ข้ามไปเนื้อหา

หนังสืออิสยาห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระธรรมอิสยาห์)

หนังสืออิสยาห์ (อังกฤษ: Book of Isaiah, ฮีบรู: ספר ישעיה [Sefer Y'sha'yah]) เป็นหนังสือลำดับที่ 5 ในหมวดผู้เผยพระวจนะ (Nevi'im) ของคัมภีร์ทานัค (Tanakh) และเป็นหนังสือเล่มที่ 1 ในหมวดประกาศกใหญ่ของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม

หนังสืออิสยาห์เขียนด้วยภาษาฮีบรู เชื่อมาแต่โบราณตามคำกล่าวอ้างในหนังสือคัมภีร์ว่าเขียนโดย อิสยาห์ ผู้เผยพระวจนะชาวยูดาห์ เมื่อ 800 ปีก่อนคริสตกาล

บทที่ 1 - 39 (39 บท) ทำนายเคราะห์กรรมและการลงโทษ แก่ชาวยูเดียและประชาชาติทั้งหมดของโลกที่มีใจบาปต่อต้านพระเจ้า บทที่ 40 - 66 (27 บท) เรียกกันว่า "คัมภีร์แห่งการปลอบประโลม" ทำนายการฟื้นฟูประชาชาติอิสราเอลโดยพระเจ้า (ชาวคริสต์เชื่อว่าบางบทมีนัยความหมายถึง การเสด็จมาไถ่บาปของพระเยซูคริสต์) ส่วนนี้ยังรวมถึง "บทเพลงของผู้รับใช้ที่ได้รับความทุกข์ทน"

เนื้อหาโดยสรุป

[แก้]
หนังสืออิสยาห์ (The Book of Isaiah)

หนังสืออิสยาห์ ทั้ง 66 บท ประกอบด้วยคำทำนายสำคัญเกี่ยวกับการปลดปล่อยชนชาติอิสราเอลและผู้ชอบธรรม และการล่มสลายของ บาบิโลเนีย อัสซีเรีย, ฟิลิสเตีย, โมอับ, และซีเรีย อิสราเอลเหนือ (ขณะนั้นชนชาติอิสราเอลแบ่งเป็นอิสราเอลทางเหนือและยูดาห์ทางใต้), เอธิโอเปีย, อียิปต์โบราณ, อาหรับ และฟีนิเซีย

สรุปโดยย่อกล่าวถึง ความยุติธรรมของพระยาห์เวห์ ในฐานะพระเจ้าของประชาชาติโลกทั้งมวล และประชาชาติที่ประพฤติผิดและทะนงว่าตนเองปลอดภัยด้วยกำลังของตน จะถูกพิชิตด้วยประชาชาติอื่นตามดำริของพระเจ้า ขณะเดียวกันทรงช่วยและปลอบโยนประชาชาติที่ชอบธรรม

การทรงพิพากษาไม่จำเพาะต่อ ประเทศที่กดขี่รุกรานราชอาณาจักรยูดาห์ประเทศของอิสยาห์เท่านั้น บทที่ 1-5 และ 28 - 29 ยังทำนายการพิพากษาลงโทษชาวยูดาห์ที่ประพฤติไม่ชอบธรรมด้วย เพราะเดิมทีชาวยูดาห์คิดว่าด้วยตัวเองที่ปลอดภัยเพราะพันธสัญญาของพระเจ้า แต่พระเจ้าเตือนชาวยูดาห์ผ่านอิสยาห์ว่า พันธสัญญานั้นไม่สามารถปกป้องพวกเขา หากพวกเขาทำลายลงด้วยการบูชาพระเจ้าอื่น และความประพฤติอย่างอยุติธรรมและความทารุณ ซึ่งขัดต่อพระบัญญัติของพระเจ้า บางคำทำนายเกี่ยวกับการพิพากษา ปรากฏตลอดทั้งบทต้นของพระธรรมอิสยาห์ด้วย

บทที่ 6 บรรยายถึง การทรงเรียกอิสยาห์ให้เป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า

บทที่ 24 - 26 มีข้อความที่ซับซ้อนตีความยาก คือมีข้อความสำคัญทำนายถึงพระเมสสิยาห์ (ศาสนทูตที่พระเจ้าเจิม) และอาณาจักรของพระเมสสิยาห์ ซึ่งสถิตย์ความยุติธรรมและความชอบธรรม

ส่วนนี้ ในคติของชาวยิว เชื่อว่าหมายถึง กษัตริย์ (ตรงตามอักษร) ผู้สืบเชื้อพระวงศ์จาก กษัตริย์ดาวิด กษัตริย์ยิ่งใหญ่ผู้ทำให้ยูดาห์เป็นราชอาณาจักรใหญ่และเยรูซาเลมเป็นนครศักดิ์สิทธิ์

แต่ในคติของชาวคริสต์ตั้งแต่แรกเริ่ม เชื่อว่าหมายถึง พระเยซูคริสต์ โดยสอดคล้องกับคำทำนาย เช่น พระคริสต์ทรงสืบสกุลจากกษัตริย์ดาวิด และทรงตั้งอาณาจักรแห่งความยุติธรรม (หมายถึง คริสตจักร ไม่ใช่อาณาจักรในความหมายทางการเมือง) ซึ่งภายหนึ่งวันหน้า (คริสต์ศาสนา) จะแผ่ขยายไปทั่วทั้งโลก

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญสมัยใหม่จำนวนหนึ่งเชื่อว่า อาจมีนัยความหมายเชิงขยายอุดมคติซึ่งที่แท้เพียงหมายถึง กษัตริย์เฮเซคียาห์ ผู้สืบสกุลจากดาวิด และพยายามสร้างเยรูซาเล็มเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์

บทที่ 36 - 39 ให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ กษัตริย์เฮเซคียาห์ และชัยชนะในศรัทธาต่อพระเจ้าของเขา

ข้อความจาก อิสยาห์ 2:4 ถูกใช้เป็นคำขวัญพันธกิจอย่างไม่เป็นทางการของสหประชาชาติ และจารึกใต้อนุสาวรีย์ในเมืองนิวยอร์กใกล้สำนักงานใหญ่ของสหประชาชาติ


คำทำนายชุดถัดมาเรียกกันว่า "คัมภีร์แห่งการปลอบประโลม" ได้แก่ บทที่ 40 จนจบ

บทที่ 40 - 47 ทำนายถึง การปลดปล่อยชาวยิวจากการครอบงำของอาณาจักรบาบิโลน และการฟื้นฟูประเทศของชนชาติอิสราเอล เป็นรัฐประชาชาติเดียว บนแผ่นดินแห่งพันธสัญญาของพระเจ้า

บทที่ 44 - 46 ยืนยันว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่ได้รับเลือกจากพระยาห์วาห์ พระเจ้าผู้เป็นพระเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้นของชนชาติยิว (และเป็นพระเจ้าที่แท้จริงองค์เดียวของจักรวาล) ซึ่งพระองค์จะทรงแสดงฤทธานุภาพเหนือพระเจ้าของชนชาติบาบิโลน

บทที่ 45 ข้อ 1 กล่าวถึง ไซรัส ผู้ปกครองชาวเปอร์เซีย บุคคลทรงพลังผู้จะโค่นล้มบาบิโลน และยอมคืนชนชาติอิสราเอลสู่เมืองเกิดของพวกเขา

บทที่เหลือถัดจากนั้น มีคำทำนายที่ซับซ้อนมากแทรกอยู่ กล่าวถึงผู้รับใช้ คือเขียนด้วยภาษาจินตกวีมาก

บทที่ 50, 52 และ 53 ในคติของชาวคริสต์เชื่อว่า ทำนายถึง การเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ เพื่อใช้พระทรมานไถ่บาปให้มวลมนุษยชาติ

บทที่ 52, 54 และ 56 กล่าวถึง ความรุ่งเรืองในอนาคตของศิโยน (แผ่นดินชาวยิว) ภายใต้กฏของผู้รับใช้ที่ชอบธรรม

บทที่ 65 - 66 กล่าวถึง การพิพากษาผู้สักการะรูปเคารพอื่น

พระธรรมอิสยาห์จบด้วย ข่าวสารแห่งความหวังของผู้รักษากฎที่ชอบธรรม ผู้ขยายการช่วยให้รอดต่อประชากรที่ชอบธรรมของเขา ในอาณาจักรของพระเจ้าบนโลก


เบื้องหลังทางประวัติศาสตร์

[แก้]

อิสยาห์

[แก้]

สงครามซีโรเอไฟรไมต์

[แก้]

การล่มสลายของซีเรียและสะมาเรีย

[แก้]

บาบิโลน

[แก้]

เมอโรดาช-บาลาดาน ครองบาบิโลน เมื่อ 721 ปีก่อนคริสตกาล ซาร์กอนยึดอำนาจได้โดยสงบเมื่อ 711 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากซาร์กอนสวรรคต เมอโรดาช-บาลาดาน กบฏต่อรัชทายาท เซนนาเคอริบ

บาบิโลนถูกยึดครอง แต่ฟื้นฟูในศตวรรษต่อมา และยึดครองอัสซีเรีย แล้วทำให้ชาวยิวเป็นทาส และทำลายเยรูซาเล็ม

เฮเซคียาห์กับเซนนาเคอริบ

[แก้]

แก่นเรื่อง

[แก้]
ภาพพิมพ์ Peace (1896) โดย วิลเลียม สทรัต กล่าวถึง อิสยาห์ 11: 6 - 7

หนังสืออิสยาห์ มีเนื้อหาเชื่อมโยงระหว่างการบูชาปฏิบัติกับธรรมจริยาปฏิบัติ


การประพันธ์

[แก้]

เชิงวิจารณ์

[แก้]

เชิงวัฒนธรรม

[แก้]

ความเชื่อของชาวโรมันคาทอลิกร่วมสมัย

[แก้]

บทเพลงของผู้รับใช้ผู้ทุกข์ทน

[แก้]

บทเพลงของผู้รับใช้ผู้ทุกข์ทน (Songs of the Suffering Servant) ได้แก่ โคลง 4 บท ที่แทรกอยู่ในหนังสืออิสยาห์ กล่าวถึง ผู้รับใช้ของพระยาห์เวห์ พระเจ้าคือพระยาห์เวห์ทรงเรียกผู้รับใช้ให้เป็นผู้นำประชาชาติ แต่ผู้รับใช้จำต้องถูกกล่าวร้ายอย่างน่าเกลียด ถูกบูชายัญ ยอมทรมานต่าง ๆ แต่ท้ายที่สุดเขาจะได้รับรางวัลตอบแทน

ในคติของชาวยิวแต่เดิมเชื่อว่า "ผู้รับใช้" เป็นคำอุปมาหมายถึง ผู้คนชาวยิว นั่นเอง [1] ในคติของชาวคริสต์แต่เดิมเชื่อว่า "ผู้รับใช้ผู้ทุกข์ทน" หมายถึง พระเยซู

บทเพลงแรก

[แก้]

อิสยาห์ 42: 1-7 เป็นโคลงแรกกล่าวถึง การเลือกผู้รับใช้จากพระเจ้า เป็นผู้นำความยุติธรรมสู่โลก [2]

บทเพลงที่สอง

[แก้]

อิสยาห์ 49: 1-6 เป็นโคลงที่สองกล่าวถึง ทัศนะของผู้รับใช้ ในความรับผิดชอบต่อการทรงเรียกเพื่อนำประชาชาติ [3]

บทเพลงที่สาม

[แก้]

อิสยาห์ 50: 4-9 เป็นโคลงที่สอง มีบรรยากาศรุนแรงกว่าโคลงอื่น โดยกล่าวถึง ผู้รับใช้ต้องผ่านการถูกกล่าวร้ายและทำร้าย [4]

บทเพลงที่สี่

[แก้]

อิสยาห์ 52 - 53 เป็นโคลงสุดท้าย และเป็นที่รู้จักที่สุด โดยประกาศถึงการเสด็จของพระเยซู กล่าวถึง ผู้รับใช้จะกระทำเพื่อผู้อื่น รับการลงโทษ และการทรมานต่าง ๆ ในที่สุดจะได้รับรางวัลและถูกยกขึ้น ชาวคริสต์โดยทั่วไปเชื่อถือในโคลงบทนี้ ท่ามกลางคำทำนายของเมสไซยาห์เรื่องการเสด็จมาของพระเยซูคริสต์ [5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. "Jews for Judaism FAQ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-05. สืบค้นเมื่อ 2008-04-02.
  2. Isaiah 42:1-7
  3. Isaiah 49:1-6
  4. Isaiah 50:4-9
  5. Isaiah 52:13-53:12

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]