ข้ามไปเนื้อหา

อิสยาห์ 7:14

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อิสยาห์ 7:14 (อังกฤษ: Isaiah 7:14) เป็นวรรคในบทที่ 7 ของหนังสืออิสยาห์ ซึ่งผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ทูลกษัตริย์อาหัสแห่งยูดาห์ถึงพระสัญญาว่าพระเจ้าจะทรงทำลายศัตรูของกษัตริย์ก่อนที่เด็กที่เกิดจากอัลมาห์ (หญิงสาว) จะหย่านม คำภาษาฮีบรู עַלְמָה‘almāh หมายถึง "หญิงสาวในวัยที่มีบุตรได้" แต่คำนี้ได้รับการแปลเป็นภาษากรีกคอยนีในเซปทัวจินต์ว่า παρθένος parthenos มีความหมายว่าหญิงพรหมจารี และต่อมาได้รับการหยิบยกขึ้นโดยพระวรสารนักบุญมัทธิว แล้วใช้เป็นคำเผยพระวจนะเกี่ยวกับพระเมสสิยาห์อันมุ่งหมายถึงการประสูติจากหญิงพรหมจารีของพระเยซู[1] อิสยาห์ 7:14 ยังคงเป็นหนึ่งในวรรคในคัมภีร์ไบเบิลที่มีการถกเถียงกันมากที่สุด[2]

คำเผยพระวจนะของอิสยาห์ถึงอาหัส[แก้]

บริบท: อิสยาห์ 7:1-25[แก้]

หนังสืออิสยาห์ได้รับการรวบรวมเป็นเวลาหลายศตวรรษ เริ่มต้นในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล[3] บทที่ 1-39 กล่าวถึงเหตุการณ์ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลเป็นส่วนใหญ่[3] แต่อิสยาห์ 7:1-25 เป็นผลงานจากการปฏิรูปโยสิยาห์ในศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสตกาล (กล่าวคือเป็นการเรียบเรียงในรัชสมัยของกษัตริย์โยสิยาห์ ราว 640–609 ปีก่อนคริสตกาล)[4] อิสยาห์ 7:1-25 เล่าเกี่ยวกับกษัตริย์อาหัสในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล (ครองราชย์ราว 732–716 ปีก่อนคริสตกาล) ในฐานะกษัตริย์ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้าและปฏิเสธพระสัญญาของพระเจ้าถึงการปกป้องราชวงศ์และเมืองของพระองค์ แต่จุดประสงค์ของเรื่องเล่าดั้งเดิมในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาลคือเพื่อปรามเฮเซคียาห์พระโอรสของอาหัสไม่ให้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับอาณาจักรอื่น ๆ ในการต่อต้านจักรวรรดิอัสซีเรียที่ครองความเป็นใหญ่ในภูมิภาคในเวลานั้น[4]

คำทำนาย: อิสยาห์ 7:1-10[แก้]

อิสยาห์ 7:1–8:15 เกี่ยวกับความพยายามของผู้เผยพระวจนะอิสยาห์ที่จะโน้มน้าวกษัตริย์อาหัสไมาให้เข้าร่วมกับกษัตริย์อิสราเอล (หรือเรียกอีกอย่างว่าเอฟราอิม) และซีเรีย (อารัม-ดามัสคัส) ในการก่อกบฏต่อต้านอัสซีเรีย[3] อิสยาห์ 7:1-8 เป็นบทนำที่อธิบายว่าอิสราเอลและซีเรียปิดล้อมเยรูซาเล็มด้วยความพยายามจะตั้งกษัตริย์ที่ไม่ใช่เชื้อสายของดาวิดขึ้นแทนที่อาหัส และจะเป็นผู้ที่จะเข้าร่วมกับอิสราเอลและซีเรียในการต้านอัสซีเรีย[3]

ในรัชกาลของอาหัส ... กษัตริย์แห่งยูดาห์ เรซีนกษัตริย์แห่งซีเรีย และเปคาห์ ... กษัตริย์แห่งอิสราเอลขึ้นมายังเยรูซาเล็ม เพื่อทำสงครามกับเมืองนั้น แต่ไม่อาจรบชนะเมืองนั้น เมื่อเขาไปรายงานต่อราชวงศ์ของดาวิดว่า "ซีเรียมาตั้งค่ายอยู่ในเขตเอฟราอิมแล้ว" พระทัยของพระองค์และใจของประชาชนของพระองค์ก็สั่นเหมือนต้นไม้ในป่าสั่นขณะต้องแรงลม ... และพระยาห์เวห์ตรัสกับอิสยาห์ว่า “จงออกไปพบอาหัส ทั้งตัวเจ้าและเชอารยาชูบบุตรชายของเจ้า ... และจงกล่าวกับเขาว่า ‘จงระวัง จงสงบ ...'[5] พระยาห์เวห์องค์เจ้านายตรัสดังนี้ว่า "มันจะไม่เป็นเช่นนั้น และมันจะไม่เกิดขึ้น"[6]

หมายสำคัญของพระเจ้า: อิสยาห์ 7:11-16[แก้]

หลังจากอิสยาห์ถ่ายทอดพระวจนะของพระเจ้าให้กับอาหัส อิสยาห์จึงทูลขอให้พระองค์ขอหมายสำคัญเพื่อยืนยันว่าคำเผยพระวจนะเป็นจริง ซึ่งหมายความว่าอาหัสทรงถูกเรียกร้องให้ยืนยันพันธสัญญากับพระเจ้าที่ทรงทำกับราชวงศ์ดาวิดผู้กำลังถูกคุกคามโดยกษัตริย์ของศัตรู แต่อาหัสปฏิเสธ อิสยาห์ทูลตอบว่าตนจะยังมีหมายสำคัญไม่ว่าอาหัสจะทรงขอหรือไม่:[7]

7:11 יא שְׁאַל-לְךָ אוֹת, מֵעִם יְהוָה אֱלֹהֶיךָ; הַעְמֵק שְׁאָלָה, אוֹ הַגְבֵּהַּ לְמָעְלָה.
"จงขอหมายสำคัญจากพระยาห์เวห์พระเจ้าของเจ้า ไม่ว่าจะให้ลึกถึงแดนคนตายหรือสูงเทียมฟ้าก็ได้"
7:12 יב וַיֹּאמֶר, אָחָז: לֹא-אֶשְׁאַל וְלֹא-אֲנַסֶּה, אֶת-יְהוָה.
แต่อาหัสตอบว่า "เราจะไม่ทูลขอ และเราจะไม่ลองพระยาห์เวห์ดู"
7:13 יג וַיֹּאמֶר, שִׁמְעוּ-נָא בֵּית דָּוִד: הַמְעַט מִכֶּם הַלְאוֹת אֲנָשִׁים, כִּי תַלְאוּ גַּם אֶת-אֱלֹהָי.
และอิสยาห์กล่าวว่า "ข้าแต่ราชวงศ์ของดาวิด ขอทรงฟัง การทำให้มนุษย์อ่อนใจนั้นเป็นเรื่องเล็กน้อยสำหรับพวกฝ่าพระบาทหรือ? และพวกฝ่าพระบาทยังให้พระเจ้าของข้าพระบาทอ่อนพระทัยด้วยหรือ?
7:14 יד לָכֵן יִתֵּן אֲדֹנָי הוּא, לָכֶם--אוֹת: הִנֵּה הָעַלְמָה, הָרָה וְיֹלֶדֶת בֵּן, וְקָרָאת שְׁמוֹ, עִמָּנוּ אֵל.
เพราะฉะนั้น องค์เจ้านายจะประทานหมายสำคัญด้วยพระองค์เอง นี่แน่ะ หญิงสาวคนหนึ่งจะตั้งครรภ์ และคลอดบุตรชายคนหนึ่ง และคนจะเรียกนามของเขาว่า อิมมานูเอล
7:15 טו חֶמְאָה וּדְבַשׁ, יֹאכֵל--לְדַעְתּוֹ מָאוֹס בָּרָע, וּבָחוֹר בַּטּוֹב.
เขาจะรับประทานนมข้นและน้ำผึ้ง ในเวลาที่เขารู้จักปฏิเสธความชั่วและเลือกความดี
7:16 טז כִּי בְּטֶרֶם יֵדַע הַנַּעַר, מָאֹס בָּרָע--וּבָחֹר בַּטּוֹב: תֵּעָזֵב הָאֲדָמָה אֲשֶׁר אַתָּה קָץ, מִפְּנֵי שְׁנֵי מְלָכֶיהָ.
เพราะก่อนที่เด็กนั้นจะรู้จักปฏิเสธความชั่วและเลือกความดี แผ่นดินของกษัตริย์ทั้งสององค์ซึ่งฝ่าพระบาทหวาดกลัวนั้นจะร้างเปล่าไป"[8][9]

หมายสำคัญในบริบทนี้หมายถึงเหตุการณ์พิเศษที่จะยืนยันคำของผู้เผยพระวจนะ[10] หมายสำคัญถึงอาหัสคือการกำเนิดของเด็กชายจากอัลมาห์ (หญิงสาว) ซึ่งเด็กชายคนนั้นจะได้ชื่อว่าอิมมานูเอล ที่มีความหมายว่า "พระเจ้าสถิตเรา" ความสำคัญของหมายสำคัญนี้ไม่ได้อยู่ที่ตัวตนของเด็กหรือของแม่ (นักวิชาการเห็นพ้องว่า "อัลมาห์" หมายถึงผู้หญิงในวัยที่มีบุตรได้ และไม่เกี่ยวข้องอะไรกับหญิงพรหมจารี) แต่อยู่ที่ความหมายของชื่อของเด็กชาย ("พระเจ้าสถิตอยู่กับเรา") และมีบทบาทในการระบุระยะเวลาก่อนที่พระเจ้าจะทรงทำลายแนวร่วมเอฟราอิม-ซีเรีย (ก่อนที่เด็กจะเรียนรู้เรื่องผิดชอบชั่วดี)[11]

ผลสืบเนื่อง: อิสยาห์ 7:17-25[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Sweeney 1996, p. 161.
  2. Saldarini 2001, p. 1007.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Coogan 2007, p. 974.
  4. 4.0 4.1 Sweeney 1996, p. 159.
  5. Childs 2001, p. 60.
  6. Childs 2001, p. 64.
  7. Childs 2001, p. 64-65.
  8. Childs 2001, p. 60-61.
  9. อิสยาห์ 7:11 -16 THSV11
  10. Childs 2001, p. 65.
  11. Sweeney 1996, p. 162.

บรรณานุกรม[แก้]

Barker, Margaret (2001). "Isaiah". ใน Dunn, James D.G.; Rogerson, John (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible. Eerdmans. ISBN 9780802837110.
Childs, Brevard S (2001). Isaiah. Westminster John Knox Press. ISBN 978-0664221430.
Coogan, Michael D. (2007). "Isaiah". ใน Coogan, Michael D.; Brettler, Mark Zvi; Newsom, Carol Ann (บ.ก.). New Oxford Annotated Bible. Oxford University Press. ISBN 9780195288803.
Ehrman, Bart D. (1999). Jesus: Apocalyptic Prophet of the New Millennium. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-512473-6. Jesus: Apocalyptic Prophet of the New Millennium.
Metzger, Bruce M. (2001). The Bible in Translation. Baker. ISBN 9780801022821.
Rhodes, Ron (2009). The Complete Guide to Bible Translations. Harvest House Publishers. ISBN 978-0736931366.
Saldarini, Anthony J. (2001). "Matthew". ใน Dunn, James D.G.; Rogerson, John (บ.ก.). Eerdmans Commentary on the Bible. Eerdmans. ISBN 9780802837110.
Sweeney, Marvin A (1996). Isaiah 1–39: with an introduction to prophetic literature. Eerdmans. ISBN 9780802841001.
Moyise, Steve (2013). Was the Birth of Jesus According to Scripture?. Wipf and Stock Publishers. ISBN 978-1621896739.