ข้ามไปเนื้อหา

ผู้เผด็จการโรมัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ในสาธารณรัฐโรมัน ผู้เผด็จการ คือ "แมจิสเทรตวิสามัญ" (magistratus extraordinarius) โดยมีอำนาจเด็ดขาดในการดำเนินภาระนอกเหนือจากแมจิสเทรตสามัญ (magistratus ordinarius)[1] ตำแหน่งผู้เผด็จการเป็นการประดิษฐ์กฎหมายที่เดิมชื่อ Magister Populi (นายประชาชน) คือ นายแห่งกองทัพพลเมือง[2] คำนี้มาจากคำว่า dicto หมายถึง สั่งการ

วุฒิสภาโรมันผ่านกฤษฎีกาวุฒิสภา (senatus consultum) อนุญาตกงสุลให้เสนอชื่อผู้เผด็จการ ซึ่งเป็นข้อยกเว้นเดียวของหลักมีผู้ดำรงตำแหน่งเดียวกันหลายคน (collegiality) และความรับผิดชอบ (ความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง) ตามกฎหมายโรมัน มีผู้ได้รับแต่งตั้งคนเดียว และเป็นแมจิสเทรตสูงสุด ไม่มีความรับผิดทางกฎหมายสำหรับการกระทำในตำแหน่ง มีลิกเตอร์ (องครักษ์) 24 คนรับใช้ อนุญาตให้มีผู้เผด็จการได้คนเดียว เนื่องจากมีอำนาจสิทธิ์ขาดใหญ่ (imperium magnum) ซึ่งสามารถลบล้าง ปลดหรือประหารชีวิตคุรูเลแมจิสเทรต (curule magistrate) ซึ่งถืออำนาจสิทธิ์ขาดได้

มีผู้เผด็จการหลายแบบแตกต่างกันตามสาเหตุการสถาปนา รูปแบบที่พบบ่อยที่สุด และที่สัมพัน์กับผู้เผด็จการโรมันมากที่สุด คือ rei gerundae causa "เพื่อจัดการปัญหา" ซึ่งแทบทุกครั้งเกี่ยวข้องกับการนำกองทัพเข้าสู่สมรภูมิและเจาะจงข้าศึกให้รบ มีผู้เผด็จการอย่างน้อยหนึ่งคนได้รับกำหนดให้เป็น seditionis sedandae et rei gerundae causa "เพื่อกำราบการกบฏและจัดการปัญหา" ผู้เผด็จการยังได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ปกครองหรือทางศาสนา เช่น จัดการเลือกตั้ง (omitiorum habendorum causa เป็นรูปแบบผู้เผด็จการที่พบบ่อยที่สุดเป็นอันดับสอง) หรือการตอกตะปูเข้าเทวสถานจูปิเตอร์อ็อปติมัสแม็กซิมัสเพื่อยุติโรคติดต่อร้ายแรง (clavi figendi causa)

โรมันเลิกตั้งผู้เผด็จการหลังยุคสงครามพิวนิกครั้งที่สอง มีการฟื้นฟูตำแหน่งระหว่างสงครามกลางเมืองโรมันโดยลูเซียส คอร์นีเลียส ซุลลา เฟลิกซ์ จูเลียส ซีซาร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้เผด็จการในหลายโอกาส จักรพรรดิโรมันเลี่ยงการใช้ยศดังกล่าวเพื่อเลี่ยงคำตำหนิที่ตามมาซึ่งเป็นผลของผู้เผด็จการสองคนหลังสุดนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Oxford Companion to Classical Civilization (1998) Hornblower and Spawforth, eds.:Oxford p.219.
  2. Andrew Lintott, The Constitution of the Roman Republic (Oxford University Press, 1999), p. 110 online. Moreover, the perception that the dictator was a praetor maximus (supreme praetor) apparently results from confusion about a fragmentary inscription, and a passage in Livy, that imply that, on one occasion, the title-holder acted as dictator; see Lintott, Constitution p. 104, especially note 47.