ข้ามไปเนื้อหา

โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม

พิกัด: 14°07′55″N 100°49′03″E / 14.131814°N 100.817428°E / 14.131814; 100.817428
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม
Nongsuawittayakhom School
ที่ตั้ง
แผนที่
43 หมู่ 5 ถนนรังสิต-บางขันธ์ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี 12170
ข้อมูล
ชื่ออื่นน.ส.
ประเภทโรงเรียนรัฐบาล
คำขวัญปญฺญา นรานํ รตนํ
ปัญญาคือแก้วประดับนรชน
สถาปนา17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515
ผู้ก่อตั้งกระทรวงศึกษาธิการ
หน่วยงานกำกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
รหัส1001130401
ผู้อำนวยการนาย อำนาจ จันทร์พางาม
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 1-6
สี   สีเหลือง-สีดำ
เพลงเพลงมาร์ชหนองเสือ
เว็บไซต์http://www.nongsua.ac.th

โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม เป็นโรงเรียนรัฐบาลในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ประเภทโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ เปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายแบบสหศึกษา ตั้งอยู่บริเวณถนนรังสิต-บางขันธ์ ตำบลบึงบา อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับวัดบึงบาประภาสะวัต และเป็นโรงเรียนประจำอำเภอหนองเสือ

ประวัติ

[แก้]

โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2515 โดยใช้ศาลาการเปรียญเป็นที่ตั้งโรงเรียนชั่วคราว ซึ่งต่อมาได้รับที่ดินสร้างโรงเรียนและสนามกีฬา จำนวน 60 ไร่ จากพระครูเมตตาวิหารคุณ เจ้าคณะอำเภอหนองเสือ โดยในครั้งแรกเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีจำนวนนักเรียน 43 คน ครู 2 คน และเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในปี พ.ศ. 2532 ปัจจุบัน เปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6 มีนักเรียนทั้งหมดประมาณ 2000 คน

รายนามผู้อำนวยการโรงเรียน

[แก้]
รายนามผู้อำนวยการโรงเรียนหนองเสือวิทยาคม
ลำดับ ชื่อ-นามสกุล ตำแหน่ง วาระการดำรงตำแหน่ง
1. นาย วิชิต แผ้วสถาน รักษาการครูใหญ่ พ.ศ. 2515
2. นาย สันติ โชติจันทร์ รักษาการครูใหญ่ พ.ศ. 2515-2516
3. นาย สมาน รักษาศีล ครูใหญ่ พ.ศ. 2516
4. นาย อำนวย ทั่วทิพย์ ครูใหญ่ พ.ศ. 2516-2517
5. นาย ธานี สมบูรณ์บูรณะ ครูใหญ่ พ.ศ. 2517-2519
6. นาย เถลิง แก้วเสน่ห์ อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2519-2524
7. นาย วิวัฒน์ พวงมะลิต อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2524-2528
8. นาย วันชัย ดีวงษา อาจารย์ใหญ่ พ.ศ. 2528-2534
9. นาย กนก วสวานนท์ อาจารย์ใหญ่
ผู้อำนวยการ
พ.ศ. 2534-2535
10. นาย ประดิษฐ์ นาคกรด ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2535-2539
11. นาย ประสิทธิ์ มีแต้ม ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2539-2542
12. นาย สุทัศน์ เบญจสุวรรณเทพ ผู้อำนวยการ พ.ศ. 2542-30 กันยายน พ.ศ. 2545
13. นาย สมศักดิ์ โคกทอง ผู้อำนวยการ 24 มกราคม พ.ศ. 2546 - 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
14. นาย ภักดี คงดำ ผู้อำนวยการ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
15. นาย สมชาย ส่งศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 - 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
16. นาย วีรพงษ์ คล้อยดี ผู้อำนวยการ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 - 18 มกราคม พ.ศ. 2553
17. นาย โกสินทร์ นันทธีโร ผู้อำนวยการ 25 มกราคม พ.ศ. 2553 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555
18. นาย นฤนาท ผ่องศรีนวล ผู้อำนวยการ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555-20 ตุลาคม พ.ศ. 2557
19. นาง อัญชลี เกตุบำรุง ผู้อำนวยการ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 27 สิงหาคม 2561
20. นาย สมศักดิ์ สุมน ผู้อำนวยการ 27 สิงหาคม 2561 - 17 พฤศจิกายน 2563
21. นาย อำนาจ จันทร์พางาม ผู้อำนวยการ 15 ธันวาคม 2563 - ปัจจุบัน

แผนการเรียน

[แก้]

โรงเรียนหนองเสือวิทยาคม ทำการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
  • ห้องเรียนปกติ
    • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 10 ห้องเรียน
    • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 10 ห้องเรียน
    • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ห้องเรียน
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 ห้องเรียน
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 9 ห้องเรียน
  • ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 8 ห้องเรียน

ประกอบไปด้วยแผนการเรียน ดังนี้

อาคารและสิ่งปลูกสร้างภายในโรงเรียน

[แก้]
  • อาคาร 1 ประกอบด้วย
    • ชั้น 1 สำนักงานผู้อำนวยการ สำนักงาน 4 กลุ่มบริหารงาน ธนาคารโรงเรียน ส่งเสริมโดยธนาคารออมสิน ห้องประชุมวิหารคุณ
    • ชั้น 2 สำนักงานกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ ห้องปฏิบัติการทางภาษาต่างประเทศ
  • อาคาร 2 ประกอบด้วย
    • ชั้น 1 ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
    • ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา ห้องปฏิบัติการทางฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการทางเคมี
  • อาคาร 3 ประกอบด้วย
    • ชั้น 1 พื้นที่ใต้ถุนโล่ง สถานที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ/ห้องเรียนทั่วไป/ห้องประชุมชั่วคราว
    • ชั้น 2 ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
    • ชั้น 3 สำนักงานกลุ่มสาระฯ ภาษาไทย ห้องเรียนภาษาไทย สำนักงานกลุ่มสาระฯ สังคมศึกษา ห้องพระพุทธศาสนา ห้องเรียนสังคมศึกษา
    • ชั้น 4 ห้องเรียนภาษาไทย ห้องเรียนสังคมศึกษา

ทิศตะวันออกห้องน้ำหญิงทุกชั้น ทิศตะวันตกห้องน้ำชายทุกชั้น

  • อาคาร 4 ประกอบด้วย
    • ชั้น 1 ห้องประชุมนนทรี
    • ชั้น 2 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์
    • ชั้น 3 ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ ห้องเรียนคณิตศาสตร์
    • ชั้น 4 ห้องเรียนคณิตศาสตร์ ทิศตะวันออกห้องน้ำหญิงทุกชั้น ทิศตะวันตกห้องน้ำชายทุกชั้น
  • อาคาร 5 อาคารเรียน
    • ชั้น 1 ห้องแนะแนว ห้องเรียนแนะแนว ห้องเรียนสุขศึกษา ห้องลูกเสือเนตรนารี ห้องทูปีนัมเบอร์วัน
    • ชั้น 2 ห้องปฏิบัติการและห้องเรียนภาษาต่างประเทศ (อังกฤษ จีน)
  • ซุ้มพระ ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าประตู 1 มีลานนั่งอยู่ด้านข้าง
  • โรงฝึกงาน ประกอบไปด้วย
    • อาคารอุตสาหกรรม
    • อาคารคหกรรม
    • อาคารเกษตร

ด้านหลังอาคารทั้ง 3 เป็นสถานที่ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ บ่อปลา พืชท้องถิ่น โรงเพราะเห็ด

  • เรือนพยาบาล อยู่ข้างอาคาร 3
  • ห้องนาฏศิลป์ ใช้เรียนวิชานาฏศิลป์
  • ห้องดนตรี มี 2 สถานที่ 1. ห้องเก็บอุปกรณ์ดนตรี/ห้องซ้อมดนตรี 2. ห้องซ้อมดนตรี/ห้องเรียน (ห้องเรียนสีม่วง)
  • ห้องสหกรณ์โรงเรียน ห้องจำหน่ายอุปกรณ์การเรียน/จำหน่ายเครื่องปริโภคทั่วไป
  • โรงอาหาร เมื่อก่อนเป็นโรงยิมต่อมาเป็นหอประชุม ปัจจุบันเป็นโรงอาหาร
  • อาคารศิลปะ ห้องเรียนศิลปะ อยู่ด้านหลังโรงอาหาร
  • อาคารเรียนชั่วคราว มี 2 อาคาร อาคาร 1 ประกอบด้วยห้องพิพิธภัณฑ์ ห้องเด็กพิเศษ ห้องเรียน อาคาร 2 ห้องการงานอาชีพ
  • อาคารโดม
  • ห้องน้ำชาย ตั้งอยู่ด้านข้างสนามฟุตบอล
  • ห้องน้ำหญิง ตั้งอยู่ด้านข้างอาคาร 2 ทิศตะวันตก
  • ด้านกีฬาและสุขภาพ
  • เรือนกล้วยไม้
  • เวที/ลานนนทรี เป็นที่ทำกิจกรรม
  • ลานไทร, ลานประดู่, ลานเบญจพรรณ เป็นลานนั่งพักผ่อน 3 ลานนี้จะอยู่ตรงข้ามกันทางทิศตะวันตกของโรงเรียน
  • ร้าน Tiger De Cafe' & Souvenirs เป็นร้านเครื่องดื่มและร้านของที่ระลึกของโรงเรียน สำหรับเป็นศูนย์ฝึกวิชาชีพของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่บริเวณลานไทรทางทิศตะวันตกของอาคาร 1

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

14°07′55″N 100°49′03″E / 14.131814°N 100.817428°E / 14.131814; 100.817428