ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ
กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นเอก
เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 29 มิถุนายน พ.ศ. 2475
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
ถัดไปพระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
ถัดไปพระยาปรีชาชลยุทธ (วัน จารุภา)
(ในฐานะผู้บัญชาการทหารเรือ)
ประสูติ5 ธันวาคม พ.ศ. 2426
สิ้นพระชนม์18 ตุลาคม พ.ศ. 2490 (63 ปี)
ภรรยาชายา
หม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย
หม่อม
หม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา
พระบุตร10 องค์
ราชสกุลวุฒิชัย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก

พลเอก พลเรือเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 — 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490) พระนามเดิม พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 47 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม พระสนมเอก เป็นต้นราชสกุลวุฒิชัย[1]

พระประวัติ

[แก้]

ประสูติ

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร มีพระนามเมื่อแรกประสูติที่ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันพุธ ขึ้น 6 ค่ำ เดือนอ้าย ปีมะแม เบญจศก จ.ศ. 1245 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 มีพระโสทรเชษฐาและพระโสทรเชษฐภคินีสองพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประเวศวรสมัย

ศาลกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ในวังสะพานขาว

การศึกษา

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสด็จไปทรงศึกษาที่ยุโรป ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี การเสด็จประพาสยุโรปครั้งนั้นมีพระราชโอรสตามเสด็จ 4 พระองค์ คือ

รับราชการ

[แก้]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2448 เสด็จกลับประเทศสยาม ทรงเข้ารับราชการทางทหารเรือ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สถาปนาเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร[2] และในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 โปรดให้เลื่อนเป็น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร[3] ได้เลื่อนยศตามลำดับจนเป็นนายพลเรือเอก เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 [4] ต่อมาได้เป็นนายพลเอกและเลื่อนกรมเป็น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ทรงศักดินา 15,000 ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474[5] และทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467[6]ต่อมาเมื่อมีการรวมกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงทหารเรือเข้าเป็นกระทรวงเดียวกัน เป็นกระทรวงกลาโหม กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ทรงดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง) จึงได้ลาออกจากราชการ

สิ้นพระชนม์

[แก้]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ได้เริ่มประชวรด้วยโรคพระวักกะ (ไต) พิการ อยู่เป็นเวลานาน ต่อมาประชวรเป็นอัมพาต และพระโรคนิ่ว ในปี พ.ศ. 2482 จนถึงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2490 ก็ประชวรเป็นโรคน้ำในพระปัปผาสะ (ปอด) และสิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490 สิริพระชันษา 63 ปี 10 เดือน ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2491[7]

พระโอรส พระธิดา

[แก้]
ตราราชสกุลวุฒิชัย

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพร้อมเพราพรรณ วุฒิชัย (ราชสกุลเดิม ดิศกุล; 9 ธันวาคม พ.ศ. 2431 - 4 กันยายน พ.ศ. 2467) พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2449[8][9][10] มีพระโอรส-ธิดา ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าทรงวุฒิไชย วุฒิชัย (27 มีนาคม พ.ศ. 2454 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2484) เสกสมรสกับคันธรสรังษี แสงมณี (เดิม: หม่อมเจ้าคันธรสรังษี รพีพัฒน์; 5 มีนาคม พ.ศ. 2459 - 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2526)
  2. หม่อมเจ้าอุทัยเฉลิมลาภ วุฒิชัย (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2457 - 18 สิงหาคม พ.ศ. 2501) เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลฉัตร (ราชสกุลเดิม ฉัตรชัย; 27 มิถุนายน พ.ศ. 2464 - 5 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
  3. หม่อมเจ้าสุวภาพเพราพรรณ สวัสดิวัตน์ (14 มกราคม พ.ศ. 2459 - 20 กันยายน พ.ศ. 2530) เสกสมรสกับหม่อมเจ้านนทิยาวัด สวัสดิวัตน์ (25 เมษายน พ.ศ. 2452 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2501)
  4. หม่อมเจ้าหญิงโต (30 มีนาคม พ.ศ. 2460 - 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463)
  5. หม่อมเจ้าชายพอ (24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 - 1 มีนาคม พ.ศ. 2463)
  6. หม่อมเจ้าชาย (ยังไม่มีพระนาม; 14 ตุลาคม พ.ศ. 2463 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2463)

และมีพระโอรส-ธิดา กับหม่อมประพันธ์ วุฒิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม ชะตารุ่ง; 4 มีนาคม พ.ศ. 2452 - 27 ธันวาคม พ.ศ. 2526) ดังนี้

  1. หม่อมเจ้าไกรสิงห์ วุฒิชัย (29 เมษายน พ.ศ. 2472 - 3 มีนาคม พ.ศ. 2519)
  2. วุฒิสวาท อนุมานราชธน (8 ตุลาคม พ.ศ. 2473 - 23 มกราคม พ.ศ. 2557) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับพลตำรวจเอกเสริม จารุรัตน์ ต่อมาหย่าและสมรสใหม่กับเอ็ดมันด์ ไครฟฟ์ และญาณิน อนุมานราชธน
  3. วุฒิเฉลิม วุฒิชัย (ประสูติ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2477) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับวิรัช ณ สงขลา และอี. มอกัน กิลเบอร์ต ต่อมาทรงหย่า
  4. วุฒิวิฑู พี. เทอเสน (2 ธันวาคม พ.ศ. 2479 - 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์วิภากร รพีพัฒน์ และเคอร์ท โบรป พี. เทอเสน

พระเกียรติยศ

[แก้]
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
ธงประจำพระอิสริยยศ
ตราประจำพระองค์
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

[แก้]
  • พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (5 ธันวาคม พ.ศ. 2426 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสิงหวิกรมเกรียงไกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2455 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463)
  • พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมขุนสิงหวิกรมเกรียงไกร (26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
  • พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478)
  • พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร (10 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 – 18 ตุลาคม พ.ศ. 2490)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

พระยศ

[แก้]
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองทัพบกสยาม
กองทัพเรือสยาม
กองเสือป่า
ชั้นยศ พลเอก
พลเรือเอก
นายหมวดเอก

พระยศทหาร

[แก้]
  • พลเอก[23]
  • พลเรือเอก

พระยศเสือป่า

[แก้]
  • นายหมวดเอก[24]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานนามสกุลสำหรับเชื้อพระวงศ์พระบรมราชวงศ์ชั้น ๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 46 (0 ก): 24. 9 มิถุนายน 2472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2563. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนและตั้งกรมพระองค์เจ้า และเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (ก): 248–249. 13 พฤศจิกายน ร.ศ. 131. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรม ตั้งกรมและตั้งเจ้าพระยา" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 37 (0 ก): 293–294. 11 พฤศจิกายน 2463. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. พระราชทานยศทหารเรือ
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศเลื่อนกรมและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 48, 15 พฤศจิกายน 2474, หน้า 405
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
  7. ราชกิจจานุเบกษา, หมายกำหนดการ ที่ ๓/๒๔๙๑ พระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ เล่ม 65, ตอน 16 ง, 23 มีนาคม พ.ศ. 2491, หน้า 1117
  8. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-21. สืบค้นเมื่อ 2006-10-11.
  9. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  10. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระนามพระราชโอรส พระราชธิดา และพระราชนัดดา. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2548. 136 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-746-7
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 23, ตอน 27, 30 กันยายน ร.ศ. 125, หน้า 679
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2019-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 48, ตอน 0 ง, 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474, หน้า 3094
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนักนี้ รายพระนามและนามผู้ที่จะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ในงานพระราชพิธีฉัตรมงคล, เล่ม 29, ตอน 0 ง, 17 พฤศจิกายน ร.ศ. 131, หน้า 1829
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 30, ตอน 0 ง, 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456, หน้า 1963
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม 25, ตอน 26, 27 กันยายน ร.ศ. 127, หน้า 756
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระราชทานฐานันดร เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม 35, ตอน 0 ง, 2 ธันวาคม พ.ศ. 2461, หน้า 2182
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม 25, ตอน 35, 29 พฤศจิกายน ร.ศ. 127, หน้า 1012
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบัน ฝ่ายหน้า เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 27, ตอน 0 ง, 11 มกราคม ร.ศ. 129, หน้า 2410
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3120
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 63, ตอน 17 ง, 26 มีนาคม พ.ศ. 2489, หน้า 426
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2018-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 23, ตอน 28, 7 ตุลาคม ร.ศ. 125, หน้า 716
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 34, ตอน 0 ง, 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2460, หน้า 3217
  23. พระราชทานยศทหารบก
  24. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-24. สืบค้นเมื่อ 2021-06-24.
ก่อนหน้า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ถัดไป
นายพลเรือเอก สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ
(13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2467 - 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474)
นายพลเรือตรี พระยาปรีชาชลยุทธ์
(วัน จารุภา)
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
พลเรือโท พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน)
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ผู้บัญชาการทหารบก
(8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2474 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา
(พจน์ พหลโยธิน)