ข้ามไปเนื้อหา

รัฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รัฐ (อังกฤษ: state) เป็นหน่วยการเมืองที่มีบทบาทในการผูกขาดการใช้อำนาจการปกครองสังคมและพลเมืองภายในดินแดนใต้อธิปไตยของตน[1] ประกอบกับมีองค์กรอย่างรัฐบาลที่ทำหน้าที่ในการปกครองรัฐชาติสมัยใหม่[2][3]

ประเทศส่วนใหญ่มักมีรูปแบบการปกครองในลักษณะที่เป็นเอกเทศ โดยมีการแบ่งรูปแบบการปกครองไว้ ได้แก่ รัฐเดี่ยว หรือ สหพันธรัฐ ในบริบทของรูปแบบหลังคำว่า "รัฐ" อาจใช้เพื่อนิยามว่าการเมืองการปกครองดังกล่าวอยู่ในลักษณะของรัฐที่มีสิทธิหรืออำนาจในการปกครองในแต่ละพื้นที่ หรือภูมิภาคที่อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของตน อำนาจสูงสุดจะมาจาก "รัฐบาลกลาง" หรือ "รัฐบาลสหพันธ์" ซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของหลาย ๆ รัฐ มาประกอบกันเป็น "สหพันธรัฐ" (คำศัพท์อื่น ๆ ที่นำมาใช้แบ่งเขตการปกครองของรัฐบาลกลางอาจเรียกว่า "จังหวัด" "ภูมิภาค" แล้วแต่ตามที่รัฐได้กำหนดไว้)

การเกิดขึ้นของรัฐอธิปไตยในสังคมมนุษย์มีมานานหลายสหัสวรรษ ทว่าสังคมมนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์โดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในรูปแบบของ "สังคมไร้รัฐ" รูปแบบของรัฐที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 5,500 ปีก่อน[4] ประจวบกับพัฒนาการทางสังคม เช่น การขยายตัวของเมือง การประดิษฐ์ระบบการเขียน และการประมวลศาสนาแบบใหม่

เมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไปรัฐแต่ละรัฐต่างก็มีรูปแบบพัฒนาการที่แตกต่างกันออกไป โดยอ้างเหตุผลสำหรับการดำรงอยู่ของรัฐไว้หลากหลายแนวคิด (ไม่ว่าจะเป็น ทฤษฎีเทวสิทธิ์ หรือ ทฤษฎีสัญญาประชาคม ฯลฯ) ปัจจุบันรัฐชาติสมัยใหม่มักมีรูปแบบการปกครองที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานโดยประชาชนเป็นหลัก[5] รัฐอธิปไตยจะต้องได้รับการรับรองซึ่งสิทธิและอำนาจอธิปไตยในการปกครองของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งอย่างถูกต้องตามพฤตินัย รวมถึงจะต้องได้รับการยอมรับจากรัฐเอกราชอื่นอีกเช่นกัน

คำว่า "รัฐ" ถูกนิยามไว้หลากหลายความหมาย[6][7] ในข้อนิยามของ มัคส์ เวเบอร์ (Max Weber) ได้ระบุเอาไว้ว่า "รัฐ" เป็นองค์กรทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่ทำหน้าที่รักษาและผูกขาดอำนาจในการใช้ความรุนแรงอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าคำนิยามดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับโดยสามัญ[8][9] แต่สภาวะไร้รัฐก็มิได้ขัดขวางการดำรงอยู่ของสังคม เช่น สมาพันธ์โฮดีโนโชนี (Haudenosaunee Confederacy) ที่เป็นตัวอย่างของ "รัฐไร้สัญชาติ" ซึ่งมิได้มีสถาบันหรือบทบาททางการเมืองอย่างแท้จริงหรือโดยพฤตินัย[10] การบริหารงานราชการถือเป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินกิจการและบทบาทของรัฐบาลประกอบกับเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาว่าการดำรงอยู่ของรัฐสมัยใหม่นั้น ๆ[11][12] ว่าประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวมากน้อยเพียงใด[13]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]
นิกโกเลาะ มาเกียเวลลี (Niccolò Machiavelli) เป็นหนึ่งในบุคคลแรก ๆ ที่นิยามความหมายของคำว่า "รัฐ" โดยระบุไว้ว่า "...ความสามัคคีทางการเมืองของประชาชนจะเพิ่มมากขึ้นเป็นสองเท่า และสามารถที่จะดำรงอยู่รอดได้ ไม่เพียงแค่ต้องพึ่งพาตัวรัฐบาลแต่เพียงเท่านั้น หากแต่ยังขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครองของรัฐบาลอีกด้วย..."

คำว่า "รัฐ" ในภาษาไทย มาจากคำว่า รฏฺฐ (raṭṭha) แปลว่า แคว้น บ้านเมือง ประเทศ หรือภูมิภาค[14] มีรากร่วมกับคำว่า ราษฺฏฺร (राष्ट्र; rāṣṭra) ในภาษาสันสกฤต[15] ขณะที่คำว่า "state" ในภาษาอังกฤษมีรากร่วมกับคำศัพท์ในตระกูลภาษายูโรเปียน (ตรงกับคำว่า stato ในภาษาอิตาลี, estado ในภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส, état ในภาษาฝรั่งเศส, Staat ในภาษาเยอรมันและภาษาดัตช์ ฯลฯ) ทุกคำที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่สืบสร้างมาจากคำว่า status ในภาษาละติน ที่แปลว่า "เงื่อนไข หรือ สถานะ" ซึ่งก็สามารถย้อนความไปถึงคำว่า stare ที่แปลว่า "ยืนหยัด" ซึ่งหมายถึงการคงอยู่หรือความมั่นคงที่แฝงไปด้วยนัยยะของความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ในฐานะหน่วยงานทางการเมืองรูปแบบหนึ่ง

ในฐานะคำนามภาษาอังกฤษ state แปลว่า "เงื่อนไข หรือ สถานะ" โดยมีการบัญญัติความหมายของคำนี้ไว้ก่อนที่จะกลายเป็นศัพท์ทางการเมือง คำ ๆ นี้ปรากฏให้เห็นตั้งแต่ในภาษาอังกฤษสมัยกลางราว ๆ ค.ศ. 1200 ซึ่งก็หยิบยืมมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่าที่สืบทอดมาจากภาษาละตินอีกทอดหนึ่ง

เมื่อมีการฟื้นฟูกฎหมายโรมันขึ้นในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำ ๆ นี้ก็มีสถานภาพทางกฎหมาย หมายถึง สถานภาพของบุคคลในสังคม (เช่น "ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร" อันได้แก่ ขุนนาง สามัญชน และนักบวช) โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานะอันพิเศษของกษัตริย์ผู้มั่งคั่ง สูงศักดิ์ และมีอำนาจสูงสุดเหนือทั้งหมดทั้งปวงภายใต้ราชอาณาจักร นอกจากนี้คำว่า state นี้ยังมีความหมายที่เชื่อมโยงกับแนวคิดของโรมัน (ย้อนกลับไปถึงยุคของ กิแกโร) เกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง "status rei publicae" หรือ "เงื่อนไขสาธารณะ" จนกระทั่งในเวลาต่อมาคำ ๆ นี้ก็ได้มีความหมายที่เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมิได้มีบริบทที่หมายถึงสถานภาพของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสังคมอีกต่อไปและเริ่มมีความหมายที่เชื่อมโยงกับกฎระเบียบทางสังคมหรือเครื่องมือในการบังคับใช้กฎหมายโดยรัฐในเวลาต่อมา[16]

ผลงานของ มาเกียเวลลี ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 (ตัวอย่างเช่น เจ้าผู้ปกครอง) มีส่วนสำคัญในการนิยามความหมายของคำว่า "รัฐ" นิยามที่ระบุไว้ในงานประพันธ์ของมาเกียเวลลีถือว่ามีความหมายที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับความหมายของโลกทัศน์สมัยใหม่พอสมควร[17] การแยกความต่างระหว่างศาสนจักรกับรัฐยังคงปรากฎให้เห็นตลอดจนถึงศตวรรษที่ 16 เมื่อรัฐสิบสามอาณานิคมในภูมิภาคอเมริกาเหนือได้ระบุถึงสถานภาพของประเทศของตนว่า "state" และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1630 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ก็ทรงเคยตรัสวลีหนึ่งขึ้นมาว่า "ตัวข้าคือรัฐ" (L'État, c'est moi) แม้จะไม่มีหลักฐานใดมายืนยันอย่างแน่ชัดแต่ก็มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลังตั้งแต่ช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ 18[18]

คำนิยาม

[แก้]

ปัจจุบันยังมิได้มีข้อเอกฉันท์ทางวิชาการอย่างชัดเจนต่อนิยามของคำว่ารัฐ[6] ความหมายคำว่า "รัฐ" นั้นมีชุดทฤษฎีที่แตกต่างกันไปผ่านการตีความของแต่ละบุคคลแต่ก็ยังมีจุดเชื่อมโยงและมักจะมีความหมายที่ทับซ้อนกันอยู่เสมอตามแต่บริบทของสถานการณ์ทางการเมือง ณ ขณะนั้น[7] หากอ้างอิงตามคำนิยามกระแสหลักของ วอลเตอร์ ไชเดิล (Walter Scheidel) เจ้าตัวได้ระบุว่ารัฐมีลักษณะสำคัญดังต่อไปนี้: "รัฐเป็นสถาบันที่มีอำนาจแบบรวมศูนย์ ซึ่งคอยกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และใช้อำนาจเหนือประชากรที่อยู่ภายในดินแดนใต้การปกครองของตน เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความต่างทางชนชนชั้นระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง รวมถึงความต่างระหว่างองค์ประกอบของเอกราชหรือความมั่นคง ข้อแตกต่างเหล่านี้ส่งผลให้รัฐเป็นหน่วยการเมืองที่มีความแตกต่างไปจากรูปแบบขององค์กรอื่น ๆ ซึ่งมีความมั่นคงทางอำนาจน้อยกว่าอย่างการใช้อำนาจปกครอง"[19]

ข้อนิยามที่ถูกนำมาอ้างอิงมากที่สุดคือคำจำกัดความของ มัคส์ เวเบอร์[20][21][22][23][24] ที่ได้นิยามว่ารัฐเป็นองค์กรทางการเมืองภาคบังคับที่มีรัฐบาล ซึ่งคอยทำหน้าที่รวมศูนย์อำนาจและผูกขาดการใช้ความรุนแรงอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายในดินแดนใต้อาณัติของตน[8][9] กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ "รัฐเป็นชุมชนของมนุษย์ที่ (ประสบความสำเร็จในการ) อ้างสิทธิ์ผูกขาดการใช้อำนาจทางกายภาพอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ดินแดนของตน"[25]

เนื่องจากผู้คนมักสับสนถึงความหมายระหว่างคำว่า "รัฐ" กับ "ชาติ" อยู่อย่างเสมอ ดังนั้นนิยามของคำว่ารัฐจึงต้องแยกออกจากนิยามของคำว่าชาติอย่างชัดเจน โดยปกติแล้ว "รัฐ" หมายถึงหน่วยงานทางการเมืองที่มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่กำหนด และมีลักษณะที่เป็น "นามธรรมทางการเมือง-กฎหมาย" มากกว่า ขณะที่นิยามของคำว่า "ชาติ" จะยึดโยงอยู่กับอัตลักษณ์ทางการเมือง ปัจจัยทางวัฒนธรรม หรือในเชิงประวัติศาสตร์เสียมากกว่า ที่สำคัญคำว่า "ชาติ" มิใช่สิ่งที่มีคุณลักษณะของความเป็นองค์กร เช่น ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ ผู้มีอำนาจ หรือเจ้าพนักงาน และจะไม่มีการอ้างสิทธิ์ใด ๆ ในการผูกขาดการใช้อำนาจอย่างถูกต้องตามกฎหมายเหนือประชาชนของตน[26] ขณะที่รัฐมีทุกอย่างดังที่เวเบอร์ได้ระบุไว้ ตัวอย่างของรัฐที่ไม่มีการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรงสามารถเห็นได้จากกลุ่มประเทศในภูมิภาคแอฟริกา ซึ่งมีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพในการปกครองตนเองเป็นอย่างมากเนื่องจากขาดปัจจัยอย่างการทำสงครามกับรัฐภายนอกต่างจากกลุ่มประเทศในภูมิภาคยุโรป[27] เราไม่ควรสับสนระหว่างคำว่ารัฐกับรัฐบาลเนื่องจาก "รัฐบาล" คือ องค์กรที่ได้รับมอบหมายอำนาจให้ดำเนินกิจการใด ๆ ก็ตามในนามของรัฐ รัฐไม่ควรสับสนกับสังคมเพราะ "สังคม" หมายถึง กลุ่มองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นผ่านขบวนการเคลื่อนไหวและความเป็นปัจเจกอย่างอิสระ โดยไม่พยายามที่จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลหรือการครอบงำของรัฐ

นอยเบอร์เกอร์ (Neuberger) ได้เสนอนิยามของคำว่ารัฐที่ต่างไปจากของเวเบอร์เล็กน้อย โดยที่ยังคำนึงถึงคุณลักษณะของความเป็นชาติอยู่เสมอ: รัฐ หมายถึง "การแสดงออกถึงศักยภาพในการรักษาเสถียรภาพของความเป็น (ชาติ) ด้วยความจำเป็นอย่างมั่นคงและถาวร"[28]

นิยามของคำว่ารัฐยังคงขึ้นอยู่กับการตั้งคำถามว่ารัฐเกิดขึ้นมาได้อย่างไรและด้วยเหตุอันใด มุมมองแบบสัญญาประชาคมเสนอว่ารัฐเกิดขึ้นมาก็เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงผลประโยชน์ของตนจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคมได้[29] หากไม่มีรัฐก็จะเกิดความวุ่นวายขึ้นในสังคม[30] ในมุมมองของนักทฤษฎีสัญญาประชาคมมองว่าบทบาทของรัฐจะต้องมุ่งเน้นไปที่การจัดสรรอำนาจและแก้ไขความขัดแย้งในสังคมเพื่อผลประโยชน์ระหว่างบุคคลภายในรัฐ กลับกันในมุมมองของนักปกครองกลับมองว่ารัฐจะต้องมุ่งเน้นไปที่การแก้ไขความไม่ลงรอยกันระหว่างผลประโยชน์ของประชาชนกับผลประโยชน์ของรัฐ ชาลส์ ทิลลี (Charles Tilly) ได้นำเสนอไปไกลถึงขนาดนิยามว่ารัฐก็ "เปรียบเสมือนองค์กรอาชญากรรมรูปแบบหนึ่งที่คิดจะขู่กรรโชกทรัพย์เราอยู่ตลอดเวลา"[31] ทิลลียังเสริมอีกว่ารัฐประกันความคุ้มครองจากตัวเองแก่ประชาชน[32] และตั้งคำถามกลับว่าทำไมประชาชนถึงจะต้องไว้ใจรัฐ เพราะในเมื่อประชาชนด้วยกันก็ยังมิอาจไว้วางใจซึ่งกันและกันได้

ทิลลีได้ให้คำนิยามกับรัฐต่างๆ ว่าเป็น "องค์กรที่บีบบังคับซึ่งแยกตัวออกจากครัวเรือนหรือกลุ่มเครือญาติเพื่อใช้เรียงลำดับความสำคัญที่ชัดเจนในบางประเด็นเหนือองค์กรอื่น ๆ ทั้งหมดภายในดินแดนที่กว้างขวาง"[33] รัฐชาติในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงแค่นครรัฐ รัฐโลกวิสัย หรือจักรวรรดิ สำหรับทิลลีร่องรอยของความเป็นรัฐปรากฎให้เห็นในประวัติศาสตร์มนุษยชาติตั้งแต่ 6,000 ปีก่อนคริสตกาลผ่านหลักฐานชั้นต้นอย่างบันทึกทางโบราณคดี และเริ่มปรากฎให้เห็นในยุโรปราว ค.ศ. 990 แต่โดดเด่นขึ้นเป็นพิเศษราว ๆ ค.ศ. 1490 เป็นต้นไป ทิลลีได้กำหนด "กิจกรรมขั้นต่ำที่จำเป็น" ของรัฐไว้ดังนี้:

  1. การทำสงคราม – "การกำจัดหรือทำให้อิทธิพลของคู่แข่งของตนลดลง"
  2. การสร้างรัฐ – "การกำจัดหรือทำให้คู่แข่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของตน"
  3. การป้องกัน – "การกำจัดหรือทำให้ศัตรูของรัฐต้องยินยอม"
  4. การสกัดกั้น – "การได้มาซึ่งปัจจัยในการดำเนินกิจกรรมสามประการแรก"
  5. การตัดสินใจ – "การระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน"
  6. การกระจายสินค้า – “การแทรกแซงการจัดสรรสินค้าเพื่อผลประโยชน์ระยะยาวของประชาชน”
  7. การผลิต – "การควบคุมการสร้างหรือการแปรรูปสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน"[34][35]

ที่สำคัญคือทิลลีชี้ให้เห็นว่าสงครามเป็นส่วนสำคัญต่อการสร้างรัฐแต่ก็สามารถทำลายรัฐได้ในเวลาเดียวกัน[36]

คำจำกัดความทางวิชาการสมัยใหม่ของรัฐมักควบรวมเกณฑ์ที่ว่ารัฐจะต้องได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ[37]

ความคิดแบบเสรีนิยมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เป็นไปได้ของรัฐโลกวิสัยดังคำกล่าวของ จอห์น ล็อก (John Locke) ที่ว่า เป้าหมายของ "รัฐ" หรือ "เครือจักรภพ" คือ "การรักษาทรัพย์สิน" (ความเรียงที่สองว่าด้วยการปกครอง) โดยที่คำว่า "ทรัพย์สิน" ในงานของล็อกมิได้เจาะจงเพียงแค่ทรัพย์สินส่วนบุคคลแต่เพียงเท่านั้นแต่ยังรวมถึงชีวิตและเสรีภาพ ด้วยเหตุนี้รัฐจึงเป็นรากฐานสำคัญต่อการรักษาไว้ซึ่งการดำเนินกิจการร่วมกันทางสังคม โดยสร้างแรงจูงใจผ่านการสร้างความมั่งคั่งเพื่อมอบหลักประกันทั้งในด้านของการคุ้มครองชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชน อดัม สมิธ (Adam Smith) เสนอว่าการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสาธารณประโยชน์ถือเป็นบทบาทหลักที่รัฐพึงต้องปฏิบัติ[38] เนื่องจากสินค้าเหล่านี้อาจมิได้รับการจัดสรรอย่างเพียงพอ ทิลลีได้ท้าทายต่อลักษณะของความเป็นรัฐว่าเป็นผลที่เกิดขึ้นจากผลพวงของหลักสัญญาประชาคมหรือการดำเนินกิจการภายใต้เศรษฐกิจแบบตลาดเสรี โดยเขามองว่ารัฐมีลักษณะคล้ายกับไม้กางเขนที่ทำหน้าที่คุ้มครองประชาชนผ่านโครงสร้างของรูปแบบกลุ่มอาชญากร[39]

ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์กับนักปรัชญาการเมืองได้วิพากษ์ถึงแนวโน้มการผูกขาดโดยรัฐ[40] ตัวอย่างเช่น รอเบิร์ต โนซิก (Robert Nozick) ได้ให้เหตุผลว่าการใช้ความรุนแรงโดยธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การผูกขาดซึ่งอำนาจรัฐ[41]

ปัญหาที่ทำให้เกิดความสับสนระหว่างข้อนิยามของคำว่า "รัฐ" กับ "รัฐบาล" คือมักถูกใช้เป็นคำพ้องความหมายในการสนทนาทั่วไปหรือแม้แต่วาทกรรมทางวิชาการบางหัวข้อ สรุปแล้วคำนิยามของรัฐชาติถือว่าเป็นตัวแสดงที่มิได้มีตัวตนทางกายภาพตามคุณลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศ ขณะที่รัฐบาลถือเป็นองค์กรที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยประชาชน[42] ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐบาลคือการทำหน้าที่เป็นตัวแสดงและหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายอำนาจการบริหารงานราชการ[43]

องค์ประกอบของรัฐ

[แก้]

คำนิยามที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปอีกประการหนึ่งของรัฐคือคำนิยามที่ระบุไว้ในอนุสัญญากรุงมอนเตวิเดโอว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของรัฐในปี ค.ศ. 1933 ที่กำหนดว่า "องค์ประกอบของรัฐชาติในฐานะตัวแสดงหนึ่งตามคุณลักษณะของกฎหมายระหว่างประเทศจะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้:

รัฐกับประชากร

[แก้]

รัฐเป็นสิ่งที่ช่วยชี้ให้เห็นถึงความต่างระหว่างคำว่า "ชาติ" กับ "รัฐชาติ" ออกมาอย่างชัดเจน คำว่า "ชาติ" (nation) หมายถึงชุมชนทางวัฒนธรรมและการเมืองโดยประชาชน ขณะที่คำว่า "รัฐชาติ" (nation state) หมายถึงดินแดนที่มีกลุ่มประชากรซึ่งมีชาติพันธุ์เดียวกันและเกี่ยวโยงกับรัฐใดรัฐหนึ่งโดยเฉพาะ

ขณะที่ "ประชากร" หมายถึง กลุ่มบุคคลผู้ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของชาตินั้น ๆ ที่มารวมตัวกันอยู่ในพื้นที่หรือดินแดนเดียวกันไม่ว่าบุคคลในชาตินั้นจะมีเชื้อชาติเดียวกันหรือไม่ก็ตาม แม้ว่าโลกในศตวรรษที่ 21 จะถือว่ารัฐมีศักยภาพในการเชื่อมโยงพลเมืองภายใต้การปกครองของตนเข้าไว้ด้วยกันแต่ก็มิได้หมายความว่าจุดมุ่งหมายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จหรือเป็นเช่นนั้นอยู่เสมอไป หากรัฐหลาย ๆ รัฐสามารถรวมตัวกันให้กลายเป็นประเทศเดียวกันได้ รัฐเหล่านั้นจะถูกเรียกว่า รัฐประชาชาติ (national state) หรือ รัฐชาติ (nation state) นอกจากนี้ยังมีแนวคิดในเรื่องของสัญชาติที่ทำหน้าที่ระบุว่าบุคคลคนนั้นเป็นพลเมืองของรัฐใดไม่ว่าอำนาจอธิปไตยในการปกครองของรัฐดังกล่าวจะครอบคลุมมากกว่าชาติใดชาติหนึ่งหรือไม่ก็ตาม

รัฐกับดินแดน

[แก้]

ดินแดนทำหน้าที่ในการกำหนดขอบเขตอำนาจอธิปไตยทางภูมิศาสตร์ของแต่ละรัฐ หลักการสำคัญของความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่คือจะต้องมีอาณาเขตหรือดินแดนที่ตั้งอย่างชัดเจนไม่ว่าจะทั้งในทางบก ทางทะเล หรือในทางอากาศ บทบัญญัติของหลักการดังกล่าวเรียกว่า "สิทธิโดยแผ่นดิน"

การกำหนดเขตแดนมิใช่ปัญหาหลักสำหรับ "รัฐโบราณ" หรือ "รัฐจารีต" แต่สำหรับรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีอายุยังน้อยก็ยังคงมีปัญหาอยู่บ้างหลายประการกรณีตัวอย่างเช่น การที่อดีตรัฐอาณานิคมหลายรัฐได้รับดินแดนเพิ่มจากเดิมในสมัยหลังอาณานิคมหรือยิ่งไปกว่านั้นในกรณีของอดีตประเทศที่เคยอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียต เป็นต้น นอกจากนี้การพูดคุยกันถึงองค์ประกอบบางประการของการแบ่งเขตแดนก็ยังคงได้รับการถกเถียงในแวดวงวิชาการอยู่อย่างสม่ำเสมอ

รัฐกับรัฐบาล

[แก้]

รัฐสามารถแยกความแตกต่างออกจากรัฐบาลได้ตรงที่ว่า "รัฐ" คือ องค์กร ขณะที่ "รัฐบาล" คือ กลุ่มบุคคลที่เจาะจงโดยเฉพาะ โดยมีระบบราชการที่ควบคุมกลไกในการดำเนินกิจการของรัฐนั้น ๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง[44][45][46] กล่าวคือรัฐบาลเป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจรัฐ รัฐแต่ละรัฐจะได้รับการบริหารงานโดยรัฐบาลต่าง ๆ ที่สืบทอดกันอย่างต่อเนื่อง[46] รัฐเป็นวัตถุทางสังคมที่ไม่มีสาระสำคัญและไม่มีรูปแบบทางกายภาพ ขณะที่รัฐบาลเป็นกลุ่มบุคคลที่มีอำนาจในการดำเนินกิจการในฐานะรัฐบางประการ[47]

รัฐบาลที่สืบทอดกันมาในแต่ละสมัยประกอบไปด้วยกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญและมีสิทธิพิเศษในการผูกขาดการตัดสินใจทางการเมืองโดยปราศจากการต่อรองทางอำนาจจากองค์กรใดองค์กรหนึ่งหรือประชาชน

องค์กรทางการเมืองและกฎหมาย

[แก้]

องค์กรทางการเมืองและกฎหมายมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อรับประกันสถานภาพและความมั่นคงของอำนาจอธิปไตยภายใต้เขตแดนของประเทศนั้น ๆ องค์กรนี้มีลักษณะสำคัญอยู่ทั้งหมดสามประการ ได้แก่:

สถานภาพเชิงศีลธรรม

[แก้]

รัฐเป็นองค์กรที่มีสิทธิและอำนาจในการดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเองและเป็นอิสระต่อกันภายใต้ระบอบระหว่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิ์ในการปกครองตนเอง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในองค์ประกอบหลักของรัฐที่มีลักษณะเป็นแบบถาวรจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพหรือระยะเวลาในการดำเนินการตัดสินใจของรัฐนั้น ๆ

อำนาจอธิปไตย

[แก้]

รัฐจะต้องมีอำนาจอธิปไตยในการปกครองตนเอง การได้มาซึ่งอำนาจอธิปไตยจะต้องไม่ขึ้นอยู่กับการดำเนินการจากรัฐอื่นแต่อย่างใดและจะต้องไม่มีกลุ่มหรือองค์กรทางสังคมใดที่มีอำนาจเหนือไปกว่ารัฐ ขอบเขตอำนาจอธิปไตยโดยรัฐจะต้องครอบคลุมทั้งระบอบภายในและระบอบระหว่างประเทศ[48] จะในฐานะรัฐเดี่ยวหรือรัฐสหพันธ์ก็ตาม[49] และอำนาจอธิปไตยก็สามารถถูกจำกัดได้มากน้อยเพียงใดก็ได้ผ่านความสมัครใจ ตัวอย่างเช่น หมู่เกาะคุก และ ประเทศนีวเว ที่ต้องการสิทธิในการดำเนินนโยบายต่างประเทศด้วยตนเอง โดยปราศจากอำนาจการตัดสินใจของประเทศนิวซีแลนด์ เป็นต้น

ตามหลักการของ มัคส์ เวเบอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิและความชอบธรรมในการปกครองรัฐจะต้องผูกขาดอำนาจในการใช้ความรุนแรง เช่น กิจการของกองทัพ ตำรวจ หรือ อำนาจตุลาการ ที่จะต้องอยู่ภายใต้การดำเนินการและบริหารงานโดยรัฐบาล การใช้อํานาจโดยรัฐสามารถแบ่งออกได้อย่างกว้าง ๆ เป็นทั้งหมดสองประเภทดังนี้:

  • อํานาจในการจัดระเบียบสังคม: รัฐสามารถควบคุมกิจกรรมและบทบาทของพลเมืองที่อาศัยอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของตนได้ผ่านการใช้อำนาจนิติบัญญัติหรือในทางกฎหมาย
  • อํานาจในการริเริ่มบทบาทการบริหารงานราชการภายในพื้นที่: ตัวอย่างเช่น รัฐสามารถออกแบบและบริหารนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและการให้บริการแก่ชุมชนได้ โดยบทบาทดังกล่าวมีอิทธิพลสําคัญอย่างมากต่อรัฐที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนับตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19

รูปแบบของรัฐ

[แก้]

ชาลส์ ทิลลี จำแนกรูปแบบของรัฐไว้ทั้งหมดสี่ประเภทดังนี้ ได้แก่ จักรวรรดิ รัฐโลกวิสัย นครรัฐ และรัฐชาติ ตามความเห็นของ ไมเคิล แมนน์ (Michael Mann) หน้าที่หลักอันเป็นหลักการสากลของรัฐมีทั้งสิ้นสี่ประการ ได้แก่:

  1. การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในชาติ
  2. การปกป้องประเทศจากการรุกรานทางการทหาร
  3. การทำนุบำรุงรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานทางการสื่อสาร
  4. การดำเนินนโยบายกระจายรายได้ทางเศรษฐกิจ[50]

โจเซฟ โคโลเมอร์ (Josep Colomer) ชี้ให้เห็นถึงความต่างระหว่างคุณลักษณะของจักรวรรดิกับรัฐไว้ดังนี้:

  1. จักรวรรดิมีอาณาเขตที่กว้างขวางกว่ารัฐอย่างชัดเจน
  2. จักรวรรดิมีอาณาเขตที่ไม่ชัดเจนหรือถาวร ขณะที่รัฐมีขอบเขตที่ชัดเจนและมั่นคง
  3. จักรวรรดิมี "ศูนย์กลางทางอำนาจที่หลากหลาย โดยไม่ขึ้นตรงกับดินแดนใดดินแดนหนึ่ง" ขณะที่รัฐมี "ศูนย์กลางทางอำนาจสูงสุดเหนือดินแดนและประชากรภายใต้การปกครองของตนทั้งปวง"
  4. จักรวรรดิมีขอบเขตอำนาจตุลาการที่ทับซ้อนกันหลายระดับ ขณะที่รัฐผูกขาดอำนาจตุลาการแต่เพียงผู้เดียวและมีการบังคับใช้กฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด[51]

ตามการจำแนกของ ไมเคิล เฮกเตอร์ (Michael Hechter) และ วิลเลียม บริวสไตน์ (William Brustein) รัฐชาติสมัยใหม่มีคุณลักษณะที่แตกต่างจาก "สันนิบาตแห่งนครรัฐอิสระ จักรวรรดิ สมาพันธรัฐ และสหพันธรัฐตามระบอบประชาธิปไตย" สี่ประการดังนี้:

  1. รัฐชาติสมัยใหม่จะต้องแสวงหาความสำเร็จในการขยายอำนาจและควบรวมดินแดนของตนให้อยู่ภายใต้การปกครองเดียวกัน
  2. รัฐชาติสมัยใหม่จะต้องประสบความสำเร็จในการควบคุมกิจกรรมทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนภายใต้ขอบเขตอำนาจอธิปไตยของตน
  3. รัฐชาติสมัยใหม่จะต้องสถาปนาสถาบันการปกครองที่แยกออกจากสถาบันทางสังคมรูปแบบอื่นออกอย่างชัดเจน
  4. ผู้ถืออำนาจการปกครองของรัฐชาติสมัยใหม่มีศักยภาพในการผูกขาดอำนาจการใช้ความรุนแรงแต่เพียงผู้เดียว[52]

นักปรัชญาการเมืองอาจจำแนกรัฐต่าง ๆ ว่าเป็น "รัฐอธิปไตย" ก็ต่อเมื่อรัฐเหล่านั้นมิได้ขึ้นตรงหรืออยู่ภายใต้อำนาจการปกครองจากรัฐอื่น ๆ ทั้งในเชิงอำนาจอธิปไตยภายนอกหรือการใช้อำนาจครอบงำ[53] รูปแบบของรัฐที่เกิดจากการรวมตัวกันอยู่เป็นหลาย ๆ รัฐเรียกว่า "สหพันธรัฐ" เป็นรูปแบบของรัฐที่การบังคับใช้อำนาจอธิปไตยและรัฐธรรมนูญขึ้นอยู่กับรัฐบาลส่วนกลางแห่งสหพันธ์ (คล้ายกับระบอบสมาพันธรัฐของสมาพันธรัฐสวิส) รูปแบบของรัฐดังกล่าวมีความแตกต่างจากรัฐอธิปไตยทั่วไปตรงที่รัฐย่อยในแต่ละรัฐนั้น ๆ ได้ถ่ายโอนอำนาจอธิปไตยบางส่วนของตนไปขึ้นตรงกับรัฐบาลสหพันธ์อย่างสมบูรณ์[54]

ในบางกรณีเราสามารถจำแนกรูปแบบต่าง ๆ ของรัฐได้อย่างง่าย ๆ ตามองค์ประกอบหรือจุดเด่นที่พบเห็นได้ชัด แนวคิดเกี่ยวกับรัฐในทางทฤษฎีหรือในอุดมคติซึ่งยึดโยงกับความเป็น "ชาติ" ได้รับความนิยมอย่างมากในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ค่อยเกิดขึ้นในภูมิภาคอื่นหรือในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน ในทางตรงกันข้ามรัฐบางรัฐมีความพยายามที่จะสร้างคุณธรรมผ่านการสร้างความหลากหลายทางเชื้อชาติหรือข้ามชาติ (เช่นในกรณีของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีกับสหภาพโซเวียตเป็นต้น) ซึ่งได้เน้นย้ำให้เห็นถึงคุณลักษณะที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลเมืองทุกคนผ่านการนำเสนอในรูปแบบของระบอบอัตตาธิปไตย ความชอบธรรมของกษัตริย์หรืออุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนรัฐที่ปกครองด้วยระบอบฟาสซิสต์หรือระบอบอำนาจนิยมมักส่งเสริมแนวคิดในเรื่องความเหนือกว่าทางเชื้อชาติ[55] รัฐที่นิยมชมชอบในระบอบดังกล่าวอาจนำแนวคิดในเรื่องของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือการไม่แบ่งแยกมานำเสนอ: เช่นระบอบการปกครองแบบ res publica ของโรมโบราณ กับ Rzeczpospolita ของ เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ซึ่งระบอบที่กล่าวมาข้างตนยังมีอิทธิพลสำคัญต่อรูปแบบการปกครองของสาธารณรัฐสมัยใหม่มาจนถึงปัจจุบัน

แนวคิดที่ว่าด้วย "รัฐฆราวาส" ซึ่งคอยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของศาสนา หรือ "นครรัฐ" ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นรูปแบบการปกครองที่ค่อนข้างแพร่หลายและประสบความสำเร็จมาตั้งแต่สมัยโบราณ[56][57] ได้ถูกลดทอนบทบาทและความสำคัญลงในยุคร่วมสมัย นครรัฐขนาดเล็กที่ยังมีเอกราชและอธิปไตยเป็นของตนในโลกสมัยใหม่ ได้แก่ นครรัฐวาติกัน ราชรัฐโมนาโก และ สาธารณรัฐสิงคโปร์ รวมถึงนครรัฐที่รวมตัวกันอยู่ในรูปแบบของสหพันธรัฐตัวอย่างเช่น รัฐของประเทศเยอรมนี หรืออาจเป็นเขตปกครองตนเองที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยที่จำกัดในระดับหนึ่งตัวอย่างเช่น ฮ่องกง ยิบรอลตาร์ และ เซวตา การแบ่งแยกเมืองหรือการสร้างนครรัฐใหม่ (ทั้งในรูปแบบของรัฐอธิปไตยหรือสหพันธรัฐ) ก็ยังคงมีการหารือกันอยู่ตลอดในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 เช่นในกรณีของกรุงลอนดอน เป็นต้น

รัฐกับภาคประชาสังคม

[แก้]

ในความคิดทางการเมืองแบบคลาสสิกรัฐถูกระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนการเมือง สังคมการเมือง และภาคประชาสังคม ขณะที่ความคิดทางการเมืองสมัยใหม่ทำให้รัฐชาติกลายเป็นสิ่งที่โดดเด่นขึ้นมาในฐานะรูปแบบของสังคมการเมืองภาคประชาสังคมและในรูปแบบของสังคมเศรษฐกิจ[58] ดังนั้นแล้วความเป็นรัฐชาติในชุดความคิดแบบสมัยใหม่ย่อมต้องขัดแย้งกับความเป็นภาคประชาสังคมอย่างแน่นอน[59][60][61]

อันโตนีโอ กรัมชี (Antonio Gramsci) เชื่อว่าภาคประชาสังคมเป็นรากฐานที่สำคัญต่อกิจกรรมทางการเมือง เช่น การสร้างอัตลักษณ์ การต่อสู้ทางอุดมการณ์ การจัดกิจกรรมโดยกลุ่มปัญญาชน หรือ การใช้อำนาจครอบงำ และภาคประชาสังคมเองก็ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงให้กับขอบเขตทางเศรษฐกิจและการเมือง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำร่วมกันของภาคประชาสังคม กรัมชีเรียกสิ่งนี้ว่า "สังคมการเมือง" โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแนวคิดเรื่องรัฐในฐานะการเมืองว่าการเมืองมิใช่กระบวนการรูปแบบเดียวของการจัดการทางการเมือง แต่เป็นการที่กิจกรรมขององค์กรภาคประชาสังคมที่กำหนดเงื่อนไขกิจกรรมของพรรคการเมืองหรือสถาบันของรัฐ และในทางกลับกันภาคประชาสังคมก็ถูกกำหนดโดยกิจกรรมรูปแบบเหล่านั้นอีกทอดหนึ่ง[62][63] ขณะที่ หลุยส์ อัลตูแซร์ (Louis Althusser) มีความเห็นแย้งว่าองค์กรภาคประชาสังคมเช่น โบสถ์ โรงเรียน และครอบครัว เป็นส่วนหนึ่งของ "กลไกรัฐเชิงอุดมการณ์" ซึ่งเติมเต็ม "กลไกรัฐที่กดขี่" (เช่น ตำรวจและทหาร) ในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม[64][65][66]

เยือร์เกิน ฮาแบร์มาส (Jürgen Habermas) ชี้ให้เห็นถึงปริมณฑลสาธารณะว่ามีความแตกต่างไปจากปริมณฑลทั่วไปทั้งในทางเศรษฐกิจและการเมือง[67]

หากพิจารณาถึงบทบาทของกลุ่มก้อนทางสังคมในจำนวนที่หลากหลาย การพัฒนานโยบายสาธารณะและการเชื่อมโยงระหว่างระบบราชการโดยรัฐกับสถาบันอื่น ๆ การระบุขอบเขตของรัฐอย่างกว้าง ๆ จึงกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้น การแปรรูปและการโอนกิจการของเอกชนมาเป็นของรัฐ รวมถึงการสร้างหน่วยงานกำกับดูแลขึ้นมาใหม่ยังได้เปลี่ยนขอบเขตหน้าที่และบทบาทของรัฐซึ่งเกี่ยวเนื่องกับสังคมด้วย บ่อยครั้งที่สถานภาพขององค์กรเสมือนอิสระจะมีความไม่ชัดเจนจึงทำให้เกิดข้อถกเถียงในหมู่นักรัฐศาสตร์ว่าพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐหรือภาคประชาสังคมหรือไม่มากน้อยเพียงใด นักรัฐศาสตร์บางคนมักจะพูดถึงเครือข่ายทางนโยบายและการปกครองแบบกระจายอำนาจในสังคมสมัยใหม่มากกว่าจะพูดถึงระบบราชการหรือการควบคุมนโยบายโดยตรงของรัฐ[68]

สัญลักษณ์

[แก้]
ภาพตัวอย่างธงชาติของกลุ่มประเทศสมาชิกในสหประชาชาติ โดยปกติแล้วธงชาติมักจะเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ประจำชาติของรัฐอธิปไตยนั้น ๆ

สัญลักษณ์ประจำชาติทำหน้าที่แสดงให้เห็นถึง "อัตลักษณ์" และ "ค่านิยม" โดยพื้นฐานของแต่ละรัฐชาติไม่เพียงแต่รัฐที่มีอำนาจอธิปไตยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงประเทศที่ตกอยู่ในสถานภาพอาณานิคมอีกด้วย

ความเป็นมา

[แก้]

การเกิดขึ้นของรัฐในรูปแบบแรกสุดคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดก็ตามที่ผู้ใช้อำนาจมีศักยภาพในการที่จะรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมีเสถียรภาพ เงื่อนไขที่สำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดขึ้นของรัฐ คือ การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การทำเกษตรกรรมเช่น ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หรือข้าวฟ่าง เนื่องจากเป็นธัญพืชที่สามารถผลิตได้ในปริมาณที่มาก[69][70][71][72] หรือแม้แต่การจัดเก็บภาษี การจดบันทึก และการจัดสรรทรัพยากร[69][73][74][75] ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนภายในรัฐทั้งสิ้น กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเกษตรกรรมเป็นการเปิดทางไปสู่การมีชนชั้นทางสังคมที่ผู้คนในสังคมไม่จำเป็นต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการดำรงชีพด้วยตนเอง การเขียนจดบันทึกที่สามารถทำให้จดบันทึกรวบรวมรวมข้อมูลสำคัญได้ รวมถึงการวางโครงสร้างของระบบราชการก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อำนาจรัฐสามารถขยายขอบเขตออกไปได้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น[76]

อารยธรรมโบราณถือกำเนิดขึ้นในบริเวณภูมิภาคอียิปต์, เมโสโปเตเมีย, ชมพูทวีป, จีน, มีโซอเมริกา และในบริเวณเทือกเขาแอนดีส ความเป็น "สังคมไร้รัฐ" ถูกแทนที่ด้วยความเป็น "รัฐประชาชาติสมัยใหม่" ผ่านการจัดระเบียบทางการเมืองของสังคมทั่วโลก สังคมโบราณแบบกลุ่มนักล่า คนเก็บของป่าล่าสัตว์ หรือแบบชนเผ่าขนาดใหญ่ ทั้งหมดนี้ต่างก็มีรากฐานมาจากวัฒนธรรมการต้อนฝูงสัตว์หรือการทำเกษตรกรรมทั้งสิ้น โดยที่งานวิจัยในปัจจุบันก็ยังไม่สามารถระบุช่วงระยะเวลาของสังคมไร้รัฐว่ายาวนานมากน้อยเพียงใดได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งที่สามารถชี้ให้เห็นชัดได้คือสังคมรูปแบบไร้รัฐกินระยะเวลายาวนานมานับตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์หรือแม้แต่ก่อนการเกิดขึ้นของยุคประวัติศาสตร์และอารยธรรมของมนุษย์อย่างแน่นอน

องค์กรหลักที่มีสถานภาพและอิทธิพลเทียบเท่ากับสถานภาพของรัฐในสมัยโบราณ ตัวอย่างเช่น องค์กรทางศาสนา โบสถ์ หรือ นครรัฐ[77]

นับตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ที่ดินบนโลกสามารถตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยได้เกือบทั้งหมด โลกถูกแบ่งออกเป็นพื้นที่ที่มีเขตแดนชัดเจนไม่มากก็น้อย โดยมีรัฐต่าง ๆ คอยอ้างสิทธิและอำนาจอธิปไตยในการปกครองเขตแดนของตนทั้งสิ้น ทั้งที่ก่อนหน้าก็ไม่เคยมีผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใดอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่ค่อนข้างใหญ่ขนาดนี้มาก่อน หรืออาจจะมีชนร่อนเร่อาศัยอยู่แต่ก็มิได้ดำรงชีพรวมตัวกันอยู่เป็นแบบรัฐ อย่างไรก็ตามแม้ว่ารัฐชาติสมัยใหม่จะทำหน้าที่ในการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนของตน แต่ก็ยังมีพื้นที่กว้างใหญ่อีกมาก ตัวอย่างเช่น ป่าดิบชื้นแอมะซอนที่อาจจะมีแค่คนพื้นเมืองอาศัยอยู่เพียงกลุ่มเดียวเท่านั้นหรือไม่มีเลย (บ้างก็มิได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนจากโลกภายนอก) นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียกกันว่า "รัฐล้มเหลว" ซึ่งเป็นรัฐที่มิได้มีอำนาจในการปกครองดินแดนที่อ้างสิทธิ์ทั้งหมดในทางพฤตินัยหรือในกรณีที่อำนาจของตนถูกท้าทายเป็นปฏิปักษ์ ปัจจุบันประชาคมระหว่างประเทศประกอบด้วยรัฐอธิปไตยทั้งสิ้นประมาณ 200 รัฐ ในแต่ละรัฐก็จะมีตัวแทนของตนประจำการอยู่ในองค์กรสหประชาชาติซึ่งทำหน้าที่รักษาสันติภาพและความมั่นคงของตนภายใต้ระบอบระหว่างประเทศ

สังคมไร้รัฐในยุคก่อนประวัติศาสตร์

[แก้]

ในประวัติศาสตร์การดำรงอยู่ของมนุษยชาติโดยส่วนใหญ่มักอาศัยอยู่ในรูปแบบ "สังคมไร้รัฐ" ที่มีลักษณะเฉพาะ คือ ขาดการกระจุกตัวและปรากฎให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำเป็นอย่างมากทั้งในเชิงอำนาจทางเศรษฐกิจและการเมือง

นักมานุษยวิทยา ชื่อ ทิม อิงโกลด์ (Tim Ingold) ได้ระบุเอาไว้ว่า:

ในองค์ความรู้ทางมานุษยวิทยาที่ปัจจุบันค่อนข้างล้าสมัยนั้น ยังไม่เพียงพอที่จะชี้ให้เห็นว่าคนเก็บของป่าล่าสัตว์รู้สึกอย่างไรกับการอยู่ใน 'สังคมไร้รัฐ' ราวกับว่าชีวิตทางสังคมของพวกเขานั้นขาดหายไปหรือยังไม่สำเร็จมากพอ โดยที่จะต้องรอให้เสร็จสมบูรณ์เสียก่อนผ่านวิวัฒนาการเชิงกลไกโดยรัฐ ในทางกลับกันหลักการสำคัญทางสังคมของคนกลุ่มนั้นดังที่ ปีแยร์ คลาตส์ (Pierre Clastres) ได้กล่าวเอาไว้นั้น โดยพื้นฐานแล้วบุคคลในสังคมไร้รัฐมักจะมี 'ความรู้สึกต่อต้าน' ความเป็นรัฐอยู่เสมอ[78]

ยุคหินใหม่

[แก้]

ในช่วงยุคหินใหม่สังคมมนุษย์มีการปฏิรูปทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจขนานใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านเกษตรกรรม การตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างเป็นหลักแหล่ง ความหนาแน่นของประชากรที่เพิ่มขึ้น และการใช้เครื่องมือช่วยในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่ดูมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าแต่เก่าก่อน[79][80]

นอกจากนี้ยังมีการเพาะปลูกแบบอยู่ประจำเป็นหลักแหล่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดสิทธิในทรัพย์สิน การกสิกรรม การเกิดขึ้นของสังคมแบบครอบครัวใหญ่ มีการจัดเตรียมปัจจัยขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลภายนอกครอบครัวอย่างการผลิตอาหารส่วนเกินจำนวนมาก[81] ส่งผลให้เกิดการแบ่งงานกันมากขึ้นและทำให้ผู้คนมีทักษะอื่น ๆ นอกเหนือไปจากการสรรหาหรือผลิตอาหารได้เอง[82] สถานภาพของรัฐในยุคแรกมีลักษณะของสังคมที่มีการแบ่งชนชั้นออกจากกันอย่างชัดเจน โดยมีชนชั้นปกครองที่มีความมั่งคั่งและสิทธิพิเศษเหนือกว่าพลเมืองโดยทั่วไป ซึ่งชนชั้นดังกล่าวก็ตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ "เจ้าผู้ปกครอง" อีกทอดหนึ่ง ชนชั้นปกครองเริ่มสร้างความแตกต่างทางชนชั้นผ่านรูปแบบของสถาปัตยกรรมและขนบธรรมเนียมทางวัฒนธรรมที่ต่างไปจากชนชั้นแรงงานอย่างชัดเจน[83]

มีผู้ที่เสนอว่ารัฐแบบรวมศูนย์ในอดีตได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เช่น การมีระบบชลประทาน) และเพื่อควบคุมกลไกทางเศรษฐกิจที่ซับซ้อนมากขึ้นตามเวลา ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นถึงสภาพวิถีชีวิตและการดำรงอยู่ของสังคมที่รวมตัวกันอยู่แบบหลวม ๆ ไม่ซับซ้อน[84][85] ปราศจากการแบ่งชนชั้นผ่านการกระจายอำนาจทางการเมืองจากหลายแห่ง[86] แม้ว่าหลักฐานทางโบราณคดีและหลักมานุษยวิทยาสมัยใหม่จะไม่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าวก็ตาม

สมัยยูเรเซียโบราณ

[แก้]

โดยทั่วไปแล้วอารยธรรมเมโสโปเตเมียถูกจัดให้เป็นอารยธรรมแรกสุดหรือสังคมซับซ้อนแรกสุดของประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ซึ่งหมายความว่าอารยธรรมดังกล่าวจะต้องประกอบด้วยนครต่าง ๆ การแบ่งงานเต็มเวลา การกระจุกตัวของทุน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ชนชั้นปกครอง ความสัมพันธ์ของชุมชน ซึ่งขึ้นอยู่กับถิ่นที่อยู่มากกว่าความเป็นญาติมิตร จะด้วยการค้าทางไกล การก่อสร้างสถาปัตยกรรมหรืออนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ การมีรูปแบบของศิลปะและวัฒนธรรมที่มีมาตรฐาน การจดบันทึก คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์[87][88] ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลให้อารยธรรมเมโสโปเตเมียถูกจัดให้เป็นอารยธรรมที่มีลายลักษณ์อักษรเป็นแห่งแรกของโลก อิทธิพลของอารยธรรมเมโสโปเตเมียก่อให้เกิดกฎหมายลายลักษณ์อักษรฉบับแรก ๆ ของโลก[89][90] องค์ความรู้ทางด้านโลหะวิทยาของชาวเมโสโปเตเมียได้รับการเผยแพร่ไปทั่วทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียตั้งแต่ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล นำไปสู่การปฏิวัติทางการทหารที่ใช้อาวุธซึ่งทำมาจากทองหรือสัมฤทธิ์เป็นหลัก ส่งผลให้เอื้อต่อการทำสงครามซึ่งจะนำไปสู่การเกิดขึ้นรัฐชาติต่าง ๆ ในเวลาต่อมา[91]

สมัยคลาสสิก

[แก้]
ภาพวาดหมู่ของวุฒิสมาชิกโรมันขณะกำลังหารืออยู่กับ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar) ผู้เผด็จการแห่งสาธารณรัฐโรมัน

แม้ว่ารูปแบบของรัฐจะมีตัวตนอยู่ก่อนการมาถึงของอาณาจักรกรีกโบราณ แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าชาวกรีกเป็นอานารยชนกลุ่มแรก ๆ ที่ได้กำหนดปรัชญาการเมืองที่ว่าด้วยรัฐไว้อย่างชัดเจน โดยได้วิเคราะห์และจำแนกถึงโครงสร้างของสถาบันทางการเมืองไว้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งในยุคก่อนหน้ามีการอธิบายรูปแบบของรัฐต่าง ๆ และให้เหตุผลไว้เพียงแค่ในแง่ของหลักการทางศาสนาแต่เพียงเท่านั้น[92]

นวัตกรรมทางการเมืองที่สำคัญหลายประการในสมัยคลาสสิกมีจุดกำเนิดมาจากนครรัฐกรีกและสาธารณรัฐโรมัน นครรัฐกรีกก่อนคริสตศตวรรษที่ 4 ได้มอบสิทธิความเป็นพลเมืองให้แก่ประชากรของตนอย่างเสรี และในกรุงเอเธนส์สิทธิเหล่านี้ก็ได้ถูกควบรวมเข้ากับรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยโดยตรง ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดให้กับชุดความคิดและประวัติศาสตร์ทางการเมืองในสมัยปัจจุบัน

สมัยฟิวดัล

[แก้]

ในสมัยกลางของยุโรป รัฐได้รับการจัดตั้งขึ้นตามหลักการของ "ระบบศักดินาสวามิภักดิ์" หรือ "ระบบฟิวดัล" ผ่านความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นขุนนางกับข้าราชบริพารกลายเป็นศูนย์กลางของการจัดระเบียบทางสังคมแบบใหม่ที่นำไปสู่การพัฒนาลำดับชั้นทางสังคมที่เข้มข้นและเห็นเด่นชัดมากยิ่งขึ้น[93]

ความขัดแย้งในเรื่องของการจัดเก็บภาษีระหว่างกษัตริย์และชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม (โดยเฉพาะชนชั้นนำและประชาชนทั่วไป) ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "บรรษัทนิยมโดยรัฐ" หรือ การถือครองที่ดินขึ้นในสมัยปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะเฉพาะ คือ มีรัฐสภาไว้สำหรับรวบรวมกลุ่มบุคคลสำคัญในสังคมเพื่อทำหน้าที่เจรจากับกษัตริย์ทั้งในเรื่องของกฎหมายและเศรษฐกิจ ภายใต้โครงสร้างของระเบียบฐานันดรแห่งราชอาณาจักร การปกครองรูปแบบดังกล่าวส่งผลให้อุดมการณ์ของรัฐบ้างก็เป็นไปตามแนวทางของสภา บ้างก็ตกอยู่ภายใต้การครอบงำของกษัตริย์ ซึ่งทั้งหมดก็นำไปสู่การรวมศูนย์อำนาจทั้งในเชิงนิติบัญญัติและอำนาจทางการทหารที่มากยิ่งขึ้น ระบอบดังกล่าวเริ่มก่อตัวขึ้นในช่วงต้นของศตวรรษที่ 15 การรวมศูนย์อำนาจรูปแบบนี้ก่อให้เกิดระบอบการปกครองโดยรัฐที่เรียกกันว่า "สมบูรณาญาสิทธิ์"

รัฐชาติสมัยใหม่

[แก้]

การสร้างความเป็นหนึ่งอันเดียวกันทางด้านวัฒนธรรมในระดับชาติมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดขึ้นของระบบรัฐชาติสมัยใหม่ นับตั้งแต่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่ละรัฐต่างก็ได้รับการสถาปนาจัดตั้งขึ้นตามพื้นฐานระดับชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่อง รัฐประชาชาติ (national state) ก็มิได้มีความหมายเหมือนกับคำว่า รัฐชาติ (nation state) เสียทีเดียว แม้แต่ในสังคมที่มีเชื้อชาติเดียวกันเสียเป็นส่วนใหญ่ก็มิได้หมายความว่าจะต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างสมบูรณ์ภายในรัฐหรือชาติเสมอไป ดังนั้นหน้าที่และบทบาทของรัฐคือการส่งเสริม "ลัทธิชาตินิยม" อย่างแข็งขัน โดยเน้นไปที่การกำหนดสัญลักษณ์ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำหน้าที่เป็นอัตลักษณ์ประจำชาติ

ชาลส์ ทิลลี ได้ให้เหตุผลว่าจำนวนรัฐทั้งหมดในภูมิภาคยุโรปตะวันตกลดลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายไปจนถึงสมัยใหม่ตอนต้นในระหว่างกระบวนการก่อตัวขึ้นของรัฐ[94] ขณะที่งานวิจัยอื่น ๆ ได้โต้แย้งว่าการลดลงของรัฐในยุโรปตะวันตกนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่อย่างไร[95] ส่วน เอ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) ได้เคยแสดงความเห็นไว้ว่า "รัฐที่ปราศจากหนทางในการเปลี่ยนแปลงบางประการ ก็ปราศจากหนทางในการอนุรักษ์" (ภาพสะท้อนเกี่ยวกับการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศส)[96]

เฮนดริก สปรูอิต (Hendrik Spruyt) ได้ชี้ให้เห็นว่าการเมืองในยุคของรัฐชาติสมัยใหม่นั้นมีความแตกต่างจากการเมืองในยุคก่อนอยู่สองประเด็นหลัก ได้แก่:

  1. รัฐชาติสมัยใหม่มีศักยภาพในการแทรกแซงสถานภาพทางสังคมที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนมากขึ้น
  2. รัฐชาติสมัยใหม่ได้รับการสนับสนุนโดยหลักการของอธิปไตยทางกฎหมายระหว่างประเทศและความเท่าเทียมกันทางกฎหมายโดยรัฐ

ลักษณะทั้งสองนี้เริ่มปรากฏให้เห็นตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายแต่รูปแบบของรัฐชาติสมัยใหม่ใช้เวลาหลายศตวรรษกว่าจะบรรลุผลได้อย่างมั่นคง ลักษณะอื่นนอกเหนือจากนี้ของรัฐชาติสมัยใหม่ก็คือ รัฐเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับการเมืองในระดับชาติ ซึ่งมีความเป็นเป็นเอกภาพและมีระบบราชการที่มีเหตุผลอย่างถูกต้องตามกฎหมายเสียมากกว่า[97]

ความเสมอภาคของอำนาจอธิปไตยไม่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการเมืองระดับโลกอย่างสมบูรณ์ จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สองท่ามกลางกระแสของการปลดปล่อยรัฐอาณานิคม อดัม เกอตาชิว ได้ระบุเอาไว้ว่ากว่าที่จะมีการรับรองอธิปไตยของประชาชนผ่านบริบททางกฎหมายระหว่างประเทศขึ้นก็ต้องรอจนกว่าจะมีปฏิญญาสากลว่าด้วยการให้อิสรภาพแก่ประเทศและประชาชนภายใต้อาณานิคมใน ค.ศ. 1960[98] นักประวัติศาสตร์ เจน เบอร์แบงก์ และ เฟรเดอริก คูเปอร์ ได้ชี้ให้เห็นว่า ระบบอธิปไตยแบบเว็สท์ฟาเลิน – เป็นแนวคิดที่แสดงให้เห็นถึงขอบเขตอำนาจรัฐที่มีความเป็นเอกภาพและมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐอย่างทัดเทียมกัน – "ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาในปี ค.ศ. 1948 มากกว่าสนธิสัญญาที่ร่างขึ้นในปี ค.ศ. 1648"[99]

ทฤษฎีว่าด้วยจุดมุ่งหมายของรัฐ

[แก้]

ทฤษฎีทางการเมืองที่ว่าด้วยรัฐโดยส่วนใหญ่สามารถแบ่งออกเป็นทั้งหมดได้สองประเภท ทฤษฎีแรกเรียกว่า "เสรีนิยม" กับ "อนุรักษนิยม" ซึ่งปฏิบัติต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตามแบบแผนที่กำหนด จากนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่บทบาทและหน้าที่ของรัฐในสังคมระบอบทุนนิยม ทฤษฎีเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะมองว่ารัฐเป็นตัวแทนขององค์กรที่เป็นกลาง ซึ่งแยกออกจากกรอบของสังคมและเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ในทางกลับกันทฤษฎีที่สองอย่าง "มากซิสต์" และ "อนาธิปไตย" กลับมองว่าการเมืองเป็นสิ่งที่มีความใกล้ชิดกับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก โดยเน้นย้ำไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจทางเศรษฐกิจและอำนาจทางการเมืองเป็นหลัก ทฤษฎีเหล่านี้มักมองว่ารัฐเป็นแค่เครื่องมือของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่ต้องการสนองผลประโยชน์เพื่อชนชั้นนำทางสังคมเสียเป็นส่วนใหญ่

มุมมองอนาธิปไตย

[แก้]
โปสเตอร์ IWW ว่าด้วย "พีระมิดของระบบทุนนิยม" (Pyramid of Capitalist System) (ป. 1911) ที่บรรยายถึงมุมมองการต่อต้านระบอบทุนนิยมที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสถิติ/โครงสร้างของสังคมทุนนิยม

ลัทธิอนาธิปไตยเป็นปรัชญาการเมืองที่ถือว่ารัฐและลำดับชั้นทางสังคมนั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็นและเป็นภัยต่อสังคม ลัทธิดังกล่าวสนับสนุนแนวคิดสังคมไร้รัฐหรือสังคมแบบอนาธิปไตย ซึ่งเป็นสังคมที่เน้นไปที่การจัดการและปกครองด้วยตนเองผ่านรากฐานที่ตั้งอยู่บนสถาบันหรือสหกรณ์โดยสมัครใจ

ลัทธิอนาธิปไตยเชื่อว่ารัฐเป็นเครื่องมือในการครอบงำและการปราบปรามโดยธรรมชาติมิว่าผู้ใดจะเป็นผู้ปกครองก็ตาม ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตยตั้งข้อสังเกตว่ารัฐมีอำนาจผูกขาดการใช้ความรุนแรงตามกฎหมาย ซึ่งต่างไปจากแนวคิดของลัทธิมากซ์ พวกอนาธิปไตยเชื่อว่าการปฏิวัติยึดอำนาจรัฐไม่ควรเป็นแค่เป้าหมายทางการเมืองเพียงอย่างเดียวแต่เชื่อว่าลัทธิอนาธิปไตยจะต้องรื้อถอนกลไกของความเป็นรัฐออกไปให้หมดพร้อมกับสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมชุดอื่นขึ้นมา โดยมิตั้งอยู่บนพื้นฐานของอำนาจรัฐแต่อย่างใด[100][101]

ผู้ที่นิยมลัทธิอนาธิปไตยคริสเตียนหลายคน ดังเช่น ฌัก แอลูล (Jacques Ellul) ได้เคยเปรียบสถานภาพของอำนาจรัฐและการเมืองไว้ในหนังสือวิวรณ์ของตนว่าเป็นสิ่งที่เดรัจฉานต่อสังคมเป็นอย่างมาก[102][103]

มุมมองทุนนิยมอนาธิปไตย

[แก้]

นักทุนนิยมอนาธิปไตย เช่น เมอร์เรย์ ร็อธบาร์ด (Murray Rothbard) ได้เสนอและจำแนกข้อสรุปเกี่ยวกับกลไกของรัฐในมุมมองแบบอนาธิปไตยไว้ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน[104] โดยปกติแล้วหลักการที่ผู้นิยมลัทธิอนาธิปไตยยึดถือมากที่สุดมีทั้งหมด 2 ประการได้แก่ "ความยินยอม" และ "การไม่ริเริ่มในสิ่งใด"[105] ความยินยอมในทฤษฎีทุนนิยมอนาธิปไตยกำหนดให้บุคคลต้องยินยอมต่อขอบเขตอำนาจของรัฐอย่างชัดเจน เว้นแต่ ความยินยอมโดยปริยายของล็อก (Lockean tacit consent) ความยินยอมดังกล่าวมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อแนวความคิดเกี่ยวกับการผูกขาดการใช้อำนาจความรุนแรงโดยรัฐ[104][106] การผูกขาดอำนาจแบบบีบบังคับถือว่าเป็นสิ่งที่จะต้องถูกแยกออกจากการไม่ริเริ่มการใช้กำลังอย่างชัดเจน เนื่องจากจะต้องใช้กำลังเพื่อป้องกันมิให้กลุ่มบุคคลอื่นเสนอบริการแบบเดียวกับที่นักอนาธิปไตยเป็น นักทุนนิยมอนาธิปไตยมีชุดความเชื่อพื้นฐานที่ว่าการแทนที่อำนาจผูกขาดโดยรัฐด้วยการให้บริการที่มีสิทธิ์แข่งขันนั้นเป็นสิ่งจำเป็นในบริบทเชิงบรรทัดฐานและความยุติธรรมต่อสังคม[105]

นักทุนนิยมอนาธิปไตยเชื่อว่าการแข่งขันและการโอนกิจการของรัฐมาเป็นของเอกชนจะส่งผลในทางที่ดีให้กับมูลค่าทางการตลาดและเศรษฐกิจมากกว่า เมอร์เรย์ ร็อธบาร์ด ได้ระบุเหตุผลของตนไว้ในหนังสือชื่อ อำนาจและการตลาด (Power and Market) ว่าหน้าที่และกิจการใด ๆ ของรัฐบาลจะสามารถบรรลุผลได้ดีกว่าหากหน้าที่นั้นตกอยู่ภายใต้การดำเนินการของตัวแสดงที่เป็นเอกชน โดยที่อำนาจดังกล่าวจะต้องครอบคลุมตั้งแต่อำนาจในการป้องกันประเทศ สิทธิ์ในการผลิตหรือควบคุมสาธารณูปโภคพื้นฐาน และการดำเนินคดีทางกฎหมาย[104]

มุมมองแบบลัทธิมากซ์

[แก้]
(จากซ้ายไปขวา): คาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ป. 1875 และ ฟรีดริช เอ็งเงิลส์ (Friedrich Engels) ป. 1887

มากซ์และเอ็งเงิลส์มีอุดมการณ์ที่ชัดเจนต่อแนวคิดคอมมิวนิสต์ว่าจะต้องเป็น "สังคมที่ปราศจากชนชั้น" ความเป็นรัฐจะต้อง "สูญสลาย" ไป และถูกแทนที่ด้วย "การจัดสรรทรัพยากรด้วยตนเอง" แต่เพียงเท่านั้น[107] โดยอ้างอิงจากรูปแบบของรัฐในอดีตหรือที่ยังหลงเหลืออยู่ผ่านมุมมองเชิงวิเคราะห์และยุทธวิธี แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นก็มิใช่รูปแบบเดียวกับสังคมนิยมยูโทเปียไปเสียหมดซะทีเดียว โดยปกติแล้วกลุ่มบุคคลที่พิจารณาว่าตนเป็นผู้นิยมลัทธิมากซ์จะต้องเป็นผู้ที่มิได้ถืออำนาจรัฐและไม่ตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ของการจัดสรรรูปแบบโดยสถาบันทางสังคมอย่างแท้จริง หากอ้างอิงตามหลักหรือขอบเขตที่สมเหตุสมผลแล้วจะพบว่ามิได้มี "ทฤษฎีว่าด้วยรัฐโดยมากซ์" แต่เพียงรูปแบบเดียว เนื่องจากแนวคิดของลัทธิมากซ์ที่อ้างว่ามีความแตกต่างกันไปหลากหลายทฤษฎีทั้งหมดแล้วล้วนแต่ได้รับการพัฒนาและต่อยอดโดยกลุ่มผู้นิยมลัทธิมากซ์ทั้งสิ้น[108][109][110]

งานเขียนในยุคแรก ๆ ของมากซ์เปรียบภาพของรัฐกระฎุมพีไว้ว่าเป็นดั่งปรสิตที่จัดตั้งขึ้นโดยอยู่บนฐานและโครงสร้างส่วนบนทางเศรษฐกิจที่บริหารงานขัดกับผลประโยชน์ของสาธารณะ นอกจากนี้มากซ์ยังได้ระบุไว้อีกว่าสถานภาพของรัฐนั้นเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของชนชั้นทางสังคมโดยทั่วไปที่ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมและปราบปรามการต่อสู้ทางชนชั้น พร้อมกับเป็นเครื่องมืออันจะนำไปสู่การเถลิงขึ้นสู่อำนาจทางการเมืองและการครอบงำโดยกลุ่มชนชั้นผู้ปกครอง[111] ใน แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) ซึ่งเป็นงานเขียนของมากซ์เองก็ได้ระบุเอาไว้ว่ารัฐเปรียบเสมือนเป็น "คณะกรรมการสำหรับการบริหารกิจการโดยทั่วไปของกลุ่มชนชั้นกระฎุมพี"[108]

สำหรับนักทฤษฎีมาร์กซิสต์บทบาทของรัฐกระฎุมพีสมัยใหม่ถูกกำหนดขึ้นโดยหน้าที่ของมันเองผ่านระเบียบของทุนนิยมสากล ราล์ฟ มิลิแบนด์ (Ralph Miliband) เสนอว่าชนชั้นปกครองใช้รัฐเป็นเครื่องมือในการครอบงำทางสังคมโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐที่มีภูมิหลังเดียวกันกับกลุ่มชนชั้นนายทุน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เองที่ส่งผลให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถแสวงหาผลประโยชน์ร่วมกันกับกลุ่มนายทุนได้ผ่านความสัมพันธ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองรูปแบบต่าง ๆ

ทฤษฎีว่าด้วยรัฐของกรัมชีชี้ให้เห็นว่ารัฐเป็นแค่สถาบันทางสังคมรูปแบบหนึ่งที่คอยสนับสนุนและรักษาอำนาจการครอบงำของกลุ่มชนชั้นปกครอง และอำนาจรัฐเองก็ได้รับการสนับสนุนผ่านความเป็นมิจฉาทิฐิของสถาบันภาคประชาสังคมอย่าง ดังเช่น โบสถ์ โรงเรียน หรือ สื่อมวลชนอีกทอดหนึ่ง[112]

ลัทธิพหุนิยม

[แก้]

แนวคิดแบบพหุนิยมเป็นแนวคิดที่มีมุมมองต่อสังคมว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการช่วงชิงอำนาจทางการเมืองระหว่างกลุ่มบุคคลหรือองค์กรต่าง ๆ ในสังคม และมีมุมมองต่อรัฐว่าเป็นองค์กรทางการเมืองที่เป็นกลาง ซึ่งคอยทำหน้าที่แสดงเจตจำนงของกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดก็ตามที่สามารถครอบงำกระบวนการเลือกตั้งได้[113] โรเบิร์ต ดาห์ล (Robert Dahl) ได้พัฒนาทฤษฎีว่าด้วยรัฐในแนวคิดแบบพหุนิยมไว้ว่ารัฐบาลเป็นเพียงแค่เวทีที่เป็นกลางสำหรับการแสวงหาผลประโยชน์โดยมีหน่วยงานส่วนอื่น ๆ ของรัฐคอยทำหน้าที่เป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองอีกชุดหนึ่ง ด้วยอำนาจที่จัดสรรไว้ให้มีการแข่งขันในสังคมนี้เองนโยบายโดยรัฐจึงเป็นแค่ผลผลิตของการเจรจาต่อรองที่เกิดขึ้นอย่างซ้ำไปซ้ำมา แม้ว่าแนวคิดพหุนิยมจะตระหนักถึงการมีอยู่ของความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแต่ในทางกลับกันภาคประชาสังคมก็มีสิทธิและเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์รัฐ นอกจากนี้แนวคิดแบบพหุนิยมยังได้เสนอแนะว่าการกระทำของรัฐประชาธิปไตยยุคใหม่เป็นผลมาจากแรงกดดันที่ถูกใช้งานโดยกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นมา ดาห์ลเรียกระบอบการปกครองของรัฐประเภทนี้ว่า "ระบอบพหุนิยม"[114]

แนวคิดแบบพหุนิยมได้ถูกท้าทายถึงการมีอยู่เป็นอย่างมากเนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานเชิงประจักษ์ จากการสำรวจจะพบว่าบุคคลากรส่วนใหญ่ที่มีสิทธิในการดำรงตำแหน่งผู้นำระดับสูงมักมาจากชนชั้นหรือฐานันดรที่สูงส่งและร่ำรวย นักวิพากษ์สายพหุนิยมมักอ้างว่าประสงค์ของรัฐมีหน้าที่เป็นแค่ตรายางในการรักษาผลประโยชน์ของชนชั้นนำทางสังคมมากกว่าที่จะรับใช้ผลประโยชน์ของทุกชนชั้นในสังคมอย่างเท่าเทียมกัน[115][116]

มุมมองเชิงวิพากษ์ร่วมสมัย

[แก้]

เยือร์เกิน ฮาแบร์มาส มีมุมมองต่อกลไกที่ตั้งอยู่บนฐานและโครงสร้างส่วนบนของสำนักมาร์กซิสต์ที่ใช้เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐและเศรษฐกิจว่าเป็นสิ่งที่เรียบง่ายเกินไป ฮาแบร์มาสรู้สึกว่ารัฐสมัยใหม่มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการวางรากฐานที่สำคัญทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างก็เช่น บทบาทในการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคทางเศรษฐกิจรายใหญ่ผ่านนโยบายอย่างรัฐสวัสดิการแบบแจกจ่ายซ้ำ ซึ่งกิจกรรมรูปแบบดังกล่าวก็เป็นการจัดสรรโครงสร้างทางเศรษฐกิจแบบองค์รวม ดังนั้นจุดมุ่งหมายของรัฐในมุมมองของฮาแบร์มาสจึงไม่สมควรที่จะถูกประเมินค่าว่าเป็นแค่การตอบสนองอย่างอดทนอดกลั้นต่อผลประโยชน์ของแต่ละชนชั้นทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว[117][118][119]

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault) มีมุมมองต่อทฤษฎีการเมืองสมัยใหม่ว่าถูกเน้นไปที่ศูนย์กลางทางอำนาจของรัฐมากเกินไป กล่าวคือฟูโกเชื่อว่าทฤษฎีการเมืองมุ่งเน้นความสนใจไปที่สถาบันทางการเมืองซึ่งมีความเป็นเป็นนามธรรมมากเกินไปและไม่เพียงพอต่อทฤษฎีเชิงปฏิบัติของฝั่งรัฐบาล ดังนั้นในความเห็นของฟูโก "รัฐ" จึงมิใช่สาระสำคัญ เขาเชื่อว่าแทนที่จะพยายามทำความเข้าใจในกิจกรรมของรัฐบาลผ่านการวิเคราะห์คุณสมบัติของความเป็นรัฐ (ในเชิงนามธรรมที่ได้รับการประกอบสร้างขึ้นใหม่) กลับกันนักทฤษฎีการเมืองควรทำหน้าที่ตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในแนวทางภาคปฏิบัติของรัฐบาลเพื่อทำความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงในสภาพธรรมชาติของรัฐเสียจะดีกว่า[120][121][122] ฟูโกได้พัฒนาแนวคิดเรื่องความเป็นรัฐบาลขึ้น โดยคำนึงถึงลำดับวงศ์ตระกูลของรัฐเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาหรือทำความเข้าใจในการปกครองที่เป็นปัจเจก ซึ่งสามารถมีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่โดยรวมของรัฐได้[123]

มีแชล ฟูโก (Michel Foucault) มีมุมมองต่อบทบาทของรัฐว่า "...บางทีรัฐอาจไม่ได้เป็นอะไรที่มีความสลักสำคัญไปมากกว่าความเป็นจริงที่ประกอบสร้างขึ้นจนจับต้องได้ยากเลย ไม่แน่ความเป็นรัฐอาจถูกนิยามไว้ในแวดวงที่คับแคบกว่าที่พวกเราหลายคนคิดไว้ก็ได้..."

ฟูโกได้ให้เหตุผลว่าเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ความเป็นรัฐสามารถเข้าถึงพลเมืองได้ง่ายมากยิ่งขึ้น โดยเสนอว่ารัฐเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสำแดงอำนาจทางเทคโนโลยีหรือระบบอำนาจที่มีหลายหัว ดังนั้นแนวคิดของฟูโกจึงเป็นการให้เหตุผลหรือน้ำหนักแก่จุดมุ่งหมายของความเป็นรัฐ แทนที่จะมีมุมมองต่ออำนาจอธิปไตยว่าเป็นสิ่งที่สมควรจะต้องถูกขจัดไปแบบเดียวกันกับมุมมองแบบลัทธิมากซ์หรือแบบอนาธิปไตย เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ได้ถูกหยิบยืมนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบนโยบายของรัฐ ส่งผลให้ฟูโกมีมุมมองต่อการเกิดขึ้นของสาขาวิชาอย่างวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์และสถิติทางคณิตศาสตร์ว่าสามารถทำให้เรามีความเข้าใจต่อกลไกทางเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อเป้าหมายหรือความสำเร็จของรัฐนั้น ๆ ได้อย่างไร ที่สำคัญฟูโกก็ยังย้ำให้เห็นว่าการเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่มิใช่อุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์แต่เป็นผลผลิตโดยเจตนา ซึ่งรัฐสมัยใหม่จะต้องเสนอตัวเข้ามารับผิดชอบหรือจัดการ เช่นการเกิดขึ้นของระบอบตำรวจ (ส่วนหนึ่งของความมั่งคั่งของรัฐ) การอนุญาตให้พลเมืองเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ระบอบกฎหมายชนต่างชาติ (jus gentium) จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ความเป็นประชาสังคม (civitas) หลังจากที่ถูกแบ่งแยกออกจากสังคมมนุษย์อย่างจงใจมาเป็นเวลานานนับหลายพันปี[124] ดังนั้นแล้วประชาธิปไตยในมุมมองของฟูโกจึงมิได้เป็นแค่การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งที่ถูกจัดขึ้นอย่างซ้ำแล้วซ้ำเล่าดังที่นักปฏิวัติทางการเมืองหรือนักปรัชญาการเมืองมักมีภาพในหัวว่าเป็นแค่การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางการเมืองหรือแสวงหาการยอมรับจาก 'ชนชั้นปกครอง' แต่อย่างใด ฟูโกยืนยันว่าทฤษดีดังกล่าวเป็นผลสำเร็จจากความพยายามในการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น การถ่ายโอนอำนาจการปกครอง เสถียรภาพทางอํานาจ และการออกจากกรอบแนวคิดของศาสนจักร ทั้งหมดนี้นำไปสู่ความชอบธรรมทางการเมืองที่ได้รับการยอมรับจากทุกภาคส่วนของสังคม กล่าวคือพลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ที่จะตื่นรู้และตระหนักถึงสิทธิทางการเมืองของตนได้ ตัวอย่างเช่น 'สิทธิในการเลือกตั้ง' ซึ่งเป็นการเลือกผู้แทนของตนให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นประมุขทางการเมืองของรัฐที่มีคุณสมบัติเป็นรัฐประชาธิปไตย ฟูโกมองว่าระบอบดังกล่าวเป็นรูปแบบของชีวอำนาจแบบใหม่[125][126] และเป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางการเมืองสมัยใหม่ ฟูโกเรียกระบอบดังกล่าวว่า "ระบอบชีวการเมือง"

นิโกส ปูลันจัส (Nicos Poulantzas) เป็นนักทฤษฎีนีโอมากซ์ชาวกรีกคนสำคัญ แนวคิดส่วนใหญ่ของเขาได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนของกรัมชี ปูลันจัสเสนอว่า 'รัฐทุนนิยม' มิได้กระทำการเพียงแค่ในนามของชนชั้นปกครองแต่เพียงกลุ่มเดียว และเมื่อเป็นเช่นนั้นจริงก็มิจำเป็นที่จะต้องกระทำอยู่อย่างนั้นเสมอไป เนื่องจากการกระทำดังกล่าวจะต้องได้รับการไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนจากเจ้าพนักงานของรัฐ แต่ก็ด้วยลักษณะ 'เชิงโครงสร้าง' อีกเช่นกันที่ได้กำหนดให้โครงสร้างของรัฐจะต้องได้รับการพิทักษ์เพื่อให้แน่ใจว่าผลประโยชน์ระยะยาวของทุนจะมีความสำคัญเหนือกว่าสิ่งอื่นใดอยู่อย่างเสมอ แนวคิดหลักของปูลันจัสสนับสนุนต่องานเขียนสายลัทธิมากซ์เกี่ยวกับแนวคิดที่ว่าด้วย "การปกครองตนเองเชิงสัมพัทธ์" โดยรัฐ ขณะที่งานเขียนของเขามักจะเกี่ยวข้องกับ 'การปกครองตนเองโดยรัฐ' ดังนั้นผลงานของปูลันจัสจึงมีความสำคัญในแง่ของการทำให้งานเขียนสายลัทธิมากซ์มีความเด่นชัดมากขึ้นและเป็นการขยายขอบเขตของงานประพันธ์ที่ว่าด้วยรัฐในมุมมองแบบมาร์กซิสต์ให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันงานเขียนของเขาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์เช่นกันว่ายึดติดกับกรอบของ 'กลไกเชิงโครงสร้างนิยม' มากเกินไป

จักรวาลวิทยาเชิงโครงสร้างโดยรัฐหรือสัจนิยมเชิงโครงสร้างโดยรัฐ

[แก้]

ทฤษฎีนี้ยึดถือว่าเป็นจักรวาลมีโครงสร้างเพียงแค่รูปแบบเดียว ความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ที่ก่อตัวขึ้นในสังคมมีลักษณะเฉพาะก็ด้วยสิทธิที่ได้รับการจัดสรรอย่างมีรูปแบบหรือได้รับการตกผลึกผ่านอำนาจตามลำดับชั้นและความชอบธรรมทางกฎหมายอย่างมีแบบแผน โดยมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมและเศรษฐกิจที่ถูกกำหนดไว้อย่างดี รวมถึงยังมีองค์กรทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีพลวัตและแม่นยำประกอบกับองค์การทางศาสนาใดศาสนาหนึ่ง (หรือหลายองค์กร) ที่อ้างถึงความชอบธรรมในอำนาจและมีสิทธิในการเผยแพร่หรือแสดงออกสู่สังคมก็เพื่อสนับสนุนความเชื่อทางศาสนาของแต่ละบุคคลและเพื่อการได้รับการยอมรับจากมหาชน รูปแบบของจักรวาลวิทยาเชิงโครงสร้างได้วิวัฒนาการไปในลักษณะที่เป็นวัฏจักร โดยนำเสนอสองช่วงประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน ได้แก่ ระยะการค้าขาย หรือ "สังคมเปิด" และ ระยะศักดินา หรือ "สังคมปิด" ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันอย่างมากรูปแบบแบบนี้เองที่ช่วยแยกความแตกต่างเชิงอารยธรรมของมนุษย์ออกจากกันได้เป็นสองระดับ ซึ่งไม่เคยมีจุดสิ้นสุดแต่สลับเปลี่ยนกันไปมาเป็นวัฏจักร ลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันในแต่ละระดับของทั้งสองระยะนี้ถือว่าเป็นความก้าวหน้า (ในลักษณะที่จะต้องฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอย่างเป็นอิสระ โดยปราศจากคุณค่าที่แท้จริงของความเป็นอยู่ที่ดี ระดับของเสรีภาพและความเท่าเทียมที่พึงได้รับและตระหนักได้ รวมถึงความเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรมในการบรรลุไปสู่ความก้าวหน้าในระดับอารยธรรม) แม้ว่าจะมาจากกลุ่มที่มีการศึกษาและความพร้อมทางสติปัญญามากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในสังคมของทั้งสองช่วงประวัติศาสตร์ก็ตาม[127]

รัฐปกครองตนเองกับแนวคิดสถาบันนิยมใหม่

[แก้]

นักทฤษฎีรัฐปกครองตนเองเชื่อว่า "รัฐ" เป็นองค์กรที่ปฏิเสธอิทธิพลทางสังคมและเศรษฐกิจจากโลกภายนอกและมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ต่อตนเองแต่เพียงเท่านั้น[128]

งานเขียนเกี่ยวกับแนวคิดสถาบันนิยมใหม่ เช่น ผลงานของ ธีดา สก็อชโพล (Theda Skocpol) ได้ระบุเอาไว้ว่าตัวแสดงของรัฐมีความเป็นอิสระในการดำเนินกิจการและบทบาทของรัฐอย่างมาก กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ บุคลากรของรัฐต่างก็มีผลประโยชน์เป็นของตนเอง และสามารถที่จะดำเนินกิจการใด ๆ ก็ตามได้อย่างอิสระ โดยปราศจากอิทธิพลของผู้มีบทบาทในสังคม (บ้างก็ย้อนแย้งกัน) เนื่องจากรัฐมีศักยภาพมากพอในการควบคุมผ่านวิธีการบังคับขู่เข็ญ และเมื่อกลุ่มองค์กรหลายกลุ่มในภาคประชาสังคมจำเป็นที่จะต้องพึ่งพารัฐในการบรรลุเป้าหมายใด ๆ ที่พวกเขาไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง บุคลากรของรัฐนั้นจึงจะสามารถกำหนดความพึงพอใจทั้งต่อตนเองและต่อภาคประชาสังคมได้ไม่มากก็น้อยในระดับหนึ่ง

ทฤษฎีว่าด้วยความชอบธรรมของรัฐ

[แก้]

โดยปกติแล้วรัฐต่าง ๆ มักอ้างสิทธิ์ต่อความชอบธรรมทางการเมืองเพื่อรักษาสิทธิ์ในการใช้อำนาจเหนือพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของตนทั้งสิ้น[129][130][131]

ทฤษฎีสัญญาประชาคม

[แก้]
หน้าปกแรกของหนังสือ 'เลอไวอะธัน' (Leviathan; ค.ศ. 1651) เขียนโดย ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes)

มีผู้ที่เสนอทฤษฎีสัญญาประชาคมไว้หลากหลายรูปแบบ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่รัฐและก็เพื่ออธิบายถึงกระบวนการก่อเกิดขึ้นของรัฐ ทัศนะหลักของทฤษฎีนี้ คือ "สภาพธรรมชาติ" ที่กระตุ้นให้ผู้คนแสวงหาถึงกระบวนการเกิดขึ้นของรัฐ นักปรัชญาชาวอังกฤษนามว่า ทอมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) ได้อธิบายถึงลักษณะโดยรวมของสภาพธรรมชาติว่ามีความ "โดดเดี่ยว, แร้นแค้น, โสโครก, ป่าเถื่อน และเห็นแก่ตัว" (เลอไวอะธัน; บทที่ 13–14)[132] แต่กลับกัน จอห์น ล็อก มีมุมมองต่อสภาพธรรมชาติในเชิงบวกมากกว่า และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อแนวคิดในเรื่องของการเสื่อมถอยของสภาพธรรมชาติ แม้จะยอมรับว่าโดยธรรมชาติแล้วมนุษย์นั้นมิอาจที่จะมีคุณภาพชีวิตที่เท่าเทียมกันได้ แต่ตัวล็อกเองก็ได้หยิบยกประเด็นในเรื่องของ "สิทธิมนุษยชน" ที่มิอาจแบ่งแยกออกจากสังคมมนุษย์มาโต้แย้งได้อีกเช่นกัน สิทธิที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในมุมมองของล็อก คือ "สิทธิในทรัพย์สิน" โดยล็อกได้ให้ให้เหตุผลว่าสิทธิในทรัพย์สินเป็นสิทธิหลักที่ยังมิได้รับการคุ้มครองอย่างเพียงพอในสภาพธรรมชาติ นักทฤษฎีสัญญาประชาคมมักอ้างถึงสิทธิธรรมชาติอยู่เสมอก็เพื่อสนับสนุนและรักษาความชอบธรรมให้กับทฤษฎีเหล่านี้ กล่าวคือพลเมืองทุกคนจำต้องยอมสละสิทธิบางอย่างเพื่อให้รัฐสามารถสถาปนาอำนาจการปกครองได้[133][134] เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วทฤษฎีสัญญาประชาคมก็จะสามารถวางรากฐานความชอบธรรมให้แก่ตัวรัฐบาลเอง โดยที่ความชอบธรรมนั้นจะมั่นคงและถาวรได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับความยินยอมจากผู้ถูกปกครอง การให้เหตุผลในลักษณะนี้ถูกระบุไว้อย่างชัดเจนในคำประกาศอิสรภาพสหรัฐ เมื่อ ค.ศ. 1776

ทฤษฎีเทวสิทธิราชย์

[แก้]

การเกิดขึ้นของระบบรัฐชาติสมัยใหม่มีอิทธิพลที่สำคัญอย่างมากต่อกระบวนการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมือง โดยเฉพาะความเข้าใจในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางอำนาจและการปกครองอันชอบด้วยกฎหมายโดยรัฐ ผู้ที่สมาทานต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในยุคสมัยใหม่ตอนต้น ได้แก่ ทอมัส ฮอบส์ และ ฌ็อง โบแดง (Jean Bodin) ทั้งสองเป็นบุคคลสำคัญที่สนับสนุนทฤษฎีเทวสิทธิราชย์ด้วยการชี้ให้เห็นว่าการได้มาซึ่งอำนาจและความชอบธรรมของกษัตริย์ควรได้รับการพิสูจน์โดยประชาชนโดยเฉพาะฮอบส์ที่มีมุมมองต่ออำนาจและความชอบธรรมว่ามิใช่แค่อำนาจระหว่างประชาชนด้วยกันเองแต่เพียงเท่านั้น อำนาจทางการเมืองควรเป็นสิ่งที่มีความชอบธรรมในตัวของมันเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอำนาจที่มาจากปัจเจกบุคคล (ระบุเอาไว้ในช่วงสงครามกลางเมืองอังกฤษ) ทั้งฮอบส์และโบแดงต่างก็คิดว่าตนกำลังปกป้องอำนาจของสถาบันกษัตริย์หาใช่การสนับสนุนระบอบประชาธิปไตยแต่อย่างใด ทว่าแนวคิดเรื่องธรรมชาติของอำนาจอธิปไตยที่พวกเขาเสนอนั้นกลับกลายเป็นสิ่งที่ถูกปฏิเสธอย่างหนักจากสายตาของผู้ที่เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ที่มีพระราชอำนาจสูงสุดโดยสมบูรณ์อยู่แล้ว เช่น เซอร์ รอเบิร์ต ฟิลเมอร์ (Sir Robert Filmer) ที่มีมุมมองต่อแนวคิดเทวสิทธิราชย์ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของกษัตริย์เนื่องจากเป็นแนวคิดที่มีสิทธิ์เปิดโอกาสให้นำไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตยได้

สิทธิอำนาจนิติธรรม

[แก้]

ในงานเขียนของ มัคส์ เวเบอร์ ได้ระบุถึงที่มาของสิทธิอำนาจอันนำไปสู่ความชอบธรรมทางการเมืองไว้ทั้งหมด 3 ประการดังนี้:

  • ประการแรก: สิทธิอำนาจตามประเพณี (legitimacy based on traditional grounds) – เป็นความชอบธรรมที่เกิดจากชุดความคิดที่ว่าสิ่งต่าง ๆ ควรเป็นไปตามกฎหรือธรรมเนียมปฏิบัติอย่างที่เคยเป็นมาตั้งแต่อดีต อีกทั้งผู้ที่ใช้อำนาจปกครองภายใต้อำนาจเหล่านี้เองก็มีสิทธิในการเรียกร้องอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายอีกเช่นกัน
  • ประการที่สอง: สิทธิอำนาจบารมี (legitimacy based on charismatic) – การอุทิศตนให้กับผู้นำหรือกลุ่มบุคคลที่มีภาพลักษณ์ว่าเป็นบุคคลสำคัญหรือมีคุณธรรมอย่างยิ่ง โดยอำนาจรูปแบบดังกล่าวจะเกิดขึ้นผ่านความเชื่อมั่นศรัทธาหลังจากที่อำนาจตามประเพณีหรืออำนาจนิติธรรมเสื่อมความนิยมลงแต่เพียงเท่านั้น
  • ประการที่สาม: สิทธิอำนาจนิติธรรม (rational-legal authority) – มีที่มาจากความเชื่อที่ว่ากลุ่มผลประโยชน์บางกลุ่มได้รับอำนาจในลักษณะที่ถูกต้องตามกฎหมายและสมเหตุสมผลตามประมวลกฎหมายลายลักษณ์อักษรเฉพาะ เวเบอร์เชื่อว่ารัฐสมัยใหม่มีลักษณะเฉพาะคือสิทธิ์ในการยื่นอุทธรณ์ต่อผู้มีอำนาจทางกฎหมายที่มีเหตุและผลในการปกครอง[135][136][137]

ความล้มเหลวของรัฐ

[แก้]
ดัชนีความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐล้มเหลวในแต่ละประเทศเมื่อ ค.ศ. 2023
  เตือนภัยสูงมาก (111-120)
  เตือนภัยกว่า (101-110)
  เตือนภัย (91-100)
  ระวังมาก (81-90)
  ระวังกว่า (71-80)
  ระวัง (61-70)
  มั่นคง (51-60)
  มั่นคงกว่า (41-50)
  มั่นคงมาก (31-40)
  ยั่งยืน (21-30)
  ยั่งยืนมาก (0-20)
  ไม่มีข้อมูล

รัฐบางรัฐถูกระบุว่าเป็น "รัฐบอบบาง" หรือ "รัฐล้มเหลว" เดวิด ซามูเอลส์ (David Samuels) ได้ระบุเอาไว้ว่า "ความล้มเหลวของรัฐจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์ทั้งหลายได้พังทลายลงหรือมิสามารถบริหารปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ"[138] นักรัฐศาสตร์หลาย ๆ คน ทั้งซามูเอลส์ และ โจ เอส. มิกแดล (Joel S. Migdal) ได้สำรวจและจัดแบ่งเงื่อนไขในการเกิดขึ้นของรัฐล้มเหลวเหล่านี้ว่ามีความแตกต่างจากรัฐในโลกตะวันตกที่มี "เสถียรภาพ" มากกว่าอย่างไร และสถานภาพของการเป็นประเทศกำลังพัฒนามีผลอย่างไรต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศดังกล่าว

ซามูเอลส์ ได้แนะนำแนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพของรัฐเพื่อใช้อ้างอิงถึงขอบเขตความสามารถในการบรรลุบทบาทขั้นพื้นฐานของรัฐ เช่น การรักษาความปลอดภัย การบังคับใช้กฎหมาย การรักษาความสงบเรียบร้อย และการให้บริการสาธารณะ หากไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้รัฐเหล่านั้นก็จะถือว่าเป็นรัฐล้มเหลว หรือแม้แต่ เจฟฟรีย์ เฮิบสต์ (Jeffrey Herbst) ที่ได้เสริมแนวคิดนี้ โดยระบุไว้ว่า "ความล้มเหลวของรัฐเป็นผลมาจากการที่สถาบันเหล่านั้นมีความอ่อนแอหรือไม่มีอำนาจโดยแท้จริง ซึ่งหมายความว่ารัฐเหล่านั้นปราศจากความชอบธรรมในการปกครอง เนื่องด้วยรัฐเหล่านั้นมิสามารถบริหาร ปกครอง หรือรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยภายในสังคมได้" อย่างไรก็ดี สตีเฟน ดี. แครสเนอร์ (Stephen D. Krasner) ก็ได้ให้ความเห็นไว้อีกว่า "ความล้มเหลวของรัฐหาใช่ผลลัพธ์ของสถาบันที่อ่อนแอเพียงอย่างเดียว แต่การเกิดขึ้นของรัฐล้มเหลวนั้นเป็นปรากฏการณ์ที่มีความซับซ้อนแตกต่างกันไปแล้วแต่ตามแต่ละบริบทและสภาวะการณ์ของแต่ละพื้นที่ ด้วยเหตุนี้เราจึงไม่ควรวิเคราะห์ถึงการเกิดขึ้นของรัฐล้มเหลวผ่านบริบทและความเข้าใจที่เรียบง่ายหรือตื้นเขินเกินไป"

ปัญหาของรัฐล้มเหลว

[แก้]

ความล้มเหลวของรัฐเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อเสถียรภาพและความมั่นคงของการเมืองโลก เนื่องจากรัฐล้มเหลวมีความเสี่ยงที่จะนำไปสู่การก่อการร้ายและความขัดแย้งภายในสังคม นอกจากนี้ความล้มเหลวของรัฐยังเป็นอุปสรรคต่อวิถีของประชาธิปไตย เนื่องจากรัฐเหล่านั้นมักประสบกับความรุนแรงทางการเมืองอย่างการปกครองแบบเผด็จการและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลาย ๆ ครั้ง แม้ว่าจะมีการถกเถียงกันอย่างมากเกี่ยวกับผลกระทบโดยตรงต่อความล้มเหลวโดยรัฐ แต่ผลกระทบทางอ้อมก็ควรได้รับการเน้นย้ำอีกเช่นกัน ความล้มเหลวโดยรัฐอาจนำไปสู่การหลั่งไหลของผู้ลี้ภัยและความขัดแย้งข้ามพรมแดน ขณะเดียวกันก็กลายเป็นแหล่งหลบภัยสำหรับกลุ่มอาชญากรหรือกลุ่มหัวรุนแรงอีกด้วย เพื่อที่จะแก้ไขและป้องกันปัญหาเหล่านี้ในอนาคตรัฐจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การสร้างสถาบันที่มีความเข้มแข็ง เช่น การส่งเสริมความหลากหลาย การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงภายในรัฐ

การเกิดขึ้นของรัฐในสมัยแรก

[แก้]

เพื่อให้เข้าใจถึงการเกิดขึ้นของรัฐที่ล้มเหลว เดวิด ซามูเอลส์ ได้ทำการการเปรียบเทียบปัจจัยในการเกิดขึ้นของรัฐชาติที่ตั้งอยู่ในยุโรปช่วงคริสตทศวรรษที่ 1600 กับคริสตศตวรรษที่ 20 โดยระบุเอาไว้ว่า "รัฐบาลจะต้องอนุญาตให้พลเมืองของตนมีสิทธิ์หรือส่วนร่วมในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของชาติ ขณะที่ประชาชนก็ต้องยินยอมต่อการใช้อำนาจที่มีสิทธิ์บังคับใช้เหนือตน การจัดระเบียบทางสังคมประเภทนี้จำเป็นต้องลดความชอบธรรมของการปกครองรูปแบบดั้งเดิมลง (เช่น หน่วยงานทางศาสนา) และแทนที่ด้วยการสร้างความชอบธรรมผ่านการปกครอง โดยปราศจากการยึดโยงต่อตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง การที่รัฐบาลกลางมีอำนาจอธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้นนี้เองก็จะส่งผลให้องค์กรอย่างระบบราชการมีความซับซ้อนมากขึ้นตามมา"

การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความเป็นรัฐสมัยใหม่ในภูมิภาคยุโรปเกิดขึ้นเมื่อราว ๆ ค.ศ. 1600 ประจวบกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น พัฒนาการของเทคโนโลยีอาวุธสงครามที่เป็นส่วนสำคัญในการเร่งปฏิกิริยาให้รัฐชาติสมัยใหม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีหรือการรวมอำนาจรัฐเข้าสู่ศูนย์กลาง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้รัฐมีประสิทธิภาพในการคุ้มครองตนเองจากภัยคุกคามอื่น ๆ นอกจากนี้พัฒนาการทางด้านผลผลิตทางการเกษตร (อันเป็นผลมาจากการปรับปรุงคุณภาพการผลิต) ทำให้ระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพที่มากขึ้น ส่งผลให้สามารถรักษาคุณภาพชีวิตของพลเมืองได้มากขึ้นตามมา การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมดังกล่าวส่งผลให้อำนาจรัฐมิได้ขึ้นตรงหรือยึดโยงอยู่กับระบอบเก่า ดังเช่น "สถาบันกษัตริย์" อีกต่อไป และทั้งหมดนี้ก็ได้ปูทางไปสู่การเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ในท้ายที่สุด[139]

การเกิดขึ้นของรัฐในยุคร่วมสมัย

[แก้]
เปรียบเทียบเขตแดนในทวีปแอฟริการะหว่าง ค.ศ. 1880 และใน ค.ศ. 1913

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ในสมัยปัจจุบันนั้นมีความต่างไปจากปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดขึ้นของรัฐชาติที่ตั้งอยู่ในยุโรป หลาย ๆ ประเทศในสมัยปัจจุบันขาดประสิทธิภาพในการจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากภาษีของประชาชน ปัญหาที่เกิดขึ้น ก็เช่น การทุจริต การหลีกเลี่ยงภาษี และความเติบโตทางเศรษฐกิจที่เชื่องช้า เป็นต้น ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ไม่ปรากฎให้เห็นในภูมิภาคยุโรป การเกิดขึ้นของรัฐชาติสมัยใหม่ในสมัยปัจจุบันโดยมากล้วนแต่เกิดขึ้นผ่านบริบทของความขัดแย้งระหว่างประเทศที่มีขอบเขตชัดเจน ส่งผลให้รัฐเหล่านี้มีแรงจูงใจในการจัดเก็บภาษีที่ต่ำและหันไปนิยมใช้จ่ายทางการทหารเสียมากกว่า อีกปัจจัยหนึ่งคือรัฐเหล่านี้ล้วนเป็นผลพวงที่เกิดขึ้นจาก "ลัทธิอาณานิคม" ส่งผลให้รัฐเหล่านี้กลายเป็นสถาบันที่ถูกออกแบบโครงสร้างมาเพื่อให้เจ้าอาณานิคมแสวงหาผลประโยชน์จนนำไปสู่สถานะประเทศยากจน ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการสร้างชาติตามมา นอกจากนี้การล่าอาณานิคมของมหาอำนาจในยุโรปยังเป็นการกำหนดเส้นเขตแดนระหว่างประเทศตามอำเภอใจทั้งที่ในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละเขตแดนต่างก็มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ วัฒนธรรม หรือความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปแต่กลับต้องมาอยู่ภายใต้ชายคาเดียวกัน เมื่อมีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นจึงส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการสร้างความพึงพอใจและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับทุกภาคส่วนในสังคม เนื่องจากรัฐบางรัฐเองก็มีความต้องการที่จะช่วงชิงและกำหนดอัตลักษณ์ทางการเมืองให้เป็นไปในแนวทางที่ตนต้องการอีกเช่นกัน[139]

มิกแดลได้นำเสนอประเด็นนี้ผ่านกรอบของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างเฉียบพลันในประเทศโลกที่สามระหว่างยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญอย่างมากต่อการเกิดขึ้นของรัฐล้มเหลว การขยายตัวของระบบการค้าระหว่างประเทศที่เริ่มต้นขึ้นราว ๆ ค.ศ. 1850 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในภูมิภาคเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา

การขยายตัวตัวของระบอบการค้าระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นฐานไว้สำหรับผลิตสินค้าเพื่อรองรับกับความต้องการของตลาดในภูมิภาคยุโรป การเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ประกอบไปด้วย:

  • การปฏิรูปกฎหมายกรรมสิทธิ์ที่ดิน: มีวัตถุประสงค์ก็เพื่อบูรณาการที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ให้สัมพันธ์กับตลาดเศรษฐกิจระหว่างประเทศมากขึ้น
  • การเพิ่มการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ทั้งของเกษตรกรและเจ้าของที่ดินรายย่อย โดยเก็บภาษีเหล่านี้ไว้ในรูปแบบเงินสดแทนที่จะเป็นในรูปแบบเดิม
  • การพัฒนาระบบคมนาคมสมัยใหม่: เช่นการคมนาคมทางรถไฟที่ทำให้ใช้เวลาและต้นทุนในการผลิตและส่งออกสินค้าลดลง

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนอกจากจะมีผลต่อโครงสร้างทางสังคมรูปแบบเดิมแล้วยังส่งผลให้สถาบันทางสังคมที่มีอยู่แต่เดิมเสื่อมโทรมลง กลายเป็นการเปิดทางไปสู่การสร้างสถาบันทางสังคมรูปแบบใหม่ ๆ โดยไม่มีเหตุอันใดที่จะทำให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชาติ[140] นอกจากนี้การขยายตัวของรูปแบบทางสังคมดังกล่าวยังก่อให้เกิดตรรกะทางการเมืองที่ว่ารัฐจะต้องมี "ผู้นำที่เข้มแข็ง" ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ที่มีศักยภาพและความสามารถมากพอที่จะท้าทายอำนาจอธิปไตยของรัฐและพร้อมสร้างผลประโยชน์ให้กับชาติผ่านการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างและสถาบันดังที่กล่าวมาข้างต้น ความเห็นทั้งหมดที่มิกแดลได้นำเสนอมานี้จึงชี้ให้เห็นว่าการกระจายอำนาจผ่านการควบคุมทางโครงสร้างและสถาบันทางสังคมเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งต่อพัฒนาการที่เข้มแข็งของรัฐ[141]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]
  1. คำนิยามที่ 7 (น.): "ประชาชนคือผู้ที่มีสิทธิในการถือครองที่ดินและทรัพย์สินภายในดินแดนหรือประเทศชาติของตน"; คำนิยามที่ 10 (น.): "องค์การเมืองที่จัดขึ้นก็เพื่อสิทธิในการปกครองด้วยอํานาจของพลเรือน (มีความแตกต่างจาก คริสตจักร)"; คำนิยามที่ 16 (น.): "วัตถุหรือสิ่งของใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลกลางหรือหน่วยงานที่มีอำนาจ" -Webster's New Universal Unabridged Dictionary, Random House/Barnes and Noble, ISBN 9780760702888, pp. 1860-1861.
  2. Black's Law Dictionary, ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่สี่. (1968). West Publishing Co.
  3. Uricich v. Kolesar, 54 Ohio App. 309, 7 N.E. 2d 413.
  4. แซนเดอฟอร์ด, เดวิด เอส. (พฤษภาคม 2018). "Organizational complexity and demographic scale in primary states". Royal Society Open Science. 5 (5): 171137. Bibcode:2018RSOS....571137S. doi:10.1098/rsos.171137. PMC 5990841. PMID 29892345.
  5. วิมเมอร์, แอนเดรียส; ไฟน์สไตน์, ยูวัล (ตุลาคม 2010). "The Rise of the Nation-State across the World, 1816 to 2001". American Sociological Review. 75 (5): 764–790. doi:10.1177/0003122410382639. S2CID 10075481. ผลลัพธ์ระดับโลกนี้—การยอมรับของรูปแบบรัฐชาติที่เกือบจะเป็นสากล
  6. 6.0 6.1 คัดเวิร์ธ et al., 2007: p. 1
  7. 7.0 7.1 แบร์โรว์, 1993: pp. 9–10
  8. 8.0 8.1 คัดเวิร์ธ et al., 2007: p. 95
  9. 9.0 9.1 แซลมอน, 2008: p. 54 เก็บถาวร 15 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. "Stateless Society | Encyclopedia.com". www.encyclopedia.com.
  11. Black's Law Dictionary, ฉบับแก้ไขปรับปรุงครั้งที่สี่ (1968). West Publishing Co.
  12. Uricich v. Kolesar, 54 Ohio App. 309, 7 N.E. 2d 413.
  13. แพทริก, สจวร์ต (10 ธันวาคม 2007). "'Failed' States and Global Security: Empirical Questions and Policy Dilemmas". International Studies Review. 9 (4): 644–662. doi:10.1111/j.1468-2486.2007.00728.x.
  14. "raṭṭha", วิกิพจนานุกรม, สารานุกรมเสรี (ภาษาอังกฤษ), 2023-04-25, สืบค้นเมื่อ 2024-03-13
  15. "राष्ट्र", วิกิพจนานุกรม, สารานุกรมเสรี (ภาษาอังกฤษ), 2024-02-09, สืบค้นเมื่อ 2024-03-13
  16. สกินเนอร์, 1989: p.134
  17. บ็อบบิโอ, 1989: pp.57–58 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-30. สืบค้นเมื่อ 2023-10-21.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  18. เซ. เด. แอร์ฮาร์ท, Betrachtungen über Leopolds des Weisen Gesetzgebung in Toscana, Richter, 1791, p. 30 เก็บถาวร 19 มกราคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นในศตวรรษที่ 19 โดย ฌ็อง เอเตียง ฟร็องซัว มาริญี ว่า พระมหากษัตริย์ทรงกระทำผิดมิได้: Le roi ne peut jamais avoit tort, le roi ne peut mal faire, Le Normant, 1818 p. 12 เก็บถาวร 19 มกราคม 2018 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
  19. ไชเดิล, วอลเตอร์ (2013). "Studying the State". The Oxford Handbook of the State in the Ancient Near East and Mediterranean. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด. pp. 5–58. doi:10.1093/oxfordhb/9780195188318.013.0002. ISBN 978-0195188318.
  20. ดูว์บรอยล์, เบอนัว (2010). Human Evolution and the Origins of Hierarchies: The State of Nature. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 189. ISBN 978-0-521-76948-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 พฤษภาคม 2016.
  21. กอร์ดอน, สก็อตต์ (2002). Controlling the State: Constitutionalism from Ancient Athens to Today. สำนักพิมพ์มหาวิทลัยฮาร์วาร์ด. p. 4. ISBN 978-0-674-00977-6. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
  22. เฮย์, โคลิน (2001). Routledge Encyclopedia of International Political Economy. นิวยอร์ก: Routledge. pp. 1469–1474. ISBN 0-415-14532-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
  23. โดโนแวน, จอห์น ซี. (1993). ประชาชน อำนาจ และการเมือง: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐศาสตร์. โรว์มัน & ลิทเทิลฟีลด์. p. 20. ISBN 978-0-8226-3025-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 พฤษภาคม 2016.
  24. ชอว์, มาร์ติน (2003). War and genocide: organized killing in modern society. ไวลีย์-แบล็กเวลล์. p. 59. ISBN 978-0-7456-1907-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2016.
  25. เวเบอร์, มัคส์ (1991). From Max Weber: Essays in Sociology (ภาษาอังกฤษ). Psychology Press. p. 78. ISBN 978-0-415-06056-1.
  26. สุภาพ, จรูญ (2537). "หลักรัฐศาสตร์ ฉบับพื้นฐาน". search-library.parliament.go.th (3rd ed.). สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด. p. 15.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. เฮิบส์, เจฟฟรีย์ (1990). "สงครามและรัฐในแอฟริกา". International Security. 14 (4): 117–139. doi:10.2307/2538753. JSTOR 2538753. S2CID 153804691.
  28. นอยเบอร์เกอร์, เบนยามิน (1977). "รัฐและชาติในความคิดของชาวแอฟริกัน". Journal of African Studies. 4 (2): 199–205. OCLC 772703025. ProQuest 1303256827.
  29. Arguments for Liberty [ต้องการเลขหน้า]
  30. "โครงการกูเทินแบร์ค e-book เลอไวอะธัน, โดย ทอมัส ฮอบส์".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. คลาร์ก, วิลเลียม รอเบิตส์; โกลเดอร์, แม็ตต์; โกลเดอร์, โซนา นาเดนิเช็ก (2018). รากฐานของการเมืองเปรียบเทียบ. CQ Press. ISBN 978-1-5063-6074-4.[ต้องการเลขหน้า]
  32. อนันทนาธร, กษิดิศ (2563). "ปรีดีบรรณานุสรณ์ ๒๕๖๓: มรดกของปรีดี พนมยงค์". pr.tu.ac.th/pridi/pridi63 (1st ed.).โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. p.214
  33. ทิลลี, ชาลส์ (1992). Coercion, Capital, and European States, AD 990-1992. แบล็กเวลล์. pp. 1–2. ISBN 978-1-55786-067-5. OCLC 1148616089.
  34. ทิลลี, ชาลส์ (1992). Coercion, Capital, and European States, AD 990-1992. แบล็กเวลล์. pp. 96–97. ISBN 978-1-55786-067-5. OCLC 1148616089.
  35. ทิลลี, ชาลส์ (1985). "War Making and State Making as Organized Crime". Bringing the State Back in. pp. 169–191. doi:10.1017/cbo9780511628283.008. hdl:2027.42/51028. ISBN 978-0-521-30786-4. S2CID 153680512.
  36. ทิลลี, ชาลส์ (1992). Coercion, Capital, and European States, AD 990-1992. แบล็กเวลล์. ISBN 978-1-55786-067-5. OCLC 1148616089.[ต้องการเลขหน้า]
  37. สแตรง, เดวิด (1991). "Anomaly and commonplace in European political expansion: realist and institutional accounts". องค์การระหว่างประเทศ. 45 (2): 143–162. doi:10.1017/S002081830003304X. S2CID 154734299.
  38. สมิธ, อดัม (1776). การสอบสวนธรรมชาติและสาเหตุแห่งความมั่งคั่งของประชาชาติ.[ต้องการเลขหน้า]
  39. ทิลลี, ชาลส์ (1985). "การสร้างสงครามและการสร้างรัฐในฐานะองค์กรอาชญากรรม". การนำรัฐกลับเข้ามา. pp. 169–191. doi:10.1017/cbo9780511628283.008. hdl:2027.42/51028. ISBN 978-0-521-30786-4. S2CID 153680512.
  40. โฮลคอมบ์, แรนดัลล์ จี. (2004). "Government: Unnecessary but Inevitable". The Independent Review. 8 (3): 325–342. JSTOR 24562462. แม่แบบ:Gale.
  41. โนซิก, รอเบิร์ต (1974). อนาธิปไตย รัฐ และยูโทเปีย. อ็อกซ์ฟอร์ด: แบล็กเวลล์. ISBN 063119780X.[ต้องการเลขหน้า]
  42. รอบินสัน, เอ็ดเวิร์ด ฮีธ (สิงหาคม 2013). "The Distinction Between State and Government: The Distinction Between State and Government". Geography Compass. 7 (8): 556–566. doi:10.1111/gec3.12065.
  43. ครอว์เฟิร์ด, เจ. (2007) The Creation of States in International Law. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด.[ต้องการเลขหน้า]
  44. บีลีย์, แฟรงก์, บ.ก. (1999). "government". The Blackwell dictionary of political science: a user's guide to its terms. ไวลีย์-แบล็กเวลล์. p. 147. ISBN 978-0-631-20695-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2016.
  45. ซาร์ตเวลล์, 2008: p. 25 เก็บถาวร 23 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  46. 46.0 46.1 Flint & Taylor, 2007: p. 137
  47. รอบินสัน, อี.เอ็ช. 2013. The Distinction Between State and Government. เก็บถาวร 2 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Geography Compass 7(8): pp. 556–566.
  48. หัวข้อแรกใน Montevideo Convention.
  49. หัวข้อที่สองใน Montevideo Convention.
  50. แมนน์, ไมเคิล (1992) [1988]. States, War and Capitalism: Studies in Political Sociology (ภาษาอังกฤษ). แบล็กเวลล์. pp. 14–15. ISBN 978-0-631-18509-3.
  51. โคโลเมอร์, โจเซฟ เอ็ม. (2017). "Empires Versus States". Oxford Research Encyclopedia of Politics (ภาษาอังกฤษ). doi:10.1093/acrefore/9780190228637.013.608. ISBN 978-0-19-022863-7.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. เฮกเตอร์, ไมเคิล; บริวสไตน์, วิลเลียม (1980). "Regional Modes of Production and Patterns of State Formation in Western Europe". American Journal of Sociology. 85 (5): 1061–1094. doi:10.1086/227125. JSTOR 2778891. S2CID 143853058.
  53. มาเร็ก, คริสตินา (1954). Identity and Continuity of States in Public International Law. Library Droz. p. 178. ISBN 978-2-600-04044-0. มีแนวคิดว่าจำเป็นต้องอ้างอิงจากรายงานของ Lytton เนื่องจากอาจเป็นคำนิยามที่สมบูรณ์ที่สุดและครบถ้วนที่สุดเกี่ยวกับสิ่งเป็นอิสระ 'ตามหลักความเป็นจริง' ที่สมเหตุสมผล เช่นนิยามของคำว่า รัฐหุ่นเชิด
  54. ธอมป์สัน, เดลลา, บ.ก. (1995). "state". Concise Oxford English Dictionary (9th ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด. 3 (รวมถึง รัฐ ด้วย) ก. ชุมชนการเมืองที่จัดตั้งขึ้นภายใต้รัฐบาลเดียว เครือจักรภพ; ประเทศชาติ ข. ชุมชนดังกล่าวซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธ์สาธารณรัฐ ตัวอย่างก็เช่น สหรัฐอเมริกา เป็นต้น
  55. ลองเกอริช, ปีเตอร์ (2010). Holocaust: The Nazi Persecution and Murder of the Jews. อ็อกซ์ฟอร์ด; นิวยอร์ก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด. ISBN 978-0-19-280436-5.
  56. เอเธนส์, คาร์เธจ, กรุงโรม, นอฟโกรอด, ปึสคอฟ, ฮัมบวร์ค, เบรเมิน, แฟรงก์เฟิร์ต, ลือเบ็ค, ฟลอเรนซ์, ปิซา, เจโนวา, เวนิส, ดันท์ซิช, ฟิยูเม, ดูบรอฟนิก.
  57. ตัวอย่างเช่น: พาสเตอร์, แจ็ก (1997). "3: The Early Hellenistic Period". Land and Economy in Ancient Palestine. ลอนดอน: Routledge (ตีพิมพ์ 2013). p. 32. ISBN 978-1-134-72264-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 ธันวาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 2017-02-14. แนวคิดเรื่องกรุงเยรูซาเล็มในฐานะรัฐเทวาธิปไตยมีความคล้ายคลึงกับกลุ่มรัฐโลกวิสัยในเอเชียน้อยและจักรวรรดิซิลูซิด แต่เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่เหมาะสมเอาเสียเลย [...] รอสตอฟแซฟฟ์ เรียกแคว้นยูดาห์ว่าเป็นรัฐเทวาธิปไตย แม้ว่าจะมีคำจำกัดความของตัวมันเองที่ทำหน้าที่กำหนดเงื่อนไขของความเป็นเจ้าอาณาเขตและองค์กรของรัฐก็ตาม [...] เฮงเงิลยังอ้างอีกว่าแคว้นยูดาห์เป็นรัฐฆราวาส โดยไม่แยแสต่อหลักฐานที่พึงปรากฎว่าราชวงศ์ปโตเลมีแทบจะไม่สามารถทนทานต่อสถานการณ์เช่นนี้ได้
  58. ซาเลสกี, พาเวล (2008). "Tocqueville on Civilian Society: A Romantic Vision of the Dichotomic Structure of Social Reality". Archiv für Begriffsgeschichte. 50: 260–266. doi:10.28937/9783787336746_12. JSTOR 24360940. S2CID 261197955.
  59. เอเรนเบิร์ก, จอห์น (1999). "ภาคประชาสังคมกับรัฐ". ภาคประชาสังคม: ประวัติศาสตร์เชิงวิพากษ์ของแนวคิด. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก. p. 109. ISBN 978-0-8147-2207-7.
  60. กวิราช, สุทิปตะ (2001). "In search of civil society". ใน กวิราช, สุทิปตะ; ขิลณานิ, สุนิล (บ.ก.). ภาคประชาสังคม: ประวัติศาสตร์และความเป็นไปได้. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 291–293. ISBN 978-0-521-00290-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016.
  61. รีฟ, แอนดรูว์ (2001). "Civil society". ใน โจนส์, อาร์.เจย์. แบร์รี (บ.ก.). Routledge Encyclopedia of International Political Economy: Entries P–Z. เทย์เลอร์ & แฟรนซิส. pp. 158–160. ISBN 978-0-415-24352-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 มิถุนายน 2016.
  62. แซสซูน, แอนน์ โชว์สแต็ก (2000). Gramsci and contemporary politics: beyond pessimism of the intellect. Psychology Press. p. 70. ISBN 978-0-415-16214-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
  63. เอาเจลลี, เอ็นริโก & เมอร์ฟีย์, เคร็ก เอ็น. (1993). "Gramsci and international relations: a general perspective with examples from recent US policy towards the Third World". ใน จิลล์, สตีเฟน (บ.ก.). Gramsci, historical materialism and international relations. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 129. ISBN 978-0-521-43523-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016.
  64. เฟอร์เรตเตอร์, ลุค (2006). หลุยส์ อัลตูแซร์. เทย์เลอร์ & แฟรนซิส. p. 85. ISBN 978-0-415-32731-2.
  65. ฟลีชา, แรมอน (2009). "The Educative City and Critical Education". ใน Apple, Michael W.; และคณะ (บ.ก.). The Routledge international handbook of critical education. เทย์เลอร์ & แฟรนซิส. p. 330. ISBN 978-0-415-95861-5.
  66. มาเลเชวิช, 2002: p. 16 เก็บถาวร 23 กรกฎาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  67. มอร์โรว์, เรย์มอนด์ อัลเลน & ทอร์เรส, คาร์ลอส อัลเบอร์โต (2002). Reading Freire and Habermas: critical pedagogy and transformative social change. Teacher's College Press. p. 77. ISBN 978-0-8077-4202-0.
  68. แคร์, อันเนอ เมทเทอ (2004). ธรรมาภิบาล. ไวลีย์-แบล็กเวลล์. ISBN 978-0-7456-2979-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2016. -- [ต้องการเลขหน้า]
  69. 69.0 69.1 สก็อตต์, เจมส์ ซี. (2017). Against the Grain: A Deep History of the Earliest States. Yale University Press. doi:10.2307/j.ctv1bvnfk9. ISBN 978-0-300-18291-0. JSTOR j.ctv1bvnfk9. S2CID 158193062.[ต้องการเลขหน้า]
  70. คาร์เนย์โร, รอเบิร์ต แอล. (1970). "ทฤษฎีการเกิดขึ้นของรัฐ". Science. 169 (3947): 733–738. Bibcode:1970Sci...169..733C. doi:10.1126/science.169.3947.733. JSTOR 1729765. PMID 17820299. S2CID 11536431.
  71. อัลเลน, รอเบิร์ต ซี (เมษายน 1997). "Agriculture and the Origins of the State in Ancient Egypt". Explorations in Economic History. 34 (2): 135–154. doi:10.1006/exeh.1997.0673.
  72. บอร์กัน, โออานา; โอลส์สัน, โอลา; พัตเตอร์แมน, หลุยส์ (ตุลาคม 2021). "Transition to agriculture and first state presence: A global analysis" (PDF). Explorations in Economic History. 82: 101404. doi:10.1016/j.eeh.2021.101404.
  73. อาห์เม็ด, อาลี ที.; สตาซาเวจ, เดวิด (พฤษภาคม 2020). "ต้นกำเนิดของประชาธิปไตยในยุคแรก". American Political Science Review. 114 (2): 502–518. doi:10.1017/S0003055419000741. S2CID 29671869.
  74. เมย์ชาร์, โจรัม; โมอัฟ, โอเมอร์; นีแมน, ซวิกา (สิงหาคม 2017). "ภูมิศาสตร์ ความโปร่งใส และสถาบัน" (PDF). American Political Science Review. 111 (3): 622–636. doi:10.1017/S0003055417000132. S2CID 134526725.
  75. บัว, คาลส์ (2015). ความสงบเรียบร้อยทางการเมืองและความไม่เท่าเทียมกัน. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. ISBN 978-1-107-08943-3.[ต้องการเลขหน้า]
  76. สเปนเซอร์, ชาลส์ เอส. (20 เมษายน 2010). "การขยายดินแดนและการก่อตัวของรัฐขั้นปฐมภูมิ". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (16): 7119–7126. doi:10.1073/pnas.1002470107. PMC 2867764. PMID 20385804.
  77. แบ็กก์, สเวอร์ (2019). State Formation in Europe, 843–1789: A Divided World (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 139. ISBN 978-0-429-58953-9.
  78. Ingold, Tim (1999). "On the social relations of the hunter-gatherer band". ใน Lee, Richard B.; Daly, Richard Heywood (บ.ก.). The Cambridge encyclopedia of hunters and gatherers. Cambridge University Press. p. 408. ISBN 978-0-521-57109-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2016.
  79. ชอว์, เอียน & เจมสัน, รอเบิร์ต (2002). "Neolithic". A dictionary of archaeology (6th ed.). ไวลีย์-แบล็กเวลล์. p. 423. ISBN 978-0-631-23583-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 เมษายน 2016.
  80. ฮัสสัน, เอ็ฟ.เอ. (2007). "The Lie of History: Nation-States and the Contradictions of Complex Societies". ใน คอนสตันซา, รอเบิร์ต; และคณะ (บ.ก.). Sustainability or collapse?: an integrated history and future of people on earth. สำนักพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์. p. 186. ISBN 978-0-262-03366-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016.
  81. สก็อตต์, 2009: p. 29 เก็บถาวร 5 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  82. แลงเกอร์, อีริก ดี. & สเตินส์, ปีเตอร์ เอ็น. (1994). "ระบบการทำเกษตร". ใน สเตินส์, ปีเตอร์ เอ็น. (บ.ก.). Encyclopedia of social history. เทย์เลอร์ & แฟรนซิส. p. 28. ISBN 978-0-8153-0342-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2016.
  83. โคเฮน, รอนัลด์ (1978). "State Origins: A Reappraisal". The Early State. วอลเตอร์ ดี กรุยเตอร์. p. 36. ISBN 978-90-279-7904-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 เมษายน 2016.
  84. ฟุกุยามะ, แฟรนซิส (2012-03-27). The Origins of Political Order: From Prehuman Times to the French Revolution (ภาษาอังกฤษ). Farrar, Straus and Giroux. p. 70. ISBN 978-0-374-53322-9.
  85. ฟุกุยามะ, แฟรนซิส (2012-03-27). The Origins of Political Order: From Prehuman Times to the French Revolution (ภาษาอังกฤษ). Farrar, Straus and Giroux. p. 70. ISBN 978-0-374-53322-9.
  86. โรเซอเวลต์, แอนนา ซี. (1999). "The Maritime, Highland, Forest Dynamic and the Origins of Complex Culture". ใน ซาโลมอน, แฟรงก์; ชวาทซ์, สจวร์ต บี. (บ.ก.). Cambridge history of the Native peoples of the Americas: South America, Volume 3. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. pp. 266–267. ISBN 978-0-521-63075-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 มิถุนายน 2016.
  87. แมนน์, ไมเคิล (1986). "The emergence of stratification, states, and multi-power-actor civilization in Mesopotamia". The sources of social power: A history of power from the beginning to A. D. 1760, Volume 1. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. ISBN 978-0-521-31349-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2016.
  88. หวัง, หยูหัว (2021). "State-in-Society 2.0: Toward Fourth-Generation Theories of the State". การเมืองเปรียบเทียบ (ภาษาอังกฤษ). 54: 175–198. doi:10.5129/001041521x16184035797221. S2CID 235847848.
  89. ย็อฟฟี, นอร์มัน (1988). "Context and Authority in Early Mesopotamian Law". ใน โคเฮน, รอนัลด์; ทอลันด์, จูดิธ ดี. (บ.ก.). การก่อตั้งรัฐและความชอบธรรมทางการเมือง. Transaction Publishers. p. 95. ISBN 978-0-88738-161-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 พฤษภาคม 2016.
  90. ย็อฟฟี, นอร์มัน (2005). Myths of the archaic state: evolution of the earliest cities, states and civilizations. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 102. ISBN 978-0-521-81837-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤษภาคม 2011.
  91. เทอร์ชิน, ปีเตอร์; ไวต์เฮาส์, ฮาร์วีย์; กัฟริเล็ตส์, เซอร์เกย์; โฮเยอร์, แดเนียล; ฟร็องซัว, ปีเยเตอร์; เบ็นเน็ตต์, เจมส์ เอส.; ฟีนีย์, เควิน ซี.; เพเรกริน, ปีเตอร์; ไฟน์แมน, แกรี; โคโรทาเยฟ, อันเดรย์; คราดิน, นิโคไล (2022). "Disentangling the evolutionary drivers of social complexity: A comprehensive test of hypotheses". Science Advances. 8 (25): eabn3517. Bibcode:2022SciA....8N3517T. doi:10.1126/sciadv.abn3517. PMC 9232109. PMID 35749491. S2CID 250022526.
  92. เนลสัน, 2006: p. 17 เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  93. โจนส์, รีส (2007). People/states/territories: the political geographies of British state transformation. ไวลีย์-แบล็กเวลล์. pp. 52–53. ISBN 978-1-4051-4033-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤษภาคม 2016. ... see also pp. 54- เก็บถาวร 16 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดยที่โจนส์ได้กล่าวถึงปัญหาเกี่ยวกับแนวความคิดทั่วไปเกี่ยวกับระบบฟิวดัล
  94. ทิลลี, ชาลส์ (1992). Coercion, Capital, and European States, AD 990-1992. แบล็กเวลล์. p. 44. ISBN 978-1-55786-067-5. OCLC 1148616089.
  95. แอบรัมสัน, สก็อตต์ เอฟ. (2017). "The Economic Origins of the Territorial State". International Organization. 71 (1): 97–130. doi:10.1017/S0020818316000308. S2CID 22432480.
  96. ลารุส, เอดีซียง. "Définitions : État - Dictionnaire de français Larousse". www.larousse.fr. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  97. ทอมัส, จอร์จ เอ็ม.; เมเยอร์, จอห์น ดับบลิว. (สิงหาคม 1984). "การขยายตัวของรัฐ". Annual Review of Sociology. 10 (1): 461–482. doi:10.1146/annurev.so.10.080184.002333.
  98. เกอตาชิว, อดัม (2019). การสร้างโลกหลังจักรวรรดิ: ความรุ่งเรืองและการล่มสลายของการตัดสินใจด้วยตนเอง. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน. pp. 73–74. doi:10.2307/j.ctv3znwvg. ISBN 978-0-691-17915-5. JSTOR j.ctv3znwvg.
  99. เบอร์แบงก์, เจน; คูเปอร์, เฟรเดอริก (2010). จักรวรรดิในประวัติศาสตร์โลก: อำนาจและการเมืองแห่งความแตกต่าง (ภาษาอังกฤษ). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน. p. 182. ISBN 978-0-691-12708-8.
  100. นิวแมน, ซอล (2010). การเมืองยุคหลังแนวคิดอนาธิปไตย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเอดินบะระ. p. 109. ISBN 978-0-7486-3495-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 กรกฎาคม 2016.
  101. รุสโซปูลอส, ดิมิตรีออส อี. (1973). The political economy of the state: Québec, Canada, U.S.A. Black Rose Books. p. 8. ISBN 978-0-919618-01-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤษภาคม 2016.
  102. คริสโตยานโนปูลอส, อเล็กซานเดร (2010). Christian Anarchism: A Political Commentary on the Gospel. Exeter: Imprint Academic. pp. 123–126. Revelation
  103. แอลูล, ฌัก (1988). อนาธิปไตยกับคริสต์ศาสนา. มิชิแกน: Wm. B. Eerdmans. pp. 71–74. ISBN 9780802804952. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2015. สัตว์ร้ายตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากท้องทะเล... โดยได้รับมอบ 'สิทธิอำนาจและอำนาจทั้งหมดเหนือทุกชนเผ่า ทุกชนชาติ ทุกภาษา และทุกประชาชาติ' (13:7) ทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลกก็ต้องเคารพบูชามัน ข้าพเจ้าเชื่อว่าอำนาจทางการเมืองแทบจะอธิบายให้ชัดเจนไปกว่านี้ไม่ได้ เพราะอำนาจนี้เองที่มีอำนาจ ซึ่งควบคุมกองกำลังทหาร และบังคับให้เกิดความเคารพนับถือขึ้น (นั่นคือ การเชื่อฟังอย่างสุจริตใจ).
  104. 104.0 104.1 104.2 รอธบาร์ด, เมอร์เรย์ (1970). อำนาจและการตลาด. Institute for Humane Studies. ISBN 1-933550-05-8.[ต้องการเลขหน้า]
  105. 105.0 105.1 ลอง, รอเดอริก ที. (1 ธันวาคม 2013). "Reply to Stephen Cox". The Journal of Ayn Rand Studies. 13 (2): 210–223. doi:10.5325/jaynrandstud.13.2.0210.
  106. บล็อก, วอลเตอร์ (2005). "Ayn Rand and Austrian Economics: Two Peas in a Pod". The Journal of Ayn Rand Studies. 6 (2): 259–269. JSTOR 41560283.
  107. Frederick Engels – Socialism: Utopian and Scientific. 1880 เก็บถาวร 2007-02-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Full Text. From Historical Materialism: "การแทรกแซงของรัฐในความสัมพันธ์ทางสังคมกลายเป็นเรื่องที่ดูฟุ่มเฟือย และจากนั้นก็ถูกหักล้างด้วยตัวของมันเอง การปกครองโดยบุคคลถูกแทนที่ด้วยการบริหารสรรพสิ่ง และโดยการดำเนินกระบวนการผลิต รัฐมิได้ "ยกเลิก" มันลงไปเองตามเจตนา... การสร้างผลิตผลทางสังคมตามแผนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจะเป็นไปได้ต่อจากนี้ ก็ด้วยการพัฒนาทางด้านการผลิตทำให้การดำรงอยู่ของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคมนับแต่นั้นเป็นต้นมากลายเป็นความล้าสมัย สัดส่วนของความเป็นอนาธิปไตยในการผลิตทางสังคมจะหายไป อำนาจทางการเมืองของรัฐก็สูญสิ้นไป ท้ายที่สุดมนุษย์ก็จะเป็นนายของการจัดระเบียบทางสังคมในรูปแบบของเขาเอง ในเวลาเดียวกันก็จะกลายเป็นเจ้าเหนือธรรมชาติที่มีอิสระด้วยตัวของเขาเองอีกเช่นกัน"
  108. 108.0 108.1 ฟลินต์ & เทย์เลอร์, 2007: p. 139
  109. โจเซฟ, 2004: p. 15 เก็บถาวร 6 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  110. แบร์โรว์, 1993: p. 4
  111. สมิธ, มาร์ก เจ. (2000). Rethinking state theory. Psychology Press. p. 176. ISBN 978-0-415-20892-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
  112. โจเซฟ, 2004: p. 44 เก็บถาวร 29 กรกฎาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  113. วินเซนต์, 1992: pp. 47–48 เก็บถาวร 30 เมษายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  114. ดาห์ล, รอเบิร์ต (1973). Modern Political Analysis. Prentice Hall. p. [ต้องการเลขหน้า]. ISBN 0-13-596981-6.
  115. คันนิงแฮม, แฟรงก์ (2002). Theories of democracy: a critical introduction. Psychology Press. pp. 86–87. ISBN 978-0-415-22879-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2016.
  116. ซไวเกินฮาฟต์, ริชาร์ด แอล. & ดอมฮ็อฟฟ์, จี. วิลเลียม (2006). Diversity in the power elite: how it happened, why it matters (พิมพ์ครั้งที่ 2 ed.). โรว์มัน & ลิทเทิลฟีลด์. p. 4. ISBN 978-0-7425-3699-9. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2016.
  117. ดันแคน, แกรม แคมป์เบลล์ (1989). ประชาธิปไตยและรัฐทุนนิยม. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 137. ISBN 978-0-521-28062-4. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2016.
  118. เอ็ดการ์, แอนดรูว์ (2005). ปรัชญาของฮาแบร์มาส. McGill-Queen's Press. pp. 5–6, 44. ISBN 978-0-7735-2783-6.
  119. คุก, เดโบราห์ (2004). Adorno, Habermas, and the search for a rational society. Psychology Press. p. 20. ISBN 978-0-415-33479-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 เมษายน 2016.
  120. เมโลซี, ดาริโอ (2006). "Michel Foucault and the Obsolescent State". ใน โบลีเยอ, อาแล็ง; แก็บบาร์ด, เดวิด (บ.ก.). Michel Foucault and power today: international multidisciplinary studies in the history of the present. Lexington Books. p. 6. ISBN 978-0-7391-1324-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 พฤษภาคม 2016.
  121. กอร์ดอน, โคลิน (1991). "Government rationality: an introduction". ใน Foucault, Michel; และคณะ (บ.ก.). The Foucault effect: studies in governmentality. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยชิคาโก. p. 4. ISBN 978-0-226-08045-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤษภาคม 2016.
  122. มิตเชลล์, ทิโมธี (2006). "สังคม เศรษฐกิจ และผลกระทบต่อรัฐ". ใน ศรรมะ, อาราธนา; คุปตะ, อาคลี (บ.ก.). The anthropology of the state: a reader. ไวลีย์-แบล็กเวลล์. p. 179. ISBN 978-1-4051-1467-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2016.
  123. เลมเกอ, ทอมัส (2011). ฟูโกต์ การเมืองการปกครอง และบทวิพากษ์. Paradigm Publishers. p. 15. ISBN 978-1-59451-637-5. OCLC 653123044.
  124. มีแชล, ฟูโก (2007). ความมั่นคง,ดินแดน,ประชากร. pp. 311–332.
  125. มีแชล, ฟูโก (2007). ความมั่นคง,เขตแดน,ประชากร. pp. 1–27.
  126. มีแชล, ฟูโก (2007). ความมั่นคง,เขตแดน,ประชากร. pp. 87–115 115–135.
  127. จาโน ร็อกกา "The Faces of Belial – The Scientific Method Applied to Human Condition – Book V" (2020) https://independent.academia.edu/GianoRocca
  128. สแคลร์, เลสลีย์ (2004). "Globalizing class theory". ใน ซินแคลร์, ทิโมธี (บ.ก.). Global governance: critical concepts in political science. เทย์เลอร์ & แฟรนซิส. pp. 139–140. ISBN 978-0-415-27665-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2016.
  129. วินเซนต์, 1992: p. 43 เก็บถาวร 24 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  130. มาเลเชวิช, 2002: p. 85 เก็บถาวร 20 พฤษภาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  131. โดแกน, 1992: pp. 119–120 เก็บถาวร 17 มิถุนายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  132. "เลอไวอะธัน, โดย ทอมัส ฮอบส์". www.gutenberg.org. สืบค้นเมื่อ 2020-11-19.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  133. ล็อก, จอห์น (1690). ความเรียงที่สองว่าด้วยการปกครอง.[ต้องการเลขหน้า]
  134. สตีเฟน ค็อกซ์ (2013). "Rand, Paterson, and the Problem of Anarchism". The Journal of Ayn Rand Studies. 13 (1): 3. doi:10.5325/jaynrandstud.13.1.0003. S2CID 169439235.
  135. วอลเลอร์สตีน, อิมมานูเอล (1999). The end of the world as we know it: social science for the twenty-first century. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมินนิโซตา. p. 228. ISBN 978-0-8166-3398-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 พฤษภาคม 2016.
  136. คอลลินส์, แรนดัลล์ (1986). Weberian Sociological Theory. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 158. ISBN 978-0-521-31426-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 มิถุนายน 2016.
  137. สเวดเบิร์ก, ริชาร์ด & เอจเวล, โอลา (2005). The Max Weber dictionary: key words and central concepts. Stanford University Press. p. 148. ISBN 978-0-8047-5095-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2016.
  138. ซามูเอลส์, เดวิด (2012). การเมืองเปรียบเทียบ. Pearson Higher Education. p. 29.
  139. 139.0 139.1 ซามูเอลส์, เดวิด. การเมืองเปรียบเทียบ. Pearson Higher Education.
  140. มิกแดล, โจเอล (1988). Strong societies and weak states: state-society relations and state capabilities in the Third World. pp. บทที่ 2.
  141. มิกแดล, โจเอล (1988). Strong societies and weak states: state-society relations and state capabilities in the Third World. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยพรินซ์ตัน. pp. บทที่ 8.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิคำคม มีคำคมที่กล่าวโดย หรือเกี่ยวกับ State