ข้ามไปเนื้อหา

ศิโยน

พิกัด: 31°46′18″N 35°13′45″E / 31.77167°N 35.22917°E / 31.77167; 35.22917
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ศิโยน (ค.ศ. 1903), Ephraim Moses Lilien

ศิโยน (อังกฤษ: Zion; ฮีบรู: צִיּוֹן Ṣīyyōn, LXX: Σιών, ยังมีถอดอักษรได้อีกหลากหลายแบบ ได้แก่ Sion,[1] Tzion, Tsion, Tsiyyon)[2] เป็นชื่อสถานที่ในคัมภีร์ฮีบรู มักใช้เป็นคำไวพจน์ของเยรูซาเล็ม[3][4] หรือแผ่นดินอิสราเอลทั้งหมด

ชื่อศิโยนปรากฏในหนังสือซามูเอล ฉบับที่ 2 (2 ซามูเอล 5:7) หนึ่งในหนังสือของคัมภีร์ฮีบรูที่เขียนขึ้นเมื่อราวกลางศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เดิมชื่อศิโยนใช้หมายถึงเนินเขาแห่งหนึ่งในเยรูซาเล็มคือเขาศิโยน ตั้งอยู่ทางใต้ของเขาโมริยาห์ (เนินพระวิหาร) เรื่องเล่าใน 2 ซามูเอล ระบุว่าเขาศิโยนเป็นที่ตั้งของป้อมปราการที่มีชื่อเดียวกันของชาวเยบุส ซึ่งต่อมาดาวิดพิชิตได้และเปลี่ยนชื่อเป็นนครดาวิด เขาศิโยนเป็นหนึ่งในเนินเขาขนาดย่อมจำนวนมากที่เป็นส่วนหนึ่งของเยรูซาเล็ม

คำว่าศิโยนกลายมาเป็นคำที่ใช้เรียกพื้นที่เยรูซาเล็มของดาวิดซึ่งเป็นที่ตั้งป้อมปราการของชาวเยบุส และยังใช้เป็นสัมพจนัยของทั้งเมืองเยรูซาเล็ม ภายหลังเมื่อพระวิหารของซาโลมอนได้รับการสร้างขึ้นบนเขาโมริยาห์ที่อยู่ติดกัน (ซึ่งทำให้เป็นที่รู้จักในชื่อเนินพระวิหาร) ความหมายของคำว่าศิโยนจึงขยายโดยสัมพจนัยให้มีความหมายเพิ่มเติมถึงตัวพระวิหารเอง, เนินเขาที่พระวิหารตั้งอยู่, ทั้งเมืองเยรูซาเล็ม, ทั้งแผ่นดินอิสราเอลในคัมภีร์ไบเบิล, และ "โลกที่จะไป" ซึ่งเป็นความเข้าใจของชาวยิวเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

ตลอดหลายศตวรรษจนถึงศตวรรษที่ 16 (สมัยออตโตมัน) กำแพงเมืองเยรูซาเล็มได้รับการสร้างใหม่หลายครั้งในสถานที่ใหม่ ดังนั้นเนินเขาที่เป็นที่รู้จักในสมัยพระคัมภีร์ว่าเป็นเขาศิโยนจึงไม่ได้อยู่ในกำแพงเมืองอีกต่อไป แต่ตำแหน่งในปัจจุบันอยู่นอกเมืองเก่าและอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่ของนครดาวิดดั้งเดิมก็อยู่นอกกำแพง "เมืองเก่า" ในปัจจุบันเช่นกัน ยังมีสันเขาอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางตะวันตกก็ถูกเรียกว่า 'เขาศิโยน' ในช่วง 2 สหัสวรรษที่ผ่านมา แทนที่จะเป็นเนินเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ดั้งเดิม (นครดาวิด) หรือเนินเขาทางใต้ (เนินพระวิหาร) ซึ่งยิ่งเพิ่มความสับสน

ศัพทมูล

[แก้]

ศัพทมูลของคำว่าศิโยน (ṣiyyôn) ไม่แน่ชัด[3][4][5]

มีการกล่าวถึงในพันธสัญญาเดิมในหนังสือซามูเอล (2 ซามูเอล 5:7) ว่าศิโยนเป็นชื่อป้อมปราการของชาวเยบุสที่ดาวิดพิชิตได้ ต้นกำเนิดของคำนี้ดูจะเกิดขึ้นก่อนวงศ์วานอิสราเอล[3][4] หากเป็นกลุ่มภาษาเซมิติก ก็อาจมาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูว่า ṣiyyôn ("ปราการ") หรือ צִיָּה ṣiyya ("แผ่นดินแห้ง" หรือ "ทะเลทราย", เยเรมีย์ 51:43) มีการเสนอว่าอาจมีความสัมพันธ์ที่ไม่ใช่กลุ่มภาษาเซมิติกกับคำภาษาฮูร์เรียว่า šeya ("แม่น้ำ" หรือ "ลำห้วย")[5] หรืออาจมีต้นกำเนิดจากคำในภาษาฮิตไทต์[6]

รูปคำ ציון (Tzion, การออกเสียงไทบีเรีย: Ṣiyyôn) ปรากฏ 108 ครั้งในคัมภีร์ฮีบรู และปรากฏหนึ่งครั้งพร้อมคำกำกับนามว่า HaTzion[7][8]

อักษร Tsade มักถอดเป็นอักษร z ในการแปลคัมภีร์ไบเบิลเป็นภาษาอังกฤษ จึงสะกดเป็น Zion (แทนที่จะเป็น Tzion) แบบแผนการแปลนี้ชัดเจนว่ามีต้นกำเนิดมาจากการสะกดในภาษาเยอรมัน[9] ที่ z ใช้แทนเสียงพยัญชนะ [t͡s]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sion เป็นการสะกดในวัลเกต ซึ่งยังนำมาใช้ในภาษาฝรั่งเศสปัจจุบัน
  2. Hebrew Academy 2006 convention for the romanization of Hebrew, Announcements of the Academy of the Hebrew Language เก็บถาวร 2013-10-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. 3.0 3.1 3.2 Longman, Tremper; Enns, Peter (2008). Dictionary of the Old Testament: Wisdom, Poetry & Writings: A Compendium of Contemporary Biblical Scholarship. InterVarsity Press. p. 936. ISBN 978-0-8308-1783-2.
  4. 4.0 4.1 4.2 Anderson, Arnold Albert (1981). The book of Psalms. Wm. B. Eerdmans Publishing. ISBN 978-0-551-00846-5.
  5. 5.0 5.1 Bromiley, Geoffrey W. (1995). The International Standard Bible Encyclopedia. Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 1006. ISBN 978-0-8028-3782-0.
  6. Mendenhall, George (1973). The Tenth Generation: The Origins of the Biblical Tradition. The Johns Hopkins University Press. ISBN 0-8018-1654-8.
  7. The Responsa Project: Version 13, Bar Ilan University, 2005
  8. Kline, D.E., A Comprehensive Etymological Dictionary of the Hebrew Language for readers of English, Carta Jerusalem, University of Haifa, 1987, pp. xii–xiii
  9. Joseph Dixon, A general introduction to the Sacred Scriptures: in a series of dissertations, critical hermeneutical and historical, J. Murphy, 1853, p. 132

บรรณานุกรม

[แก้]
  • "Zion". The Church of Jesus Christ of Latter-day Saints.
  • Ludlow, D. H. (Ed.) (1992). Vol 4. Encyclopedia of Mormonism. New York: Macmillan Publishing Company.
  • McConkie, B. R. (1966). Mormon Doctrine. (2nd ed). Utah: Bookcraft.
  • Steven Zarlengo: Daughter of Zion: Jerusalem's Past, Present, and Future. Dallas: Joseph Publishing, 2007.

อ่านเพิ่มเติม

[แก้]

31°46′18″N 35°13′45″E / 31.77167°N 35.22917°E / 31.77167; 35.22917