อิสยาห์ 2
อิสยาห์ 2 | |
---|---|
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้ | |
หนังสือ | หนังสืออิสยาห์ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 5 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 23 |
อิสยาห์ 2 (อังกฤษ: Isaiah 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[2]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 22 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]
ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[4]
- 1QIsaa: สมบูรณ์
- 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 7-10
- 4QIsab (4Q56): วรรคที่หลงเหลือ: 3-16
- 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 1-3
- 4QIsal (4Q65): วรรคที่หลงเหลือ: 1-4
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[5]
การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม
[แก้]มีคาห์ 4:1 -3 คล้ายมากกับอิสยาห์ 2:2-4[6]
ภูเขาแห่งพระนิเวศของพระยาห์เวห์ (2:1–4)
[แก้]ส่วนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของคำเผยพระวจนะซึ่งประกอบด้วยบทที่ 2-4 โดยมีเนื้อหาพื้นฐานเกี่ยวกับอนาคตอันรุ่งโรจน์ของเยรูซาเล็ม[7]
วรรค 1
[แก้]- ถ้อยคำเกี่ยวกับยูดาห์และเยรูซาเล็มที่อิสยาห์บุตรอามอสได้เห็น[8]
คำนำใหม่ที่แทรกตรงนี้อาจใช้เพื่อเน้นความเริ่มแรกของคำเผยพระวจนะนี้ว่าเป็นของอิสยาห์ เนื่องจากคำเผยพระวจนะที่ตามมา (วรรค 2-4) ก็พบได้ในหนังสือมีคาห์โดยมีความแตกต่างกันเล็กน้อย
วรรค 2
[แก้]- ในวาระสุดท้ายจะเป็นดังนี้ คือภูเขาแห่งพระนิเวศของพระยาห์เวห์ จะถูกสถาปนาขึ้นเป็นที่สูงสุดของภูเขาทั้งหลาย และจะถูกยกขึ้นให้อยู่เหนือบรรดาเนินเขา ประชาชาติทั้งหมดจะหลั่งไหลเข้ามาหา[9]
คำเผยพระวจนะในวรรค 2-4 มีความคล้ายคลึงกับมีคาห์ 4:1 -3 และมีข้อสรุปที่ต่างออกไป[6]
วรรค 3
[แก้]- และชนชาติจำนวนมากจะมาและกล่าวว่า "มาเถิด ให้เราขึ้นไปยังภูเขาของพระยาห์เวห์ ไปยังพระนิเวศของพระเจ้าของยาโคบ แล้วพระองค์จะทรงสอนวิถีของพระองค์แก่เรา และเพื่อเราจะเดินในมรรคาของพระองค์" เพราะว่าธรรมบัญญัติจะออกมาจากศิโยน และพระวจนะของพระยาห์เวห์จะออกมาจากเยรูซาเล็ม[10]
- การอ้างอิงข้าม: อิสยาห์ 11:10; อิสยาห์ 43:6; อิสยาห์ 49:22; อิสยาห์ 60:3; อิสยาห์ 66:12
วรรค 4
[แก้]- พระองค์จะทรงวินิจฉัยระหว่างประชาชาติทั้งหลาย และจะทรงตัดสินความให้ชนชาติจำนวนมาก และพวกเขาจะตีดาบของเขาให้เป็นผาลไถนา และหอกของเขาทั้งหลายให้เป็นขอลิดแขนง ประชาชาติจะไม่ยกดาบขึ้นต่อสู้กัน และเขาจะไม่ศึกษายุทธศาสตร์อีกต่อไป[11]
- การอ้างอิงข้าม: มีคาห์ 4:3
หลายคำพูดและขบวนการที่เกี่ยวข้องกับสันติภาพและการประยุกต์เทคโนโลยีการทหารเพื่อการใช้งานอย่างสันติได้นำวลี "ตีดาบให้เป็นผาลไถนา" มาใช้ วรรคนี้ตรงกันข้ามกับโยเอล 3:10 -9 ซึ่งผาลไถนาและขอลิดแขนงถูกตีเป็นดาบและทวน เนื่องจากเกี่ยวข้องกับ 'ความจำเป็นที่ต้องรบอย่างต่อเนื่อง'[6]
วันแห่งพระยาห์เวห์ (2:5–22)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- ตีดาบให้เป็นผาลไถนา
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อิสยาห์ 51, มีคาห์ 2, มีคาห์ 4, เอเฟซัส 2
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Coggins 2007, p. 439.
- ↑ Coggins 2007, pp. 433–436.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Ulrich 2010, p. 333-335.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Coggins 2007, p. 440.
- ↑ Coggins 2007, pp. 439–440.
- ↑ อิสยาห์ 2:1 THSV11
- ↑ อิสยาห์ 2:2 THSV11
- ↑ อิสยาห์ 2:3 THSV11
- ↑ อิสยาห์ 2:4 THSV11
บรรณานุกรม
[แก้]- Coggins, R (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill. ISBN 9789004181830. สืบค้นเมื่อ May 15, 2017.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.