หวาง ยฺเหวียนจี
หวาง ยฺเหวียนจี 王元姬 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดินีพันปีหลวงแห่งราชวงศ์จิ้น | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266[a] – 20 เมษายน ค.ศ. 268 | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 217[b] อำเภอถานเฉิง มณฑลชานตง | ||||||||
สวรรคต | 20 เมษายน ค.ศ. 268 (51 พรรษา)[1] นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
ฝังพระศพ | เขตเหยี่ยนชือ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
คู่อภิเษก | สุมาเจียว | ||||||||
พระราชบุตร รายละเอียด |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์จิ้น | ||||||||
พระราชบิดา | อองซก | ||||||||
พระราชมารดา | หยางชื่อ (羊氏)[c] |
หวาง ยฺเหวียนจี (217 – 20 เมษายน ค.ศ. 268[d]) เป็นสตรีสูงศักดิ์และอภิชนชาวจีนในยุคสามก๊ก ภายหลังเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวงแห่งราชวงศ์จิ้น หวาง ยฺเหวียนจีเป็นภรรยาของสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน หวาง ยฺเหวียนจีขึ้นเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวงในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยนซึ่งเป็นพระโอรสของพระองค์ผู้โค่นล้มการปกครองของวุยก๊กและก่อตั้งราชวงศ์จิ้น หวาง ยฺเหวียนจีได้รับสมัญญานามว่า "จักรพรรดินีเหวินหมิง" หลังการสิ้นพระชนม์
หวาง ยฺเหวียนจีมีชื่อเสียงในเรื่องสติปัญญา มีคุณธรรม มีคุณูปการต่อจุดกำเนิดและความมั่นคงของราชวงศ์จิ้น เคยคาดการณ์ถึงการก่อกบฏของจงโฮยในปี ค.ศ. 264
พระประวัติช่วงต้น
[แก้]หวาง ยฺเหวียนจีเป็นชาวอำเภอถาน (郯縣 ถานเซี่ยน) เมืองตองไฮ (東海郡 ตงไห่จฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณอำเภอถานเฉิง มณฑลชานตงในปัจจุบัน บิดาของหวาง ยฺเหวียนจีคืออองซก (王肅 หวาง ซู่) ซึ่งรับราชการเป็นขุนนางของวุยก๊กและมีบรรดาศักดิ์เป็นหลานหลิงโหว (蘭陵侯)[4] หวาง ยฺเหวียนจีมีน้องชายอย่างน้อย 3 คนที่มีบันทึกชื่อไว้ ได้แก่ หวาง สฺวิน (王恂; เสียชีวิต ค.ศ. 278), หวาง เฉียน (王虔) และหวาง ข่าย (王恺)[5]
เมื่อหวาง ยฺเหวียนจีมีอายุ 8 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ก็มีความจำดีและสามารถท่องคัมภีร์ในลัทธิขงจื๊อได้อย่างคล่องแคล่ว ครั้งหนึ่งเมื่อหวาง ยฺเหวียนจีมีอายุ 9 ปี หยางชื่อ (羊氏) ผู้เป็นมารดาล้มป่วย หวาง ยฺเหวียนจีจึงอยู่ดูแลเคียงข้างมารดาตลอดเวลา หวาง ยฺเหวียนจีมีไหวพริบและจัดการงานบ้านที่บิดามารดามอบหมายได้เป็นอย่างดี อองลอง (王朗 หวาง หล่าง) ปู่ของหวาง ยฺเหวียนจีรักหวาง ยฺเหวียนจีมากและเห็นว่าหวาง ยฺเหวียนจีเป็นคนไม่ธรรมดา อองลองพูดว่า "เด็กคนนี้จะนำความรุ่งโรจน์มาสู่ตระกูลของเรา น่าเสียดายที่นางไม่ใช่เด็กผู้ชาย!" คำพูดนี้ยังถูกตีความไปว่าอองลองกำลังคร่ำครวญถึงความมีนิสัยดื้อรั้นและมีพฤติกรรมเหมือนเด็กผู้ชายของหวาง ยฺเหวียนจีในวัยเด็ก คำพูดของอองลองผู้ปู่กลายเป็นความจริงในอีกหลายปีต่อมาเมื่อหวาง ยฺเหวียนจีมีส่วนในการสร้างความมั่นคงให้กับราชวงศ์จิ้นและได้ขึ้นเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวง
ในปี ค.ศ. 228 เมื่อหวาง ยฺเหวียนจีมีอายุ 12 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) อองลองผู้ปู่เสียชีวิต หวาง ยฺเหวียนจีร้องไห้เสียใจอย่างมาก อองซกผู้บิดารู้สึกชื่นชมหวาง ยฺเหวียนจีมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์นี้ และรู้สึกว่าหวาง ยฺเหวียนจีเป็นคนไม่ธรรมดาจริง ๆ[6]
ทรงอภิเษกสมรส
[แก้]หวาง ยฺเหวียนจีสมรสกับสุมาเจียวหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ (อายุประมาณ 15 ปี) และให้กำเนิดบุตรชายของสุมาเจียว 5 คน ได้แก่ สุมาเอี๋ยน, สุมาฮิว, ซือหม่า ติ้งกั๋ว (司馬定國), ซือหม่า เจ้า (司馬兆) และซือหมา กว่างเต๋อ (司馬廣德) และมีบุตรสาวซึ่งเป็นที่รู้จักในประวัติศาสตร์ในชื่อเจ้าหญิงจิงเจ้า (京兆公主 จิงเจ้ากงจู่; แปลว่า "เจ้าหญิงแห่งนครหลวง") หลังการสมรส หวาง ยฺเหวียนจียังคงรักษาคุณธรรมดีงามและรับใช้ครอบครัวของสามีเป็นอย่างดี หวาง ยฺเหวียนจีร้องไห้เสียใจอย่างมากอีกครั้งเมื่ออองซกผู้บิดาเสียชีวิต[7]
เมื่อสุมาเจียวขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก สุมาเจียวเห็นความสามารถของจงโฮยจึงเลื่อนให้จงโฮยดำรงตำแหน่งระดับสูงขึ้น หวาง ยฺเหวียนจีบอกสุมาเจียวผู้สามีว่า "จงโฮยเป็นคนที่จะละทิ้งหลักคุณธรรมเพื่อประโยชน์ส่วนตน เขาอาจก่อปัญหาได้หากได้รับการตามใจและการยกย่องมากเกินไป เขาไม่ควรได้รับมอบหมายในความรับผิดชอบสำคัญ" การคาดการณ์ของหวาง ยฺเหวียนจีกลายเป็นความจริงในภายหลัง เมื่อจงโฮยเริ่มก่อกบฏในเดือนมีนาคม ค.ศ. 264 หลังช่วยเหลือวุยก๊กในการพิชิตจ๊กก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก[8]
จักรพรรดินีพันปีหลวง
[แก้]ุสุมาเจียวเสียชีวิตในเดือนกันยายน ค.ศ. 265 สุมาเอี๋ยนบุตรชายคนโตได้สืบทอดอำนาจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 สุมาเอี๋ยนบังคับโจฮวนจักรพรรดิลำดับสุดท้ายของวุยก๊กให้สละราชบัลลังก์ให้ตน จึงเป็นการสิ้นสุดของวุยก๊กและเป็นการก่อตั้งราชวงศ์จิ้น หลังสุมาเอี๋ยนขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงแต่งตั้งให้หวาง ยฺเหวียนจีผู้เป็นพระมารดาเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวง และให้พระมารดาประทับในวังฉงฮฺว่า (崇化宮) แม้หฺวาง ยฺเหวียนจีจึงขึ้นเป็นจักรพรรดินีพันปีหลวงแล้ว แต่พระองค์ยังคงทรงใช้ชีวิตอย่างสมถะและมัธยัสถ์ ในห้องส่วนพระองค์ไม่มีเครื่องเรือนและของตกแต่งราคาแพง พระองค์เสวยพระกระยาหารเรียบง่าย และทรงฉลองพระองค์เก่าอีกครั้งหลังซักแล้ว และพระองค์ทรงทอผ้าด้วยพระองค์เอง พระองค์ทรงจัดการเรื่องของเหล่าสนมนางในได้เป็นอย่างดี และคงความปรองดองระหว่างพระชายาของสุมาเอี๋ยน[9]
หวาง ยฺเหวียนจีทรงได้รับอนุญาตให้เสด็จมายังราชสำนัก แต่พระองค์ก็ยังคงประพฤติตนอย่างเรียบง่าย แต่เนื่องจากผู้ติดตามของพระองค์ไม่เห็นด้วยกับวิธีการของพระองค์ เหล่าข้าราชบริพารจึงไร้ระเบียบและเกิดการทะเลาะวิวาทกนเอง ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวกันว่าหวาง ยฺเหวียนจีทรงไม่ค่อยมีบทบาทในเรื่องการเมือง ไม่แน่ชัดว่าข้อกล่าวหาที่รุนแรงต่อหวาง ยฺเหวียนจีนี้มาจากการปฏิบัติตนไม่เหมาะสมของพระองค์เองหรือมาจากการใส่ร้ายโดยเจตนาโดยข้าราชบริพารที่ไม่พอใจ
หวาง ยฺเหวียนจีสิ้นพระชนม์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 268 ขณะพระชนมายุ 52 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) พระศพได้รับการฝังที่ฉงหยางหลิง (崇陽陵; ที่ใดที่หนึ่งในเขตเหยี่ยนชือ นครลั่วหยาง มณฑลเหอหนานในปัจจุบัน) คู่กับสุมาเจียวพระสวามี สุมาเอี๋ยนทรงเขียนบทยกย่องด้วยพระองค์เองเพื่อยกย่องคุณธรรมของพระมารดาและมีรับสั่งให้นักประวัติศาสตร์ประจำราชสำนักเผยแพร่บทยกย่อง[10]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
[แก้]หวาง ยฺเหวียนจีปรากฏครั้งแรกในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในภาคที่ 7ของซีรีส์วิดีโอเกมไดนาสตีวอริเออร์ของโคเอ หวาง ยฺเหวียนจียังปรากฏในฐานะตัวละครที่เล่นได้ในทั้งวอริเออร์โอโรจิ 3 และวอริเออร์โอโรจิ 4 รวมถึงวอริเออร์ออลสตาร์ บุกลิกลักษณะของหวาง ยฺเหวียนจีได้รับการถ่ายทอดว่าเป็นคนสงบ เยือกเย็น และมีสติ โดยมีแนวโน้มที่จะลงโทษคนที่ขี้เกียจและไม่เป็นระเบียบ
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ วันติงเหม่า (丁卯) ของเดือน 12 ในศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 1 ตามที่ระบุในบทพระราชประวัติของสุมาเอี๋ยนในจิ้นชู
- ↑ จิ้นชูระบุว่าหวาง ยฺเหวียนจีสิ้นพระชนม์ในศักราชไท่ฉื่อ (泰始; ค.ศ. 265-274) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน (จักรพรรดิจิ้นอู่ตี้) ขณะพระชนมายุ 52 พรรษา (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] เมื่อคำนวณแล้ว ปีประสูติของพระองค์จึงควรเป็นราวปี ค.ศ. 217 หมายเหตุเพิ่มเติมว่าสุมาเอี๋ยนสถาปนาพระองค์เป็นจักรพรรดิในวันปิ่งอิ๋น (丙寅) ในเดือน 12 ของศักราชไท่ฉื่อปีที่ 1 ซึ่งเทียบได้กับวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 266 ในปฏิทินจูเลียน
- ↑ ในปี ค.ศ. 267 หยางชื่อได้รับการสถาปนาหลังมรณกรรมให้เป็น เซี่ยนจฺวิน (县君) และได้รับสมัญญานามว่า จิ้ง (靖) สมัญญานามเต็มเป็น "ผิงหยางจิ้งจฺวิน" (平阳靖君)[2] ไม่ทราบแน่ชัดว่าหยางชื่อมีความเกี่ยวข้องกับเอียวเก๋า (羊祜 หยาง ฮู่) และหยาง ฮุย-ยฺหวี (羊徽瑜) หรือไม่
- ↑ บทพระราชประวัติของสุมาเอี๋ยนในจิ้นชูระบุว่าหวาง ยฺเหวียนจีสิ้นพระชนม์ในวันอู้จื่อ (戊子) ในเดือน 3 ของศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 4 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยน เทียบได้กับวันที่ 20 เมษายน ค.ศ. 268 ในปฏิทินจูเลียน[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ([泰始]四年,后崩,時年五十二, ...) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (帝以后母羊氏未崇谥号,泰始三年下诏曰:“...其封夫人为县君,依德纪谥,主者详如旧典。”于是使使持节谒者何融追谥为平阳靖君。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ [(泰始四年)三月戊子,皇太后王氏崩。 ] จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ (文明王皇后諱元姬,東海郯人也。父肅,魏中領軍、蘭陵侯。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (王恂,字良夫,文明皇后之弟也。...咸宁四年卒,....。恂弟虔、恺。) จิ้นชู เล่มที่ 93.
- ↑ (后年八歲,誦詩論,尤善喪服;苟有文義,目所一見,必貫於心。年九歲,遇母疾,扶侍不捨左右,衣不解帶者久之。每先意候指,動中所適,由是父母令攝家事,每盡其理。祖朗甚愛異之,曰:「興吾家者,必此女也,惜不為男矣!」年十二,朗薨,后哀戚哭泣,發于自然,其父益加敬異。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (既笄,歸于文帝,生武帝及遼東悼王定國、齊獻王攸、城陽哀王兆、廣漢殤王廣德、京兆公主。后事舅姑盡婦道,謙沖接下,嬪御有序。及居父喪,身不勝衣,言與淚俱。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (時鍾會以才能見任,后每言于帝曰:「會見利忘義,好為事端,寵過必亂,不可大任。」會後果反。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (武帝受禪,尊為皇太后,宮曰崇化。初置宮卿,重選其職,以太常諸葛緒為衞尉,太僕劉原為太僕,宗正曹楷為少府。后雖處尊位,不忘素業,躬執紡績,器服無文,御浣濯之衣,食不參味。而敦睦九族,垂心萬物,言必典禮,浸潤不行。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
- ↑ (四年,后崩,時年五十二,合葬崇陽陵。將遷祔,帝手疏后德行,命史官為哀策曰: ...) จิ้นชู เล่มที่ 31.
บรรณานุกรม
[แก้]- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.