ข้ามไปเนื้อหา

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

พิกัด: 13°37′42″N 100°35′20″E / 13.628408°N 100.589007°E / 13.628408; 100.589007
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ
ช้างเอราวัณ 3 เศียร
แผนที่
ก่อตั้งพ.ศ. 2546
ที่ตั้งตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ
ประเภทวัฒนธรรม
ผลงานรูปปั้นช้างเอราวัณ
ขนาดผลงานสูง 43.6 เมตร
ผู้ก่อตั้งเล็ก วิริยะพันธุ์
ขนส่งมวลชน ช้างเอราวัณ
รถโดยสารประจำทาง สาย 23, 25, 102, 129, 142, 365, 507, 508, 536, 511, 552, 3-1, 3-23E
เว็บไซต์erawanmuseum.com

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ (อังกฤษ: The Erawan Museum) เป็นประติมากรรมลอยตัวรูปช้าง 3 เศียร ซึ่งในทางวรรณคดีไทยเอราวัณซึ่งมีเศียรทั้งหมด 33 เศียร แต่เนื่องจากปัญหาขนาดและโครงสร้างที่ซับซ้อนจึงลดมาเหลือเพียง 3 เศียร พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและโดดเด่นแห่งหนึ่งของจังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่บนถนนสุขุมวิท บริเวณที่ตัดกับถนนกาญจนาภิเษก ตำบลบางเมืองใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ

พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณยังถือได้ว่าเป็น งานประติมากรรมลอยตัวช้างทองแดงที่ใช้เทคนิคการเคาะขึ้นรูปด้วยมือ ที่มีความสูงจากหัวช้างลงมาสู่ฐานวัดได้ 43.6 เมตร หรือประมาณความสูงของตึก 14—17 ชั้น[1] พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณสร้างขึ้นจากความคิดและจินตนาการของคุณเล็ก วิริยะพันธุ์ นักธุรกิจเจ้าของบริษัทวิริยะประกันภัย ด้วยต้องการจะรักษาของโบราณที่ท่านสะสม รวมถึงรูปเคารพศักดิ์สิทธิ์ไว้ให้เป็นมรดกของแผ่นดินไทย จึงได้สร้างตัวอาคารพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุที่มีค่าเหล่านี้ไว้เพื่อความปลอดภัยและเพื่อความเหมาะสม

ตัวอาคารจัดแสดง

[แก้]

ตัวอาคารแยกเป็น 3 ชั้น ตามความเชื่อในหลักไตรภูมิ คือ ชั้นบาดาล ชั้นโลกมนุษย์ และชั้นสวรรค์[2]

  • ชั้นบาดาล เป็นส่วนของงการจัดเก็บโบราณวัตถุที่เป็นของสะสมส่วนตัวของคุณเล็ก วิริยะพันธ์ ของเก่าส่วนใหญ่นั้นเป็นเครื่องถ้วย แจกัน จาน ชาม ชุดถ้วยชา ชั้นบาดาล มีรูปองค์จำลองมนุษยนาค นั่งอยู่กึ่งกลางห้อง สร้างขึ้นตามความเชื่อเพื่อให้มนุษยนาคคอยดูแลโบราณวัตถุอยู่ใต้น้ำ
  • ชั้นโลกมนุษย์ มีงานศิลปะให้ชม 3 ประเภทด้วยกัน งานปูนปั้นสดประดับด้วยเครื่องถ้วยเบญจรงค์ งานต้นเสาดีบุกดุนลาย และกระจกสี Stain Glass
  • ชั้นสวรรค์ เป็นส่วนของการจัดเก็บองค์พระพุทธรูปที่มีอายุสมัยเก่าแก่ ซึ่งยังมีงานศิลปะบนผนังท้องช้างที่เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับระบบสุริยะจักรวาล เป็นเทคนิคสีฝุ่นฝีมือช่างชาวเยอรมัน

การเดินทาง

[แก้]
  • ขับรถจากกรุงเทพฯ สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท หลังจากที่ขับรถผ่านทางแยกที่จะไปบางพลี ให้สังเกตทางด้านซ้ายมือ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ ก่อนจะถึงทางแยกปากน้ำ

อู่ช้างเอราวัณ (เขตการเดินรถที่ 3)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด เส้นทาง เที่ยวแรก เที่ยวสุดท้าย ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
129 (1-14E) (1) รถโดยสารประจำทาง สำโรง (พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ) รถโดยสารประจำทาง อู่บางเขน

1-14E
(129 เดิม)
บางเขน
เกษตร
ลาดพร้าว
สุทธิสาร
บางนา
สำโรง

04:00 น. 22:00 น. 1.รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง

2.รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

ขสมก.

ถนนสุขุมวิท (ป้ายพิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ)

[แก้]

องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ

[แก้]
  • Handicapped/disabled access เส้นทางที่มีรถรองรับวีลแชร์
สายที่ เขตการเดินรถที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
25 3 (กปด.33) รถโดยสารประจำทาง อู่แพรกษาบ่อดิน ท่าช้าง รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง ขสมก. มีรถให้บริการทางด่วน
มีรถให้บริการตลอดคืน
25 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
102 Handicapped/disabled access 3 (กปด.23) อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ เซ็นทรัล พระราม 3 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ) รถบริการทางด่วน (ขึ้นทางด่วนด่านบางนา ลงทางด่วนด่านท่าเรือ)
142 Handicapped/disabled access 3 (กปด.23) รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง อู่แสมดำ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
142 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
508 รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ ท่าราชวรดิษฐ์ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) มีรถให้บริการทางด่วน
511 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (บรมราชชนนี) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีฟ้า (ใช้แก๊สธรรมชาติ)
511 รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)
536 รถโดยสารประจำทาง อู่ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู)

รถเอกชน

[แก้]
สายที่ จุดเริ่มต้น จุดสิ้นสุด ประเภทของรถที่ให้บริการ ผู้ให้บริการ หมายเหตุ
2 (3-1) Handicapped/disabled access ปากน้ำ สะพานพระพุทธยอดฟ้า รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส มีรถให้บริการตลอดคืน
25 (3-6) Handicapped/disabled access โรงเรียนปทุมคงคาสมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (เอกมัย) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส ส่วนใหญ่หมดระยะแยกบางนา
507 (3-13) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) รถโดยสารประจำทาง สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (สายใต้ใหม่) รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.สมาร์ทบัส
(เครือไทยสมายล์บัส)
513 (3-23E) Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) รถโดยสารประจำทาง ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
552 (3-25E) Handicapped/disabled access ปากน้ำ นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
3-32 Handicapped/disabled access รถโดยสารประจำทาง อู่ไทยสมายล์บัส (สาขาปากน้ำ) สวนสยาม รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) บจก.ไทยสมายล์บัส
365 ฟาร์มจระเข้สมุทรปราการ รถโดยสารประจำทาง บางปะกง รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.สันติมิตรขนส่ง
1141 ปากน้ำ มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 (วิทยาเขตบางนา) รถโดยสารประจำทางธรรมดาสีเขียว บจก.เทียนทอง ขนส่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • "Erawan Museum,Samutpakarn".
  • "Erawan Museum Tourist". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-31. สืบค้นเมื่อ 2021-11-05.
  • แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณ

13°37′42″N 100°35′20″E / 13.628408°N 100.589007°E / 13.628408; 100.589007

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-10. สืบค้นเมื่อ 2015-07-06.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-08. สืบค้นเมื่อ 2015-07-06.