ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลตรัง

พิกัด: 7°34′20″N 99°37′09″E / 7.572162°N 99.619265°E / 7.572162; 99.619265
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลตรัง
Trang Hospital
กระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 12
แผนที่
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง69 ถนนโคกขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง 92000, ประเทศไทย
พิกัด7°34′20″N 99°37′09″E / 7.572162°N 99.619265°E / 7.572162; 99.619265
หน่วยงาน
ประเภทภูมิภาค
สังกัดสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
บริการสุขภาพ
จำนวนเตียง553 เตียง
ประวัติ
เปิดให้บริการ12 เมษายน พ.ศ. 2497
ลิงก์
เว็บไซต์www.tranghos.go.th

โรงพยาบาลตรัง เป็นโรงพยาบาลหลักของจังหวัดตรัง ประเทศไทย และจัดอยู่ในประเภทโรงพยาบาลระดับภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุข โดยมีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มที่อบรมแพทย์ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และเป็นโรงพยาบาลในเครือของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์[1]

ประวัติ

[แก้]

ในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1950 จังหวัดตรังมีสถานีอนามัยเพียงแห่งเดียวในใจกลางเมือง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงแรมตรัง) และได้ย้ายการดำเนินงานไปยังกระทรวงสาธารณสุขใน พ.ศ. 2494 เนื่องด้วยพื้นที่จำกัดทำให้การขยายโรงพยาบาลทำได้ยาก จึงได้เสนอแผนสร้างโรงพยาบาลใหม่บนพื้นที่ 53 ไร่ของกรมธนารักษ์ที่ควนหาญ ซึ่งเริ่มก่อสร้างใน พ.ศ. 2494 และเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2497 โดยจุได้ 25 เตียง ซึ่งชาวบ้านเรียกที่นี่ว่า 'โรงพยาบาลควนหาญ' เนื่องจากทำเลที่ตั้ง กระทั่งใน พ.ศ. 2518 โรงพยาบาลตรังได้กลายมาเป็นโรงพยาบาลทั่วไปที่มีความจุ 280 เตียง และในที่สุดก็กลายเป็นโรงพยาบาลระดับภูมิภาคใน พ.ศ. 2540[2]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง (อังกฤษ: Trang Hospital Medical Education Center) เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก สังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นสถาบันร่วมผลิตแพทย์กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการผลิตแพทย์แนวปฏิรูป คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2549

ประวัติศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้]

ในข้อตกลงเรื่องความร่วมมือในการร่วมผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ณ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นายพินิจ จารุสมบัติ)และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เมื่อ วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ส่งหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เพื่อขอการรับรองจากแพทยสภา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2549 และคณะกรรมการจากกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทยได้มาประเมินมาตรฐานที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โรงพยาบาลตรัง และโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต เมื่อวันที่ 12 – 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ต่อมาได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสถาบันพี่เลี้ยงโดยคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กับ อธิการบดีมหาวิทยาลัยลักษณ์ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยนักศักษาแพทย์ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์นั้นจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท กระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด

หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการของแพทยสภา เมื่อวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2550 และได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการแพทยสภา เพื่อการรับรองหลักสูตรเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2550 แพทยสภาได้แจ้งผลการพิจารณารับรอง หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2549) เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตศูนย์ตรัง จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการผลิตแพทย์แนวปฏิรูป ในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 2 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา

[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)

การรับบุคคลเข้าศึกษา

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลตรัง รับนักศึกษาแพทย์เข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต โดยวิธีรับตรงผ่านทางสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ตามประกาศรับตรงประจำปีของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และโครงการผลิตแพทย์แนวปฏิรูป ตามประกาศของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "CPIRD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-02. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.
  2. "ประวัติของโรงพยาบาลตรัง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-05-20. สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]