ข้ามไปเนื้อหา

อิสยาห์ 1

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสยาห์ 1
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

อิสยาห์ 1 (อังกฤษ: Isaiah 1) เป็นบทแรกของหนังสืออิสยาห์ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือผู้เผยพระวจนะในคัมภีร์ฮีบรู และอยู่ในพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1][2] ใน "นิมิตเกี่ยวกับยูดาห์และเยรูซาเล็มที่อิสยาห์บุตรอามอสได้เห็น" นี้ ผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ได้เรียกร้องให้ชนชาติอิสราเอลกลับใจ และทำนายถึงการทำลายพระวิหารแรกในการล้อมเยรูซาเล็ม บทที่ 1 ของหนังสืออิสยาห์ให้ความเบื้องต้นในประเด็นเรื่องบาป การพิพากษา และความหวังที่จะได้รับการฟื้นฟู ซึ่งเป็นโครงสร้างตลอดหนังสือทั้งเล่ม[3] บทนี้สรุป (วรรค 31) ด้วย 'การอ้างอิงถึงการเผาไหม้ของผู้ที่วางใจในกำลังของตนเอง' ในไฟที่ไม่สามารถ 'ดับได้' (รากศัพท์ภาษาฮีบรู]: k-b-h) เป็นคำที่พบได้ไม่บ่อยซึ่งใช้ในวรรคสุดท้ายของหนังสือด้วย (วรรค 66:24: ไฟที่เผาพวกเขาจะไม่ดับ') จึงเป็นการเชื่อมจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของหนังสือทั้งเล่มเข้าด้วยกัน[3]

ต้นฉบับ[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 31 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[4]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[5]

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 1‑3
  • 4QIsab (4Q56): วรรคที่หลงเหลือ: 1‑6
  • 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 10‑16, 18‑31
  • 4QIsaj (4Q63): วรรคที่หลงเหลือ: 1‑6

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[6]

โครงสร้าง[แก้]

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐานแบ่งบทนี้ดังต่อไปนี้:

คำนำ (1:1)[แก้]

วรรคนำของหนังสืออิสยาห์เทียบได้ใกล้เคียงกับคำเปิดนำของหนังสือเยเรมีย์ หนังสือโฮเชยา หนังสืออาโมส หนังสือมีคาห์ และหนังสือเศฟันยาห์[3]

วรรค 1[แก้]

นิมิตเกี่ยวกับยูดาห์และเยรูซาเล็มที่อิสยาห์บุตรอามอสได้เห็นในรัชกาลของอุสซียาห์ โยธาม อาหัส และเฮเซคียาห์ บรรดากษัตริย์ของยูดาห์[7]
  • "นิมิต" (ฮีบรู: חזון chăzôn จากคำกริยา חזה châzâh, "เห็น, ดู"): คำเปิดแนะนำหนังสือทั้งหมดโดยระบุที่หัวเรื่องว่าเป็นนิมิต (ดู โอบาดีห์ 1, นาฮูม 1:1, อาโมส 1:1, มีคาห์ 1:1, ฮาบากุก 1:1) เช่นเดียวกับใน 2 พงศาวดาร 32:32: ส่วนพระราชกิจอื่นๆ ของเฮเซคียาห์ และกิจการอันดีงามของพระองค์นั้น ดูสิ มีบันทึกในนิมิตของอิสยาห์บุตรอามอสผู้เผยพระวจนะในหนังสือพงศ์กษัตริย์ของยูดาห์และอิสราเอล[8]
  • "บุตรอามอส": อามอสไม่ได้เป็นคนเดียวกันกับผู้เผยพระวจนะอาโมส ธรรมเนียมในศาสนายูดาห์ระบุว่าอามอสบิดาของอิสยาห์เป็นพระอนุชาของอามาซิยาห์ กษัตริย์แห่งยูดาห์ อิสยาห์จึงเป็นเชื้อพระวงค์[9]

คำกล่าวโทษยิ่งใหญ่ (1:2-4)[แก้]

ความพินาศของยูดาห์ (1:5–9)[แก้]

ความทุจริตในศาสนพิธีและการชำระให้บริสุทธิ์ (1:10–20)[แก้]

ความโทมนัสและการตัดสินพระทัยของพระเจ้า (1:21–31)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: ปฐมกาล 19, เฉลยธรรมบัญญัติ 32, 2 พงศ์กษัตริย์ 18-21, สดุดี 22, โรม 3, โรม 9
  • อ้างอิง[แก้]

    1. J. D. Davis. 1960. A Dictionary of the Bible. Grand Rapids, Michigan: Baker Book House.
    2. Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
    3. 3.0 3.1 3.2 Coggins 2007, p. 436.
    4. Würthwein 1995, pp. 35–37.
    5. Ulrich 2010, p. 330-333.
    6. Würthwein 1995, pp. 73–74.
    7. อิสยาห์ 1:1 THSV11
    8. Coogan 2007, pp. 978-980 Hebrew Bible.
    9. T. Bab. Megilla, fol. 10. 2. & Sota, fol. 10. 2. & Seder Olam Zuta, p. 104. Juchasin, fol. 12. 1. Shalshalet Hakabala, fol. 11. 2.

    บรรณานุกรม[แก้]

    • Coggins, R (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
    • Kidner, Derek (1994). "Isaiah". ใน Carson, D. A.; France, R. T.; Motyer, J. A.; Wenham, G. J. (บ.ก.). New Bible Commentary: 21st Century Edition (4, illustrated, reprint, revised ed.). Inter-Varsity Press. pp. 629–670. ISBN 9780851106489.
    • Ulrich, Eugene, บ.ก. (2010). The Biblical Qumran Scrolls: Transcriptions and Textual Variants. Brill.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

    ศาสนายูดาห์[แก้]

    ศาสนาคริสต์[แก้]