จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
ธรรมเนียมพระยศของ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย | |
---|---|
พระราชลัญจกร | |
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
ตราประจำพระองค์ | |
การทูล | His Imperial Majesty (ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท) |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | Your Imperial Majesty (พระพุทธเจ้าข้า/เพคะ) |
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 (รัสเซีย: Алекса́ндр II Никола́евич, อักษรโรมัน: Aleksandr II Nikolayevich, สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪˈksandr ftɐˈroj nʲɪkɐˈlajɪvʲɪtɕ]; 29 เมษายน ค.ศ. 1818 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1881)[a] ทรงเป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซีย ครองราชย์ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1855 เป็นพระราชโอรสของ จักรพรรดินีโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย ทรงได้รับสมัญญานามว่า จักรพรรดินักปฏิรูป เนื่องจากการปฏิรูปหลาย ๆ อย่างซึ่งทำให้ประเทศทำให้ถูกต้องตามสมัย หลายด้านอย่างเช่น การปฏิรูปด้านการศึกษา การปฏิรูปด้านทหาร การปฏิรูปด้านการคมนาคม และการปลดปล่อยทาส พระองค์เสด็จสวรรคตเนื่องจากถูกลอบปลงพระชนม์เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1881 นอกจากนี้พระองค์ยังดำรงพระอิสริยยศพระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์และแกรนด์ดยุคแห่งฟินแลนด์ด้วย
การปฏิรูปที่สำคัญที่สุดในสมัยที่อะเลคซันดร์ทรงพระอิสริยยศจักรพรรดิ คือการเลิกทาสชาวรัสเซียใน ค.ศ. 1861 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในพระนาม อะเลคซันดร์ผู้ปลดปล่อย (รัสเซีย: Алекса́ндр Освободи́тель, อักษรโรมัน: Aleksandr Osvoboditel', สัทอักษรสากล: [ɐlʲɪˈksandr ɐsvəbɐˈdʲitʲɪlʲ]) ซาร์ทรงมีหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิรูปอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงการจัดระเบียบระบบตุลาการใหม่, จัดตั้งผู้พิพากษาที่มาจากการเลือกตั้ง, ยกเลิกการลงโทษทางกาย,[1] ส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านระบบเซมส์ตโว, กำหนดสวัสดิการทหารแบบถ้วนหน้า, ยกเลิกอภิสิทธิ์บางส่วนของขุนนาง และส่งเสริมการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย หลังความพยายามในการปลงพระชนม์ใน ค.ศ. 1866 จักรพรรดิอะเลคซันดร์ก็ทรงมีท่าทีตอบโต้ที่ค่อนข้างรุนแรงขึ้น จนกระทั่งพระองค์เสด็จสวรรคต[2]
ประวัติ
[แก้]จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ครองราชย์หลังจากรัสเซียพ่ายแพ้จากสงครามไครเมีย และจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 ได้สวรรคตลงจากพระอาการปอดบวม เนื่องจากมีข่าวลือเกี่ยวกับการปฏิวัติ จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงต้องทำการแก้ไขประเทศอย่างหนัก
การลอบปลงพระชนม์
[แก้]ในวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1881 ขณะพระองค์ทรงประทับนั่งรถพระที่นั่ง ได้มีคนโยนระเบิดมา แรงระเบิดได้แต่สังหารทหารหนึ่งคนและทำให้อีกคนบาดเจ็บสาหัส จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้ทรงพยายามจะช่วยทหารที่เจ็บ แต่ทรงได้ยินมือสังหารตะโกนบางอย่าง ในกลุ่มคน หลังจากนั้นมีคนได้โยนกระเป๋า ซึ่งบรรจุระเบิดมาที่พระองค์ ซึ่งได้ระเบิดใส่จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย พระวรกายขาดไปครึ่งท่อน ตำรวจสามารถจับมือสังหารทั้งสองคนได้ และยังรู้ว่ามีมือสังหารคนที่สามที่เตรียมคอยสังหารจักรพรรดิอะเลคซันดร์อยู่อีก แต่โดนจับได้ทีหลัง จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 เสด็จสวรรคตที่พระราชวังฤดูหนาวในคืนนั้นต่อหน้าพระราชวงศ์ทั้งปวง โดยพระโอรสองค์รองได้เสด็จขึ้นครองราช เป็น จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แทน (พระโอรสองค์โตสวรรคตอย่างกะทันหัน)
ผลงานปฏิรูป
[แก้]การปลดปล่อยทาสติดที่ดิน
[แก้]ด้วยความที่พระองค์ต้องการสนับสนุนจากประชาชน และเพื่อจะลดการประท้วงของเหล่าทาสติดที่ดิน พระองค์จึงตัดสินใจแก้ไขปัญหาเรื่องทาสติดที่ดินเป็นอย่างแรก โดยมีการปฏิรูประบบทาสโดยให้อิสรภาพแก่ผู้เป็นทาส ให้ที่ดิน เพิ่มเงินเดือน และสามารถแต่งงานและค้าขายโดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของที่ดิน
การปฏิรูปด้านกองทัพ
[แก้]เนื่องจากการพ่ายแพ้ที่น่าอับอายจากสงครามไครเมีย จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงทำการแก้ไขกองทัพหลักของรัสเซีย อย่างแรก คือ ลดเวลารับใช้ทหารจาก 24 ปี มาเป็น 15 ปี และให้คนที่เรียนอยู่มหาวิทยาลัยรับใช้แค่ 5 ปี อย่างที่สองคือการสร้างโรงเรียนสอนทหารมากขึ้นเพื่อให้คนทุกชุมชั้นได้โอกาสเรียนแล้วทำให้การสู้รบเก่งขึ้น หลังจากการปฏิรูปด้านกองทัพ ทหารรัสเซียได้มีความแข็งแกร่งขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ จากชัยชนะใน สงครามรัสเซีย-ตุรกี ใน ค.ศ. 1878
การปฏิรูปด้านการรัฐบาลท้องถิ่น
[แก้]เพื่อจะให้มีความเท่าเทียมมากขึ้น จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงก่อตั้ง สภาท้องถิ่น ที่ให้คนมีโอกาสเลือกตั้งขึ้นมา สภาถิ่นมีหน้าที่ดูแลคนแถวนั้น
การปฏิรูปด้านเศรษฐกิจ
[แก้]จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย ได้ก่อตั้งคลังเก็บเงิน และก่อตั้งธนาคารทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสร้างรางรถไฟเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ก่อนจักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 ได้ครองราชย์ มีรางรถไฟทั่วประเทศน้อยกว่า 700 ไมล์ ใน ค.ศ. 1881 มีรางรถไฟทั้งหมด 18,000 ไมล์ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการส่งออก วัตถุดิบมากขึ้นอีก 400% ภายในสามสิบปี
การปฏิรูปด้านระบบความยุติธรรม
[แก้]การปฏิรูปด้านระบบความยุติธรรมเกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1864 โดยมีการเพิมการฝึกฝนคนทำงานหน้าที่ระบบความยุติธรรม มีการแก้ไขความซื้อเสียง และโกงเงินโดยมีการเลือกโดยคณะลูกขุน และประชาชนสามารถดูการดำเนินคดีได้
การปฏิรูปด้านการตรวจพิจารณา
[แก้]สมัยจักรพรรดินีโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย การตรวจพิจารณามีกฎเข้มงวดมาก แต่จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียได้ลดการตรวจพิจารณาลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้คนได้มีโอกาสเขียนหนังสือมากขึ้น ภายใน 30 ปี การเขียนและพิมพ์ หนังสือเพิ่มขึ้นห้าเท่า
การปฏิรูปด้านการศึกษา
[แก้]จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซียได้สร้างกฎบังคับให้มีการเรียนระดับประถมศึกษาในหมู่บ้านทุกอัน นอกจากนั้นคนที่มีการศึกษาระดับ ปริญญาตรีเหรือสูงกว่าจะต้องเรียนทหารแค่หนึ่งปี มีการปฏิรูปในมหาวิทยาลัยด้วย อย่างแรกคือการให้โอกาสผู้หญิงเข้าเรียนเป็นกลุ่มแรกในประเทศ และสนับสนุนการให้ทุนการศึกษาเพื่อให้คนขยันเรียนมากขึ้น
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ตามปฏิทินเก่า: 17 เมษายน ค.ศ. 1818; 1 มีนาคม ค.ศ. 1881
อ้างอิง
[แก้]- Wolfson, Robert and Laver, John. Years of Change: European History 1890-1990 third edition. Malta: Hodder Murray, 2001
- Russell, Sheman et. Al. Russia 1815-81 Hodder and Stoughton UK 2002
- Lynch, Micheal, Reaction and Revolution: Russia 1894-1924 3rd edition, Hodder Education UK 2008
ก่อนหน้า | จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดินีโคลัสที่ 1 | จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิรัสเซีย (2 มีนาคม ค.ศ. 1855 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1881) |
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 | ||
พระมหากษัตริย์แห่งโปแลนด์ (2 มีนาคม ค.ศ. 1855 – ค.ศ. 1864) |
ว่าง (ถูกผนวกเป็นดินแดนวิสตูลา) | |||
แกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์ (2 มีนาคม ค.ศ. 1855 – 13 มีนาคม ค.ศ. 1881) |
จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 |
- ↑ "Reformation by the Tsar Liberator". InfoRefuge. InfoRefuge. 16 October 2007. สืบค้นเมื่อ 18 April 2016.
- ↑ "Alexander II | emperor of Russia". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 May 2018.
- หน้าที่มีสัทอักษรสากลไม่ระบุภาษา
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2361
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2424
- จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย
- จักรพรรดิรัสเซีย
- แกรนด์ดยุกแห่งฟินแลนด์
- พระมหากษัตริย์โปแลนด์
- ราชวงศ์ฮ็อลชไตน์-ก็อททอร์พ-โรมานอฟ
- เสียชีวิตจากระเบิดแสวงเครื่อง
- พระมหากษัตริย์ที่ถูกปลงพระชนม์
- แกรนด์ดยุกแห่งรัสเซีย
- ผู้รอดชีวิตจากการลอบสังหาร
- บุคคลในสงครามไครเมีย
- ไนต์ออฟเดอะการ์เตอร์
- ผู้ได้รับพัวร์เลอเมรีท (ชั้นทหาร)
- พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิ
- พระราชโอรสในพระมหากษัตริย์
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์