บุนขิม
บุนขิม (เหวิน ชิน) | |
---|---|
文欽 | |
มหาขุนพลพิทักษ์ภาคเหนือ (鎮北大將軍 เจิ้นเป่ย์ต้าเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
ผู้พิทักษ์นครหลวง (都護 ตูฮู่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 255 – กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
เจ้าเมืองโลกั๋ง (廬江太守 หลูเจียงไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 255 | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ข้าหลวงมณฑลยังจิ๋ว (揚州刺史 หยางโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ขุนพลหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮอง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ นครปั๋วโจว มณฑลอานฮุย |
เสียชีวิต | กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 258[a] อำเภอโช่ว มณฑลอานฮุย |
บุตร | |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่ออง | จ้งรั่ว (仲若) |
สมัญญานาม | เฉียวโหว (譙侯) |
บุนขิม (เสียชีวิต กุมภาพันธ์หรือมีนาคม ค.ศ. 258)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เหวิน ชิน (จีน: 文欽; พินอิน: Wén Qīn) ชื่อรอง จ้งรั่ว (จีน: 仲若; พินอิน: Zhòngruò) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]บุนขิมเป็นบุตรชายของเหวิน จี้ (文稷) ขุนพลผู้รับใช้โจโฉขุนศึกในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในเดือนกันยายนหรือตุลาคม ค.ศ. 219 ระหว่างเหตุกบฏเว่ย์ เฝิ่ง (魏諷) บุนขิมมีส่วนเกี่ยวข้องกับกบฏและถูกจับขังคุก บุนขิมถูกโบยหลายร้อยครั้งและควรจะถูกประหารชีวิต แต่โจโฉไว้ชีวิตบุนขิมเพื่อเห็นแก่เหวิน จี้ผู้บิดาของบุนขิม[2]
บุนขิมดำรงตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑลของมณฑลยังจิ๋วในรัชสมัยของโจฮองจักรพรรดิลำดับที่ 3 แห่งง่อก๊ก ในปี ค.ศ. 254 เมื่อสุมาสูผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ผู้กุมอำนาจราชสำนักวุยก๊กได้ปลดโจฮองจากตำแหน่งจักรพรรดิและตั้งโจมอขึ้นเป็นจักรพรรดิแทน บุนขิมรู้สึกไม่พอใจอย่างยิ่งเพราะตนภักดีต่อจักรพรรดิวุยก๊กไม่ใช่ตระกูลสุมา ในปีถัดมา บุนขิวและบู๊ขิวเขียมขุนพลวุยก๊กอีกคนเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; อยู่บริเวณอำเภอโช่ว มณฑลอานฮุยในปัจจุบัน) เพื่อต่อต้านสุมาสู แต่สุมาสูดำเนินการปราบปรามกบฏลงได้ในเวลาไม่กี่เดือน บู๊ขิวเขียมถูกสังหาร ส่วนบุนขิมและครอบครัวหนีไปสวามิภักดิฺ์กับง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก
ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลวุยก๊กอีกคนเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุนต่อต้านผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์สุมาเจียว (น้องชายและผู้สืบทอดอำนาจของสุมาสู) บุนขิมและกองกำลังง่อก๊กบางส่วนยกมาที่ฉิวฉุนเพื่อสนับสนุนจูกัดเอี๋ยน สุมาเจียวนำทัพวุยก๊กเข้าล้อมฉิวฉุน และการล้อมก็ยืดเยื้อไปจนถึงต้นปี ค.ศ. 258 ในขณะที่สถานการณ์เลวร้ายขึ้น ความสัมพันธ์ระหว่างบุนขิมและจูกัดเอี๋ยนก็ยิ่งย่ำแย่อีกทั้งทั้งคู่ก็ไม่วางใจกันและกันมาแต่ก่อน ในที่สุดจูกัดเอี๋ยนก็สั่งประหารชีวิตบุนขิม บุนเอ๋งและบุนเฮาบุตรชายของบุนขิมจึงหนีออกจากฉิวฉุนและสวามิภักดิ์ต่อสุมาเจียว
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).