อิสยาห์ 12
อิสยาห์ 12 | |
---|---|
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้ | |
หนังสือ | หนังสืออิสยาห์ |
ภาคในคัมภีร์ฮีบรู | เนวีอีม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู | 5 |
หมวดหมู่ | ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง |
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | พันธสัญญาเดิม |
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์ | 23 |
อิสยาห์ 12 (อังกฤษ: Isaiah 12) เป็นบทที่ 12 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ[1] คัมภีร์ไบเบิลแคมบริดจ์สำหรบโรงเรียนและวิทยาลัย (Cambridge Bible for Schools and Colleges) บรรยายถึงบทที่ 12 ของหนังสืออิสยาห์ว่าเป็น "บทส่งท้ายที่เป็นบทกวีสั้น ๆ ถึงส่วนสำคัญส่วนแรกของหนังสือ (บทที่ 1–12)"[2]
ต้นฉบับ
[แก้]บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 6 วรรค ประกอบด้วยเพลงสวดสรรเสริญขนาดสั้น 2 เพลง ไฮน์ริช เอวัลท์ (Heinrich Ewald) นักศาสนาศาสตร์โปรเตสแตนต์แย้งในปี ค.ศ. 1840 ว่าทั้งสองเพลงนี้มีภาษาที่มีลักษณะเฉพาะที่อิสยาห์ใช้ในที่อื่นเพียงเล็กน้อย และอาจเป็นส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาในหนังสือในภายหลัง ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ความเห็นของเขา "ค่อย ๆ ได้รับการยอมรับในหมู่นักวิชาการอย่างกว้างขวาง"[2]
พยานต้นฉบับ
[แก้]บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[3]
ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่::
- 1QIsaa: สมบูรณ์
- 1QIsab: extant: verses 3‑4, 6
- 4QIsaa (4Q55): วรรคที่หลงเหลือ: 4‑6
- 4QIsab (4Q56): วรรคที่หลงเหลือ: 2
- 4QIsac (4Q57): วรรคที่หลงเหลือ: 1
- 4QIsal (4Q65): วรรคที่หลงเหลือ: 1‑4, 6
ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[4]
วรรค 2
[แก้]- "ดูสิ พระเจ้าเป็นความรอดของข้าพเจ้า
- ข้าพเจ้าจะวางใจและไม่กลัว
- เพราะพระยาห์เวห์ คือพระยาห์เวห์เองทรงเป็นกำลังและบทเพลงของข้าพเจ้า
- และพระองค์ทรงเป็นความรอดของข้าพเจ้าแล้ว"[5]
ภาษาฮีบรู (ต้นฉบับเมโซเรติก)
- הנה אל ישועתי אבטח ולא אפחד כי־עזי וזמרת יה יהוה ויהי־לי לישועה׃
การถอดอักษร:
- hi·neh EL ye·shu·'a·ti eb·takh we·lo eph·khad
- ki-a·zi we·zim·rat YAH YHWH way·hi-li li·shu·'ah.
- "เพราะพระยาห์เวห์" (יה יהוה, Y(a)H Y(e)H(o)W(a)H) การกล่าวซ้ำซึ่งพระนามศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้าเป็นการเน้นย้ำว่าควาทรอดของอิสราเอลไม่ได้มาจากบรรดาประชาชาติอื่น แต่มาจากพระเจ้าเท่านั้น ผู้ทรงรักษาพันธสัญญาที่ทรงกระทำกับชนชาติอิสราเอลอยู่เสมอมา[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อพยพ 15, สดุดี 34, สดุดี 118, สดุดี 145
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Theodore Hiebert, et al. 1996. The New Interpreter's Bible: Volume VI. Nashville: Abingdon.
- ↑ 2.0 2.1 Cambridge Bible for Schools and Colleges on Isaiah 12, accessed 23 March 2018
- ↑ Würthwein 1995, pp. 35–37.
- ↑ Würthwein 1995, pp. 73–74.
- ↑ อิสยาห์ 12:2 THSV11
- ↑ The Nelson Study Bible. Thomas Nelson, Inc. 1997
บรรณานุกรม
[แก้]- Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.