ซูฮาร์โต
ซูฮาร์โต | |
---|---|
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย คนที่ 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มีนาคม พ.ศ. 2510 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 | |
ก่อนหน้า | ซูการ์โน |
ถัดไป | บาคารุดดิน ยูซุฟ ฮาบีบี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ยกยากาตา ดัตช์อีสต์อินดีส |
เสียชีวิต | 27 มกราคม พ.ศ. 2551 (86 ปี) จาการ์ตา อินโดนีเซีย |
ศาสนา | อิสลาม |
พรรคการเมือง | พรรคโกลคาร์ |
คู่สมรส | ซิตี ฮาร์ตีนะห์ |
ลายมือชื่อ | |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบก |
ประจำการ | 1940–1974 |
ยศ | จอมพล (Jenderal Besar) |
บังคับบัญชา | กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพอินโดนีเซีย |
จอมพล ซูฮาร์โต (อินโดนีเซีย: Soeharto, Suharto) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนานที่สุดของประเทศเป็นเวลา 31 ปี โดยได้รับฉายาจากนานาชาติโดยเฉพาะประเทศโลกตะวันตกว่า "The Smiling General"
ก่อนที่จะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ซูฮาร์โตเป็นผู้นำทางทหารในยุคที่อยู่ใต้การปกครองของ ญี่ปุ่นและฮอลันดา เรื่อยมาจนได้รับยศพลตรี ซูฮาร์โตมีบทบาทมากจากเหตุการณ์ปราบปรามพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย ในการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2508 จนได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากซูการ์โนในปี พ.ศ. 2510 จนถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 จึงได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งหลังจากการเดินขบวนต่อต้านจากนักศึกษาและประชาชน
ภายใต้ยุคของเขาที่เรียกกันว่า "ยุคระเบียบใหม่" เขาสามารถสร้างรัฐบาลที่เข้มแข็งและใช้ระบบอำนาจรวมศูนย์ ทั้งยังสร้างเสถียรภาพทางการเมืองได้เป็นอย่างดีและมีนโยบายต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากโลกตะวันตกในช่วงสงครามเย็น ในสมัยของเขาช่วงต้นนั้นประเทศอินโดนิเซียเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมากในด้านอุตสาหกรรม มีการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบก้าวกระโดด และระดับการศึกษาที่ดีขึ้น[1][2] อย่างไรก็ดี เขาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในบรรดานักการเมืองที่มีการคอร์รัปชันมากที่สุดในโลก ด้วยตัวเลขเงินที่คอร์รัปชันไปถึง 15-35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐระหว่างที่เขายังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[3][4][5]
ชื่อ
[แก้]ตามวัฒนธรรมของชาวชวา เขามีชื่อเพียงชื่อเดียว ส่วนชื่อในทางศาสนามีชื่อว่า "อัลฮะจีญ์ มุฮัมมัด ซูฮาร์โต" แต่ไม่ได้ใช้ในทางราชการแต่อย่างใด ส่วนชื่อซูฮาร์โตนั้นถอดสะกดเป็นอักษรโรมันตามระบบใหม่ของอินโดนิเซียว่า "Suharto" ก่อนหน้านั้นสะกดว่า "Soeharto" ตามอักขระวิธีของภาษาดัตช์ ซึ่งเขาชื่นชอบการทับศัพท์แบบดัตช์มากกว่า สื่อภาษาอังกฤษมักจะสะกดชื่อเขาเป็น "Suharto" ในขณะที่สื่อในประเทศอินโดนิเซียสะกดเป็น "Soeharto"[6] ทั้งนี้ ชาวอินโดนิเซียจะจดจำเขาในนาม ปะก์ฮาร์โต (Pak Harto)[7] และได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งการพัฒนาอินโดนิเซีย[8] อันเนื่องมาจากการบริหารประเทศและการดำเนินนโยบายของเขาในยุคระเบียบใหม่
ประวัติ
[แก้]เขาเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2464 ในบ้านที่มีผนังไม้ไผ่สานแห่งหนึ่งในหมู่บ้านเกมุสุข ทางตะวันตกของจังหวัดยกยาการ์ตาซึ่งเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมของเกาะชวา[9] เขาเป็นบุตรคนเดียวจากการแต่งงานครั้งที่สองของบิดาคือเคโตสูดิโร กับมารดาของเขาคือสุคิระห์ซึ่งเป็นคนในท้องถิ่นยกยาร์การ์ตาเอง และมีความเกี่ยวข้องกับสุลตานฮาเมงคุบูโวโนที่ 5[10]
ห้าสัปดาห์หลังจากเขาเกิดมา มารดาของเขามีอาการทางประสาท ทำให้เขาอยู่ในความดูแลของบิดาและป้าของเขาคือโกโมดีร์โจ หลังจากนั้นบิดาและมารดาของเขาได้แยกทางกัน เมื่อซูฮาร์โตอายุได้ 3 ปี เขาได้ตามไปอยู่กับมารดาที่แต่งงานใหม่กับชาวนาในพื้นที่ เขาได้ช่วยมารดาและพ่อเลี้ยงของเขาทำเกษตรกรรม[11] ต่อมาใน พ.ศ. 2472 บิดาของเขาก็พาไปอยู่กับน้องสาวต่างมารดาของเขาซึ่งแต่งงานกับปราวิโรวิฮาดิโจ เจ้าหน้าที่กรมเกษตรในเมืองวูรยานโตโรซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความแห้งแล้งกันดาร ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองโวโนกีรี ต่อมาได้ไม่นานพ่อเลี้ยงของเขาก็พาเขากลับไปหามารดาที่หมู่บ้านเกมุสุข ส่วนบิดาของเขาก็พาเขาย้ายกลับมาอยู่วูรยานโตโรอีกครั้งหนึ่ง[12]
ซูฮาร์โตมีรูปร่างที่คล้ายกับบิดาของเขา ใน พ.ศ. 2474 เขาได้ย้ายไปอยู่โวโนกีรีเพื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา โดยอาศัยอยู่กับสุลาร์ดี ซึ่งเป็นบุตรของปราวิโรวิฮาดิโจ ต่อมาเขาได้อยู่กับฮาดิโจวิโจโน ผู้เป็นญาติทางฝั่งบิดาของเขา ขณะที่เขาอาศัยอยู่กับญาติ่งบิดานั้น เขาได้รู้จักกับดาร์จัตโม ดูคุน ซึ่งเป็นหมอผีในท้องถิ่น ทำให้ส่งผลต่อพฤติกรรมของเขาในเวลาต่อมาจนกระทั่งเขามาเป็นประธานาธิบดีในภายหลัง ด้วยเหตุที่ทางครอบครัวประสบปัญหาทางการเงินและไม่มีเงินที่จะชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาให้กับเขา ทำให้เขากลับไปอาศัยอยู่กบบิดาที่เกมุสุขอีกครั้ง และเขาได้ศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมัธยมมูฮัมมาดียะห์ที่มีค่าธรรมเนียมการศึกษาน้อยกว่าจนจบการศึกษาใน พ.ศ. 2482[12][13]
การอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวเขาแตกต่างจากครอบครัวอื่นในประเทศที่สอนเกี่ยวกับความเป็นชาตินิยม โดยเฉพาะกับซูการ์โนซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของประเทศอินโดนิเซีย ในชีวิตในวัยเด็กเขาไม่ได้สนใจทางการเมืองหรือความหวาดกลัวของลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกเหมือนกับซูการ์โนและคนอื่นในแวดวงการทหารและการเมือง นอกจากนี้ ซูฮาร์โตไม่ได้สนิทหรือรู้จักกับโลกภายนอก เขาจึงไม่ได้สนใจศึกษาภาษาดัตช์หรือภาษาอื่นในแถบโลกตะวันตก จนกระทั่งเขาได้มาศึกษาภาษาดัตช์ในตอนที่เขาได้รับราชการในกองทัพเนเธอร์แลนด์ เมื่อ พ.ศ. 2484[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Miguel, Edward; Paul Gertler; David I. Levine (January 2005). "Does Social Capital Promote Industrialization? Evidence from a Rapid Industrializer". Econometrics Software Laboratory, University of California, Berkeley.
- ↑ McDonald, Hamish (28 January 2008). "No End to Ambition". Sydney Morning Herald.
- ↑ http://www.infoplease.com/ipa/A0921295.html
- ↑ Global Corruption Report 2004: Political Corruption by Transparency International - Issuu. Pluto Press. 2004. p. 13. ISBN 0-7453-2231-X – โดยทาง Issuu.com.
- ↑ "Suharto tops corruption rankings". BBC News. 25 March 2004. สืบค้นเมื่อ 4 February 2006.
- ↑ Romano, Angela Rose (2003). Politics and the press in Indonesia. p. ix. ISBN 0-7007-1745-5.
- ↑ Commemorating 100 years of Pak Harto, Historical trace to the childhood home
- ↑ Mengapa Soeharto Disebut Bapak Pembangunan?
- ↑ Tom Lansford. Historical Dictionary of U.S. Diplomacy since the Cold War. Scarecrow Press; 10 September 2007. ISBN 978-0-8108-6432-0. p. 260.
- ↑ Tempo (Jakarta), 11 November 1974.
- ↑ McDonald (1980), p. 10.
- ↑ 12.0 12.1 McDonald (1980), p. 11.
- ↑ 13.0 13.1 Elson (2001), pp. 1–6.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ก่อนหน้า | ซูฮาร์โต | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ซูการ์โน | ประธานาธิบดีแห่งอินโดนีเซีย (12 มีนาคม พ.ศ. 2510 - 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541) |
ยูซุฟ ฮาบิบี |
- ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
- ผู้นำในสงครามเย็น
- พลเอกแห่งกองทัพ (อินโดนีเซีย)
- กำลังพลกองทัพบกหมู่เกาะอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์
- บุคคลจากยกยาการ์ตา
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ร.ม.ภ.
- ผู้นำที่ได้อำนาจจากรัฐประหาร
- ชาวชวา
- มุสลิมชาวอินโดนีเซีย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2464
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551
- บทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์