การสังหารหมู่ที่บอสตัน
การสังหารหมู่ที่บอสตัน | |
---|---|
เป็นส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติอเมริกา | |
สถานที่ | บอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์, บริติชอเมริกา (ปัจจุบันคือ สเตลสตรีท, บอสตัน, รัฐแมสซาชูเซตส์, ประเทศสหรัฐ) |
พิกัด | 42°21′32″N 71°03′26″W / 42.35879°N 71.05717°W |
วันที่ | 5 มีนาคม 1770 |
อาวุธ | ปืนคาบศิลา, กระบอง |
ตาย | 5 |
เจ็บ | 6 |
ผู้ก่อเหตุ | ทหารราบของสหราชอาณาจักร |
การสังหารหมู่ที่บอสตัน หรือที่ชาวอังกฤษเรียกว่า อุบัติการณ์ที่ถนนคิง เป็นอุบัติการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 1770 ซึ่งทหารแห่งกองทัพอังกฤษสังหารพลเรือนห้าคน และทำให้อีกหกคนได้รับบาดเจ็บ ขณะนั้นทหารอังกฤษประจำอยู่ในบอสตัน เมืองหลวงของจังหวัดอ่าวแมสซาชูเซตส์ ตั้งแต่ปี 1768 เพื่อคุ้มครองและสนับสนุนข้าราชการอาณานิคมที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายของรัฐสภาที่ไม่ได้รับความนิยม ท่ามกลางความสัมพันธ์อันตึงเครียดที่ดำเนินมาระหว่างประชาชนกับทหาร เกิดฝูงชนวุ่นวายรอบตัวทหารยามอังกฤษนายหนึ่ง ผู้ถูกละเมิดและก่อกวนด้วยวาจา ต่อมา มีทหารอีกแปดนายมาร่วมด้วย ซึ่งถูกข่มขู่ด้วยวาจาและขว้างปาวัตถุใส่ พวกเขายิงปืนเข้าไปในฝูงชน โดยไม่ได้รับคำสั่ง ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันทีสามคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง จากนั้นมีผู้เสียชีวิตจากบาดแผลอีกสองคน
ฝูงชนสลายตัวในที่สุด หลังรักษาการแทนผู้ว่าราชการ โธมัส ฮัทชินสัน (Thomas Hutchinson) สัญญาว่าจะมีการสอบสวน แต่กลับมีการแก้ไขในวันรุ่งขึ้น โดยถอนทหารไปยังเกาะแคสเทล ทหารแปดนาย นายทหารหนึ่งนาย และพลเรือนสี่คนถูกจับและตั้งข้อหาฆ่าคน จอห์น อดัมส์ ทนายความและอนาคตประธานาธิบดีสหรัฐ แก้ต่างให้จำเลย ทำให้ทหารหกนายถูกปล่อยตัว ขณะที่อีกสองนายถูกพิพากษาลงโทษฐานทำให้คนตายโดยไม่เจตนาและได้รับโทษเบาลง โทษที่ผู้มีความผิดฐานทำให้คนตายโดยไม่เจตนาได้รับ คือ การตีตราที่มือ
การพรรณนา รายงานและโฆษณาชวนเชื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ ที่โดดเด่น คือ ภาพพิมพ์ลายแกะสีที่สร้างสรรค์โดย พอล รีเวียร์ (ดูขวามือ) ยิ่งทวีความตึงเครียดทั่วทั้งสิบสามอาณานิคม เหตุการณ์นี้ถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นการเกริ่นการณ์การปะทุสงครามปฏิวัติอเมริกาอีกห้าปีให้หลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Fischer, Paul Revere's Ride, 24.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ การสังหารหมู่ที่บอสตัน
42°21′32″N 71°03′25″W / 42.358798°N 71.057052°W{{#coordinates:}}: ไม่สามารถมีป้ายกำกับหลักมากกว่าหนึ่งป้ายต่อหน้าได้