ข้ามไปเนื้อหา

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
Roi Et Hospital
แผนที่
ประเภทรัฐ (โรงพยาบาลศูนย์)
ที่ตั้ง111 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 45000
ข้อมูลทั่วไป
ก่อตั้ง5 กันยายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ความร่วมมือคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้อำนวยการนพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล
จำนวนเตียง977[1]
แพทย์121 คน[2]
เว็บไซต์http://www.reh.go.th/

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เป็นโรงพยาบาลศูนย์ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ขนาด 820 เตียง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้บริการรักษาทั่วผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก ตั้งอยู่ที่เลขที่ 111 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และทำหน้าที่เป็นศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกและสถาบันสมทบเพื่อการผลิตแพทย์ให้กับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ประวัติ

[แก้]

โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ก่อตั้งครั้งแรกในวันที่ 5 กันยายน 2483 บริเวณที่ดินสโมสรเสือป่า เนื้อที่ 45 ไร่ 2 งาน 45 ตารางวา ต่อมาเมื่อมีการเพิ่มขึ้นของประชากรและผู้ป่วย กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ยกฐานะโรงพยาบาลร้อยเอ็ดขึ้นเป็น โรงพยาบาลศูนย์ร้อยเอ็ด เพื่อสกัดกั้นผู้ป่วยที่อยู่ในต่างจังหวัดมิให้ต้องเสียเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็นในการขอรับบริการที่มีคุณภาพจากโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร และเพื่อรับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจังหวัดอื่นๆ ที่มีอยู่โดยรอบ ตลอดจนเป็นสถานที่ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุข[3]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก

[แก้]

ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพื่อชาวชนบท ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ก่อตั้งขึ้นภายใต้โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (the Collaborative Project to Increase Production of Rural Doctor : CPIRD) เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์และการกระจายแพทย์ที่ไม่เหมาะสมในชนบท โดยมียุทธศาสตร์เริ่มต้นคือ รับจากชนบท เรียนที่ชนบท และกลับสู่ชนบท และได้ลงนามความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามโดยการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จะเรียนกระบวนวิชาในหมวดวิชาศึกษาทั่วไปตามข้อบังคับเพื่อการศึกษา ขั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ชั้นปีที่ 2-3 เรียนร่วมกับชั้นปรีคลินิกของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ส่วนในชั้นคลินิกปีที่ 4-6 เรียนที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

หลักสูตรการศึกษา

[แก้]

ปัจจุบัน ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จัดการเรียนการสอนในระดับชั้นคลินิก ตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ใน 1 หลักสูตร คือ

ปริญญาตรี
สถาบันอุดมศึกษา

ระยะเวลาในการศึกษา

[แก้]

ใช้ระยะเวลาในการศึกษาตลอดหลักสูตรรวม 6 ปี ดังนี้

ระดับชั้น
สถานที่ศึกษา
  • ระดับชั้นเตรียมแพทยศาสตร์และชั้นปรีคลินิก (ชั้นปี 1 - 3)
  • ระดับชั้นคลินิก (ชั้นปี 4 - 6)
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

การรับบุคคลเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

[แก้]

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เปิดรับนิสิตแพทย์รุ่นที่ 1 ในปีการศึกษา 2549 โดยใช้ระบบรับตรงของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน คณะแพทยศาสตร์ เปิดรับนิสิตในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ทั้งสิ้น 1 โครงการ ได้แก่

  1. โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) คณะแพทยศาสตร์[4]

โดยคณะเปิดรับเฉพาะนักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตพื้นที่ 7 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มุกดาหาร นครพนม และสกลนคร

อ้างอิง

[แก้]
  1. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, สถานที่และเครื่องมือแพทย์ ร้อยเอ็ด 22 สิงหาคม 2564.
  2. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข โรงพยาบาลร้อยเอ็ด 22 สิงหาคม 2564.
  3. ระบบสารสนเทศภฺมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ, ประวัติสถานพยาบาล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด เก็บถาวร 2021-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 22 สิงหาคม 2564.
  4. MSU Admission : ประกาศมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่อง การรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD) ปีการศึกษา 2564. เก็บถาวร 2020-10-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบค้นเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2564