ข้ามไปเนื้อหา

ประเทศแอลเบเนีย

พิกัด: 41°N 20°E / 41°N 20°E / 41; 20
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐแอลเบเนีย

Republika e Shqipërisë (แอลเบเนีย)
คำขวัญ"Ti Shqipëri, më jep nder,
më jep emrin Shqipëtar
"
("เจ้าแอลเบเนีย ให้เกียรติแก่ข้า
เจ้าให้ชื่อแอลเบเนียแก่ข้า")
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
ติรานา
41°19′N 19°49′E / 41.317°N 19.817°E / 41.317; 19.817
ภาษาราชการแอลเบเนีย
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการยอมรับ
ศาสนา
(2020)
เดมะนิมชาวแอลเบเนีย
การปกครองรัฐเดี่ยว สาธารณรัฐระบบรัฐสภา
ไบรัม เบกาจ
เอดี รามา
ลินดิตา นิกอลลา
สภานิติบัญญัติคูเวนดี
ประวัติก่อตั้ง
ค.ศ. 1190
กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1272
ค.ศ. 1368
2 มีนาคม ค.ศ. 1444
ค.ศ. 1515
ค.ศ. 1757/1787
• ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิออตโตมัน
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912
29 กรกฎาคม ค.ศ. 1913
31 มกราคม ค.ศ. 1925
1 กันยายน ค.ศ. 1928
11 มกราคม ค..ศ 1946
28 ธันวาคม ค.ศ. 1976
• สาธารณรัฐที่ 4
29 เมษายน ค.ศ. 1991
28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1998
พื้นที่
• รวม
28,748 ตารางกิโลเมตร (11,100 ตารางไมล์) (อันดับที่ 140)
4.7
ประชากร
• มกราคม ค.ศ. 2020 ประมาณ
เพิ่มขึ้นเป็นกลาง 2,845,955[2]
• สำมะโนประชากร ค.ศ. 2011
2,821,977[3]
98 ต่อตารางกิโลเมตร (253.8 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 63)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
42.594 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
14,866 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีดีพี (ราคาตลาด) ค.ศ. 2020 (ประมาณ)
• รวม
16.753 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
5,847 ดอลลาร์สหรัฐ[4]
จีนี (ค.ศ. 2019)positive decrease 34.3[5]
ปานกลาง
เอชดีไอ (ค.ศ. 2019)เพิ่มขึ้น 0.795[6]
สูง · อันดับที่ 69
สกุลเงินเลค (ALL)
เขตเวลาUTC+1 (CET)
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+2 (CEST)
รูปแบบวันที่วว.ดด.ปปปป
ขับรถด้านขวามือ
รหัสโทรศัพท์+355
โดเมนบนสุด.al

แอลเบเนีย (อังกฤษ: Albania; แอลเบเนีย: Shqipëri หรือ Shqipëria, ออกเสียง [ʃcipəˈɾi(a)]) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐแอลเบเนีย (อังกฤษ: Republic of Albania; แอลเบเนีย: Republika e Shqipërisë) เป็นประเทศแถบเมดิเตอร์เรเนียนในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ พรมแดนทางเหนือติดต่อกับมอนเตเนโกร ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับคอซอวอ ทางตะวันออกติดต่อกับมาซิโดเนีย และทางใต้ติดต่อกับกรีซ ชายฝั่งตะวันตกจรดทะเลเอเดรียติก ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลไอโอเนียน ปกครองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

ภูมิศาสตร์

[แก้]

สภาพภูมิศาสตร์เป็นสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติอย่างหนึ่งทำให้แอลเบเนียมีความแตกต่างทางภาษา ความแปลกแยกทางการเมืองกับประเทศอื่นๆในยุโรป เนื่องจากมีแนวภูเขาสูงเป็นปราการฝั่งตะวันออก ความสูงประมาณ 2,000 เมตร ซึ่งทอดยาวต่อเนื่องจากเทือกเขา Dinaric Alps วางตัวเป็นแนวตะวันตกเฉียงเหนือ ไปยังตะวันออกเฉียงใต้ สูงชันไปตามแนวที่ราบชายฝั่ง โดยทั่วไป หินส่วนใหญ่ เป็นหินปูน ส่วนในภาคกลางมีสินแร่เชิ้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เช่น ทองแดง เหล็ก นิกเกิล และโครเมียม

ประวัติศาสตร์

[แก้]

ออตโตมันแอลเบเนีย

[แก้]

ในยุครุ่งเรืองของการก่อตั้งจักรวรรดิออตโตมันนั้น ทางออตโตมันได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ทั่วทั้งแอลเบเนียทางตอนใต้ช่วงปี พ.ศ. 1958 (ค.ศ. 1415) และสามารถเข้ายึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของแอลเบเนียในช่วงปี พ.ศ. 1974 (ค.ศ. 1431)[7] อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ. 1986 (ค.ศ. 1443) การปฏิวัติครั้งใหญ่ได้ประทุขึ้นภายใต้การนำของวีรบุรุษชาวแอลเบเนียนาม Skanderbeg ซึ่งดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2022 (ค.ศ. 1479) ซึ่งหลายครั้งก็สามารถเอาชนะกองทัพของจักรวรรดิออตโตมันที่นำโดยสุลต่าน Murad II และ เมห์เหม็ดที่ 2 Skanderbeg ได้สร้างความเป็นปึกแผ่นเบื้องต้นกับเจ้านายต่าง ๆ ในแอลเบเนีย ซึ่งในภายหลังได้สถาปนาเป็นศูนย์กลางอำนาจเหนือแผ่นดินที่ยังมิได้ถูกยึดครองของแอลเบเนีย กลายเป็นลอร์ดผู้ปกครองแอลเบเนีย เขาได้พยายามอย่างหนักแต่ก็ล้มเหลวในการสร้างพันธมิตรยุโรปในการต่อต้านออตโตมัน เขาถูกขัดขวางในทุกความพยายามโดยชาวเติร์กที่ต้องการกลับมาควบคุมแอลเบเนีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นเหมือนเส้นทางหลักในการเข้ายึดอิตาลีและยุโรปตะวันตก การต่อสู้กับมหาอำนาจที่เหนือกว่าในยุคนั้นของเขาได้ความเคารพจากชาติอื่น ๆ ในยุโรป และเนเปืล, รัฐพระสันตะปาปา, เวนิส และรากูซาก็ได้ให้ความช่วยเหลือแก่เขาทางการเงินและการทหารด้วย[8]

คอมมิวนิสต์

[แก้]

เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 พรรคคอมมิวนิสต์แอลเบเนียเข้าครองอำนาจปกครองประเทศแบบคอมมิวนิสต์ จนมีการปฏิรูปการเมืองใหม่ ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ พ.ศ. 2534 และ ปรับระบบของประเทศเป็นระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี

การเมืองการปกครอง

[แก้]

บริหาร

[แก้]

ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศมาจากการเลือกตั้งโดยสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Alfred Moisiu นายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้ารัฐบาล ประธานาธิบดีเป็นผู้เสนอชื่อ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาประชาชน ดำรงตำแหน่ง 4 ปี ปัจจุบัน คือ นาย Sali Berisha

นิติบัญญัติ

[แก้]

ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยเป็นระบบสภาเดียว คือ สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 140 คน โดย 100 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 40 คนมาจากระบบบัญชีรายชื่อ

การแบ่งเขตการปกครอง

[แก้]

ประเทศแอลเบเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 เขตบริหาร (administrative zones - qark or prefekturë) แต่ละเขตบริหารแบ่งย่อยลงไปอีกเป็น เขต (districts - rreth) รวมทั้งหมด 36 เขต

มณฑล เมืองหลวง เขต เทศบาล เมือง หมู่บ้าน
1 มณฑลเบรัต เบรัต เขตเบรัต
เขตคูโชฟ
เขตสคราปาร์
10
2
8
2
1
2
122
18
105
2 มณฑลดีเบอร์ เพชโคป เขตบุงกีช์
เขตดีเบอร์
เขตมัท
7
14
10
1
1
2
63
141
76
3 มณฑลดูร์เรส ดูร์เรส เขตดูร์เรส
เขตครุยจ์
6
4
4
2
62
44
4 มณฑลเอลบาซาน เอลบาซาน เขตเอลบาซาน
เขตกรามช์
เขตลิบราซชด์
เขตเพกิน
20
9
9
5
3
1
2
1
177
95
75
49
5 มณฑลฟิเยร์ ฟิเยร์ เขตฟิเยร์
เขตลีอูชชีเนอ
เขตมัลลาคาสเทอร์
14
14
8
3
2
1
117
121
40
6 มณฑลจิโรคาสเทอร์ จิโรคาสเทอร์ เขตจิโรคาสเทอร์
เขตเปอร์เมต
เขตเทแพนเล
11
7
8
2
2
2
96
98
77
7 มณฑลโคร์ช โคร์ช เขตเดโวล
เขตโคโลนจ์
เขตโคร์ช
เขตโพกราเดค
4
6
14
7
1
2
2
1
44
76
153
72
8 มณฑลคูเคิช คูเคิช เขตฮาส์
เขตคูเคิช
เขตโทโพรจ
3
14
7
1
1
1
30
89
68
9 มณฑลเลซ์ เลซ์ เขตคูร์บิน
เขตเลซ์
เขตมิดิร์
2
9
5
2
1
2
26
62
80
10 มณฑลชโคดรา ชโคดรา เขตมาเลอซี อี มาด์เฮ
เขตพูคา
เขตชโคดรา
5
8
15
1
2
2
56
75
141
11 มณฑลติรานา ติรานา เขตคาเฟจา
เขตติรานา
8
16
2
3
66
167
12 มณฑลวโลรา วโลรา เขตเดลฟินา
เขตซารานดา
เขตวโลรา
3
7
9
1
2
4
38
62
99

ประชากรศาสตร์

[แก้]

เชื้อชาติ

[แก้]

เป็นชาวแอลเบเนีย ร้อยละ 95 ชาวกรีก ร้อยละ 3 และอื่น ๆ อีก ร้อยละ 2

วัฒนธรรม

[แก้]

เป็นวัฒนธรรมมุสลิมบอลข่านเพราะในอดีตเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิออตโตมันเติร์ก ทำให้มีประชากรเป็นชาวมุสลิมเป็นส่วนมากร้อยละ 70 ที่เหลือเป็นชาวคริสต์ร้อยละ 30


อ้างอิง

[แก้]
  1. "Albania". CIA The World Factbook. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021.
  2. "Popullsia e Shqipërisë" (PDF) (ภาษาแอลเบเนีย). Instituti i Statistikës (INSTAT). 26 March 2020. p. 1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 30 July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020. {{cite web}}: ระบุ |accessdate= และ |access-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archivedate= และ |archive-date= มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ |archiveurl= และ |archive-url= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  3. "Population and Housing Census 2011" (PDF). Instituti i Statistikës (INSTAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 26 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 "World Economic Outlook Database, October 2019". International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 21 September 2020.
  5. "Gini coefficient of equivalised disposable income – EU-SILC survey". ec.europa.eu. Eurostat. สืบค้นเมื่อ 12 August 2021.
  6. Human Development Report 2020 The Next Frontier: Human Development and the Anthropocene (PDF). United Nations Development Programme. 15 December 2020. pp. 343–346. ISBN 978-92-1-126442-5. สืบค้นเมื่อ 16 December 2020.
  7. Licursi, Emiddio Pietro (2011). Empire of Nations: The Consolidation of Albanian and Turkish National Identities in the Late Ottoman Empire, 1878–1913 (วิทยานิพนธ์). New York: Columbia University. p. 19. hdl:10022/AC:P:10297. By 1415, after a chaotic interregnum, Sultan Mehmet I sent the military to erect the first Ottoman garrisons throughout southern Albania, establishing direct military authority in the region ... l jurisdiction over most of Albania ...
  8. "Albania :: The decline of Byzantium -- Encyclopedia Britannica". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ 13 September 2014.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • History of the Party of Labor of Albania. Tirana: Institute of Marxist–Leninist Studies, 1971. 691 p.
  • Abrahams, Fred (2015). Modern Albania: From Dictatorship to Democracy in Europe. NYU Press. p. 384. ISBN 978-0-8147-0511-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

Wikimedia Atlas of Albania

41°N 20°E / 41°N 20°E / 41; 20