โอยเอี๋ยน
โอยเอี๋ยน (เว่ย์ เหยี่ยน) | |
---|---|
衛演 | |
ขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 237 – ค.ศ. 238 | |
กษัตริย์ | กองซุนเอี๋ยน (รัฐเอียน) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | ไม่ทราบ |
อาชีพ | ขุนนาง |
โอยเอี๋ยน มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เว่ย์ เหยี่ยน (จีน: 衛演; พินอิน: Wèi Yǎn) เป็นขุนนางใต้บังคับบัญชาของกองซุนเอี๋ยนในรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน มีตำแหน่งเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) ของกองซุนเอี๋ยนที่เป็นเอียนอ๋อง (燕王 เยียนหวาง)
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 237 กองซุนเอี๋ยนก่อกบฏต่อวุยก๊กในเมืองเลียวตั๋ง (遼東侯 เหลียวตงจฺวิ้น) สถาปนาตนเป็นเอียนอ๋องและประกาศใช้ชื่อศักราชว่าเช่าฮั่น (紹漢) ตั้งให้โอยเอี๋ยนเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง)
ในปี ค.ศ. 238 ราชสำนักวุยก๊กมอบหมายให้สุมาอี้นำทัพไปปราบกองซุนเอี๋ยน กองซุนเอี๋ยนพ่ายแพ้จึงส่งอองเกี๋ยนผู้เป็นอัครมหาเสนาบดี (相国 เซียงกั๋ว) ของรัฐเอียนและลิวฮูผู้เป็นขุนนางที่ปรึกษา (御史大夫 ยฺวี่ฉื่อต้าฟู) ให้ไปเจรจาขอสงบศึก สุมาอี้สั่งประหารชีวิตอองเกี๋ยนและลิวฮู กองซุนเอี๋ยนจึงส่งโอยเอี๋ยนไปเจรจาอีก โดยเสนอให้กำหนดวันที่จะส่งมอบตัวประกันไปยังราชสำนักวุยก๊ก สุมาอี้จึงตอบโอยเอี๋ยนว่า "หลักสำคัญของการทหารมีอยู่ 5 ประการ ถ้าสู้ได้ก็สู้ ถ้าสู้ไม่ได้ก็ป้องกัน ถ้าป้องกันไม่ได้ก็หนี อีกสองหนทางคือยอมจำนนและยอมตาย กองซุนเอี๋ยนไม่คิดจะมัดตัวเองมามอบตัว นี่แสดงว่าต้องการจะไปตาย ไม่จำเป็นต้องส่งตัวประกันมาหรอก!"[1][2]
ในนิยายสามก๊ก
[แก้]ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กในศตวรรษที่ 14 กองซุนเอี๋ยนส่งโอยเอี๋ยนไปที่ค่ายวุยก๊ก โอยเอี๋ยนคุกเข่าเข้าไปหมอบในกระโจมของสุมาอี้แล้วแจ้งว่า "ขอท่านเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) โปรดระงับความโกรธ จะขอส่งตัวกองซุนสิวบุตรนายเราไปเป็นตัวประกันเสียก่อน หลังจากนั้นนายเราจึงจะมัดตนเองออกมาคำนับ" สุมาอี้ตอบว่า "หลักสำคัญของการทหารมีอยู่ 5 ประการ ถ้าสู้ได้ก็สู้ ถ้าสู้ไม่ได้ก็ป้องกัน ถ้าป้องกันไม่ได้ก็หนี ถ้าหนีไม่ได้ก็ยอมจำนน ถ้ายอมจำนนไม่ได้ก็ตายเสีย เหตุใดต้องส่งบุตรชายมาเป็นตัวประกันด้วย!" โอยเอี๋ยนก็กุมศีรษะตัวเองหนีกลับไปแจ้งกองซุนเอี๋ยน[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]บรรณานุกรม
[แก้]- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). พงศาวดารราชวงศ์จิ้น (จิ้นชู).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- ล่อกวนตง (ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซานกั๋วเหยี่ยนอี้).