เหตุเพลิงไหม้โรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2564
แผนที่แสดงที่เกิดเหตุ | |
วันที่ | 5 กรกฎาคม 2564 |
---|---|
สถานที่ | โรงงานหมิงตี้ เคมิคอล |
ที่ตั้ง | อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ |
พิกัด | 13°40′25″N 100°42′45″E / 13.6735600°N 100.7126385°E |
ประเภท | อัคคีภัย |
สาเหตุ | การระเบิดของสารเคมี |
เสียชีวิต | 1[1] |
บาดเจ็บไม่ถึงตาย | 33[2] |
ทรัพย์สินเสียหาย | บ้านเรือน 70+ หลัง ยานพาหนะ 15+ คัน[2] |
เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล หรือที่พลเมืองเครือข่ายเรียกกันว่า เหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว[3] เกิดขึ้นเมื่อเวลา 03:30[4] นาฬิกาของวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 ที่โรงงานหมิงตี้ เคมิคอล เลขที่ 87 หมู่ 15 ถนนวัดกิ่งแก้ว ซอยกิ่งแก้ว 21 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ[3] โดยเพลิงไหม้ภายในโรงงานซึ่งผลิตเม็ดโฟมพลาสติกได้นำไปสู่การระเบิดอย่างุรนแรง ส่งผลให้ตัวอาคารของโรงงานได้รับความเสียหาย ถูกเพลิงไหม้หมดทั้งหลัง และอาคารในพื้นที่โดยรอบซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายจากแรงระเบิด[5][6] หลังเกิดระเบิดอีกรอบในเวลาประมาณ 11 นาฬิกา ส่งผลให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิงได้รับบาดเจ็บรวม 4 คนและเสียชีวิต 1 รายได้แก่ นาย กรสิทธิ์ ลาวพันธ์ อายุ 19 ปี[1] เหตุระเบิดคาดว่าเกิดจากเพลิงไหม้สารเคมีที่เก็บในโรงงานซึ่งมีจำนวนประมาณ 50 ตัน ระเบิดไปแล้ว 20 ตันในการระเบิดรอบแรก[5] แรงระเบิดส่งผลให้บ้านเรือนในพื้นที่ได้รับความเสียหายอย่างน้อย 70 หลัง, ยานพาหนะในพื้นที่เสียหายมากกว่า 15 คัน และมีผู้อยู่อาศัยได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 33 คน[2] ข้อมูลจาก 19 นาฬิกา หรือราว 15 ชั่วโมงนับจากเกิดเหตุ ระบุว่ายังคงดับเพลิงไม่สำเร็จ[7]
เมื่อเวลา 11 นาฬิกา ประชาชนในรัศมี 5 กิโลเมตรถูกอพยพออกจากพื้นที่เนื่องจากกลัวว่าเพลิงอาจลุกลามไปถึงที่เก็บสารเคมีขนาด 20,000 ลิตร[8] และขยายออกเป็นรัศมี 10 กิโลเมตรเมื่อเวลา 15 นาฬิกา[9] อย่างไรก็ตาม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่อมาได้ออกประกาศยืนยันว่ารัศมีอพยพอยู่ที่ 5 กิโลเมตรเท่านั้น[10]
ควันสีดำของสารเคมีที่เผาไหม้แพร่กระจายเป็นวงกว้างลักษณะคล้ายเมฆ ซึ่งเวลา 19 นาฬิกา ดร. วิษณุ อรรถวานิช รองศาสตราจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ระบุว่ากลุ่มควันสีดำคล้ายเมฆเริ่มกระจายทั่วกรุงเทพและบริเวณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุไปมากกว่า 20 กิโลเมตร[11]
ภูมิหลัง
[แก้]โรงงานที่เกิดเหตุเป็นโรงงานผลิตเม็ดโฟมของบริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด เป็นบริษัทลูกของหมิงตี้กรุ๊ป บริษัทจากประเทศไต้หวัน ส่วนโรงงานที่เกิดเหตุนั้นสร้างขึ้นในปี 2531[12] ตัวโรงงานตั้งอยู่ใจกลางพื้นที่ชุมชนที่อยู่อาศัย ซึ่งดร. วีรชัย พุทธวงศ์ รองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระบุผ่านไทยรัฐว่าลักษณะของโรงงานที่ตั้งอยู่กลางชุมชนเกิดจาก "สมัยก่อนการจัดการผังเมืองไม่ดี โรงงานเหล่านี้อยู่ในพื้นที่ของเขาอยู่แล้ว เพราะถือเป็นพื้นที่สีม่วง ชุมชนต่างหากที่ขยายออกไปหาโรงงาน"[13]
นอกจากนี้พื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากโรงงานที่เกิดเหตุมีโรงพยาบาล 2 แห่ง, ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ, หมู่บ้านจัดสรร 206 หมู่บ้าน และ คอนโดมิเนียม 99 อาคาร[14] ซึ่งในห้วงเวลานั้นถนนบางนา-ตราดยังมีเพียงทุ่งนาและยังไกลทุ่ง เมื่อตัวเมืองขยายมากขึ้นจากเขตพระโขนง พื้นที่นอกรอบ ชานเมืองในเวลานั้นคือบางนาก็ได้รับอานิสงส์และถูกพัฒนากลายเป็นเขตอุตสาหกรรม จนเกิดนักลงทุนมากหนาหลายตา เกิดหมู่บ้านจัดสรรสองข้างทาง ประกอบกับไม่มีการแบ่งแยกพื้นที่จนทำให้หมู่บ้านและโรงงานอยู่ร่วมกันมาหลายทศวรรษ เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ บางกะเจ้า เป็นผังเมืองสีเขียวแหล่ง แต่กลับเกิดหมู่บ้านจัดสรรในพื้นที่ดังกล่าว[15]
สาเหตุ
[แก้]ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุระเบิดที่แน่ชัด อย่างไรก็ตาม อ้างจากข้อมูลรายงานว่าโรงงานที่เกิดเหตุผลิตวัตถุดิบประเภทโฟมพอลิสไตรีน[4]ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ รองศาสตราจารย์ด้านเคมีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ให้ความเห็นว่าสารตัวที่ระเบิดไม่น่าใช่พอลิสไตรีน แต่น่าจะเป็นตัวทำละลายที่ใช้ในกระบวนการผลิตโฟมและพลาสติก เช่น โทลูอีน ซึ่งเป็นสารติดไฟง่ายและน่าจะเป็นตัวการให้เกิดการระเบิดขึ้น[13]
ผลสืบเนื่อง
[แก้]บนโลกสื่อสังคมออนไลน์มีการพูดถึงประเด็นนี้อย่างมาก โดยแฮชแท็ก #โรงงานกิ่งแก้วระเบิด ขึ้นเป็นเทรนด์อันดับหนึ่งบนทวิตเตอร์ของประเทศไทย[5]
สิ่งก่อสร้างและบริการในบริเวณโดยรอบที่เกิดเหตุได้รับผลกระทบโดยเฉพาะจากกลุ่มควันสีดำและความกังวลถึงความปลอดภัย โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 แอร์พอร์ต ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโรงงานที่เกิดเหตุในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตรประกาศเลื่อนผู้ที่มาตรวจรักษาซึ่งรวมถึงการตรวจโรคโควิด-19 และงดเดินทางมาโรงพยาบาล รวมถึงเลื่อนการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของวันที่ 5 ออกไปเป็นวันที่ 10 แทน[5] เมกาบางนา ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุราว 6 กิโลเมตรประกาศปิดให้บริการตั้งแต่ 16 นาฬิกาเป็นต้นไป[16] ในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิซึ่งห่างออกไปราวสามกิโลเมตรไม่ได้รับผลกระทบ ยังสามารถให้เครื่องบินขึ้น-ลงจอดได้ตามปกติ[17]
บุคคลมีชื่อเสียงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงเช่น ชลิตา ส่วนเสน่ห์ ซึ่งอาศัยในบ้านที่อยู่ห่างจากที่เกิดเหตุไปสองกิโลเมตร[18] และ ยุทธนา เปื้องกลาง[19] ล้วนได้ออกมาเผยแพร่ประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและการอพยพบนสื่อสังคมออนไลน์ของตน
วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ แก่ นาย กรสิทธิ์ ลาวพันธ์ และรับศพไว้ในพระราชานุเคราะห์ ในวันที่ 9 กรกฎาคม อนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีไทยเข้าร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพและมอบเงินช่วยเหลืองานศพ
วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้ พลอากาศโท ภักดี แสงชูโต ผู้ช่วยราชเลขานุการในพระองค์ 904 เป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในการนี้ นิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ นาย กรสิทธิ์ ลาวพันธ์ ณ วัดทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ด่วน นักผจญเพลิง เสียชีวิต 1 ราย เจ็บ 4 ราย เหตุ"ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว"". คมชัดลึก. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "ปภ.เผย คืบหน้าไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว บ้านพัง 70 หลัง เจ็บอย่างน้อย 33 ราย ดับ1". สปริงนิวส์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 3.0 3.1 "#ระเบิดกิ่งแก้ว พุ่งติดเทรนด์ โรงงานพลาสติกไฟไหม้กลางดึก เสียงระเบิดดังสนั่น (คลิป)". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 4.0 4.1 "สาเหตุ "หมิงตี้เคมีคอล" ระเบิดรุนแรง-เตือนระวังสารพิษอันตรายสูง". PPTV Online. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "ปชช.ติด #โรงงานกิ่งแก้วระเบิด พุ่งอันดับ 1 เกาะติดเหตุการณ์ ถนนกิ่งแก้วติดขัด หลังสั่งอพยพคน". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "เปิดคลิปนาทีระเบิด "โรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้" เสียงดังสนั่น กระจกแตก-บ้านพัง". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "กว่า 15 ชม. ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ยังคุมเพลิงไม่ได้ ควันดำพวยพุ่ง". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "ระเบิดกิ่งแก้ว อพยพชาวบ้าน รัศมี 5 กม. หวั่นบึมซ้ำ หลังไฟลามถังเคมีเพิ่ม". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "ด่วน! ลมเปลี่ยนทิศ จนท.ขยายพื้นที่เสี่ยง 10 กม. รอบโรงงานกิ่งแก้วไฟไหม้". สปริงนิวส์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ ""ไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว" ปภ.ยืนยันพื้นที่อพยพยังเป็นรัศมี 5 กิโลเมตร". ฐานเศรษฐกิจ. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "นักวิชาการเผย ท้องฟ้าสีดำแถว ม.เกษตรศาสตร์ ไม่ใช่ฝน คาดเป็นควันสารเคมี". ไทยรัฐ. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "รู้จัก บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ผลิตเม็ดโฟมพลาสติกจากจีน". PPTV Online. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ 13.0 13.1 "ระเบิดโรงงานกิ่งแก้ว เทียบ TNT 200 เท่า สารเคมีฟุ้ง-แมสก์เอาไม่อยู่!". ไทยรัฐออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "สรุปข้อมูลในรัศมี 5 ก.ม. จากเหตุไฟไหม้กิ่งแก้ว". Esri Thailand. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "บ้านจัดสรรบางกระเจ้า". ONE TON. 2014-06-02.
- ↑ "เมกาบางนา แจ้งปิดบริการ 4 โมงเย็นวันนี้ เหตุโรงงานย่านกิ่งแก้วระเบิด ห่วงความปลอดภัยลูกค้า-พนง". มติชนออนไลน์. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "สนามบินสุวรรณภูมิเผยเหตุรง.ระเบิดไฟไหม้ ไม่กระทบเครื่องบินขึ้น-ลง". ไทยพีบีเอส. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "'น้ำตาล ชลิตา'ระทึก! อพยพวุ่นเหตุบ้านใกล้โรงงานระเบิด". แนวหน้า. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.
- ↑ "อพยพด่วน "ตูมตาม ยุทธนา" เล่านาทีระทึก บ้านอยู่ใกล้โรงงานระเบิด". คมชัดลึก. 2021-07-05. สืบค้นเมื่อ 2021-07-05.