โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ | |
---|---|
Ramadhibodi Chakri Naruebodindra Hospital | |
ประเภท | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย |
ที่ตั้ง | 111 หมู่ 14 ถนนเลียบคลองส่งน้ำสุวรรณภูมิ ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
ข้อมูลทั่วไป | |
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2554 |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล |
ผู้อำนวยการ | ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ |
จำนวนเตียง | 124[1] |
เว็บไซต์ | https://www.rama.mahidol.ac.th/cnmi/ |
โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ และสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ [2] คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการแพทย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 7 รอบ 84 พรรษา 5 ธันวาคม 2554 เพื่อเพิ่มวิทยาลัยการแพทย์ในจังหวัดสมุทรปราการและข้างเคียง รวมทั้งเป็นการขยายโอกาสการเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์ของประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการเปิดสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ และโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ นับเป็นพระกรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ต่อชาวจังหวัดสมุทรปราการและข้างเคียง เพราะจะมีศูนย์กลางทางการแพทย์ในพื้นที่ โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปรักษาในกรุงเทพมหานคร[3][4]
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ฯ ตั้งอยู่ที่ซอยเทศบาลบางปู 119 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประวัติ
[แก้]สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เกิดจากพระราชปรารภและพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่มีพระราชประสงค์ให้มีสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาลของรัฐขนาดใหญ่ระดับโรงเรียนแพทย์ขึ้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อให้การดูแลและให้บริการตรวจรักษาประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่มาจากต่างจังหวัด เพื่อประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ตลอดจนถึงประชาชนในบริเวณใกล้เคียงรวมถึงจังหวัดชายฝั่งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว อีกด้วย เนื่องจากในปัจจุบันโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในจังหวัดสมุทรปราการเป็นโรงพยาบาลเอกชน ประชาชนซึ่งมีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงบริการของโรงพยาบาลเอกชนเหล่านี้ได้[5]
โครงการนี้จึงเป็นโอกาสทองของประชาชนไทยที่จะได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ในขณะเดียวกับที่เป็นโอกาสของบุคลากรรามาธิบดีที่จะใช้ความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่ร่วมกันเป็นพลังที่จะก่อให้เกิดคุณูปการแก่สังคมไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และเป็นโครงการที่ชาวรามาธิบดีทุกหมู่เหล่า น้อมใจกายดำเนินโครงการเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษาซึ่งสมพระเกียรติยศอย่างแท้จริง[6]
อาคารภายในสถาบัน
[แก้]- โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ โรงพยาบาลและหอผู้ป่วยในขนาด 400 เตียง
- ศาลาประชาคม หอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์รามาธิบดี
- ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 1
- ศูนย์การเรียนรู้และวิจัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 2
- อาคารกายวิภาคทางคลินิก
- อาคารวิศวกรรม
- หอพักนักศึกษา และบุคลากร
- อาคารนันทนาการ
- หอพักเจ้าหน้าที่
- พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- อาคารจอดรถ
การเดินทาง
[แก้]โดยในปัจจุบันกรมการขนส่งทางบก ได้มีการเปิดตัวรถเมล์มาตรฐานใหม่ 2 เส้นทาง ตามแผนปฏิรูประบบรถโดยสารประจำทางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งหนึ่งในนั้นมีเส้นทางรถเมล์สาย R26E สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-โรงพยาบาลรามาธิบดี (ทางด่วน) ซึ่งมีบริษัท มารัตน์ ทรานสปอร์ต จำกัด เป็นผู้ได้รับอนุญาตประกอบการขนส่ง ซึ่งในปัจจุบันรถเมล์สายนี้ได้เปิดให้บริการ มีจำนวนรถที่ให้บริการทั้งสิ้น 16 คัน เดินรถขั้นต่ำวันละ 48 เที่ยวต่อวัน โดยมีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท ถึงสูงสุดที่ 27 บาท[7][8] (ปัจจุบันบริษัท มารัตน์ ทรานสปอร์ต จำกัด ได้ยุติการเดินรถไปแล้ว และ ขสมก. เข้ามาเดินรถแทนในสาย 3-26E ในระหว่างรอเปิดคัดเลือกผู้เดินรถรายใหม่[9])
สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
[แก้]องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
[แก้]สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | เส้นทางขาไป (โรงพยาบาลรามาธิบดี) | เส้นทางขากลับ (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์) | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์) | เวลาเดินรถเที่ยวแรก (โรงพยาบาลรามาธิบดี) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์) | เวลาเดินรถเที่ยวสุดท้าย (โรงพยาบาลรามาธิบดี) | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3-26E (3) | โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ | โรงพยาบาลรามาธิบดี | สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ |
โรงพยาบาลรามาธิบดี |
05:20 น. | 05:30 น. | 20:30 น. | 22:00 น. | 1.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) | ขสมก. |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://gishealth.moph.go.th/healthmap/infoequip.php?maincode=41373&id=112572[ลิงก์เสีย]
- ↑ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล | สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
- ↑ พิธีเปิดสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ↑ ข่าวในพระราชสำนัก วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2560 - YouTube
- ↑ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ความหวังแห่งใหม่ของคนไทย - ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ "ความเป็นมาสถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2018-01-13.
- ↑ ขบ.เปิดตัวรถเมล์มาตรฐานใหม่ ขึ้นฟรี 5 วัน เริ่ม 16 ม.ค. สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-รามาธิบดี
- ↑ ขบ.เปิดตัวรถเมล์มาตรฐานใหม่ ขึ้นฟรี 5 วัน เริ่ม 16 ม.ค. สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์-รามาธิบดี - ผู้จัดการออนไลน์
- ↑ วันแรกของสาย 3-26E ขสมก., bangkokbusclub