ข้ามไปเนื้อหา

อองซก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อองซก (หวาง ซู่)
王肅
เสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 256 (256)
กษัตริย์โจฮอง / โจมอ
เจ้าเมืองโห้หล้ำ (河南尹 เหอหนานอิ่น)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
เจ้าเมืองกว่างผิง (廣平太守 กว่างผิงไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 240 (240) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจฮอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดค.ศ. 195
เสียชีวิตระหว่างวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 และ 31 มกราคม ค.ศ. 257[a] (61 ปี)
คู่สมรสหยางชื่อ (羊氏)[b]
เซี่ยโหวชื่อ (夏侯氏)[c]
บุตร
บุพการี
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองจื่อยง (子雍)
สมัญญานามจิ่งโหว (景侯)
บรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯)

อองซก[4] (ค.ศ. 195–256)[5] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หวาง ซู่ (จีน: 王肅; พินอิน: Wáng Sù) ชื่อรอง จื่อยง (จีน: 子雍; พินอิน: Zǐyōng) เป็นขุนนางและบัณฑิตลัทธิขงจื๊อของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน เป็นบุตรชายของอองลอง เมื่อบู๊ขิวเขียมเริ่มก่อกบฏในฉิวฉุน อองซกแนะนำสุมาสูให้บั่นทอนขวัญกำลังใจของกลุ่มกบฏโดยการปฏิบัติต่อครอบครัวของกลุ่มกบฏอย่างให้เกียรติ ต่อมาออกซกทูลขอโจมอให้สุมาเจียวเป็นผู้สืบทอดอำนาจถัดจากสุมาสูในฐานะผู้สำเร็จราชการแห่งวุยก๊ก[6]

บุตรสาวของอองซกชื่อหวาง ยฺเหวียนจี (王元姬) สมรสกับสุมาเจียวและให้กำเนิดสุมาเอี๋ยน (จักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์จิ้น) ในปี ค.ศ. 236 อองซกจึงเป็นตาของสุมาเอี๋ยน อองซกได้สืบทอดตำแหน่งและบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯) จากอองลองผู้บิดา[7]

อองซกรวบรวมขงจื่อเจีย-ยฺหวี่ (孔子家語; คำสอนในสำนักของขงจื๊อ) ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งเป็นคำสอนของขงจื๊อที่ไม่ได้รวมอยู่ในหลุน-ยฺหวี่ (論語) นักวิชาการกังขามาเป็นเวลานานว่าอาจเป็นงานปลอมแปลงโดยอองซก[5] แต่ตำราที่ค้นพบในปี ค.ศ. 1977 จากสุสานซฺวางกู่ตุน (雙古堆; ปิดผนึกในปี ค.ศ. 165) ที่มีชื่อว่า หรูเจียเจ่อเหยียน (儒家者言, คำสอนสำนักหรู) มีเนื้อหาที่คล้ายกับในขงจื่อเจีย-ยฺหวี่[8]

ประวัติ[แก้]

อองซกเป็นชาวอำเภอถาน (郯縣 ถานเซี่ยน) เมืองตองไฮ (東海郡 ตงไห่จฺวิ้น) ซึ่งอยู่บริเวณอำเภอถานเฉิง มณฑลชานตงในปัจจุบัน บิดาของอองซกคืออองลองขุนนางและขุนศึกในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อองซกเกิดในปี ค.ศ. 195 ในเมืองห้อยเข (會稽郡 ไคว่จีจฺวิ้น)[9] ขณะนั้นอองลองผู้บิดาดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองห้อยเข

ในปี ค.ศ. 212 อองซกมีอายุ 18 ปี ได้ศึกษาคัมภัร์ไท่เสฺวียนจิง (太玄經) กับซงต๋ง (宋忠 ซ่ง จง)[10]

ในรัชสมัยของโจผีจักรพรรดิผู้ก่อตั้งรัฐวุยก๊ก อองซกได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ทหารม้ามหาดเล็ก (散騎侍郎 ซ่านฉีชื่อหลาง) และเจ้าหน้าที่สำนักประตูเหลือง (黃門侍郎 หฺวางเหมินชื่อหลาง) ในราชสำนักวุยก๊ก[11]

ในปี ค.ศ. 228 อองลองเสียชีวิต อองซกสืบทอดบรรดาศักดิ์หลานหลิงโหว (蘭陵侯) ของบิดา[12]

ในปี ค.ศ. 229 อองซกขึ้นมามีตำแหน่งเป็นนายทหารม้ามหาดเล็ก (散騎常侍 ซ่านฉีฉางชื่อ)[13] ภายหลังได้รับตำแหน่งเพิ่มเติมเป็นหัวหน้าห้องสมุดหลวง (祕書監 มี่ซูเจียน) และขุนนางผู้ประกอบพิธีบวงสรวงและสังเกตวรรณกรรม (崇文觀祭酒 ฉงเหวินกวานจี้จิ่ว)[14]

ในปี ค.ศ. 240 อองซกดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองกว่างผิง (廣平郡 กว่างผิงจฺวิ้น)[15] ภายหลังราชสำนักเรียกตัวอองซกกลับมาด้วยราชการใหญ่ และแต่งตั้งให้อองซกเป็นขุนนางที่ปรึกษา (議郎 อี้หลาง)[16] หลังจากนั้นไม่นานอองซกก็ได้ขึ้นเป็นขุนนางมหาดเล็ก (侍中 ชื่อจง) และเลื่อนขึ้นเป็นเสนาบดีพิธีการ (太常 ไท่ฉาง)[17] เวลานั้นโจซองขึ้นมามีอำนาจในราชสำนัก อองซกมีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาด้านพิธีกรรมที่ศาลบรรพชนจึงถูกปลดจากตำแหน่ง[18] ต่อมาไม่นานได้รับราชการในตำแหน่งเจ้าเมือง (尹 อิ่น) ของเมืองโห้หล้ำ (河南郡 เหอหนานจฺวิ้น)[19]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. บทชีวประวัติอองซกในจดหมายเหตุสามก๊กบันทึกว่าอองซกเสียชีวิตในศักราชกำลอ (กานลู่; ค.ศ. 256-260) ปีที่ 1 ในรัชสมัยของโจมอ[1] ในบทพระราชประวัติโจมอยังบันทึกว่าจักรพรรดิโจมอทรงเสด็จเยี่ยมสำนักศึกษาไท่เสฺว (太学) ในวันปิ่งเฉิน (丙辰) ของเดือน 4 ในปีนั้น ระหว่างการเสด็จเยือน อองซกได้ทูลตอบข้อซักถามของโจมอ อองซกจึงต้องเสียชีวิตหลังวันที่โจมอเสด็จเยือนซึ่งเทียบได้กับวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 256 ในปฏิทินจูเลียน ศักราชกำลอปีที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม ค.ศ. 257 ในปฏิทินจูเลียน
  2. หยางชื่อเป็นมารดาของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 267 หวางชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็นเซี่ยนจฺวิน (县君) และได้รับสมัญญานามว่า 'จิ้ง" (靖) สมัญญานามเต็มเป็น "ผิงหยางจิ้งจฺวิน" (平阳靖君)[2] ไม่ทราบแน่ชัดว่าหยางชื่อมีความเกี่ยวข้องกับเอียวเก๋า (羊祜 หยาง ฮู่) และหยาง ฮุย-ยฺหวี (羊徽瑜) หรือไม่
  3. เซี่ยโหวชื่อเป็นมารดาเลี้ยงของหวาง ยฺเหวียนจี ในปี ค.ศ. 286 เซี่ยโหวชื่อได้รับตำแหน่งหลังมรณกรรมเป็น"เซี่ยงจฺวินแห่งเอ๊งหยง" (荥阳乡君 สิงหยางเซี่ยงจฺวิน)[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. (甘露元年薨, ...) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  2. (帝以后母羊氏未崇谥号,泰始三年下诏曰:“...其封夫人为县君,依德纪谥,主者详如旧典。”于是使使持节谒者何融追谥为平阳靖君。) จิ้นชู เล่มที่ 31.
  3. (太康七年,追赠继祖母夏侯氏为荥阳乡君。) จิ้นชู เล่มที่ 31
  4. "สามก๊ก ตอนที่ ๘๑". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ June 19, 2024.
  5. 5.0 5.1 Goldin, Paul Rakita (1999). Rituals of the Way: The Philosophy of Xunzi. Open Court Publishing. p. 135. ISBN 978-0-8126-9400-0.
  6. จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  7. จิ้นชู เล่มที่ 31.
  8. Shaughnessy, Edward L. (2014). Unearthing the Changes: Recently Discovered Manuscripts of the Yi Jing ( I Ching) and Related Texts. Columbia University Press. p. 190. ISBN 978-0-231-16184-8.
  9. (肅父朗與許靖書云:肅生於會稽。) อรรถาธิบายของเผย์ ซงจือในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  10. (年十八,從宋忠讀太玄,而更爲之解。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  11. (黃初中,爲散騎黃門侍郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  12. (太和二年薨,謚曰成侯。子肅嗣。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  13. (太和三年,拜散騎常侍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  14. (後肅以常侍領祕書監,兼崇文觀祭酒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  15. (正始元年,出爲廣平太守。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  16. (公事徵還,拜議郎。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  17. (頃之,爲侍中,遷太常。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  18. (坐宗廟事免。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.
  19. (徙爲河南尹。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 13.

บรรณานุกรม[แก้]