ข้ามไปเนื้อหา

เยเรมีย์ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยเรมีย์ 1
หนังสือเยเรมีย์ในฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex)
หนังสือหนังสือเยเรมีย์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู6
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์24

เยเรมีย์ 1 (อังกฤษ: Jeremiah 1) เป็นบทแรกของหนังสือเยเรมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ เป็นหนึ่งในหนังสือหมวดเนวีอิมหรือหมวดผู้เผยพระวจนะ ประกอบด้วยคำเผยพระวจนะของผู้เผยพระวจนะเยเรมีย์ บทที่ 1 ของหนังสือเยเรมีย์ทำหน้าที่เป็นบทนำของหนังสือและเกี่ยวข้องกับการทรงเรียกเยเรมีย์ให้เป็นผู้เผยพระวจนะ[1][2]

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 19 วรรคตั้งแต่มีการแบ่งคัมภีร์ไบเบิลเป็นบทในยุคกลาง

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4]

โครงสร้าง

[แก้]

ฉบับพระเจ้าเจมส์ใหม่ (NKJV) แบ่งบทนี้ดังต่อไปนี้:

เจ. เอ. ทอมพ์สัน (J. A. Thompson) แบ่งบทนี้ดังต่อไปนี้:[5]

คำนำ (1:1–3)

[แก้]

คำนำ (วรรค 1–3) เป็นการแนะนำหนังสือทั้งเล่มโดยระบุการอ้างที่เชื่อถือได้ของเนื้อหาในหนังสือ[6] เป็นเวลา 40 ปีที่เยเรมีย์ถ่ายทอดพระวจนะของพระยาห์เวห์ไปสู่ประชาชนตั้งแต่ปีที่ 13 ในรัชกาลของกษัตริย์โยสิยาห์ (627 ปีก่อนคริสตกาล) จนกระทั่งประชาชนถูกกวาดต้อนออกจากเยรูซาเล็ม (587 ปีก่อนคริสตกาล)[6]

วรรค 1

[แก้]
ถ้อยคำของเยเรมีย์บุตรของฮิลคียาห์ เยเรมีย์เป็นหนึ่งในหมู่ปุโรหิต อยู่เมืองอานาโธทในแผ่นดินของเผ่าเบนยามิน[7]

วรรค 2

[แก้]
พระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงเยเรมีย์ในรัชกาลของโยสิยาห์โอรสของอาโมน กษัตริย์แห่งยูดาห์ในปีที่ 13 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[8]

"ปีที่ 13 แห่งการครองราชย์ของพระองค์": พันธกิจของเยเรมีย์เริ่มต้นเมื่อประมาณ 627 ปีก่อนคริสตกาล[9][10]

วรรค 3

[แก้]
และมีมาในรัชกาลของเยโฮยาคิมโอรสของโยสิยาห์กษัตริย์แห่งยูดาห์ จนถึงสิ้นปีที่ 11 แห่งรัชกาลเศเดคียาห์โอรสของโยสิยาห์กษัตริย์แห่งยูดาห์ เมื่อมีการกวาดชาวกรุงเยรูซาเล็มไปเป็นเชลยในเดือนที่ห้า[11]

"เดือนที่ห้า": พันธกิจอย่างเป็นทางการของเยเรมีย์สิ้นสุดลงในช่วงเวลาที่ประชาชนถูกกวาดต้อนออกจากเยรูซาเล็ม (กรกฎาคม/สิงหาคม 587 ปีก่อนคริสตกาล) ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล[12][13]

การทรงเรียกเยเรมีย์ (1:4–10)

[แก้]
"การทรงเรียกเยเรมีย์" ในภาพพิมพ์แกะไม้ในปี ค.ศ. 1860 โดย Julius Schnorr von Karolsfeld

เรื่องราวการทรงเรียกเยเรมีย์เป็นการรับรองว่าเยเรมีย์เป็นผู้เผยพระวจนะแท้[6] วรรค 4–10 ประกอบด้วยกวีนิพนธ์ในรูปบทสนทนาระหว่างเยเรมีย์ที่พูดในฐานะบุคคลที่หนึ่ง และพระยาห์เวห์ซึ่งพระดำรัสของพระองค์เขียนในฐานะข้อความที่ยกมา[6] ส่วนต่อมา (วรรค 11–19) อยู่รูปความร้อยแก้วเกี่ยวกับนิมิต[6]

วรรค 4

[แก้]
พระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงข้าพเจ้าว่า[14]

รูปความนี้ถูกนำมาใช้ซ้ำในเยเรมีย์ 2:1[15]

วรรค 5

[แก้]
"เราได้รู้จักเจ้าก่อนที่เราได้ก่อร่างตัวเจ้าขึ้นในครรภ์
และก่อนที่เจ้าคลอดจากครรภ์ เราก็ได้กำหนดตัวเจ้าไว้
เราได้แต่งตั้งเจ้าเป็นผู้เผยพระวจนะแก่บรรดาประชาชาติ"[16]

วรรค 6

[แก้]
แล้วข้าพเจ้าก็กราบทูลว่า
ข้าแต่พระยาห์เวห์องค์เจ้านาย ดูเถิด ข้าพระองค์พูดไม่เป็นเพราะข้าพระองค์เป็นเด็ก[17]

วรรค 7

[แก้]
แต่พระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า
"อย่าพูดว่าเจ้าเป็นเด็ก
เพราะเจ้าต้องไปหาทุกคนที่เราใช้ให้เจ้าไป
และทุกสิ่งที่เราบัญชาเจ้า เจ้าต้องพูด[18]

วรรค 8

[แก้]
อย่ากลัวพวกเขาเลย
fเพราะเราอยู่กับเจ้า เพื่อช่วยกู้เจ้า"
พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ[19]

วรรค 9

[แก้]
แล้วพระยาห์เวห์เหยียดพระหัตถ์สัมผัสปากข้าพเจ้า
และพระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า
"นี่แน่ะ เราเอาถ้อยคำของเราใส่ในปากของเจ้า[20]

สองนิมิต (1:11–16)

[แก้]

วรรค 11–16 บันทึกสนทนาระหว่างเยเรมีย์ที่พูดในฐานะบุคคลที่ 1 กับพระยาห์เวห์ที่พระดำรัสของพระองค์เขียนในฐานะข้อความที่ยกมา[6] เยเรมีย์เห็นนิมิตของ "กิ่งของต้นอัลมอนด์" (วรรค 11–12) และจากนั้นจึงเป็นนิมิตของ "หม้อเดือดที่เทมาจากทางทิศเหนือ" (วรรค 13–16)[6] เป็นพระยาห์เวห์ไม่ทรงตีความทั้งสองนิมิต (เยเรมีย์ไม่ใช่ผู้ตีความ) นิมิตแรกเพื่อให้ผู้เผยพระวจนะ (และผู้อ่าน) มั่นใจในความของเป็นแท้ของคำเผยพระวจนะ นิมิตที่สองบ่งชี้ถึง "ศัตรูจากทางทิซเหนือ" ซึ่งเผยในเยเรมีย์ 20:4 -6 ว่าหมายถึงบาบิโลน[6]

วรรค 11–12

[แก้]
ดอกอัลมอนด์ในอิหร่าน
และพระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงข้าพเจ้าว่า "เยเรมีย์เอ๋ย เจ้าเห็นอะไร?"
ข้าพเจ้ากราบทูลว่า "ข้าพระองค์เห็นกิ่งของต้นอัลมอนด์"
แล้วพระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า
"เจ้าเห็นถูกต้องแล้ว เพราะเราเฝ้าดูถ้อยคำของเรา เพื่อจะทำให้สำเร็จ"[21]

วรรค 13

[แก้]
พระวจนะของพระยาห์เวห์มาถึงข้าพเจ้าครั้งที่สองว่า "เจ้าเห็นอะไร?”"
ข้าพเจ้ากราบทูลว่า "ข้าพระองค์เห็นหม้อใบหนึ่งกำลังเดือดอยู่ ปากหม้อเทมาจากทางทิศเหนือ"[22]

ศัตรูของอิสราเอล "มักมาจากทิศเหนือ": คัมภีร์ไบเบิลเยรูซาเล็มตั้งข้อสังเกตว่าเอเสเคียล 26:7 และโยเอล 2:20 ก็กล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย[23]

วรรค 15

[แก้]
"เพราะนี่แน่ะ
เรากำลังร้องเรียกทุกตระกูลแห่งบรรดาราชอาณาจักรทิศเหนือ" พระยาห์เวห์ตรัสดังนี้แหละ
"พวกเขาจะมา และต่างก็จะวางบัลลังก์ของตนไว้
ตรงทางเข้าประตูกรุงเยรูซาเล็ม
เพื่อสู้กับกำแพงที่ล้อมรอบ
และสู้กับเมืองทั้งสิ้นของยูดาห์"[24]

พระบัญชาและพระสัญญา (1:17–19)

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Allen, Leslie C. (2008). Jeremiah: A Commentary. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0664222239.
  • Huey, F. B. (1993). The New American Commentary – Jeremiah, Lamentations: An Exegetical and Theological Exposition of Holy Scripture, NIV Text. B&H Publishing Group. ISBN 978-0805401165.
  • Ofer, Yosef (1992). "The Aleppo Codex and the Bible of R. Shalom Shachna Yellin" in Rabbi Mordechai Breuer Festschrift: Collected Papers in Jewish Studies, ed. M. Bar-Asher, 1:295–353. Jerusalem (in Hebrew). Online text (PDF) เก็บถาวร 2021-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • O'Connor, Kathleen M. (2007). "23. Jeremiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 487–533. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
  • Thompson, J. A. (1980). A Book of Jeremiah. The New International Commentary on the Old Testament (illustrated, revised ed.). Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0802825308.
  • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0802807887. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ศาสนายูดาห์

[แก้]

ศาสนาคริสต์

[แก้]