อิสยาห์ 6
อิสยาห์ 6 | |
---|---|
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้ | |
หนังสือ | หนังสืออิสยาห์ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 5 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 23 |
อิสยาห์ 6 (อังกฤษ: Isaiah 6) เป็นบทที่ 6 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[1] บทที่ 6 ของหนังสืออิสยาห์บันทึกถึงการทรงเรียกอิสยาห์ให้เป็นผู้ส่งสารของพระเจ้ามาถึงประชาชนอิสราเอล[2]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 13 วรรค
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]
ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:[4]
- 1QIsaa: สมบูรณ์
- 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 4–7
- 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 3–8, 10–13
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[5]
การอ้างอิงในพันธสัญญาเดิม
[แก้]การอ้างอิงในพันธสัญญาใหม่
[แก้]- อิสยาห์ 6:9 -10: มัทธิว 13:14 -15; มาระโก 4:12 ; ลูกา 8:10 ; ยอห์น 12:40 ; กิจการ 28:26 -27; โรม 11:8 [6]
นิมิตของอิสยาห์เกี่ยวกับพระยาห์เวห์ (6:1–7)
[แก้]วรรค 1
[แก้]- ในปีที่กษัตริย์อุสซียาห์สิ้นพระชนม์ ข้าพเจ้าเห็นองค์เจ้านายประทับบนพระที่นั่งอันสูงส่งและรับการเทิดทูน และชายฉลองพระองค์ของพระองค์เต็มพระวิหาร[7]
- การอ้างอิงข้าม: 2 พงศาวดาร 26:16–21
ปีที่อุสซียาห์สิ้นพระชนม์ได้รับการประมาณว่าอยู่ราวปี 740 ปีก่อนคริสตกาล[8][9] นักโบราณคดีวิลเลียม เอฟ. อัลไบรต์ (William F. Albright) ระบุช่วงเวลารัชสมัยของอุสซียาห์เป็น 783 – 742 ปีก่อนคริสตกาล[10]
วรรค 2
[แก้]- เหนือพระองค์มีพวกเสราฟิมยืนอยู่ แต่ละองค์มีปีก 6 ปีก ใช้ 2 ปีกปิดหน้า ใช้ 2 ปีกปิดเท้า และใช้ 2 ปีกบินไป[11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
วรรค 3
[แก้]- ต่างก็ร้องต่อกันและกันว่า
- "บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ พระยาห์เวห์จอมทัพ
- แผ่นดินโลกทั้งสิ้นเต็มด้วยพระสิริของพระองค์"[12]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ภารกิจของอิสยาห์จากพระยาห์เวห์ (6:8–13)
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]- พระที่นั่งของพระเจ้า
- พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม
- เยรูซาเลมแห่งทองคำ
- เสราฟิม
- อุสซียาห์ กษัตริย์แห่งยูดาห์
- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: 2 พงศาวดาร 26; มัทธิว 13; มาระโก 4; ลูกา 8; ยอห์น 12; กิจการ 28; โรม 11
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.[ไอเอสบีเอ็น ไม่มี]แม่แบบ:Page?
- ↑ Kidner 1994, p. 637.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Ulrich 2010, p. 338-340.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ Alexander, Loveday (2007). "62. Acts". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. p. 1061. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- ↑ อิสยาห์ 6:1 THSV11
- ↑ Edwin R. Thiele, The Mysterious Numbers of the Hebrew Kings (3rd ed.; Grand Rapids, MI: Zondervan/Kregel, 1983) 217
- ↑ Cambridge Bible for Schools and Colleges on Isaiah 6, accessed 11 March 2018
- ↑ Albright, William F. (1945). "The Chronology of the Divided Monarchy of Israel." Bulletin of the American Schools of Oriental Research. No. 100 (Dec., 1945), pp. 16–22.
- ↑ อิสยาห์ 6:2 THSV11
- ↑ อิสยาห์ 6:3 THSV11
บรรณานุกรม
[แก้]- Coggins, R (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
- Coogan, Michael David (2007). Coogan, Michael David; Brettler, Marc Zvi; Newsom, Carol Ann; Perkins, Pheme (บ.ก.). The New Oxford Annotated Bible with the Apocryphal/Deuterocanonical Books: New Revised Standard Version, Issue 48 (Augmented 3rd ed.). Oxford University Press. ISBN 9780195288810.
- Kidner, Derek (1994). "Isaiah". ใน Carson, D. A.; France, R. T.; Motyer, J. A.; Wenham, G. J. (บ.ก.). New Bible Commentary: 21st Century Edition (4th, illustrated, reprint, revised ed.). Inter-Varsity Press. pp. 629–670. ISBN 9780851106489.
- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.