ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์

พิกัด: 13°43′55″N 100°30′59″E / 13.7319855°N 100.5164534°E / 13.7319855; 100.5164534
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์
Satree Wat Mahapruttaram Girls' School under the Royal Patronage of her Majesty the Queen
ที่ตั้ง
แผนที่
ข้อมูล
ชื่ออื่นม.พ.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
สถาปนา3 ธันวาคม พ.ศ. 2461
เขตการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2
ผู้อำนวยการนางสาวระวีวรรณ เลขนาวิน
ระดับปีที่จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา
จำนวนนักเรียน2,142 คน
สี   กรมท่า-ฟ้า
คำขวัญธมฺเมน กิตฺติ ปปฺโปติ
บุคคลย่อมได้เกียรติ เพราะประพฤติธรรม
เพลงเพลงมาร์ชมหาพฤฒาราม โดย วงดนตรีสุนทราภรณ์
เว็บไซต์www.mps.ac.th

โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นโรงเรียนสตรีในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ เปิดทำการสอนครั้งแรกเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2551 ได้ฉายานามว่าเป็น "โรงเรียนหมายเลขสอง" โดยผู้ที่เข้าเรียนจะเรียกว่า "พลเมืองหมายเลขสอง" โดยฉายานี้มีที่มาจากโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่บุตรี เผือดผ่องศึกษาอยู่

ประวัติโรงเรียน

[แก้]
  • 12 ธันวาคม พ.ศ. 2461 เปิดสอนครั้งแรก โดยทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีจำนวนนักเรียน 109 คน อาจารย์ 3 คน และมี นางสุภาพ ตีระนันทน์ เป็นครูใหญ่ ต่อมาได้เพิ่มชั้นเรียนตามลำดับ จากชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จนถึงมัธยมปีที่ 8 แต่ต่อมาได้ทำการยุบชั้นมัธยมปีที่ 7 – 8 ตามแผนการศึกษาของชาติสมัยนั้น

พ.ศ. 2514 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีมหาพฤฒาราม

พ.ศ. 2518 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับสมาคมสตรีมหาพฤฒาราม และโรงเรียนสตรีมหาพฤฒารามเข้าอยู่ในพระบรมราชินูปถัมภ์ โดยโรงเรียนได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณอันล้นเกล้าฯ จากสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโรงเรียนถึง 3 ครั้ง

    • ครั้งแรก 10 กันยายน พ.ศ. 2499 เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมโรงเรียนเป็นการส่วนพระองค์
    • ครั้งที่สอง 25 ธันวาคม พ.ศ. 2504 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานพิธีเปิดหอประชุมและอาคารเรียน
    • ครั้งที่สาม 1 มีนาคม พ.ศ. 2511 เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานในงานฉลองครบ 50 ปี ของโรงเรียน

พ.ศ. 2539 เปลื่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ตามความประสงค์ของกรมสามัญศึกษาเพื่อความเหมาะสม

พ.ศ. 2544 ได้เร่งพัฒนาทางด้านวิชาการ พร้อมกับการพัฒนาของโรงเรียนเพื่อให้โรงเรียนมีความพร้อมเต็มที่ในการปฏิรูปการศึกษา โดยเร่งส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอนสนับสนุนให้มีครูแกนนำ ครูต้นแบบ ครูแห่งชาติ ฯลฯ ตลอดจนการระดมสรรพกำลังจากชุมชนท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ทั้งนี้โรงเรียนมีการเน้นการพัฒนานักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน และพัฒนาครูอาจารย์ด้านทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ฝึกให้นักเรียนคิดและปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษา

ผู้อำนวยการโรงเรียน

[แก้]
  1. นางสุภาพ ตีระนันท์ (พ.ศ. 2461-2486)
  2. นางเสนาะจิต สุวรรณโพธิ์ศรี (พ.ศ. 2486-2496)
  3. นางระเบียบ ลิมอักษร (พ.ศ. 2496-2497)
  4. คุณหญิงบุญเจือ ไชยภัฎ (พ.ศ. 2497-2511)
  5. คุณหญิงสนองนาฏ จารุดิลก (พ.ศ. 2511-2525)
  6. นางวิเชียร สามารถ (พ.ศ. 2525-2533)
  7. นางสุมาลี รัตนปราการ (พ.ศ. 2533-2537)
  8. นางผ่องศรี เกษมสันต์ ณ อยุธยา (พ.ศ. 2537-2539)
  9. นางสมใจ ไกรยูรวงศ์ (พ.ศ. 2539-2541)
  10. นายประวิทย์ พฤทธิกุล (พ.ศ. 2541-2543)
  11. นางสาวเฟื่องฟ้า ประดิษฐพจน์ (พ.ศ. 2543 - 2544)
  12. นางรัตนา เชาว์ปรีชา (พ.ศ. 2544 - 2551)
  13. นางสุกัญญา ภู่พันธาภักดิ์ (พ.ศ. 2551 - 2554)
  14. นายธีระพงศ์ นิยมทอง (พ.ศ. 2554 - 2557)
  15. นางอาลัย พรหมชนะ (พ.ศ. 2557 - 2562)
  16. นางสาวระวีวรรณ เลขนาวิน (พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)

สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน

[แก้]
ดอกบัวหลวง สัญลักษณ์ของโรงเรียน

"พึงถือดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ประจำ ยึดมั่นในอุดมคติที่จะนำเหล่าหนึ่งในดอกบัวหลวง ให้ผุดพ้นสายธาร บานรับแสงรวีได้ในการต่อไป"

ความหมายของสีประจำโรงเรียน

[แก้]
  • กรมท่า   หมายถึง ความมั่นคง และความสงบสุข
  • ฟ้า   หมายถึง ความรุ่งโรจน์ และความสดใส

รายละเอียดภายในโรงเรียน

[แก้]

ปัจจุบันเปิดสอนในช่วงชั้นที่ 3 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3) และช่วงชั้นที่ 4 (ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6) จัดการศึกษาเฉพาะนักเรียนหญิง มีเนื้อที่ 5 ไร่ 65.86 ตารางวา มีอาคารเรียนถาวรเป็นตึก 5 หลัง

  • อาคาร 1 (ตึกโสณบัณฑิต) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 2 (ตึกพิทยลาภ) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 3 (ตึกศรีพฤฒา) อาคาร 5 ชั้น
  • อาคาร 4 (ตึกสมจิตต์) อาคาร 2 ชั้น ชั้นบนเป็นหอประชุม ชั้นล่างเป็นโรงอาหาร
  • อาคาร 5 (ตึกคหกรรม) อาคาร 4 ชั้น
  • อาคาร 6 (อาคารรวมน้ำใจ) อาคาร 4 ชั้น อาคารสร้างใหม่ปี พ.ศ. 2540

โรงเรียนมัธยมศึกษาใกล้เคียง

[แก้]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°43′55″N 100°30′59″E / 13.7319855°N 100.5164534°E / 13.7319855; 100.5164534