ปากน้ำโพ
ปากน้ำโพ อาจหมายถึง
1) พื้นที่บริเวณปากแม่น้ำโพ แควใหญ่ หรือ แม่น้ำน่าน [1]
2) จุดบรรจบของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา
3) ชุมชนการค้าของชาวจีนที่ก่อตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 อยู่บริเวณปากแม่น้ำโพ แควใหญ่ หรือ แม่น้ำน่าน [1]
4) ตำบลปากน้ำโพ หรือ เมืองปากน้ำโพ [1] ตำบลในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
6) อำเภอปากน้ำโพ เมืองปากน้ำโพในช่วงปี พ.ศ. 2460-2481 เป็นพื้นที่ศูนย์กลางการปกครองของจังหวัด ที่ควบรวมเมืองปากน้ำโพและเมืองนครสวรรค์เข้าด้วยกัน [1]
7) ชื่อเรียกแบบไม่เป็นทางการของเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ หลัง พ.ศ. 2481 จนถึงปัจจุบัน [1]
8) ตลาดปากน้ำโพ ย่านการค้าเก่าแก่และศูนย์กลางความเจริญของจังหวัดนครสวรรค์ [1]
9) สถานีรถไฟปากน้ำโพ - สถานีรถไฟในทางรถไฟสายเหนือ จังหวัดนครสวรรค์
มีตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับที่มาของคำว่า “ปากน้ำโพ” ดังนี้ [1]
ข้อสมมติฐานที่ 1 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำโผล่ เพราะเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ที่แม่น้ำปิง วัง ยมและน่าน มาโผล่รวมกันเป็นต้นแม่น้ำเจ้าพระยา
ข้อสมมติฐานที่ 2 ปากน้ำโพมาจาก ต้นโพธิ์ที่อยู่บริเวณปากแม่น้ำ เนื่องจากมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ริมตลิ่งใกล้วัดโพธาราม ประชาชนจึงเรียกว่า “ปากน้ำโพธิ์” [2]“ปากแม่น้ำโพธิ์” ต่อมาค่อย ๆ กร่อนกลายเป็น “ปากน้ำโพ” มาจนปัจจุบัน [3]
ข้อสมมติฐานที่ 3 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของวัดโพธาราม หรือ วัดโพธิ์ ซึ่งสภาพภูมิศาสตร์บ้านเมือง ที่มีปากน้ำไหลมารวมกันตรงบริเวณวัดโพธาราม จึงเรียกต่อๆกันว่าปากน้ำวัดโพธาราม และพัฒนาเปลี่ยนมาเป็น “ปากน้ำวัดโพ” และ “ปากน้ำโพ” ในที่สุด [3]
ข้อสมมติฐานที่ 4 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของแม่น้ำโพ ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำปิง ส่วนที่แม่น้ำปิงและแม่น้ำวังไหลมาบรรจบรวมกันตั้งแต่จังหวัดตากถึงนครสวรรค์ ดังนั้นตรงปากน้ำปิงมาสบกับแม่น้ำน่าน เรียกว่า “ปากน้ำโพ” [4] [5] [6]
ข้อสมมติฐานที่ 5 ปากน้ำโพมาจาก ปากน้ำของแม่น้ำโพ ซึ่งเป็นชื่อของแม่น้ำน่าน บริเวณตั้งแต่อุตรดิตถ์จนถึงนครสวรรค์ เพราะไหลผ่านตลาดการค้าบางโพ-ท่าอิฐ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเจริญรุ่งเรืองขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงต้นรัชกาลที่ 4 โดยเป็นตลาดน้ำแบบเรือนแพที่ขนสินค้าจากภาคกลางไปค้าขายในพื้นที่สิบสองพันนา หลวงพระบาง แพร่ น่าน ฯลฯ ดังนั้นจึงเรียกพื้นที่ตรงปากน้ำน่านว่า ปากน้ำโพ [7] ซึ่งแม่น้ำโพ หรือ แม่น้ำคลองโพมาจากคลองโพที่อยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วไหลลงมาแม่น้ำน่าน [8]
ข้อสมมติฐานที่ 6 ปากน้ำโพมาจาก ปากแม่น้ำโพ หรือแม่น้ำน่าน ซึ่งเป็นจุดบรรจบของแม่น้ำสวรรคโลก และแม่น้ำพิษณุโลก [9] ซึ่งแม่น้ำสวรรคโลก น่าจะหมายถึง แม่น้ำยม และแม่น้ำพิษณุโลก น่าจะหมายถึง แม่น้ำน่าน [1]
หน้าแก้ความกำกวมนี้รวมบทความที่มีชื่อเหมือนหรือใกล้เคียงกัน ถ้าลิงก์ภายในใดนำคุณมาหน้านี้ คุณอาจต้องการแก้ไขลิงก์ให้ชี้ไปยังหน้าที่ต้องการโดยตรง |
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 Rianthong, S. (2023). The Timeline and Change of Communities in The Area of Paknampo Before 1957. DEC Journal, 2(2), 105–144. Retrieved from https://so07.tci-thaijo.org/index.php/decorativeartsJournal/article/view/2028
- ↑ ปิติชัย พงษ์วานิชอนันต์. (2543). นครสวรรค์. องค์การค้าของคุรุสภา.
- ↑ 3.0 3.1 สํานักศิลปะและวัฒนธรรม ราชภัฏนครสวรรค์. (2562). นครสวรรค์ศึกษา. วิสุทธิ์การพิมพ์.
- ↑ หลวงเทศาจิตรวิจารณ์. (2468). ว่าด้วยแม่น้ำที่มีในประเทศสยาม. โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. (2520). อักขรานุกรมภูมิศาสตร์ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2520 เล่ม 1, 2, 3. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรมการปกครอง.
- ↑ ทิวารักษ์ เสรีภาพ. (2553). เมืองปากน้ำโพโดยย่อ. ภาพเก่าเล่าขานตำนานเมืองปากน้ำโพ. ใน อเนก นาวิกมูล และคณะ (บ.ก.). (น. 20-21). โรงพิมพ์เดือนตุลา.
- ↑ สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2559, 5 กุมภาพันธ์). สุจิตต์ วงษ์เทศ : ปากน้ำโพ (นครสวรรค์) ได้ชื่อจากปากน้ำของแม่น้ำโพ (อุตรดิตถ์). https://www.matichon.co.th/entertainment/arts-culture/news_26858
- ↑ สํานักศิลปะและวัฒนธรรม ราชภัฏนครสวรรค์. (2562). นครสวรรค์ศึกษา. วิสุทธิ์การพิมพ์.
- ↑ Carter, Cecil. (1904). The Kingdom of Siam - Ministry of Agriculture, Louisiana Purchase Exposition. G.P. Putnam's Sons.