ข้ามไปเนื้อหา

วันขึ้นปีใหม่

หน้าถูกกึ่งป้องกัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วันขึ้นปีใหม่
พลุในเม็กซิโกซิตีเมื่อเวลาเที่ยงคืนของวันปีใหม่ ค.ศ. 2013
จัดขึ้นโดยประเทศส่วนใหญ่บนโลกที่ใช้ปฏิทินกริกอเรียน
ประเภทวันหยุดสากล
ความสำคัญวันแรกของปีปฏิทินกริกอเรียน
การเฉลิมฉลองเขียนปณิธานในวันขึ้นปีใหม่, เชิร์ชเซอร์วิส, ขบวนแห่, กิจกรรมแข่งขันกีฬา, พลุ
วันที่1 มกราคม
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องวันสิ้นปี, คริสต์มาส

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินกริกอเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม

อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน[1][2][3]

ประวัติ

วันปีใหม่มีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดปฏิทินซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับคือเริ่มเห็นไปจนเต็มดวงและค่อยๆลดลงมาจนกลายเป็นจันทร์ดับหรือเรียกอีกอย่างว่าข้างขึ้นข้างแรม ซึ่งจะประมาณ 30 วัน เป็น 1 เดือน เมื่อครบ 12 เดือน ก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี แต่การนับแบบนี้ก็เกิดปัญหา คือพอผ่านไปหลายปี ทำให้วันในปฏิทินไม่ตรงกับเวลาในฤดูกาลจริงที่เกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามวันในปฏิทินกับเวลาตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนทุกๆ 3 ปี หรือ 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ ชาวกรีก และชาวเซมิติก ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไขอีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียส ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอะเลกซานเดรีย ชื่อเฮมดัล หรือ sosigenes of alexandria มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน เพื่อให้เกิดความพอดี โดยไม่ต้องใส่เดือนเพิ่มขึ้น 1 เดือน ทุกๆ 3 ปีหรือ 4 ปีอีก โดยกำหนดให้มีเดือน 12 เดือนถาวร ที่ไม่อิงกับระยะข้างขึ้นข้างแรมของดวงจันทร์อีก ให้แต่ล่ะเดือน บางเดือนมี 30 วัน บางเดือนมี 31 วัน โดยเดือนที่ 12(กุมภาพันธ์สมัยนั้น) ของปีมีเพียงแค่ 28 วัน โดยเรียกปฏิทินนี้ว่า ปฏิทินจูเลียน

ในเวลานั้น เดือนกุมภาพันธ์จะเป็นเดือนที่12 เดือนสุดท้ายของปี และเดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี ซึ่งเหตุผลของการที่เดือนมีนาคมเป็นเดือนแรกของปี เพราะว่าเดือนมีนาคมจะเป็นช่วงเวลาที่เริ่มเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ หลังจากผ่านฤดูหนาวมา จึงถือว่าเป็นช่วงเวลาแห่งการเริ่มต้นปี (ในซีกโลกเหนือ วันที่ 1 มีนาคมเป็นวันเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิทางอุตุนิยมวิทยา ส่วนในซีกโลกใต้ วันเดียวกันเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงทางอุตุนิยมวิทยา)

โดยให้เดือนแรกของปีมี 31 วัน เดือนต่อไปมี 30 วัน เดือนต่อไปมี 31 วัน สลับ 31 วัน กับ 30 ไปอย่างนี้ จนครบปี แต่ต่อมา จักรพรรดิเอากุสตุส มีพระประสงค์อยากให้ชื่อพระองค์เป็นชื่อเดือนเหมือนจักรพรรดิจูเลียสบ้าง จึงกำหนดให้เดือนสิงหาคมกลายเป็นชื่อพระองค์(August) และปรับให้เดือนสิงหาคมมี 31 วัน เท่ากับเดือนกรกฎาคมซึ่งเป็นเดือนชื่อพระจักรพรรดิจูเลียส(July) และปรับแก้ให้เดือนกันยายนมี 30 วัน จากเคยมี 31 วันและสลับปรับแก้เดือนถัดๆไปให้สลับ30และ31วันทั้งหมด ยกเว้นเดือนมกราคมไม่ได้โดนแก้ มี 31 วันเท่าเดิม ซึ่งจำนวนวันของแต่ล่ะเดือนนี้ได้ใช้ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

แต่ต่อมาพบว่าวันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน ต่อมาก็มีการค้นพบว่าปฏิทินแบบใหม่นี้ พอใช้ไปนานๆ ก็พบว่ามีการคลาดเคลื่อนของวันในปฏิทินกับเวลาในฤดูกาลขึ้นมาอีก ไม่ตรงกับฤดูกาลจริง เมื่อคำนวนดูใหม่ จึงพบว่า 1 ปีนั้น ไม่ใช่ 365 วัน แต่เป็น 365.25 วัน จึงแก้ไขด้วยการให้เติมวันในเดือนที่ 12 ของปีคือเดือนกุมภาพันธ์ที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน ในทุกๆ 4 ปี และประกาศใช้ปฏิทินแบบจูเลียสนี้ เมื่อก่อนคริสตศักราช 46 ปี

เมื่อกำหนดให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี ซึ่งทำให้ปีปฏิทินกับเวลาในฤดูกาลมีความแม่นยำขึ้น จนมีผู้สังเกตุว่าในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุกปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกพอดี เรียกว่า วสันตวิษุวัต

แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายร้อยปี แต่วันในปฏิทินก็เริ่มไม่ค่อยตรงกับเวลาในฤดูกาลนัก วันเวลาในปฏิทินเริ่มการคลาดเคลื่อนจากเวลาในฤดูกาลมากขึ้น และเมื่อในปี ค.ศ. 1582 (ตรงกับ พ.ศ. 2125) วสันตวิษุวัตกลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 ได้ให้นักดาราศาสตร์ชื่อ Aloysius Lilius ไปคำนวน จึงค้นพบว่า การคำนวนแบบเดิมนั้น ทำให้แต่ล่ะปีจะมีเวลาจะเกินมาประมาณ 11 นาที เมื่อใช้มานานๆหลายร้อยปี เวลาที่หายไป 11 นาทีนั้น จะทำให้วันหายไป จึงปรับปรุงแก้ไขโดยหักวันที่เกินมาออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1582 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะปีดังกล่าว) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรโกเรียน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา

และกำหนดการคำนวนเสียใหม่ โดยใช้วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เป็นหลักสำคัญในการปรับวันในปฏิทินให้ตรงกับเวลาในฤดูกาลเช่นเดิม เพียงแต่ให้ใช้การคำนวนตามคณิตศาสตร์เสียใหม่ ว่าปีใดควร มีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ โดยใช้ปีคริสตศักราช ว่าปีคริสตศักราชนั้นลงท้ายด้วย 00 หรือเปล่า ถ้าไม่ลงท้ายด้วย 00 ให้นำไปหารกับเลข 4 ถ้าหารลงตัวไม่มีเศษ ให้ปีนั้นมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ แต่ถ้าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย 00 ให้หารด้วยเลข 400 ถ้าลงตัวไม่มีเศษ ให้ปีนั้นมีวันที่ 29 กุมภาพันธ์ แม้การคำนวนแบบนี้ จะมีความคลาดเคลื่อนในระดับวินาทีอยู่ แต่การจะมีผลกระทบต่อวันในปฏิทินกับเวลาในฤดูกาลได้ ก็ต้องใช้เวลาเป็นแสนปีขึ้นไป

การเฉลิมฉลองและประเพณีทั้งดั้งเดิมและสมัยใหม่

วันสิ้นปี

วันแรกของเดือนมกราคมหมายถึงการเริ่มต้นปีใหม่ หลังจากผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งการรำลึกถึงปีที่ผ่านมา รวมถึงทางวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ซึ่งจะเริ่มในต้นเดือนธันวาคม ในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก สื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ มีบทความส่งท้ายปลายปีที่รวบรวมการเปลี่ยนแปลงในช่วงปีที่แล้ว ในบางกรณี สื่อสิ่งพิมพ์อาจกำหนดงานตลอดทั้งปีด้วยความหวังว่าควันที่ปล่อยออกมาจากเปลวไฟจะนำชีวิตใหม่มาสู่บริษัท นอกจากนี้ยังมีบทความเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามแผนหรือคาดว่าจะเกิดขึ้นในปีหน้า

วันนี้เป็นวันเฉลิมฉลองทางศาสนา แต่ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1900 เป็นต้นมา ก็ได้กลายเป็นโอกาสเฉลิมฉลองในคืนวันสิ้นปี ในวันที่ 31 ธันวาคม โดยมีงานเฉลิมฉลองในที่สาธารณะ (ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับการแสดงดอกไม้ไฟ) และประเพณีอื่น ๆ ที่มุ่งเน้นไปที่เวลาเที่ยงคืนและปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง บริการยามค่ำคืนยังคงเป็นที่สังเกตในหลายครั้ง[4]

วันขึ้นปีใหม่

การเฉลิมฉลองและกิจกรรมที่จัดขึ้นทั่วโลกในวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่โดยทั่วไป เช่น การเดินขบวนพาเหรดสำคัญในหลายแห่ง การกระโดดแบบหมีขั้วโลก โดยชมรมหมีขั้วโลกในเมืองทางซีกโลกเหนือหลายแห่ง และการแข่งขันกีฬาสำคัญในสหราชอาณาจักรและสหรัฐ

วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. "New Year's Day: Julian and Gregorian Calendars". Sizes.com. 8 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 April 2016. สืบค้นเมื่อ 7 January 2021.
  2. Poole, Reginald L. (1921). The Beginning of the Year in the Middle Ages. Proceedings of the British Academy. Vol. X. London: British Academy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 November 2021. สืบค้นเมื่อ 24 November 2021 – โดยทาง Hathi Trust.
  3. Bond, John James (1875). Handy Book of Rules and Tables for Verifying Dates With the Christian Era Giving an Account of the Chief Eras and Systems Used by Various Nations...'. London: George Bell & Sons. p. 91.
  4. "Watch Night services provide spiritual way to bring in New Year". The United Methodist Church. pp. 288–294. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2011. The service is loosely constructed with singing, spontaneous prayers, and testimonials, and readings, including the Covenant Renewal service from The United Methodist Book of Worship