พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
อธิบดีกรมโขลน | |
ประสูติ | 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 |
สิ้นพระชนม์ | 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (94 ปี) |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว |
พระมารดา | เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี (อ่านว่า ทิบ-พะ-รัด-กิ-ริด-กุ-ลิ-นี) (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) หรือที่เรียกกันว่า เสด็จอธิบดี ทรงเป็นอธิบดีหญิงพระองค์แรกของสยาม เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 เป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาในสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
พระประวัติ
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 มีพระเชษฐาและพระเชษฐภคินีร่วมพระมารดาเดียวกัน 4 พระองค์ ได้แก่ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแดง พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเขียว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบงเบิกบาน และสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ประพาสทวีปยุโรป และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน พระองค์เจ้านภาพรประภานี้ได้ทรงรับราชการเป็น "เสด็จอธิบดี" ทรงว่ากล่าวควบคุมความเรียบร้อยและความเป็นไปทุกอย่างในพระบรมมหาราชวัง ร่ำลือกันว่าผู้คนเกรงกลัว "เสด็จอธิบดี" เสียยิ่งกว่า "สมเด็จรีเยนท์" (สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ) เสียอีก[ต้องการอ้างอิง]
ในฐานะที่เป็นพระโสทรกนิษฐาของ "เสด็จพระนาง" (ขณะทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี) พระองค์เจ้านภาพรประภาจึงประทับอยู่ในตำหนักเดียวกัน พร้อมกับพระมารดาคือเจ้าคุณจอมมารดาสำลี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต นอกจากนี้ยังทรงสนิทสนมกับสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถอีกด้วยในฐานะที่ทรงเป็น "พระเจ้าลูกเธอชั้นเล็ก" เช่นกัน โดยเฉพาะกับสมเด็จพระศรีพัชรินทราฯ นั้นนอกจากจะทรงวิสาสะกันในฐานะเจ้าพี่เจ้าน้องแล้ว ยังทรงรับผิดชอบบริหารงานราชการฝ่ายในร่วมกัน และได้ทรงเลี้ยงดูพระราชโอรสพระองค์หนึ่งในสมเด็จพระศรีพัชรินทรา (ซึ่งก็นับว่าเป็นพระราชภาติยะของพระองค์ทั้งสองฝ่าย) คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ถึงขนาด "ทูลกระหม่อมเอียด" รับสั่งว่า "หากไม่ติดเกรงพระทัยทูลกระหม่อมชาย อยากจะทูลเชิญเสด็จน้ามาประทับอยู่ด้วยกัน"
อธิบดีหญิงพระองค์แรกของไทย
[แก้]พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรครราชเทวี ทรงเมตตา พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา มาแต่ทรงพระเยาว์ ทั้งพระโสทรเชษฐภคินีของพระองค์ คือพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ด้วยเหตุนี้จึงทรงมีโอกาสได้ถวายงานสนองพระเดชพระคุณอย่างใกล้ชิด ประกอบกับทรงพระปรีชาสามารถปฏิบัติงานการที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จเป็นที่พอพระราชหฤทัย เมื่อโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งสถาบันอันเป็นสาธารณประโยชน์ และมีสตรีร่วมดำเนินงานด้วย พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา ก็มักทรงได้รับเลือกให้อยู่ในคณะผู้ดำเนินงาน อาทิ ทรงเป็นอุปนายกหอพระสมุดวชิรญาณ ทรงเป็นผู้ช่วยเลขานุการิณีสภาอุณาโลมแดง หรือสภากาชาดไทยในปัจจุบัน
เมื่อวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ระหว่าง พ.ศ. 2436-2437 ค่อยคลี่คลายลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเห็นสมควรเสด็จพระราชดำเนินไปเจริญทางพระราชไมตรี และทำความรู้จักคุ้นเคยกับประมุขของประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปด้วยพระองค์เอง ในปี พ.ศ. 2440 จึงเสด็จพระราชดำเนินประพาสยุโรปครั้งแรก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรครราชเทวี เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ส่วนราชการภายในพระบรมมหาราชวังนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระเจ้าน้องนางเธอสองพระองค์ คือ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา และพระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ ทรงช่วยบัญชาการ
พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความสุจริตเที่ยงธรรม กอปรด้วยเชาวน์ปฏิภาณ ทรงสามารถจัดการงานทั้งปวงได้เรียบร้อยสมกับเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากประพาสยุโรปแล้ว โปรดให้เพิ่มอำนาจหน้าที่การบังคับบัญชาราชการฝ่ายในมากขึ้น จนในที่สุดทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา ทรงดำรงตำแหน่ง "อธิบดีกรมโขลน ขึ้นอยู่ในสังกัดกระทรวงวัง เรียกกันเป็นสามัญว่า อธิบดีฝ่ายใน พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา จึงเป็นสตรีไทยพระองค์แรกที่ทรงรับราชการอย่างบุรุษจนได้เป็นอธิบดีและได้รับการขนานพระนามว่า เสด็จอธิบดี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา ยังทรงดำรงตำแหน่งอธิบดี บัญชาราชการฝ่ายใน และในตอนปลายรัชสมัยทรงรับหน้าที่เป็นผู้แทนพระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายใน กราบบังคมทูลถวายพระพรชัยมงคลในวันฉัตรมงคล ในฐานะพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ อันนับเป็นเกียรติยศสูงสุดอีกประการหนึ่ง
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา ได้ทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินในตำแหน่งอธิบดีบัญชาราชการฝ่ายในสืบมาถึง 3 รัชกาล เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาพระอิสริยศักดิ์ให้ทรงกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี[1] นับเป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพียงหนึ่งในสี่พระองค์ที่ได้ทรงกรม หนึ่งในสองพระองค์ที่ทรงกรมขณะมีพระชนม์ชีพ และพระองค์เดียวที่ได้รับการสถาปนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี เคยกราบบังคมทูลลาออกจากราชการ แต่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่ทรงพระอนุญาต จึงทรงรับราชการเรื่อยมาจนถึงการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระองค์จึงได้เสด็จลี้ภัยตามสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต พระภาคิไนย ไปประทับที่เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ในระหว่างที่ประทับรถไฟ ทรงดำริว่าที่เมืองบันดุงจะหาหมากเสวยได้ลำบาก หากยังจะเสวยหมากอยู่อีกจะเป็นภาระและยุ่งยากนัก ด้วยความเด็ดเดี่ยวในพระทัย จึงทรงโยนเชี่ยนหมากทิ้งตรงชายแดนไทย-มาเลเซีย นับแต่นั้นมาก็ไม่เสวยหมากอีกเลย แม้เมื่อเหตุการณ์สงบและเสด็จกลับมาเมืองไทยและประทับที่วังสวนผักกาดแล้วก็ตาม เมื่อมีพระชันษาสูงขึ้น พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรับสั่งให้สร้างตำหนักเล็กอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อเสด็จอธิบดีจะได้ไปประทับและพระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่ที่นั้นตราบสิ้นพระชนม์
เมื่อคราวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี ในฐานะที่เป็นพระบรมวงศ์ฝ่ายในที่มีพระชันษามากเป็นอันดับที่สองรองจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ซึ่งมีพระชนมายุมากแล้ว พระองค์จึงทรงร่วมกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี พระขนิษฐาต่างพระมารดา เป็นผู้ลาดพระที่ถวายในคราวนั้นด้วย
สิ้นพระชนม์
[แก้]พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 สิริพระชันษา 94 ปี และดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์ต่อจากสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวีพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระเกียรติยศ
[แก้]ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี | |
---|---|
ธงประจำพระอิสริยยศ | |
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระอิสริยยศ
[แก้]- พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา (13 พฤษภาคม พ.ศ. 2407 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411)
- พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470)
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2464 – เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ (ม.จ.ก.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2474 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายใน)
- พ.ศ. 2446 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายใน)[2]
- พ.ศ. 2447 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 3 (ม.ป.ร.3)[3]
- พ.ศ. 2444 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 5 ชั้นที่ 2 (จ.ป.ร.2)[4]
- พ.ศ. 2463 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 1 (ว.ป.ร.1)[5]
- พ.ศ. 2454 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6 ชั้นที่ 2 (ว.ป.ร.2)
- พ.ศ. 2469 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 1 (ป.ป.ร.1)[6]
- พ.ศ. 2496 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[7]
พงศาวลี
[แก้]พงศาวลีของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฎกุลินี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาตั้งกรม, เล่ม 44, ตอน 0 ก, 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470, หน้า 248
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายใน, เล่ม 20, ตอน 35, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2446, หน้า 615
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายหน้า และฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 18, 16 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120, หน้า 875
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน, เล่ม 37, ตอน 0, 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2463, หน้า 3731
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายใน เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 43, ตอน 0 ง, 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2469, หน้า 3114
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 17 ง, 10 มีนาคม พ.ศ. 2496, หน้า 1010
- [1] เก็บถาวร 2007-09-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี (17 ธันวาคม พ.ศ. 2498 – 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารี |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2407
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2501
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
- กรมหลวง
- พระราชธิดาในรัชกาลที่ 4
- สกุลบุนนาค
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.จ.ก. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ น.ร.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.จ. (ฝ่ายใน)
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ม.ป.ร.3
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ว.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ป.ป.ร.1
- ผู้ได้รับเหรียญรัตนาภรณ์ ภ.ป.ร.1
- พระกุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี