1 "The Moscow City Mayor". Government of Moscow. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2010.
  6. Федеральная служба государственной статистики (Federal State Statistics Service) (2004-05-21). "Территория, число районов, населённых пунктов и сельских администраций по субъектам Российской Федерации (Territory, Number of Districts, Inhabited Localities, and Rural Administration by Federal Subjects of the Russian Federation)". Всероссийская перепись населения 2002 года (All-Russia Population Census of 2002) (ภาษารัสเซีย). Federal State Statistics Service. สืบค้นเมื่อ 2011-11-01.
  7. "26. Численность постоянного населения Российской Федерации по муниципальным образованиям на 1 января 2018 года". สืบค้นเมื่อ 23 มกราคม 2019.
  8. "Об исчислении времени". Официальный интернет-портал правовой информации (ภาษารัสเซีย). 3 June 2011. สืบค้นเมื่อ 19 January 2019.
  9. ภาษาอย่างเป็นทางการของสหพันธ์ตามมาตรา 68.1 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย
  10. Wells, John C. (2008). Longman Pronunciation Dictionary (3rd ed.). Longman. ISBN 978-1-4058-8118-0.
  11. Roach, Peter (2011). Cambridge English Pronouncing Dictionary (18th ed.). Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-15253-2.
  12. "Оценка численности постоянного населения по субъектам Российской Федерации". Главная::Федеральная служба государственной статистики. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มกราคม 2020. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2020.
  13. 13.0 13.1 13.2 "Demographia World Urban Areas" (PDF). Demographia. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2020.
  14. 14.0 14.1 14.2 Alexander Akishin (17 สิงหาคม 2017). "A 3-Hour Commute: A Close Look At Moscow The Megapolis". Strelka Mag. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2021. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2020.
  15. "Expansion of Moscow borders to help it develop harmonically: mayor, Itar-tass, July 1, 2012". Itar-tass.com. 1 กรกฎาคม 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2014.
  16. "Moscow, Russia Population (2020) - Population Stat". populationstat.com. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2020.
  17. อ้างจาก Globalization and World Cities Research Network
  18. อ้างจาก MasterCard Global Destination Cities Index
  19. Giacomo Tognini. "World's Richest Cities: The Top 10 Cities Billionaires Call Home". Forbes. สืบค้นเมื่อ 25 พฤษภาคม 2020.
  20. Megan Willett-Wei (19 กันยายน 2012). "The 10 Tallest Skyscrapers In Europe". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.
  21. "ST. BASIL'S CATHEDRAL". The Complete Pilgrim - Religious Travel Sites (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020.
  22. 22.0 22.1 Craven, Jackie Craven Jackie. "2,000 Years of Russian History Through Photos". ThoughtCo (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020.
  23. "ST. BASIL'S CATHEDRAL". The Complete Pilgrim - Religious Travel Sites (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2019.
  24. "Moscow's Airports". Rusmania. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020.
  25. "Zhukovsky International Airport, Moscow". Airport Technology. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2020.
  26. "Moscow : Stations". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2017. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2017.
  27. "Three Moscow Metro stations designated architectural landmarks". Moscow City Web Site (ภาษาอังกฤษ). 18 มกราคม 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2019. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2019.
  28. "What's so extraordinary about the Moscow Metro's 7 new stations?". Russia Beyond (ภาษาอังกฤษ). 2 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2020.
  29. Geert Groot Koerkamp (25 กรกฎาคม 2017). "Nature under siege in one of Europe's biggest cities". DW. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020.
  30. "Moscow, a City Undergoing Transformation". Planète Énergies. 11 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020.
  31. "Moscow parks". Bridge To Moscow. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2020.
  32. "Города-побратимы Алматы – жемчужины Центральной Азии". sputniknews.kz (ภาษารัสเซีย). Sputnik News. 12 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  33. "Twin City Agreements". GAM. Greater Amman Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 ตุลาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2015.
  34. "Amman's Relations with Other Cities". Ammancity.gov.jo. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มีนาคม 2005. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2013.
  35. "Sister Cities of Ankara". ankara.bel.tr. Ankara. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020.
  36. "Sister Cities". ebeijing.gov.cn. Beijing. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020.
  37. "Twinning the Cities". City of Beirut. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2008. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2020.
  38. "Städtepartnerschaften". berlin.de (ภาษาเยอรมัน). Berlin. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020.
  39. "Sister cities of Bratislava". bratislava.sk (ภาษาสโลวัก). Bratislava. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020.
  40. "Brno - partnerská města". brno.cz (ภาษาเช็ก). Statutární město Brno. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  41. "Cu cine este înfrăţit Bucureştiul?". adevarul.ro (ภาษาโรมาเนีย). Adevărul. 21 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  42. "Convenios Internacionales". buenosaires.gob.ar (ภาษาสเปน). Buenos Aires. สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2020.
  43. "Sister Cities". chicagosistercities.com. Chicago Sister Cities. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  44. "Ciudades Hermanas de Cusco". aatccusco.com (ภาษาสเปน). Asociación de Agencias de Turismo del Cusco. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  45. "Dubai Sister Cities". international-travel-tours.com. International Travel Tours. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2019. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2020.
  46. "Weltweite Kontakte: Türöffner für Bürger, Wirtschaft und Kultur". duesseldorf.de (ภาษาเยอรมัน). Düsseldorf. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  47. "Twin-cities of Azerbaijan". Azerbaijans.com. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2013.
  48. "Hanoi Days in Moscow help sister cities". Vbusinessnews.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มกราคม 2009.
  49. "Các địa phương kết nghĩa với TPHCM". mofahcm.gov.vn. Foreign affairs in Ho Chi Minh City. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2020.
  50. "Djarot to visit Moscow to extend sister city agreement". thejakartapost.com. The Jakarta Post. 2 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2020.
  51. "Міста-партнери". city.kharkov.ua (ภาษายูเครน). Kharkiv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020.
  52. "Intercity cooperation". ljubljana.si. Mestna občina Ljubljana. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  53. "The Twin Cities of Oxford, Cambridge and London". oxford-royale.com. Oxford Royale Academy. 16 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2020.
  54. "Manila, Bacoor sign sister city accord". news.mb.com.ph. Manila Bulletin. 16 สิงหาคม 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  55. "Twin-cities celebrate India-Russia connect". rbth.com. Russia Beyond. 26 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2020.
  56. "Города-побратимы Астаны: что такое породненные города и зачем они нужны". sputniknews.kz (ภาษารัสเซีย). Sputnik News. 5 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2020.
  57. "Partnerská města HMP". zahranicnivztahy.praha.eu (ภาษาเช็ก). Prague. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2020.
  58. Corfield, Justin (2013). "Sister Cities". Historical Dictionary of Pyongyang. London: Anthem Press. p. 196. ISBN 978-0-85728-234-7.
  59. "Rīgas sadraudzības pilsētas". riga.lv (ภาษาลัตเวีย). Rīga. 2 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2024.
  60. "Sister and Friendship Cities". seoul.go.kr. Seoul. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กรกฎาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2020.
  61. "Tallinna suhted teiste linnadega". tallinn.ee (ภาษาเอสโตเนีย). Tallinn. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  62. "Atlas of Tehran Metropolis". Tehran Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2013.
  63. "Tehran, Havana named sister cities". Payvand.com. 22 พฤศจิกายน 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 เมษายน 2020. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2011.
  64. "Тверская 13" 4.12.04. el.mos.ru (ในภาษารัสเซีย).
  65. "International Relations" (PDF). Municipality of Tirana. tirana.gov.al. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 10 ตุลาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2009.
  66. "Sister Cities(States) of Tokyo". metro.tokyo.lg.jp. Tokyo Metropolitan Government. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2020.
  67. "Miestai partneriai". ivilnius.lt (ภาษาลิทัวเนีย). Vilnius. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  68. "Miasta partnerskie Warszawy". um.warszawa.pl (ภาษาโปแลนด์). Warsaw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤษภาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  69. Bangkok Metropolitan Administration; City of Moscow (19 มิถุนายน 1997). "Protocol of friendly ties between the cities of Bangkok and Moscow" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 สิงหาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2020.
  70. "Acordos de Cooperação e/ou Amizade". lisboa.pt (ภาษาโปรตุเกส). Lisboa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  71. "Agreements with cities". madrid.es. Madrid. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 มิถุนายน 2020. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  72. "ערים שותפות". tel-aviv.gov.il. Tel Aviv. สืบค้นเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2020. (ในภาษาฮีบรู).
  73. "Coopération internationale". commune-tunis.gov.tn (ภาษาฝรั่งเศส). Tunis. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2020.
  74. "Partner cities". yerevan.am. Yerevan. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2020.
  75. Киев разорвал побратимские отношения с Москвой (ภาษารัสเซีย). Lenta.ru. 12 พฤษภาคม 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]