โรงพยาบาลพุทธโสธร
โรงพยาบาลพุทธโสธร Buddhasothorn Hospital | |
---|---|
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 6 | |
ภูมิศาสตร์ | |
ที่ตั้ง | 174 ถนนมรุพงษ์ ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา 24000, ประเทศไทย |
พิกัด | 13°41′10″N 101°04′26″E / 13.686075°N 101.073751°E |
หน่วยงาน | |
ประเภท | ภูมิภาค |
สังกัด | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
บริการสุขภาพ | |
จำนวนเตียง | 595 เตียง |
ประวัติ | |
ชื่อเดิม | โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา |
เปิดให้บริการ | พ.ศ. 2478 |
ลิงก์ | |
เว็บไซต์ | www |
โรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย และจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลระดับภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ซึ่งจัดอบรมแพทย์ให้แก่คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1]
ประวัติ
[แก้]ใน พ.ศ. 2478 ได้มีการเปิดสถานีอนามัยริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงในเมืองฉะเชิงเทรา ภายใต้การบริหารงานของเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา โดยได้ขยายเป็นโรงพยาบาลใน พ.ศ. 2482 และตั้งชื่อว่าโรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา กระทั่ง พ.ศ. 2493 ได้โอนย้ายโรงพยาบาลมาสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ พ.ศ. 2518 ได้โอนย้ายโรงพยาบาลไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขอีกครั้ง เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554 โรงพยาบาลได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพุทธโสธร เพื่อแสดงความเคารพสักการะ 'หลวงพ่อพุทธโสธร' ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร[2]
เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ทางโรงพยาบาลได้ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดอบรมแพทย์ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)[3]
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถาบันร่วมผลิตแพทย์กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ในเขตภาคตะวันออก ณ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประวัติ
[แก้]ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร กระทรวงสาธารณสุขร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการร่วมผลิตใน โครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท และ โครงการกระจายแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน
กระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามความร่วมมือผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ในวันที่ 18 มิถุนายน 2550 เริ่มดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร เมื่อปี พ.ศ. 2551 แล้วเสร็จปี พ.ศ. 2554 งบประมาณการก่อสร้าง 147 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว และนนทบุรี
คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 652/2550 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 เรื่อง จัดตั้งศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร ดังนี้ ให้จัดตั้ง "ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก" โดยใช้ชื่อย่อว่า "ศพค" เป็นหน่วยงานภายในของโรงพยาบาลพุทธโสธรศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก มีฐานะเป็นฝ่ายหนึ่งของโรงพยาบาลพุทธโสธร และมีผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการ โดยอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร ให้ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก มีหน้าที่จัดการเรียนการสอนชั้นคลินิกให้กับนักศึกษาแพทย์ในโครงการร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในมหาวิทยาลัยที่ร่วมผลิต
ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร รับสมัครบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ผ่านทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระบบรับตรงประจำปีตามประกาศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลักสูตรการศึกษา
[แก้]ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลพุทธโสธร จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ใน 1 หลักสูตร คือ
|
ระยะเวลาในการศึกษา
[แก้]ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้
|
|
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "CPIRD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2019-09-22.
- ↑ "ประวัติโรงพยาบาล". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-02-16.
- ↑ "ข้อมูลทั่วไป". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-23.