อีจ้วน
อีจ้วน (ยฺหวี เฉฺวียน) | |
---|---|
於詮 / 於銓 | |
ขุนพล (將軍 เจียงจวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 258 | |
กษัตริย์ | ซุนเหลียง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ |
เสียชีวิต | 10 เมษายน ค.ศ. 258 |
อาชีพ | ขุนพล |
อีจ้วน[1], อิ๋นจวน[2], อีจวน[3] หรือ อีจอ[4] (เสียชีวิต 10 เมษายน ค.ศ. 258[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า ยฺหวี เฉฺวียน (จีน: 於詮 หรือ 於銓; พินอิน: Yú Quán) เป็นขุนพลของรัฐง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน
ประวัติ
[แก้]ในปี ค.ศ. 257 จูกัดเอี๋ยนขุนพลของรัฐวุยก๊กก่อกบฏที่อำเภอฉิวฉุน (壽春 โช่วชุน; ปัจจุบันคืออำเภอโช่ว นครลู่อาน มณฑลอานฮุย) เพื่อต่อต้านสุมาเจียวผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งวุยก๊ก จูกัดเอี๋ยนส่งจูกัดเจ้งบุตรชายและงอก๋งหัวหน้าเสมียน (長史 จ๋างฉื่อ) ไปขอการสนับสนุนจากง่อก๊กที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก ซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งรัฐง่อก๊กจึงส่งบุนขิม, จวนเต๊ก (全懌 เฉฺวียน อี้) , จวนตวน (全端 เฉวียน ตวาน), ต๋องจู (唐咨 ถาง จือ), หวาง จั้ว (王祚) และนายทหารคนอื่น ๆ ให้นำกำลังพลง่อก๊ก 30,000 นายไปสนับสนุนการก่อกบฏของจูกัดเอี๋ยน[6] อีจ้วนได้ติดตามมาในกองกำลังนี้ด้วย
ในปี ค.ศ. 258 กองทัพวุยก๊กนำโดยสุมาเจียวยึดอำเภอฉิวฉุุนได้ จูกัดเอี๋ยนพยายามตีฝ่าวงล้อมหนีไปแต่ถูกเฮาหุน (胡奮 หู เฟิ่น) นายทหารใต้บังคับบัญชาของสุมาเจียวสังหาร ด้านอีจ้วนพูดว่า "ลูกผู้ชายได้รับคำสั่งจากนายให้นำทหารไปช่วยคน หากช่วยไม่ได้แล้วยังต้องยอมจำนนต่อข้าศึก ข้าก็ไม่อาจยอมรับได้" อีจ้วนจึงถอดเกราะออกแล้วพุ่งเข้าต่อสู้จนเสียชีวิตในที่รบ[7][8]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ บทชีวประวัติสุมาเจียวในจิ้นชูระบุว่าจูกัดเอี๋ยนถูกสังหารในวันอี๋โหย่ว (乙酉) ในเดือน 2 ของศักราชกำลอ (甘露 กานลู่) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของโจมอ[5] วันที่นี้เทียบได้กับวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 258 ในปฏิทินกริกอเรียน อีจ้วนเสียชีวิตในวันเดียวกันนี้
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ("ฝ่ายอองกิ๋มคุมทหารตีเข้าไปทางประตูทิศตวันตก พบอีจ้วนนายทหารเมืองกังตั๋งเข้าจึงร้องว่า ท่านยังจะรบไปถึงไหน เร่งมาสมัคด้วยเราเถิดจะรอดชีวิต อีจ้วนได้ยินดังนั้นก็โกรธนักจึงร้องว่า เรารับคำนายเรายกทัพมาช่วยจูกัดเอี๋ยน เรามาช่วยก็มิได้ ซึ่งจะสมัคเข้าด้วยท่านนั้นหาควรไม่ ด้วยเราเปนคนมีความสัตย์") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 9, 2024.
- ↑ ("ซุนหลิมก็เชื่อจึงให้นายทหารชื่อว่าจวนต๊กจวนต๋วนสองคนเปนแม่ทัพหลวง อิ๋นจวนเปนทัพหนุน ให้จูอี้ต๋องอู่สองคนเปนกองหน้า ให้บุนขิมนำหนทาง ทหารทั้งสามกองนั้นเปนคนเจ็ดหมื่นยกไปช่วยจูกัดเอี๋ยน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 9, 2024.
- ↑ ("อีจวนแม่ทัพหนุนจึงว่า ทิศข้างใต้ข้าศึกหาล้อมไม่ ข้าพเจ้าขอยกกองทัพเข้าไปช่วยจูกัดเอี๋ยนรักษาเมืองไว้ ท่านจงยกทหารเข้าตีกองทัพวุยก๊ก ข้าพเจ้าจึงจะยกทหารในเมืองเข้าตีกระหนาบออกมา เห็นว่ากองทัพวุยก๊กจะแตกเปนมั่นคง") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 9, 2024.
- ↑ ("จูอี้เห็นชอบด้วย จึงให้อีจอจวนเต๊กจวนตวนบุนขิมนายทหารสี่คนคุมทหารหมื่นหนึ่งยกเข้าไปทางประตูทิศใต้") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ August 9, 2024.
- ↑ [(甘露三年)二月乙酉,...,斩诞.] จิ้นชู เล่มที่ 2
- ↑ (遣長史吳綱將小子靚至吳請救。吳人大喜,遣將全懌、全端、唐咨、王祚等,率三萬眾,密與文欽俱來應誕。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (吳將於詮曰:「大丈夫受命其主,以兵救人,既不能克,又束手於敵,吾弗取也。」乃免冑冒陳而死。) อรรถาธิบายจากจิ้นจี้ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (吳將於詮曰:「大丈夫受命其主,以兵救人,既不能克,又束手於敵,吾弗取也。」乃免冑冒陳而死。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.