อุบัติเหตุทางรังสีที่สมุทรปราการ
(ซ้ายไปขวา และบนลงล่าง) หัวเครื่องฉายรังสีที่ร้านรับซื้อของเก่าถอดวัตถุกัมมันตรังสีออก, วัตถุทรงกระบอกที่บรรจุวัตถุกัมมันตรังสี, ภาพมุมสูงของร้านรับซื้อของเก่าที่เกิดเหตุ, ภายในที่เกิดเหตุขณะเก็บกู้วัตถุกัมมันตรังสี | |
วันที่ | 24 มกราคม พ.ศ. 2543 – 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 |
---|---|
ที่ตั้ง | จังหวัดสมุทรปราการ ประเทศไทย |
พิกัด | 13°39′22″N 100°35′27″E / 13.65611°N 100.59083°E |
สาเหตุ | อุบัติเหตุทางรังสี |
เสียชีวิต | 3 |
บาดเจ็บไม่ถึงตาย | 7 |
อุบัติเหตุทางรังสีที่สมุทรปราการ เป็นอุบัติเหตุทางรังสีครั้งแรกของประเทศไทย[1][2] เกิดขึ้นช่วงปลายเดือนมกราคม–ต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 ที่จังหวัดสมุทรปราการ[3][4] อุบัติเหตุนี้เกิดขึ้นเมื่อส่วนหัวของเครื่องฉายรังสีทางการแพทย์ หรือ เครื่องฉายรังสีโคบอลต์-60ที่เก็บไว้อย่างไม่ถูกต้องถูกเก็บมาโดยคนขายของเก่า[3][4] จากนั้นคนขายของเก่านำไปแยกชิ้นส่วนโดยไม่รู้ตัวว่าเป็นวัตถุอันตราย ส่งผลให้ตนเองและบุคคลใกล้เคียงได้รับรังสีก่อไอออน ไม่กี่สัปดาห์หลังการแยกชิ้นส่วน ผู้สัมผัสและบุคคลที่เกี่ยวข้องเริ่มมีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลันจากรังสีจนต้องเข้าไปพบแพทย์ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติอันเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านนิวเคลียร์ของประเทศ ได้รับการแจ้งจากแพทย์เจ้าของไข้ที่สงสัยว่าอาการป่วยนี้น่าจะเกิดมาจากรังสี[3] การแจ้งนี้ตรงกับวันที่ 17 หลังจากการสัมผัสครั้งแรก เมื่อทางสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รับการรายงานจึงได้ส่งทีมเข้ามารับมือและตรวจสอบเพื่อค้นหาต้นกำเนิดรังสีที่คาดว่ามีการแผ่รังสีอยู่ที่ 15.7 เทระเบ็กเคอเรล และติดตามหาตัวเจ้าของผู้รับผิดชอบ เมื่อ ปส. ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่ามีต้นกำเนิดรังสีที่ไม่มีบรรจุและจัดเก็บอย่างปลอดภัย เหตุการณ์นี้ทำให้มีผู้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 10 ราย เสียชีวิตในภายหลัง 3 ราย และผู้ได้รับผลกระทบ 1,872 คน[3][5]
ภูมิหลัง
[แก้]โคบอลต์-60 (60Co) เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีของโคบอลต์ มีครึ่งชีวิต 5.27 ปี และปลดปล่อยรังสีแกมมาที่มีความสามารถในการทะลุทะลวงสูง มักใช้ในการรังสีรักษา ฆ่าเชื้อในสถานพยาบาลและในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อุปกรณ์ที่เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้เป็นเครื่องรักษาด้วยรังสีจากภายนอก Gammatron-3[6][7] ผลิตโดยบริษัทซีเมนส์และนำเข้ามาในประเทศไทยในปี 2512 ได้รับอนุญาตและติดตั้งที่โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร[8] ต้นกำเนิดรังสีที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุเป็นอุปกรณ์ทดแทนที่ติดตั้งใหม่ใน พ.ศ. 2524 โดยมีการแผ่รังสีเริ่มแรกอยู่ที่ 196 เทระเบ็กเคอเรล[3][9] แต่ในช่วงที่เกิดอุบัติเหตุมีการแผ่รังสีอยู่ที่ 15.7 เทระเบ็กเคอเรล[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ มูลนิธิบูรณะนิเวศ. (ม.ป.ป). โคบอลต์ 60 แผ่รังสี เก็บถาวร 2022-01-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564.
- ↑ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557).การวิเคราะห์ความเสี่ยงอุบัติภัยทางรังสี เก็บถาวร 2021-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 สมหญิง คุณานพรัตน์. "อุบัติเหตุทางรังสีที่สมุทรปราการ : บทเรียนที่ควรเรียนรู้" (PDF). กรมโรงงานอุตสาหกรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-11-04. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2021.
- ↑ 4.0 4.1 "ย้อนรอย โคบอลต์-60 อดีตที่ไม่มีวันลืม". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2021.
- ↑ "Lessons Learned The Hard Way". IAEA Bulletin. 47 (2). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ GAMMATRON 1, 2, 3, R, S and CAESA GAMMATRON, work on loaded GAMMATRON units (PDF). Safety notes. Siemens Medical Systems (ภาษาเยอรมัน และ อังกฤษ). United States Nuclear Regulatory Commission. 25 ตุลาคม 1985.
- ↑ "Siemens: from single room to great center". Radiology. Radiological Society Of North America. 84 (4): 19A. เมษายน 1965. doi:10.1148/84-4-767. (Siemens ads with a picture of a Gammatron-3 unit)
- ↑ คำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ 11713-11714/2551 ศาลอุทธรณ์ (PDF). Court of Appeals. 30 ธันวาคม 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2017. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ The radiological accident in Samut Prakarn (PDF). Vienna: International Atomic Energy Agency. 2002. pp. 1, 5, 7. ISBN 92-0-110902-4.