เตงอิ๋น
เตงอิ๋น (เถิง อิ้น) | |
---|---|
滕胤 | |
เสนาบดีกลาโหม (大司馬 ต้าซือหม่า) | |
ดำรงตำแหน่ง 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 256 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
ก่อนหน้า | ลิต้าย |
ขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง พฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 252 – 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 256 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 256[a] |
คู่สมรส | บุตรสาวของซุน ฮฺว่าน |
บุตร |
|
บุพการี |
|
ญาติ | จักรพรรดินีเถิง ฟางหลาน (ญาติ) |
อาชีพ | ขุนพล |
ชือรอง | เฉิงซื่อ (承嗣) |
บรรดาศักดิ์ | เกามี่โหว (高密侯) |
เตงอิ๋น (เสียชีวิต 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 256)[a] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เถิง อิ้น (จีน: 滕胤; พินอิน: Téng Yìn) ชื่อรอง เฉิงซื่อ (จีน: 承嗣; พินอิน: Chéngsì) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน เตงอิ๋นวางแผนลอบสังหารผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ซุนหลิม แต่แผนการรั่วไหลรู้ไปถึงซุนหลิม ซุนหลิมจึงกล่าวหาเตงอิ๋นในข้อหากบฏและสั่งให้นำตัวเตงอิ๋นไปประหารชีวิต
ภูมิหลังครอบครัว
[แก้]เตงอิ๋นเป็นชาวอำเภอจฺวี้ (劇縣 จฺวี้เซี่ยน) เมืองปักไฮ (北海郡 เป๋ยไห่จฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอชางเล่อ มณฑลชานตง[2] เถิง โจ้ว (滕冑) บิดาของเตงอิ๋นและเถิง ตาน (滕耽) ลุงของเตงอิ๋นข้ามแม่น้ำแยงซีเกียงลงใต้ไปเข้าด้วยขุนศึกเล่าอิ้ว ภายหลังทั้งคู่มารับราชการกับขุนศึกซุนกวน เถิง โจ้วและเถิง ตานต่างได้รับการชื่นชมจากซุนกวน แต่ทั้งคู่ก็เสียชีวิตก่อนเวลาอันควร[3]
หลังซุนกวนขึ้นเป็นเงาอ๋อง (吳王 อู๋หวาง) หรืออ๋องแห่งง่อในปี ค.ศ. 221 ซุนกวนระลึกถึงเถิง โจ้วและเถิง ตานจึงตั้งให้เตงอิ๋นมีบรรดาศักดิ์ระดับตูถิงโหว (都亭侯)[4]
ประวัติ
[แก้]ประวัติศาสตร์บันทึกว่าเตงอิ๋น "เมื่อน้อยเป็นผู้ัซื่อสัตย์สุจริตและประพฤติตนดีงาม"[5] เตงอิ๋นในวัยเยาว์ได้รับการชื่นชมจากผู้คนจำนวนมาก ต่อมาเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ได้สมรสกับเจ้าหญิงองค์หนึ่งของง่อก๊ก[6] ภายหลังยังได้สมรสกับบุตรสาวของซุน ฮฺว่าน (孫奐)[7]
เมื่อเตงอิ๋นอายุ 30 ปี เตงอิ๋นได้รับตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองตันเอี๋ยง (丹楊郡 ตานหยางจฺวิ้น) ต่อมาไปเป็นเจ้าเมืองของเมืองง่อกุ๋น (吳郡 อู๋จฺวิ้น) และห้อยเข (會稽郡 ไคว่จีจฺวิ้น)[8] ทุกครั้งที่เตงอิ๋นเป็นผู้พิพากษาในการพิจารณาคดี เตงอิ๋นจะสังเกตคำพูดและการแสดงออกของผู้ฟ้องร้องแล้วตัดสินคดีอย่างสมเหตุสมผล ผู้คนจึงเข้าร้องทุกข์ต่อเตงอิ๋นทุกครั้งที่มีเรื่องคับข้องใจ เตงอิ๋นได้รับเกียรติในทุก ๆ ที่ที่ไป[9]
ในปี ค.ศ. 251 ซุนกวนจักรพรรดิแห่งง่อก๊กทรงพระประชวรหนัก ทรงมีรับสั่งเรียกตัวเตงอิ๋นมาที่นครหลวงเกี๋ยนเงียบ (建業 เจี้ยนเย่; ปัจจุบันคือนครหนานจิง มณฑลเจียงซู) และแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง) ในปีถัดมา ค.ศ. 252 ซุนกวนสวรรคต เตงอิ๋น จูกัดเก๊ก และคนอื่น ๆ ได้รับการฝากฝังให้ช่วยเหลือราชการ[10][11] หลังรัชทายาทซุนเหลียงขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งง่อก๊กลำดับที่ 2 เตงอิ๋นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นขุนพลพิทักษ์ (衛將軍 เว่ย์เจียงจฺวิน)[12]
ในปีเดียวกันนั้น จูกัดเก๊กวางแผนจะโจมตีวุยก๊กที่เป็นรัฐอริของง่อก๊ก เตงอิ๋นพยายามทัดทานแต่ไม่สำเร็จ[13] จูกัดเก๊กยังตั้งให้เตงอิ๋นเป็นแม่ทัพใต้นครหลวง (都下督 ตูเซี่ยตู) เพื่อดูแลราชการภายในหลังจูกัดเก๊กยกทัพออกไป เตงอิ๋นทำงานหนักทั้งวันทั้งคืน บางวันถึงขนาดไม่ได้นอนเลยทั้งคืน[14]
ในปี ค.ศ. 253 ซุนจุ๋นขุนพลง่อก๊กลอบสังหารจูกัดเก๊กผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์และเข้ากุมอำนาจปกครอง ขุนนางหลายคนเสนอให้แต่งตั้งซุนจุ๋นเป็นเสนาบดีกลาโหม (太尉 ไท่เว่ย์) และแต่งตั้งเตงอิ๋นเป็นเสนาบดีมหาดไทย (司徒 ซือถู) แต่ขุนนางที่สนับสนุนซุนจุ๋นคัดค้านข้อเสนอดังกล่าวด้วยเหตุผลว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการแบ่งขั้วทางการเมือง ท้ายที่สุดจึงมีเพียงซุนจุ๋นที่ได้เลื่อนขึ้นเป็นอัครมหาเสนาบดี (丞相 เฉิงเซี่ยง) และไม่ตั้งตำแหน่งขุนนางที่ปรึกษา (御史大夫 ยฺวี่ฉื่อต้าฟู) ขุนนางบัณฑิตหลายคนต่างรู้สึกผิดหวัง[15] เตงอิ๋นยังลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลว่าบุตรสาวของตนสมรสกับจูเก๋อ ส่ง (諸葛竦) บุตรชายของจูกัดเก๊ก แต่ซุนจุ๋นโน้มน้าวให้เตงอิ๋นคงดำรงตำแหน่งต่อไป และยังเลื่อนบรรดาศักดิ์ให้เตงอิ๋นเป็นเกามี่โหว (高密侯) แม้ว่าเตงอิ๋นและซุนจุ๋นไม่เข้ากันได้นัก แต่ทั้งคู่ก็มีท่าทีอดทนต่อกันและยังคงทำงานร่วมกันต่อไป[16]
ในปี ค.ศ. 256 เดือน 9 ของศักราชอู่เฟิ่ง (五鳳) ปีที่ 3 ซุนจุ๋นยกทัพบุกวุยก๊กแต่เสียชีวิตด้วยอาการป่วยกะทันหัน ซุนจุ๋นฝากฝังเรื่องในภายหน้าไว้กับซุนหลิมลูกพี่ลูกน้อง ซุนหลิมจึงได้กุมอำนาจบริหารราชสำนัก ลิกี๋ขุนพลง่อก๊กทราบเรื่องนี้ก็ตกใจอย่างมาก ในวันที่ 24 ตุลาคมของปีเดียวกัน[17][b] ลิกี๋และขุนพลคนอื่น ๆ เสนอให้แต่งตั้งเตงอิ๋นเป็นอัครมหาเสนาบดี (丞相 เฉิงเซี่ยง) แต่ซุนหลิมปฏิเสธ ในวันที่ 4 พฤศจิกายนของปีเดียวกัน[17][c] เตงอิ๋นได้รับการแต่งตั้งเป็นเสนาบดีกลาโหม (大司馬 ต้าซือหม่า) ทำหน้าที่รักษาบู๊เฉียง (武昌 อู่ชาง; ปัจจุบันคือนครเอ้อโจว มณฑลหูเป่ย์) แทนที่ลิต้ายซึ่งเพิ่งเสียชีวิตไปไม่นาน[18][19]
ต่อมาลิกี๋ส่งคนไปติดต่อเตงอิ๋นเพื่อชักชวนให้ร่วมวางแผนโค่นล้มซุนหลิม[20] ซุนหลิมล่วงรู้เรื่องนี้ ด้านหนึ่งจึงส่งกองกำลังเข้าโจมตีลิกี๋ อีกด้านหนึ่งส่งหฺวา หรง (華融) และติง เยี่ยน (丁晏) ไปแจ้งเตงอิ๋นให้ยกกำลังเข้าจับกุมลิกี๋ เตงอิ๋นทราบเรื่องที่เกิดขึ้นจึงรวบรวมทหารของตนเพื่อป้องกันตนเอง เตงอิ๋นบอกกับหยาง ฉง (楊崇) และซุน จือ (孫咨) ว่าซุนหลิมก่อกบฏ และบังคับหฺวา หรงและคนอื่น ๆ ให้เขียนหนังสือประณามซุนหลิม[21] หยาง ฉงและซุน จือไม่ยอมให้ความร่วมมือกับเตงอิ๋น ทั้งคู่จึงถูกสังหาร[22] ต่อมาซุนหลิมถวายฎีกากล่าวหาว่าเตงอิ๋นว่ารวบรวมทหารหวังก่อกบฏ แล้วส่งขุนพลเล่าเสง (劉丞 หลิว เฉิง) นำกองกำลังเข้าล้อมเตงอิ๋น[23] เตงอิ๋นเชื่อว่าลิกี๋จะนำกำลังมาสมทบกันตนตามเวลาที่นัดหมายกันไว้ จึงตั้งมั่นรอต่อไป ช่วงเวลานั้นเตงอิ๋นสีหน้าไม่เปลี่ยนแปลง พูดคุยหัวเราะตามปกติ แต่สุดท้ายลิกี๋ก็ไม่ได้ยกมาถึง กลับเป็นทัพของซุนหลิมที่รวบรวมกันมายกเข้าโจมตีเตงอิ๋น เตงอิ๋นและนายทหารคนอื่น ๆ หลายสิบนายถูกสังหาร ตระกูลของเตงอิ๋นก็ถูกสังหารสามชั่วโคตร[24] ซุนหลิมยังส่งจูอี้ให้ลอบเข้าโจมตีซุน อี (孫壹) พี่ชายของภรรยาของเตงอิ๋น (บุตรชายของซุน ฮฺว่าน) ซุน อีไหวตัวทันจึงนำกองกำลังของตนพร้อมพาภรรยาของเตงอิ๋นไปเข้าด้วยวุยก๊ก[25] ลูกเขยคนหนึ่งของเตงอิ๋นคืออู๋ จฺว่าน (吳纂) หลานชายของงอเก๋ง (吳景 อู๋ จิ่ง) มีส่วนเกี่ยวข้องก็ถูกสังหารเช่นเดียวกับเตงอิ๋น[26]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ชีวประวัติซุนเหลียงในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าเตงอิ๋นเสียชีวิตในวันติงเว่ย์ (丁未) ของเดือน 10 ในศักราชไท่ผิง (太平) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของซุนเหลียง[1] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 256 ในปฏิทินกริโกเรียน
- ↑ วันเหรินเฉิน (壬辰) เดือน 9 ของศักราชอู่เฟิ่ง (五鳳) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของซุนเหลียง
- ↑ วันกุ๋ยเหม่า (癸卯) เดือน 9 ของศักราชอู่เฟิ่ง (五鳳) ปีที่ 3 ในรัชสมัยของซุนเหลียง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ([太平元年]冬十月丁未,遣孫憲及丁奉、施寬等以舟兵逆據於江都,遣將軍劉丞督步騎攻胤。胤兵敗夷滅。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.
- ↑ (滕胤字承嗣,北海劇人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (伯父耽,父冑,與劉繇州裡通家。以世擾亂,渡江依繇。孫權為車騎將軍,拜耽右司馬,以寬厚稱,早卒,無嗣。冑善屬文,權待以賓禮,軍國書疏,常令損益潤色之,亦不幸短命。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (權為吳王,迫錄舊恩,封胤都亭侯。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (少有節操,美容儀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (弱冠尚公主。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (及孫綝誅滕胤、呂據,據、胤皆壹之妹夫也,壹弟封又知胤、據謀,自殺。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 31.
- ↑ (年三十,起家為丹楊太守,徙吳郡、會稽,所在見稱。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (胤每聽辭訟,斷罪法,察言觀色,務盡情理。人有窮冤悲苦之言,對之流涕。) อรรถาธิบายจากอู๋ชูในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (太元元年,權寢疾,詣都,留為太常;與諾葛恪等俱受遺詔輔政。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (權疾困,召恪、弘及太常滕胤、將軍呂據、侍中孫峻,屬以後事。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (孫亮即位,加衛將軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ ( 恪將悉眾伐魏。胤諫恪曰:「君以喪代之際,受伊、霍之託,入安本朝,出摧強敵,名聲振於海內,天下莫不震動,萬姓之心,冀得蒙君而息。今猥以勞役之後,興師出征,民疲力屈,遠主有備。若攻城不克,野略無獲,是喪前勞而招後責也。不如案甲息師,觀隙而動。且兵者大事,事以眾濟,眾苟不悅,君獨安之?」恪曰:「諸雲不可者,皆不見計算,懷居苟安者也,而子復以為然,吾何望焉?夫以曹勞暗劣,而政在私門,彼之臣民,固有離心。今吾因國家之資,借戰勝之威,則何往而不克哉!」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (以胤為都下督,掌統留事。胤白日接賓客,夜省文書,或通曉不寐。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (群臣上奏,共推峻為太尉,議胤為司徒。時有媚峻者,以為大統宜在公族,若滕胤為亞公,聲名素重,眾心所附,不可貳也。乃表以峻為丞相,又不置御史大夫,士人皆失望矣。) อรรถาธิบายจากอู๋ลู่ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (滕胤以恪子竦妻父辭位。峻曰:「鯀、禹罪不相及,滕侯何為?」峻、胤雖內不沾洽,而外相包容,進胤爵高密侯,共事如前。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ 17.0 17.1 "兩千年中西曆換算". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-15. สืบค้นเมื่อ 2020-09-13.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|dead-url=
ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=
) (help) - ↑ ([太平元年九月]壬辰,太白犯南斗,據、欽、咨等表薦衛將軍滕胤為丞相,綝不聽。癸卯,更以胤為大司馬,代呂岱駐武昌。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 48.
- ↑ (呂據聞之大恐,與諸督將連名,共表薦滕胤為丞相,綝以胤為大司馬,代呂岱駐武昌。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (據引兵還,使人報胤,欲共廢綝。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (綝聞之,遣從兄慮將兵逆據於江都,使中使敕文欽、劉纂、唐諮等合眾擊據,遣侍中左將軍華融、中書丞丁晏告胤取據,並喻胤宜速去意,胤自以禍及,因留融、晏,勒兵自衛,召典軍揚崇、將軍孫諮,告以綝為亂,迫融等使有書難綝。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (胤又劫融等使詐詔發兵。融等不從,胤皆殺之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (綝不聽,表言胤反,許將軍劉丞以封爵,使率兵騎急攻圍胤。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (〉胤顏色不變,談笑若常。或勸胤引兵至蒼龍門,「將士見公出,必皆委綝就公」。時夜已半,胤恃與據期。又難舉兵向富,乃約令部曲,說呂侯以在近道,故皆為胤盡死,無離散者。時大風,比曉,據不至。綝兵大會,遂殺及將士數十人,夷胤三族。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 64.
- ↑ (及孫綝誅滕胤、呂據,據、胤皆壹皆之妹夫也,壹弟封又知胤、據謀,自殺。綝遣朱異潛襲壹。異至武昌,壹知其攻己,率部曲千餘口過將胤妻奔魏。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 51.
- ↑ (子纂嗣。纂妻即滕胤女也,胤被誅,竝遇害。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 50.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).