เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่)
เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) | |
---|---|
เสนาบดีกรมคลัง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2276 – พ.ศ. 2295 | |
กษัตริย์ | สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ |
ก่อนหน้า | ออกญาโกษาธิบดี (จีน) |
ถัดไป | พระยาพระคลัง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2295 อาณาจักรอยุธยา |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงน้อย |
บุตร | พระยาจินดารังสรรค์ |
บุพการี |
|
เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ นามเดิม อู่ เป็นเสนาบดีกรมคลังในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ[1]
ประวัติ
[แก้]ต้นตระกูลของเจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์เป็นพราหมณ์มาจากประเทศอินเดีย บิดาคือเจ้าพระยาพิษณุโลก (เมฆ) ได้ละเพศพราหมณ์ เข้ามารับราชการในราชสํานักอยุธยา นายอู่เข้ารับราชการในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รับความดีความชอบ เติบโตในชีวิตราชการเป็นลําดับ[2]
พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปราดาภิเษกในปี พ.ศ. 2276 ได้ตั้งขุนชำนาญเป็นเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ว่าที่โกษาธิบดี[3] ภริยาชื่อท่านผู้หญิงน้อย จวนเจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์อยู่ที่ริมประตูจีน[4]: 83 ทางทิศใต้ในกำแพงกรุงศรีอยุธยา
พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเจ้าพระยาชำนาญฯ ป่วยเป็นลม อัมพาตอยู่ 4 เดือนเศษจึงถึงแก่อสัญกรรม ได้รับพระราชทานโกศ แต่งศพใส่เครื่องและชฎา[ก]อย่างเจ้าต่างกรมและให้เรียกศพว่าพระศพเป็นกรณีพิเศษ โปรดให้ทำพระเมรุ ณ วัดไชยวัฒนาราม เสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ แล้วโปรดตั้งพระยาพิพัทธโกษาซึ่งเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาชำนาญฯ เป็นพระยาพระคลัง[5] ปีที่เจ้าพระยาชํานาญบริรักษ์ถึงแก่อสัญกรรม มีการคํานวณไว้ว่า ตรงกับปี พ.ศ. 2295[2]
บรรดาศักดิ์
[แก้]- ขุนชำนาญชาญณรงค์ (อู่)[6]: 317
- เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ว่าที่โกษาธิบดี ศักดินา 10000[6]: 318
- เจ้าพระยามหาอุปราช ชาติวรวงศ์องค์ภักดีบดินทร์ สุรินทร์เดโชชัยมหัยสริยภักดีอาญาธิราช[7]: 73 [8]: 36 [9]: 39 ว่าการพระคลัง ศักดินา 10000
ลำดับสาแหรก
[แก้]ลำดับสาแหรกของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
หมายเหตุ
[แก้]ก ตามธรรมเนียมขุนนางถึงแก่อสัญกรรมจะได้ใส่ลอมพอก
อ้างอิง
[แก้]- เชิงอรรถ
- ↑ ปวัตร์ นวะมะรัตน (25 ธันวาคม 2561). "แกะรอยเจ้าพระยาชำนาญฯ ผู้พิทักษ์ราชบัลลังก์บ้านพลูหลวง คนโปรดผู้นำ-ผิดก็ไม่โดนลงโทษ". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2561.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 "เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ ผู้พิทักษ์บัลลังก์บ้านพลูหลวง คนโปรดผู้นำ-ผิดก็ไม่โดนลงโทษ". ศิลปวัฒนธรรม.
- ↑ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น, หน้า 356
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา. (2531). เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป. (ฉบับพิมพ์ซ้ำ). กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงเทพ. 262 หน้า. ISBN 978-9-748-67331-8
- ↑ พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน, หน้า 321
- ↑ 6.0 6.1 ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๘๒ เรื่อง พระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียมกรุงลอนดอน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, 2537. 423 หน้า. ISBN 978-974-4-19025-3
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จ ฯ กรมพระยา. (2531). เรื่องประดิษฐานพระสงฆ์สยามวงศ์ในลังกาทวีป. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. 288 หน้า. ISBN 978-974-8-67331-8 อ้างใน จดหมายเหตุราชทูตลังกา.
- ↑ ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. (2515). ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บรรณกิจเทรดดิ้ง. 499 หน้า.
- ↑ ประยุทธ สิทธิพันธ์. (2520). ขุนนางสยาม. กรุงเทพฯ: สยาม. 376 หน้า.
- บรรณานุกรม
- พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ตรวจสอบชำระจากเอกสารตัวเขียน. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง, 2558. 558 หน้า. หน้า (38)-(39), (41). ISBN 978-616-92351-0-1
- พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น. นนทบุรี : ศรีปัญญา, 2553. 800 หน้า. ISBN 978-616-7146-08-9