แฮหัวฮุย
หน้าตา
แฮหัวฮุย (เซี่ยโหว ฮุ่ย) | |
---|---|
夏侯恵 | |
เจ้าเมืองเล่ออาน (樂安太守 เล่ออานไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | ? |
ปลัดราชรัฐเอียน (燕相 เยียนเซียง) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | ? |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ระหว่าง ค.ศ. 207 และ ค.ศ. 219[a] |
เสียชีวิต | ระหว่าง ค.ศ. 243 และ ค.ศ. 255 |
บุพการี |
|
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | จื้อเฉฺวียน (稚權) |
แฮหัวฮุย (มีบทบาทในช่วง ค.ศ. 220 - 243) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เซี่ยโหว ฮุ่ย (จีน: 夏侯恵; พินอิน: Xiàhóu Huì) ชื่อรอง จื้อเฉฺวียน (จีน: 稚權; พินอิน: Zhìquán) เป็นขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]แฮหัวฮุยเป็นบุตรชายคนที่หกของแฮหัวเอี๋ยนขุนพลผู้รับใช้โจโฉขุนศึกผู้วางรากฐานของรัฐวุยก๊กในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกก่อนเข้าสู่ยุคสามก๊ก แฮหัวฮุยในวัยเยาว์มีชื่อเสียงว่าเป็นผู้มีความรู้ อ่านหนังสือเก่ง และมีความสามารถด้านวรรณกรรม แฮหัวฮุยดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่งของราชสำนักวุยก๊ก ได้แก่ ขุนนางสำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง), ปลัด (相 เซียง) ของราชรัฐเอียน (燕國 เยียนกั๋ว) และเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองเล่ออาน (樂安郡 เล่ออานจฺวิ้น) แฮหัวฮุยยังเคยโต้วาทีหลายครั้งกับจงยฺวี่ (锺毓) บุตรชายของจงฮิว แฮหัวหุยเสียชีวิตขณะอายุ 36 ปี[1]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ แม้ว่าปีเกิดของแฮหัวฮุยไม่มีการบันทึกไว้ แต่ในเมื่อแฮหัวเอี๋ยนผู้บิดาของแฮหัวฮุยเสียชีวิตเมื่อราวเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 219 และเซี่ยโหว หรง (夏侯榮) พี่ชายเกิดในปี ค.ศ. 207 (มีบันทึกว่าเซี่ยโหว หรงเสียชีวิตขณะอายุ 13 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก) ไม่นานหลังการเสียชีวิตของแฮหัวเอี๋ยนผู้บิดา) ปีเกิดของแฮหัวฮุยจึงควรอยู่ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 207 และ ค.ศ. 219
อ้างอิง
[แก้]- ↑ (威弟惠,乐安太守。<《文章叙录》曰:惠字稚权,幼以才学见称,善属奏议。历散骑黄门侍郎,与锺毓数有辩驳,事多见从。迁燕相、乐安太守。年三十七卒。>) จดหมายเหตุ เล่มที่ 9 และอรรถาธิบายจาก เหวินจางซฺวี่ลู่
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).