ข้ามไปเนื้อหา

หนังสือเพลงซาโลมอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Song of Songs (Cantique des Cantiques) โดย Gustave Moreau, ค.ศ. 1893

หนังสือเพลงซาโลมอน (อังกฤษ: Song of Songs หรือ Canticle of Canticles หรือ Song of Solomon; Biblical Hebrew: שִׁיר הַשִּׁירִים, อักษรโรมัน: Šīr hašŠīrīm; กรีก: Άσμα Ασμάτων; ละติน: Canticum Canticorum) เป็นกวีนิพนธ์กามวิสัย หนึ่งในห้าเมกิลล็อต ("ม้วน") ในเคทูวีม ("ข้อเขียน") ส่วนสุดท้ายของทานัค เป็นหนังสือที่มีลักษณะเฉพาะตัวในคัมภีร์ฮีบรู โดยไม่ได้แสดงความสนใจในธรรมบัญญัติหรือพันธสัญญาหรือพระเจ้าแห่งอิสราเอล ไม่ได้สอนหรือแสวงปัญญาอย่างหนังสือสุภาษิตหรือหนังสือปัญญาจารย์ แม้ว่ายังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญญานิพนธ์อยู่บ้างตามที่อ้างว่าเป็นของซาโลมอนกษัตริย์แห่งอิสราเอลเมื่อศตวรรษที่ 10 ก่อนคริสตกาล แต่หนังสือเพลงซาโลมอนมีเนื้อหาชื่นชมความรักทางเพศ โดยให้ "เสียงของคนรักสองคน ยกย่องกันและกัน โหยหากันและกัน เชิญชวนให้เพลิดเพลินจำเริญใจ"[1][2]

คนรักสองคนประสานกลมเกลียวกัน ต่างปรารถนากันและกันและชื่นชมยินดีในความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิชาการสมัยใหม่โดยมากถือว่าคู่รักในหนังสือเพลงซาโลมอนยังไม่ได้แต่งงาน[3][4] ซึ่งสอดคล้องกับบริบทของตะวันออกใกล้โบราณที่อยู่ใกล้เคียง[5] เหล่าสตรีแห่งเยรูซาเล็มรวมตัวเป็นนักร้องหมู่ให้กับคู่รัก ทำหน้าที่เป็นผู้ชมผู้มีส่วนร่วมในการเผชิญหน้าทางกามวิสัยของคู่รัก กระตุ้นความมีส่วนร่วมของผู้อ่านได้ง่ายขึ้น[6]

ในความเห็นที่ได้รับการพิจารณาอย่างสูงของมาร์วิน เอช. โพพ (Marvin H. Pope) ให้ความเห็นว่าหนังสือเพลงซาโลมอนอาจเคยนำมาใช้ประกอบพิธีกรรมของลัทธิการเจริญพันธุ์ในยุคโบราณ และเป็น "การชี้นำถึงความสำราญทางเพศ"[7] แม้ว่านักวิชาการจะประมาณเวลาที่หนังสือซาโลมอนเขียนแตกต่างกันไป โดยมีการประมาณตั้งแต่ศตวรรษที่ 10 ถึง 2 ก่อนคริสตกาล การวิเคราะห์ทางภาษาบ่งชี้ว่ามีต้นกำหนดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล

ในศาสนายูดาห์สมัยใหม่ หนังสือเพลงซาโลมอนใช้อ่านในวันสะบาโตระหว่างเทศกาลปัสกา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเก็บเกี่ยวธัญพืชและเป็นการรำลึกถึงการอพยพจากอียิปต์[8] ตามธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ การอ่านหนังสือเพลงซาโลมอนเป็นอุปมานิทัศน์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้าและชาวอิสราเอล ในศาสนาคริสต์ การอ่านหนังสือเพลงซาโลมอนเป็นอุปมานิทัศน์ถึงพระคริสต์และเจ้าสาวของพระองค์อันหมายถึงคริสตจักร[8][9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Garrett 1993, p. 366.
  2. Alter 2011, p. 232.
  3. Andruska 2022, p. 202.
  4. Alter, Robert (2015). Strong As Death Is Love: The Song of Songs, Ruth, Esther, Jonah, and Daniel, A Translation with Commentary. W. W. Norton & Company. p. PT23. ISBN 978-0-393-24305-5.
  5. Andruska, J. L. (2021). "Unmarried Lovers in the Song of Songs". The Journal of Theological Studies. 72 (1): 1–18. doi:10.1093/jts/flab019. ISSN 0022-5185.
  6. Exum 2012, p. 248.
  7. Pope, Marvin H. (1995). Song of Songs. Yale University Press. pp. 24–25, 222. ISBN 978-0-300-13949-5.
  8. 8.0 8.1 Sweeney 2011, p. unpaginated.
  9. Norris 2003, p. 1.

บรรณานุกรม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า
โยบ
หนังสือเพลงซาโลมอน
คัมภีร์ฮีบรู
ถัดไป
นางรูธ
ก่อนหน้า
ปัญญาจารย์
หนังสือเพลงซาโลมอน
พันธสัญญาเดิม
ของโปรเตสแตนต์
ถัดไป
อิสยาห์
ก่อนหน้า
ปัญญาจารย์
หนังสือเพลงซาโลมอน
พันธสัญญาเดิม
ของโรมันคาทอลิก
และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ถัดไป
ปรีชาญาณ