ข้ามไปเนื้อหา

อิสยาห์ 8

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิสยาห์ 8
ม้วนหนังสืออิสยาห์ ม้วนคัมภีร์ไบเบิลที่พบที่คุมรานตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาลที่เก็บรักษาอย่างดีที่สุด มีทุกวรรคของบทนี้
หนังสือหนังสืออิสยาห์
ภาคในคัมภีร์ฮีบรูเนวีอีม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ฮีบรู5
หมวดหมู่ผู้เผยพระวจนะยุคหลัง
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์23

อิสยาห์ 8 (อังกฤษ: Isaiah 8) เป็นบทที่ 8 ของหนังสืออิสยาห์ในคัมภีร์ฮีบรูหรือพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ หนังสืออิสยาห์ประกอบด้วยเนื้อหาคำเผยพระวจนะซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ และเป็นหนังสือเล่มหนึ่งในหมวดหนังสือผู้เผยพระวจนะ

ต้นฉบับ

[แก้]

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู บทแบ่งออกเป็น 22 วรรค ในฉบับแปลหลายฉบับ แต่ในต้นฉบับภาษาฮีบรูและฉบับแปลภาษาอังกฤษบางฉบับ อิสยาห์ 9:1 ปรากฏในฐานะวรรค 8:23

พยานต้นฉบับ

[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับไคโร (Codex Cairensis; ค.ศ. 895) หนังสือผู้เผยพระวจนะฉบับปีเตอส์เบิร์ก (Petersburg Codex of the Prophets; ค.ศ. 916) ฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex; ศตวรรษที่ 10) และฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[1]

ชิ้นส่วนที่มีข้อความบางส่วนของบทนี้ในภาษาฮีบรูถูกพบในม้วนหนังสือเดดซี (ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาลหรือหลังจากนั้น) ได้แก่:

  • 1QIsaa: สมบูรณ์
  • 1QIsab: วรรคที่หลงเหลือ: 1, 8-12
  • 4QIsae (4Q59): วรรคที่หลงเหลือ: 2‑14
  • 4QIsaf (4Q60): วรรคที่หลงเหลือ: 1, 4‑11
  • 4QIsah (4Q62): วรรคที่หลงเหลือ: 11‑14

ยังมีฉบับแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) บางสำเนาต้นฉบับที่หลงเหลือในเซปทัวจินต์ ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) ฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5) และฉบับมาร์ชาล (Codex Marchalianus; Q; Q; ศตวรรษที่ 6)[2]

หมายสำคัญแห่งมาเฮร์-ชาลาล-หัช-บัส (8:1–4)

[แก้]

เนื่องจากหมายสำคัญแห่งอิมมานูเอล (อิสยาห์ 7:14-17) มุ่งหมายถึงเวลาที่ยังไม่เปิดเผยในอนาคต จึงมีอีกหมายสำคัญหนึ่งที่พระเจ้าประทานเพื่อมุ่งหมายถึงช่วงเวลาร่วมสมัย ในรูปของเด็กที่เกิดอย่างธรรมดาและมีชื่อที่จะเป็นเป็นประจักษ์พยาน (เทียบกับอิสยาห์ 8:18 ) ถึงคำเผยพระวจนะทั้งในเรื่องเกี่ยวกับ 'ศัตรูที่ประตูเมือง' (วรรค 4; เทียบกับอิสยาห์ 7:16 ) และในเรื่องเกี่ยวกับเหยื่อรายต่อไปของอัสซีเรีย ซึ่งก็คือยูดาห์ (อิสยาห์ 7:17 )[3]

วรรค 1

[แก้]
แล้วพระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า "จงเอากระดานแผ่นใหญ่มาแผ่นหนึ่ง และจงเขียนลงบนนั้นด้วยอักษรง่ายๆ ว่า 'มาเฮร์-ชาลาล-หัช-บัส' "[4]

วรรค 3

[แก้]
แล้วข้าพเจ้าเข้าไปหาผู้เผยพระวจนะหญิง นางก็ตั้งครรภ์และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และพระยาห์เวห์ตรัสกับข้าพเจ้าว่า "จงเรียกชื่อบุตรนั้นว่า 'มาเฮร์-ชาลาล-หัช-บัส' "[6]

กระแสน้ำไหลเอื่อยของพระเจ้าและกระแสน้ำเชี่ยวกรากของอัสซีเรีย (8:5–8)

[แก้]

พระเจ้าทรงเป็นที่ลี้ภัยของเราหรือทรงนำการทำลายมาสู่เรา (8:9–15)

[แก้]

วรรค 12

[แก้]
"พวกเจ้าอย่าเรียกว่าการร่วมคิดกบฏ
ในทุกสิ่งที่ชนชาตินี้เรียกว่า การร่วมคิดกบฏ
และพวกเจ้าอย่ากลัวในสิ่งที่เขาทั้งหลายกลัวและอย่าหวาดหวั่น"[7]

วรรค 13

[แก้]
แต่พระยาห์เวห์จอมทัพนั้นแหละ ที่พวกท่านต้องถือว่าศักดิ์สิทธิ์ พระองค์ทรงเป็นผู้ที่ท่านต้องกลัว และทรงเป็นผู้ที่ท่านต้องหวาดหวั่น[8]

วรรค 14

[แก้]
แล้วพระองค์จะเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็จะเป็นหินสะดุด
และเป็นศิลาที่ทำให้เชื้อสายทั้งสองของอิสราเอลหกล้ม
ทั้งเป็นกับดักและเป็นบ่วงแร้วสำหรับชาวเยรูซาเล็ม[9]

วรรค 15

[แก้]
"และคนจำนวนมากจะหกล้มเพราะหินนั้น
จะล้มคะมำและแตกหัก
พวกเขาจะติดบ่วงและถูกจับไป"[11]

แสงถูกนำออกไป (8:16–22)

[แก้]

วรรค 16

[แก้]
จงเก็บคำพยานไว้
และจงผนึกตราธรรมบัญญัติไว้ในพวกสาวกของข้าพเจ้า[12]

วรรค 23

[แก้]
แต่เมืองนั้นที่อยู่ในสภาพโศกเศร้าจะไม่ทุกข์ระทมอีก[13][14]

ดูเพิ่ม

[แก้]
  • ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลที่เกี่ยวข้อง: อิสยาห์ 7, อิสยาห์ 9, อิสยาห์ 28, มัทธิว 1, ยอห์น 9, โรม 9
  • อ้างอิง

    [แก้]

    บรรณานุกรม

    [แก้]
    • Coggins, R. (2007). "22. Isaiah". ใน Barton, John; Muddiman, John (บ.ก.). The Oxford Bible Commentary (first (paperback) ed.). Oxford University Press. pp. 433–486. ISBN 978-0199277186. สืบค้นเมื่อ February 6, 2019.
    • Motyer, J. Alec (2015). The Prophecy of Isaiah: An Introduction & Commentary. InterVarsity Press. ISBN 9780830895243.
    • Kidner, Derek (1994). "Isaiah". ใน Carson, D. A.; France, R. T.; Motyer, J. A.; Wenham, G. J. (บ.ก.). New Bible Commentary: 21st Century Edition (4, illustrated, reprint, revised ed.). Inter-Varsity Press. pp. 629–670. ISBN 9780851106489.
    • Würthwein, Ernst (1995). The Text of the Old Testament. แปลโดย Rhodes, Erroll F. Grand Rapids, MI: Wm. B. Eerdmans. ISBN 0-8028-0788-7. สืบค้นเมื่อ January 26, 2019.

    แหล่งข้อมูลอื่น

    [แก้]

    ศาสนายูดาห์

    [แก้]

    ศาสนาคริสต์

    [แก้]