ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศตูนิเซีย

พิกัด: 34°N 9°E / 34°N 9°E / 34; 9
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐตูนิเซีย

الجمهورية التونسية (อาหรับ)
คำขวัญحرية، كرامة، عدالة، نظام
"เสรีภาพ, เกียรติ, ความยุติธรรม, และความเป็นระบบ"[1]
ที่ตั้งของประเทศตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ
ที่ตั้งของประเทศตูนิเซียในแอฟริกาเหนือ
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ตูนิส
36°49′N 10°11′E / 36.817°N 10.183°E / 36.817; 10.183
ภาษาราชการอาหรับ[2]
ภาษาพูด
กลุ่มชาติพันธุ์
อาหรับ-เบอร์เบอร์ 98%, ยุโรป 1%, ยิวและอื่น ๆ 1% [8][9]
ศาสนา
อิสลาม (ศาสนาประจำชาติ)[10]
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบกึ่งประธานาธิบดี สาธารณรัฐ[11][12]
ก็อยส์ ซะอีด
Ahmed Hachani
รอชิด อัลเฆาะนูชี
สภานิติบัญญัติAssembly of the Representatives of the People
ก่อตั้ง
814 ปีก่อนคริสต์ศักราช
435
800
909
972
1207
15 กรกฎาคม ค.ศ. 1705
• เป็นเอกราชจากฝรั่งเศส
20 มีนาคม ค.ศ. 1956
25 กรกฎาคม ค.ศ. 1957
7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1987
14 มกราคม ค.ศ. 2011
10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2014
พื้นที่
• รวม
163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) (อันดับที่ 91)
5.04
ประชากร
• 2020 ประมาณ
11,708,370[13] (อันดับที่ 81)
71.65 ต่อตารางกิโลเมตร (185.6 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 110)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 159.707 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14]
เพิ่มขึ้น 13,417 ดอลลาร์สหรัฐ[14]
จีดีพี (ราคาตลาด) 2020 (ประมาณ)
• รวม
เพิ่มขึ้น 44.192 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[14]
เพิ่มขึ้น 3,713 ดอลลาร์สหรัฐ[14]
จีนี (2017)35.8[15]
ปานกลาง
เอชดีไอ (2019)เพิ่มขึ้น 0.740[16]
สูง · อันดับที่ 95
สกุลเงินดีนาร์ตูนิเซีย (TND)
เขตเวลาUTC+1 (เวลายุโรปกลาง)
ขับรถด้านขวา
รหัสโทรศัพท์+216
โดเมนบนสุด

ตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisia; อาหรับ: تونس‎; เบอร์เบอร์: Tunest; ฝรั่งเศส: Tunisie) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐตูนิเซีย (อังกฤษ: Tunisian Republic[18]; อาหรับ: الجمهورية التونسية; ฝรั่งเศส: République tunisienne) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือบนชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีอาณาเขตทางตะวันตกจรดประเทศแอลจีเรีย และทางใต้และตะวันตกจรดประเทศลิเบีย พื้นที่ร้อยละ 40 ของประเทศประกอบด้วยทะเลทรายสะฮารา ในขณะที่ส่วนที่เหลือประกอบด้วยพื้นที่ทำกินอันอุดมสมบูรณ์ และชายฝั่งที่สามารถเข้าถึงได้ง่าย ตูนิเซียมีพื้นที่ 163,610 ตารางกิโลเมตร (63,170 ตารางไมล์) และมีประชากร 12.1 ล้านคน ตูนิเซียประกอบด้วยแนวชายฝั่งทอดยาวบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและยังเป็นที่ตั้งของแองเจลาเคป หรือแหลมเองเจลาถือเป็นจุดเหนือสุดของทวีปแอฟริกา มีเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือตูนิส ซึ่งสันนิษฐานว่าชื่อประเทศถูกตั้งชื่อตามชื่อเมืองตูนิส ตูนิเซียยังมีชื่อเสียงในด้านเมืองโบราณคาร์เธจซึ่งเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก รวมถึงเมืองอัลก็อยเราะวานที่มีสถานะเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ตูนิเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ในสมัยโบราณ ดินแดนของตูนิเซียเป็นที่อยู่อาศัยของชนเบอร์เบอร์ กลุ่มชาติพันธุ์โบราณที่ตั้งถิ่นฐานกระจัดกระจายตั้งแต่มหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงอียิปต์ และจากบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนไปจนถึงแม่น้ำไนเจอร์ ก่อนที่ฟินิเชียจะเริ่มเดินทางมาถึงในศตวรรษที่ 12 ก่อนคริสต์ศักราชโดยตั้งถิ่นฐานหลายแห่ง และมีคาร์เธจเป็นเมืองที่มีอำนาจมากที่สุดในช่วงศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราช ในช่วงเวลานั้น คาร์เธจกลายเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองด้านการค้าและมีสถานะเป็นคู่แข่งทางด้านการทหารกับสาธารณรัฐโรมันจนถึง 146 ปีก่อนคริสตกาล ความพ่ายแพ้ในสงครามส่งผลให้ดินแดนทั้งหมดถูกยึดครองโดยชาวโรมันเป็นระยะเวลากว่า 800 ปี ศาสนาคริสต์รวมถึงอารยธรรมตะวันตกเข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คน และได้ทิ้งมรดกทางสถาปัตยกรรมเอาไว้ เช่น สนามกีฬาเอลเจม ในคริสตศตวรรษที่ 7 ชาวอาหรับมุสลิมได้ยึดครองดินแดนทั้งหมด (ประสบความสำเร็จใน ค.ศ. 697 หลังจากเริ่มต้นในปี 647) และตั้งถิ่นฐานร่วมกับชนเผ่าท้องถิ่นจำนวนมาก ด้วนเหตุนี้เอง ศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมมุสลิมเริ่มเข้ามามามีบทบาทในท้องถิ่น และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวอาหรับก็กลายเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ ต่อมาใน ค.ศ. 1546 จักรวรรดิออตโตมันขยายอำนาจและเข้ามายึดครองบริเวณนี้เป็นเวลา 300 ปีกระทั่งสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1881 ด้วยการยึดครองโดยฝรั่งเศส ก่อนที่จะได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1956 ในฐานะสาธารณรัฐตูนิเซียภายใต้การนำของฮาบิบ เบอร์กุยบา ผู้ซึ่งกลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกในเวลาต่อมา

ตูนิเซียต้องเผชิญความขัดแย้งทางการเมือง และปัญหาภายในหลายด้านนำไปสู่การปฏิวัติใน ค.ศ. 2011 ซึ่งเป็นการโค่นล้มประธานาธิบดีซึ่งครองอำนาจมายาวนานกว่าสองทศวรรษอย่าง ซีน อัลอาบิดีน บิน อะลี และยังปลุกกระแสอาหรับสปริงไปทั่วภูมิภาค[19] มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังจากนั้น โดยระหว่าง ค.ศ. 2014–20 ตูนิเซียได้รับการจัดอันดับโดยอิงเกณฑ์ดัชนีประชาธิปไตยให้เป็นประเทศเดียวในโลกอาหรับที่มีฐานะเป็นรัฐประชาธิปไตย[20] อย่างไรก็ตาม ด้วยระบอบประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์กอปรกับความขัดแย้งในประเทศที่ยังมีอยู่เนือง ๆ ในปัจจุบันนักวิชาการจึงถือว่าตูนิเซียมีระบบการเมืองแบบลูกผสม[21]

ตูนิเซียเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีอันดับสูงสุดในดัชนีการพัฒนามนุษย์ โดยมีรายได้ต่อหัวสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีป โดยอยู่ในอันดับที่ 129 ในด้านรายได้อัตราจีดีพี ภาษาราชการของประเทศคือภาษาอาหรับมาตรฐานสมัยใหม่ ในขณะที่ภาษาอาหรับตูนิเซียเป็นภาษาพูดที่ใช้แพร่หลายที่สุด โดยภาษาฝรั่งเศสมีบทบาทในด้านการศึกษา และสถานที่สาธารณะในบางบริบททว่าไม่มีสถานะเป็นภาษาราชการ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวอาหรับและมุสลิม โดยมีชาวคริสเตียนกระจายตัวอยู่บ้างในบางภูมิภาค ตูนิเซียได้รับการยอมรับจากนานาชาติและมีส่วนร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศหลายแห่ง เช่น สหประชาชาติ, องค์การระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส, สันนิบาตอาหรับ, องค์การความร่วมมืออิสลาม, สหภาพแอฟริกา, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, ศาลอาญาระหว่างประเทศ และ กลุ่ม 77 และยังมีความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าที่ใกล้ชิดกับบางประเทศในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส[22] และ อิตาลี เนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์ ตูนิเซียยังมีข้อตกลงสมาคมกับสหภาพยุโรป และได้รับสถานะเป็นพันธมิตรหลักของสหรัฐ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]
เขตการปกครองของตูนิเซีย

ประเทศตูนิเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขตผู้ว่าการจำนวน 24 เขต ดังนี้

หมายเลข เขตผู้ว่าการ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ
1 อัรยานะฮ์ Ariana أريانة
2 บาญะฮ์ Béja باجة
3 บินอะรูส Ben Arous بن عروس
4 บันซัรต์ Bizerte بنزرت
5 กาบิส Gabès ڨابس
6 กัฟเศาะฮ์ Gafsa ڨفصة
7 ญันดูบะฮ์ Jendouba جندوبة
8 กอยร์วาน Kairouan قيروان
9 อัลกอศรีน Kasserine الڨصرين
10 กิบิลี Kebili ڨبلي
11 อัลกาฟ Kef الكاف
12 อัลมะดียะฮ์ Mahdia المهدية
13 มันนูบะฮ์ Manouba موبنة
14 เมดนีน Medenine مدنين
15 อัลมุนัสตีร Monastir المنستير
16 นาบิล Nabeul نابل
17 เศาะฟากิส Sfax صفاقس
18 ซีดิบูซีด Sidi Bouzid سيدي بوزيد
19 ซิลยานะฮ์ Siliana سليانة
20 ซูซะฮ์ Sousse سوسة
21 ตะฏอวีน Tataouine تطاوين
22 เตาซัร Tozeur توزر
23 ตูนิส Tunis تونس
24 ซัฆวาน Zaghouan زغوان

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Tunisia Constitution, Article 4" (PDF). 26 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014.
  2. "Tunisian Constitution, Article 1" (PDF). 26 January 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 February 2014. สืบค้นเมื่อ 10 February 2014. Translation by the University of Bern: "Tunisia is a free State, independent and sovereign; its religion is the Islam, its language is Arabic, and its form is the Republic."
  3. Arabic, Tunisian Spoken. Ethnologue (19 February 1999). Retrieved on 5 September 2015.
  4. "Tamazight language". Encyclopædia Britannica. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-04. สืบค้นเมื่อ 2021-12-02.
  5. "Nawaat – Interview avec l' Association Tunisienne de Culture Amazighe". Nawaat.
  6. Gabsi, Z. (2003). An outline of the Shilha (Berber) vernacular of Douiret (Southern Tunisia). PhD Thesis, Western Sydney University.
  7. "Tunisian Amazigh and the Fight for Recognition – Tunisialive". Tunisialive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 October 2011.
  8. Fadhlaoui-Zid, Karima; Martinez-Cruz, Begoña; Khodjet-el-khil, Houssein; Mendizabal, Isabel; Benammar-Elgaaied, Amel; Comas, David (October 2011). "Genetic structure of Tunisian ethnic groups revealed by paternal lineages". American Journal of Physical Anthropology (ภาษาอังกฤษ). 146 (2): 271–280. doi:10.1002/ajpa.21581. ISSN 0002-9483. PMID 21915847.
  9. "Tunisia" (PDF). International Religious Freedom Report for 2011, United States Department of State – Bureau of Democracy Human Rights and Labor.
  10. "The Constitution of the Tunisian Republic" (PDF). constitutionnet.org. สืบค้นเมื่อ 29 October 2017.
  11. Frosini, Justin; Biagi, Francesco (2014). Political and Constitutional Transitions in North Africa: Actors and Factors. Routledge. p. 4. ISBN 978-1-317-59745-2.
  12. Choudhry, Sujit; Stacey, Richard (2014) "Semi-presidential government in Tunisia and Egypt" เก็บถาวร 2016-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. International Institute for Democracy and Electoral Assistance. Retrieved 7 January 2016.
  13. "National Institute of Statistics-Tunisia". National Institute of Statistics-Tunisia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2019. สืบค้นเมื่อ 2 March 2020.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 "Tunisia". International Monetary Fund.
  15. "GINI index". World Bank. สืบค้นเมื่อ 19 January 2013.
  16. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  17. "Report on the Delegation of تونس". Internet Corporation for Assigned Names and Numbers. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2012. สืบค้นเมื่อ 8 November 2010.
  18. "EMBASSY OF THE REPUBLIC OF TUNISIA". EMBASSY OF THE REPUBLIC OF TUNISIA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-09-30.
  19. "Ben Ali flees amid unrest". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ).
  20. "democracy-index-2021". infographics.economist.com.
  21. "Democracy Index 2021: the China challenge". Economist Intelligence Unit (ภาษาอังกฤษแบบบริติช).
  22. https://www.diplomatie.gouv.fr/fr/dossiers-pays/tunisie/

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

34°N 9°E / 34°N 9°E / 34; 9